นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล​

ฉบับที่ ๑

          เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้ ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ได้กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงหน่วยงานของรัฐที่มีการเก็บ รวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูล ส่วนบุคคล หรือข้อเท็จจริงที่ทำให้สามารถระบุตัวบุคคล ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม ประกอบกับ เพื่อให้เจ้าของข้อมูล ส่วนบุคคลเชื่อมั่นว่า กรมจะดูแลรักษาข้อมูลส่วนบุคคลและจัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล ส่วนบุคคลที่เหมาะสม กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (‘กรม’) ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล จึงได้จัดทำแนว นโยบายและแนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขึ้น

อ่านเพิ่มเติม

          อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไข เพิ่มเติม มาตรา 5 และมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 มาตรา 6 และมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549 กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

          ข้อ 1 ประกาศนี้มีชื่อว่า ‘ประกาศกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เรื่อง นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2565’
          ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
          ข้อ 3 ในประกาศนี้

           ‘กรม’ หมายความว่า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
           ‘บุคคล’ หมายความว่า บุคคลธรรมดา

           ‘ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data)’ หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทําให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ

           ‘ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Personal Data/Special Categorized Personal Data)’ หมายความว่า ข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือ ปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม หรือข้อมูลชีวภาพ

           ‘ข้อมูลชีวภาพ’ หมายความว่า ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดจากการใช้เทคนิคหรือเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับการนำ ลักษณะเด่นทางกายภาพหรือทางพฤติกรรมของบุคคลมาใช้ทำให้สามารถยืนยันตัวตนของบุคคลนั้นที่ไม่เหมือนกับ บุคคลอื่นได้ เช่น ข้อมูลจำลองภาพใบหน้า ข้อมูลจำลองม่านตา ข้อมูลจำลองลายนิ้วมือ

            ‘เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject)’ หมายความว่า บุคคลที่ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นบ่งชี้ไปถึงและทําให้สามารถ ระบุตัวบุคคลนั้นได้
            ‘ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller)’ หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจ เกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
            ‘ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) ‘ หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคล ซึ่งทําการประมวลผล ข้อมูลส่วนบุคคลในนามหรือตามคําสั่งของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
            ‘การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล’ หมายความว่า การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

             ข้อ 4 วัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

             กรมมีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมการส่งออก ขยายตลาด สินค้าและธุรกิจบริการของไทย พัฒนาและสร้าง มูลค่าเพิ่มของสินค้าและธุรกิจบริการส่งออก ให้บริการข้อมูลการค้า และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย ในตลาดโลกเพื่อเพิ่มมูลค่าและปริมาณการส่งออกของประเทศไทย ดังนั้น การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ในการดำเนินภารกิจและอำนาจหน้าที่ของกรม ตลอดจนการบริหารจัดการภายในองค์กรเพื่อสนับสนุนการ ดำเนินภารกิจต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมายตามอำนาจหน้าที่ของกรม ได้แก่

              (1) เสนอนโยบายและจัดทําเป็นเป้าหมายการส่งออกและแผนปฏิบัติการ รวมทั้งเสนอแนะ แนวทางและมาตรการ ด้านการค้าและการตลาด
              (2) ดําเนินการเพื่อส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนการส่งออกสินค้าและธุรกิจบริการของไทย ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ
              (3) จัดทําและให้บริการข้อมูลการค้าและส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศในส่วน ที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกแก่ผู้ผลิต ผู้ส่งออกไทย ผู้ประกอบธุกิจบริการ และผู้นําเข้าในต่างประเทศ
              (4) เผยแพร่และประชาสัมพันธ์สินค้าและธุรกิจบริการของไทยเพื่อส่งเสริมการส่งออก
              (5) พัฒนาความรู้ความสามารถแก่ภาคเอกชนในด้านการค้าระหว่างประเทศเพื่อเสริมสร้าง ขีดความสามารถ ในการแข่งขันและสมรรถนะในการส่งออก ตลอดจนประสานงานและให้ความร่วมมือแก่สถาบันและองค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
              (6) ส่งเสริมและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และตราสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าไทย และให้เป็นไปตามความต้องการ ของตลาดต่างประเทศ
              (7) สนับสนุนและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทางการค้า
              (8) ดำเนินการเกี่ยวกับงานการเจ้าหน้าที่ งานคลัง งานบัญชี การตรวจสอบภายใน งานพัสดุ งานนิติการ งานวิเทศสัมพันธ์และพิธีการขนส่งสินค้า
              (9) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

