IMF ปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของเคนยาในปี 2024 ลดลง เหลือขยายตัวร้อยละ +5.0

องค์กรการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ประกาศปรับลดการคาดการณ์ การเติบโตทางเศรษฐกิจของเคนยาลดลง 0.2 %  จากเดิมที่คาดการณ์เมื่อต้นปี 2024 ว่าจะเติบโต 5.5% และปรับลดลงเหลือ 5.2.% ในเดือน เม.ย. 2567 จากนั้น ปรับลดลง 5.0 % ในเดือนตุลาคม 2567

 

โดยสาเหตุของการปรับลดนั้น อันเนื่องจาก สาเหตุหลายประการ ที่สำคัญได้แก่

 

  1. การประท้วงในเคนยา ที่เกี่ยวกับ พรบ. การเงินในปี 2024 (Financial Bill 2024) ของรัฐบาลเคนยาในช่วงเดือน มิถุนายน-สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดสภาพความไม่สงบทั่วทั้งประเทศ และมีผลต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและรัฐบาล
  2. ภาวะค่าครองชีพสูงขึ้นกว่าที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ เช่น อัตราเงินเฟ้อที่ยังสูงกว่านโยบายที่รัฐบาลวางเป้าหมายไว้ที่ 5.0% แต่ในภาพรวมเงินเฟ้อยังสูงกว่าเป้าหมายที่ 5.8-6.0% แม้แนวโน้มจะเริ่มลดลงตามลำดับในช่วงเดือน เม.ย. – ก.ค. ที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมให้เป็นไปตามเป้าหมายของทางการได้
  3. ภาวะการส่งออกไม่ขยายตัวได้เท่ากับการนำเข้าสินค้า โดย แม้เคนยาจะสามารถขยายตัวในด้านการส่งออกถึง +13.0% แต่การนำเข้ายังอยู่ระดับสูง ขยายตัวที่ ร้อยละ +5.0 และค่าเงินเคนยาชิลลิ่งที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นจากเดิมต้นปี (ม.ค.2567) ที่อยู่ในระดับ 160.00 KES ต่อ 1.00 USD เป็น 129.00 KES ต่อ 1.00 USD ในปัจจุบัน แม้จะช่วยลดหนี้ต่างประเทศได้ แต่ก็ทำให้รายได้ที่คิดเป็นเงิน เคนยาชิลลิ่ง (KES) ลดลง ส่งผลให้การขาดดุลการค้ามีมูลค่ามากขึ้นเป็นปัจจุบันประมาณ 11,310 ล้าน USD ซึ่งมากกว่าปี 2566 ที่ขาดดุลที่ประมาณ 9,300 ล้าน USD
  4. ภาคบริการและการท่องเที่ยว ขยายตัวถึงกว่าร้อยละ 25 โดยนักท่องเที่ยวมีจำนวนมากขึ้นจาก 1.8 ล้านคน น่าจะอยู่ที่ 2.2 ล้านคนในปี 2567 แต่เนื่องจาก โรงแรมที่พัก หรือ สนามบินของเคนยา มีข้อจำกัดที่จะรองรับการขยายตัวดังกล่าว ทำให้รายได้ที่มากขึ้น ยังไม่สามารถเพิ่มรายได้ในเศรษฐกิจโดยรวมได้อย่างที่คาดหวังได้มากเท่าที่ควร
  5. ต้นทุนทางธุรกิจสูงขึ้น โดยปี 2567 ที่ผ่านมารัฐบาลเคนยา มีการออกมาตรการทางภาษี และค่าธรรมเนียมหลายด้าน เช่น เพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มในหลายสินค้า เช่น ขนมปัง เป็นต้น เพิ่มค่าธรรมเนียมการขนส่ง เพิ่มค่าธรรมเนียมการให้บริการของภาครัฐในหลายด้าน เป็นต้น ทำให้ภาคธุรกิจโดยรวมมีต้นทุนการดำเนินธุรกิจสูงขึ้น จนนำไปสู่การประท้วงที่กล่าวมาในข้อ 1 ของ พรบ.การเงินปี 2024 นั่นเอง เนื่องจาก ประชาชนมองว่า ภาครัฐเรียกเก็บรายได้มากเกินไป
  6. ความเชื่อมันของภาพธุรกิจหรือ PMI (Purchasing Manage Index) ซึ่งใช้วัดความเชื่อมันของผู้บริหารในภาคธุรกิจของเคนยา มีแนวโน้มลดลง จาก 6 ในเดือน ก.ค. 2567 เป็น 49.7 ในเดือน ส.ค. 2567 สะท้อนว่า ภาคธุรกิจยังมีความกังวลในสภาพเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ในภาวะขาลงนั่นเอง