              นอกจากนี้ กรมสามารถเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อ วัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

              4.1 วัตถุประสงค์ที่กรมจำเป็นต้องได้รับความยินยอม
                  กรมอาศัยความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
                  ในกรณีที่จำเป็นต้องโอนข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไปยังประเทศที่อาจจะไม่มีระดับการ คุ้มครองข้อมูลที่เพียงพอ และ
                  ในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อใช้ในการ ประชาสัมพันธ์โครงการหรือกิจกรรมของกรม และ
                  ในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อการสื่อสาร นำเสนอและประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร โครงการ กิจกรรมใหม่ของกรมให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และ
                  ในการเก็บรวบรวม การใช้ และ/หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลอ่อนไหวของเจ้าของข้อมูล ส่วนบุคคล เพื่อการจัดอาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

              4.2 วัตถุประสงค์ที่กรมอาจดำเนินการโดยอาศัยฐานข้อยกเว้นตามกฎหมายในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ต้องขอความยินยอม
อาศัยหลักเกณฑ์หรือฐานทางกฎหมายดังต่อไปนี้เพื่อเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของ ข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งได้แก่
              (1) เป็นการจำเป็นเพื่อการปฏิบัติตามสัญญา สำหรับการเข้าทำสัญญาจ้างงานหรือการปฏิบัติตามสัญญาจ้างงาน กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
              (2) เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
              (3) เป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย
              (4) เพื่อการป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล
              (5) เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐที่กรม ได้รับมอบหมาย

              ทั้งนี้ กรมจะอาศัยข้อยกเว้นใน (1) ถึง (5) ข้างต้น เพื่อการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
              ก. การปฏิบัติตามสัญญาที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นคู่สัญญา หรือคำขอก่อนเข้าทำสัญญานั้น
              ข. การพิจารณารับสมัครและคัดเลือกผู้เข้าร่วมการอบรมหรือโครงการของกรม
              ค. การยืนยันตัวบุคคลและการติดต่อประสานงาน
              ง. การจัดฝึกอบรม/สัมมนา การทดสอบและออกใบประกาศนียบัตร
              จ. ติดตามผลลัพธ์ และ/หรือความก้าวหน้าที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้รับจากการเข้าร่วมฝึกอบรม โครงการ หรือกิจกรรมของกรม (follow-up)
              ฉ. เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการส่งออก ให้กับผู้ประกอบการไทย ผ่านการแนะนำ/จับคู่ทางธุรกิจระหว่างผู้ซื้อ/ผู้นำเข้าสินค้า/บริการไทยกับผู้ประกอบการไทย (Business Matching)
              ช. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาและส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศให้เหมาะกับความต้องการ ของแต่ละพื้นที่หรือกลุ่มบุคคลหรือบุคคล
              ซ. อื่น ๆ ที่กรมต้องการอย่างสมเหตุสมผล ตามที่ได้แจ้งต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้ในเอกสารหรือวิธีการ หรือช่องทางอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องใด ๆ แล้วกรมจะไม่เก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของ ข้อมูลส่วนบุคคล นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่กรมได้แจ้งแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่ ได้แจ้งวัตถุประสงค์ใหม่ ให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ และได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือเป็นกรณีที่กฎหมาย กำหนดยกเว้นให้ไม่ต้องขอความยินยอม

              ข้อ 5 การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

              5.1 การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
กรมจะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็น ทั้งที่เป็นการดำเนินการทางกายภาพและด้วยวิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์ ตามภารกิจและวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของกรมตามที่ได้ระบุไว้ในข้อ 4 ด้วยวิธีการที่ชอบด้วย กฎหมายและเป็นธรรม โดยมีมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยและมีการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ กรมจะเก็บรวบรวม ข้อมูลส่วนบุคคลได้ เมื่อได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือเมื่อมีข้อยกเว้น ตามกฎหมายให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น
              กรมจะใช้วิธีการที่ชอบด้วยกฎหมายในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล ส่วนบุคคล โดยกรมจะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลอย่างจำกัด และเป็นไปเพียงเท่าที่จำเป็นตามวัตถุประสงค์ในการ เก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ได้ระบุไว้ในข้อ 4 และตามบทบัญญัติของกฎหมาย
              กรมเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้ให้ไว้หรือมีอยู่กับกรม หรือที่กรมได้รับหรือเข้าถึงได้จากแหล่งอื่นที่น่าเชื่อถือ เช่น ข้อมูลที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้เปิดเผยสู่สาธารณะ หรือจากหน่วยงานรัฐหรือเอกชนอื่นที่เป็นหน่วยงานพันธมิตรของกรม
              ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคล หรือให้ข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นปัจจุบัน แก่กรม อาจส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่สามารถทำธุรกรรมกับกรม หรืออาจไม่ได้รับความสะดวก หรือไม่ได้รับการปฏิบัติตามสัญญาที่มีอยู่กับกรม และอาจทำให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้รับความเสียหายหรือเสียโอกาส และอาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติตามกฎหมายใด ๆ ที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือกรมต้องปฏิบัติตาม
              ข้อมูลส่วนบุคคลที่กรมเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผย แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
              (1) ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป เช่น
                  (1.1) ข้อมูลแสดงตนของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Identification Information) และข้อมูลการติดต่อ กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อและนามสกุล เลขประจำตัวประชาชน ข้อมูลที่ปรากฏในสำเนาบัตรประชาชน เลขที่หนังสือเดินทาง รูปภาพ เพศ วัน/เดือน/ปีเกิด อายุ สถานภาพ ที่อยู่ อาชีพ สถานที่ทำงาน หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขโทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail address)
                  (1.2) ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงาน เช่น ตำแหน่งหรือยศ ตำแหน่งงาน แผนกงาน รายละเอียดเกี่ยวกับสัญญา ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน เป็นต้น
              (2) ข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลอ่อนไหว (Sensitive Data) เช่น ข้อมูลชีวภาพ ข้อมูลลายพิมพ์นิ้วมือ ภาพสแกน ใบหน้า (face scan / face recognition) ข้อมูลประวัติอาชญากรรมรวมถึงความผิดที่ถูกกล่าวหาหรือฟ้องร้อง ดำเนินคดี ข้อมูลสุขภาพ เป็นต้น
ทั้งนี้ กรมไม่มีนโยบายจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลอ่อนไหวของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่ในกรณี ที่กรมได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือกรณีอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้ข้อยกเว้น สามารถเก็บรวบรวมได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
              5.2 การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
              กรมจะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลตามภารกิจและวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของกรมที่ได้ระบุไว้ในข้อ 4 เมื่อได้รับ ความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือเมื่อมีกรณีอื่นใดภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดให้สามารถ ดำเนินการได้
              5.3 การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
              กรมจะเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อเป็นการปฏิบัติภารกิจและวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของกรมที่ได้ระบุไว้ ในข้อ 4 หรือให้บริการแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีการร้องขอ หรือเป็นไปตามภาระผูกพันตามสัญญา เมื่อได้รับ ความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือตามที่กฎหมายกำหนดให้เปิดเผย
              ทั้งนี้ บุคคลหรือนิติบุคคลที่ได้รับข้อมูลส่วนบุคคลมาจากการเปิดเผยของกรม จะต้องไม่ใช้หรือเปิดเผยข้อมูล ส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดที่นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งไว้กับกรมเพื่อขอรับข้อมูลส่วนบุคคลนั้น
กรมจะเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลให้แก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นตามวัตถุประสงค์ ที่กรมได้แจ้งแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น โดยกรมจะเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีดังต่อไปนี้
              (1) กรมได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
              (2) เป็นการจำเป็นเพื่อการทำธุรกรรมหรือกิจกรรมใดๆ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลให้สามารถดำเนินการ ได้โดยบรรลุ                          วัตถุประสงค์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งการปฏิบัติตามสัญญาที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็น คู่สัญญาหรือตามคำขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
              (3) เป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น การเปิดเผยแก่นิติบุคคลหรือองค์กรเพื่อการ ดำเนินการในการตรวจสอบและป้องกันการฉ้อฉล การบันทึกภาพในการประชุมหรือทำธุรกรรมกับกรม เพื่อการรักษา ความปลอดภัยของกรม เป็นต้น
              (4) เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบหรือคำสั่งหรือประกาศของหน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแล หรือหน่วยงานทางการที่มีอำนาจตามกฎหมาย เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน สำนักงานประกันสังคม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมบังคับคดี กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการแห่งชาติ ศาล กรมบังคับคดี ตำรวจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงบประมาณ หรือหน่วยงานราชการอื่นใด เป็นต้น ตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ หรือภาระหน้าที่ ทางกฎหมาย
              (5) เปิดเผยให้แก่บุคคลหรือนิติบุคคล หรือหน่วยงานพันธมิตร หรือองค์กรอื่นใด ที่เป็นผู้ให้บริการภายนอกของ กรม (Outsource / Service Provider) หรือผู้รับจ้าง เช่น ธนาคาร ผู้ให้บริการชำระเงิน ผู้ให้บริการระบบสารสนเทศ ทรัพยากรบุคคล ผู้ให้บริการฝึกอบรม หรือผู้ให้บริการทางการเงิน เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์ตามที่ระบุในข้อ 4 ของนโยบาย ฉบับนี้

              หากภายหลังกรมมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บ รวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล กรมจะแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่กรมรวบรวมและจัดเก็บทราบผ่านเอกสาร/หนังสือ หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเว็บไซต์กรม (www.ditp.go.th) หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องของกรมตามความเหมาะสม พร้อมนี้ กรมได้มีการกำหนดให้มีการบันทึกการแก้ไขเพิ่มเติมไว้เป็นหลักฐานด้วย

              ข้อ 6 สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของตนซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของกรม ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ดังต่อไปนี้
              6.1 สิทธิในการเพิกถอนความยินยอมให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทำการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูล ส่วนบุคคลที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเคยให้ไว้ตามวัตถุประสงค์ที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้กำหนด ทั้งนี้ การเพิกถอน ความยินยอมดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ตลอดระยะเวลาที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้จัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนั้นไว้ เว้นแต่มีข้อจำกัดสิทธิดังกล่าวนั้นตามกฎหมายหรือตามสัญญาที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ได้ให้ไว้กับกรม
              6.2 สิทธิขอเข้าถึง ขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนที่อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วน บุคคล และให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม
              6.3 สิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ได้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานได้โดยทั่วไปด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้ ด้วยวิธีการอัตโนมัติ และสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ รวมถึงมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุม ข้อมูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนข้อมูลในรูปแบบดังกล่าวไปยัง ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นเมื่อสามารถทำได้ด้วยวิธีการ อัตโนมัติ และมีสิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าว ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิคไม่สามารถทำได้
การใช้สิทธิดังกล่าวจะใช้กับการส่งหรือการโอนข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นการปฏิบัติ หน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายไม่ได้
              6.4 สิทธิในการคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนเมื่อใดก็ได้ ในกรณีดัง ต่อไปนี้
              (1) กรณีเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับการยกเว้นให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถเก็บรวบรวมข้อมูล ส่วนบุคคลไว้ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม เนื่องจากกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
                  (1.1) เป็นกรณีจำเป็นเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะของผู้ควบคุม ข้อมูลส่วนบุคคล หรือปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐที่ได้มอบให้แก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
                  (1.2) เป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือของบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
              (2) กรณีที่เป็นการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการตลาด แบบตรง
              (3) กรณีที่เป็นการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการศึกษาวิจัย ทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือสถิติ เว้นแต่เป็นการจำเป็นเพื่อการดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะของผู้ ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
              6.5 สิทธิดำเนินการให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของ ข้อมูลส่วนบุคคลได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
                   (1) เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลของตนนั้นหมดความจำเป็นในการเก็บรักษาไว้ตามวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
                   (2) เมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ถอนความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ของตน หรือเมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้คัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของตน
                   (3) เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลของตนที่ได้ถูกเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
              6.6 สิทธิให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของตน ในกรณีที่ข้อมูลส่วนบุคคลของตนต้องถูกลบหรือทำลาย เนื่องจากเป็นข้อมูลที่ได้ถูกเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือข้อมูลส่วนบุคคลของตนนั้น หมดความจำเป็นในการเก็บรักษาไว้
              6.7 สิทธิในการขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องดำเนินการให้ข้อมูลส่วนบุคคลของตนถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สมบูรณ์ และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
              6.8 สิทธิในการร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณี ที่กรมหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งลูกจ้างหรือผู้รับจ้างของกรมหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือประกาศที่ออกตามกฎหมายดังกล่าวได้ที่
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
              ชั้น 7 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
              ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