 

ความเห็นของ สคต.

 

จากตัวเลขทางเศรษฐกิจที่เคนยาต้องประสบในปี 2024 นี้ ทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มลดลงจากเดิม 5.5% เป็น 5.0% ทำให้แม้ประเทศยังคงมีเศรษฐกิจที่เติบโตกว่าปี 2023 ดังกล่าว แต่มีตัวเลขและแนวโน้มหลายด้านที่ยังมีสัญญานที่ไม่ดีนัก ไม่ว่าจะเป็นค่าครองชีพที่สูงขึ้นมาก อัตราเงินเฟ้อที่ยังคงควบคุมให้อยู่ในกรอบไม่ได้ หรือ การขาดดุลการค้า และงบประมาณที่นำไปสู่การประท้วงไม่สงบในประเทศ ล้วนส่งผลให้บรรยากาศด้านการค้าและการลงทุนในเคนยา อาจไม่สดในเท่าที่ควร อย่างไรก็ดี IMF ยังมองว่า ปี 2025 เคนยาจะขยายตัวดีขึ้น

 

จากปี 2024 โดยคาดการณ์ว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 5.2-5.5% แต่ต้องมีสมมุติฐานว่า ไม่มีภาวสงครามหรือราคาพลังงานสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งก็ยังมีความเสี่ยงอยู่มาก ทั้งสงคราวในฉวนกาซาระหว่างอิสราเอลกับชาติอาหรับและปาเลสไตน์ หรือ ค่าขนส่งที่ยังสูงจากการโจมตีของกบฎฮุตีในทะเลแดง เป็นต้น

 

สำหรับประเทศไทยนั้น ผู้ส่งออกไทยควรติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจของเคนยาอย่างใกล้ชิด เพราะในภาพรวมที่กล่าวมาข้างต้นนั้น มีผลให้กำลังชื้อของผู้บริโภคในเคนยาลดลง ซึ่งจะเห็นได้จากการส่งออกของไทยที่ลดลงกว่าร้อยละ -18.87% ในช่วง ม.ค.- ส.ค. 2567 ที่ผ่านมานั่นเอง ดังนั้น ผู้ส่งออกต้องใช้ความระมัดระวังในการส่งมอบสินค้าและเก็บค่าสินค้าจากผู้นำเข้าให้ดีมากขึ้น อย่างไรก็ดี มีสินค้าหลายชนิดที่ขยายตัวได้ดี เช่น อาหารสำเร็จรูป ปลากระป๋อง ผลิตภัณฑ์สิ่งทอต่างๆ เป็นต้น โดยคาดว่า การส่งออกของไทยมาเคนยาในปี 2567 ทั้งปีจะมีมูลค่าประมาณ 6,000 ล้านบาท ลดลงกว่า –10% จากปี 2566

 

ผู้ส่งออกที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมด้านการค้าและการลงทุนต่าง ๆ เกี่ยวประเทศเคนยา และประเทศในแอฟริกาตะวันออก ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ E-mail: ของสำนักงานฯ ที่ info@ocanairobi.co.ke

 

ที่มา : Business Daily/ ww.bdafrica.com

thThai