              ข้อ 7 ระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูล
              กรมจะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้ในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นเพื่อการปฏิบัติตาม วัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในข้อ 4 ของนโยบายฉบับนี้ หรือ เมื่อหมดความจำเป็นในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ๆ ต่อไป โดยในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลยุติความสัมพันธ์ หรือสิ้นสุดธุรกรรมกับกรม หรือไม่มีการใช้บริการหรือการทำธุรกรรมกับกรมแล้ว กรมจะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้ตามระยะเวลาที่กำหนดหลังจากนั้น หรือจัดเก็บตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือตามอายุความ หรือเพื่อการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ดังกล่าว กรมจะดำเนินการลบ หรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคล หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัว บุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ ทั้งนี้ ระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลจะเป็นไปตามนโยบายการ จัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล (Data Retention Policy) ของกรม ทั้งนี้ กรมอาจเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของ ข้อมูลส่วนบุคคลตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล หากอยู่ในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ ทั้งนี้ กำหนดระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวให้เป็นไปตามย่อหน้าแรกของข้อ 7

              ข้อ 8 คุณภาพของข้อมูลส่วนบุคคล
              กรมมีการจัดเก็บ รวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินตามภารกิจ อำนาจหน้าที่ วัตถุประสงค์การดำเนินงานของกรม และตามบทบาทของส่วนงานสนับสนุนกรม โดยกรมจะให้ความ สำคัญถึงความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบันของข้อมูลส่วนบุคคลที่จัดเก็บ

              ข้อ 9 ข้อจำกัดในการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้
              กรมจะไม่นำข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการจัดเก็บรวบรวมไปใช้ประโยชน์หรือเปิดเผยแก่บุคคลอื่นนอกเหนือจาก วัตถุประสงค์ในการดำเนินงานตามภารกิจ อำนาจหน้าที่ วัตถุประสงค์การดำเนินงานของกรม และบทบาทส่วนงาน สนับสนุนของกรม เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือมีข้อยกเว้นตามกฎหมายอนุญาต ให้กรมใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เป็นกรณีที่ เป็นการเปิดเผยข้อมูลแก่คู่สัญญาที่ให้บริการกับกรมซึ่งจำเป็นต้องใช้ข้อมูลส่วนบุคคล

              ข้อ 10 การรักษาความมั่นคงปลอดภัย
              กรมมีมาตรฐานในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสม โดยกรมจะธำรงไว้ ซึ่งความลับ (confidentiality) ความถูกต้องครบถ้วน (integrity) และสภาพพร้อมใช้งาน (availability) ของข้อมูล ส่วนบุคคล ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ทำลาย ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดย ไม่มีสิทธิหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2563 หรือตามประกาศของคณะกรรมการ คุ้มครองข้อมูลส่วนุบคคล

              ข้อ 11 การมีส่วนร่วมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
              กรมจะจัดให้มีช่องทางเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สามารถตรวจสอบความมีอยู่และความถูกต้อง รวมถึงมีสิทธิ ดำเนินการเพิกถอนความยินยอม เข้าถึง แก้ไข ลบ คัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้ ผ่านทางหนังสือ หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเว็บไซต์กรม (www.ditp.go.th) หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมตามความ เหมาะสม

              ข้อ 12 ข้อมูลที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก
              หากบุคคลใดให้ข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอื่น เช่น การให้ข้อมูลส่วนบุคคลของคู่สมรส บุตร บิดา มารดา บุคคลในครอบครัว ผู้รับผลประโยชน์ บุคคลที่สามารถติดต่อได้ในกรณีฉุกเฉิน บุคคลอ้างอิง และบุคคลอื่น ที่เกี่ยวข้องกับการถือหลักทรัพย์ของบุคคลนั้นแก่กรม บุคคลดังกล่าวรับรองว่ามีอำนาจและได้รับอนุญาตจากเจ้าของ ข้อมูลส่วนบุคคลที่จะให้ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลดังกล่าวแก่กรม และมีหน้าที่ในการแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รับทราบถึงการเก็บรวบรวม ใช้และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ฉบับนี้ รวมถึงขอรับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้อง

              ข้อ 13 การเปลี่ยนแปลงนโยบาย
              กรมจะดำเนินการทบทวนนโยบายเป็นประจำเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง หากมีการ ดำเนินการเปลี่ยนแปลงนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กรมจะดำเนินการแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ และขอความยินยอมก่อนทุกครั้ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมกำหนด

              ข้อ 14 ข้อมูลส่วนบุคคลที่กรมเก็บรวบรวมมาก่อนกฎหมายบังคับใช้ (บทเฉพาะกาล)
กรมจะเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่กรมได้เก็บรวบรวมไว้ก่อนที่พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ จะมีผลบังคับใช้ต่อไปตามวัตถุประสงค์เดิม ทั้งนี้ หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีความประสงค์จะเพิกถอน ความยินยอมดังกล่าวนั้นให้สามารถดำเนินการได้ ผ่านทางหนังสือ หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเว็บไซต์กรม (www.ditp.go.th) หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรม

              ข้อ 15 กฎหมายที่บังคับใช้และเขตอำนาจศาล
              นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้อยู่ภายใต้การบังคับและตีความตามกฎหมายไทยและให้ศาลไทยเป็นผู้มีอำนาจ ในการพิจารณาข้อพิพาทใดที่อาจเกิดขึ้น

              ข้อ 16 ช่องทางการติดต่อกรม
              กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (บางกระสอ)
              563 ถนนนนทบุรี ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง
              จังหวัดนนทบุรี 11000
              หรือ
              เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) ได้ที่
              อีเมล dpo@ditp.go.th
              เบอร์โทรศัพท์ 0-2507-7999

ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2565


ภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
(นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์)
อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

ฉบับที่ ๒

              โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เรื่อง นโยบายการคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ให้ผู้ควบคุมข้อมูลมีหน้าที่จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่ เหมาะสมสอดคล้องกับประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเรื่อง มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๕

อ่านเพิ่มเติม

              อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ (๔) และ มาตรา ๓๗ (๑) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จึงออกประกาศดังต่อไปนี้

              ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ‘ประกาศกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศที่ ๒๙ /๒๕๖๕ เรื่อง นโยบายการคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล (ฉบับที่ ๑) พ.ศ. ๒๕๖๕’
              ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๕ เป็นต้นไป

              ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๐ ของประกาศกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศที่ ๑๙ /๒๕๖๕ เรื่อง นโยบายการ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

              ‘ข้อ ๑๐ การรักษาความมั่นคงปลอดภัย
กรมมีมาตรฐานในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสม โดยกรมจะธำรงไว้ ซึ่งความลับ (confidentiality) ความถูกต้องครบถ้วน (integrity) และสภาพพร้อมใช้งาน (availability) ของข้อมูล ส่วนบุคคล ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ทำลาย ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดย ไม่มีสิทธิหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรื่อง มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.๒๕๖๕’

              ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๓ ของประกาศกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศที่ ๑๙ /๒๕๖๕ เรื่อง นโยบายการ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

              ‘ข้อ ๑๓ การเปลี่ยนแปลงนโยบาย
              กรมจะดำเนินการทบทวนนโยบายเป็นประจำเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง หากมีการดำเนินการเปลี่ยนแปลงนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กรมจะดำเนินการแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทราบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมกำหนด’

              ข้อ ๕ บรรดาประกาศในส่วนที่เกี่ยวข้องที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ยังคง ใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้

ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๕

นันทพงษ์ จิระเลิศพงษ์            
(นายนันทพงษ์ จิระเลิศพงษ์)         
รองอธิบดีรักษาราชการแทนอธิบดี     
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ     

การขอใช้สิทธิ์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

  • สามารถขอให้สิทธิเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ผ่านระบบ pdpa.ditp.go.th
thThai