เคนยานำเข้าตู้เย็นจากแอฟริกาใต้ภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีทวีปแอฟริกา AfCFTA

เคนยาเริ่มนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จากแอฟริกาใต้เพิ่มขึ้น จากการใช้ประโยชน์ภายใต้ ข้อตกลงเขตการค้าเสรีทวีปแอฟริกา (AfCFTA) และในขณะเดียวกันเคนยาเองคาดว่า จะสามารถส่งออกสินค้าประเภทชา กาแฟ ผลไม้ และผัก ไปตลาดแอฟริกาใต้ได้มากขึ้น ภายใต้ข้อตกลงเดียวกัน

 

เมื่อวันพุธที่ 31 มกราคม 2567 ประธานาธิบดี ไซริล รามาโฟซา ของประเทศแอฟริกาใต้ พร้อมด้วยตัวแทนด้านการค้าการลงทุนจากประเทศเคนยาและรัฐมนตรีกระทรวงการค้าและพาณิชย์ของทวีปแอฟริกากว่า 12 คน เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการจัดส่งสินค้าล็อตแรกจากแอฟริกาใต้ไปเคนยาอัน ได้แก่ ตู้เย็นและตู้แช่แข็งจากแอฟริกาใต้มายังเคนยา โดยการขนส่งทางเรือผ่านทางท่าเรือ Durban ของแอฟริกาใต้

 

การดำเนินการค้าตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีทวีปแอฟริกาจะทำให้ทั้งสองประเทศเพิ่มระดับการค้าทั้งสองฝ่ายเพิ่มขึ้น โดยนัยหนึ่งเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในประเทศที่ทำการค้าในกลุ่มประเทศแอฟริกา ให้เห็นถึงสิทธิประโยชน์ที่จะได้จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีทวีปแอฟริกา (AfCFTA) นี้

 

โดยในปัจจุบัน แอฟริกาใต้ได้ดุลการค้ากับเคนยา โดยแอฟริกาใต้นำเข้าสินค้านำเข้าจากเคนยามีมูลค่า 61.1 พันล้านเคนยาชิลลิ่ง เทียบกับการส่งออกของแอฟริกาใต้มาเคนยามีมูลค่าที่ 6.8 พันล้านเคนยาชิลลิ่ง  ทำให้แอฟริกาใต้ได้ดุลการค้ากับเคนยามูลค่าเกือบ 54.3 พันล้านเคนยาชิลลิ่ง

 

ทั้งสองประเทศมีความมุ่งมั่นที่จะอำนวยความสะดวกในการนำผลิตภัณฑ์ของตนเองเข้าสู่ตลาดและขจัดอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีเพื่อส่งเสริมการค้าภายในทวีปแอฟริกา

 

แอฟริกาใต้เป็นประเทศแรกในสี่ประเทศสมาชิกสหภาพศุลกากรแอฟริกาใต้ (SACU) ที่ได้ทำการส่งออกสินค้าโดยได้รับสิทธิพิเศษภายใต้โครงการริเริ่มทางการค้า AfCFTA และประเทศเคนยาเองก็เป็นประเทศหนึ่งในหลายประเทศที่ ถือว่าอยู่ในประเทศนำร่องที่จะทำการค้าภายใต้ข้อตกลงนี้ ซึ่งรวมถึงประเทศอื่นๆ อย่าง แคเมอรูน อียิปต์ กานา มอริเชียส รวันดา แทนซาเนีย และตูนิเซีย เป็นต้น ทั้งนี้ การซื้อขายภายใต้กรอบ AfCFTA มีเป้าหมายเพื่อปลดล็อกการค้าขายสินค้าและบริการในทวีป โดยมีเป้าหมายให้มีไม่มีภาษีระหว่างกันในอีก 2-5 ปีข้างหน้า และสะท้อนให้เห็นถึงความคาดหวังของประชาชนทั่วทวีปแอฟริกา ว่าประเทศทุกประเทศในแอฟริกาจะต้องมีการบูรณาการ เพื่อให้เกิดโอกาสทางการค้าเหล่านี้ เพื่อจำนำไปสู่การพัฒนาและนำความเจริญทางเศรษฐกิจมาสู่ประเทศต่างๆ โดยจะต้องได้รับความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนที่จะต้องมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการค้าระดับทวีปแอฟริกาต่อไป

 

ความเห็นของ สคต.

 

จากข่าวดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของการร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปแอฟริกา เพื่อให้เกิดผลตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีทวีปแอฟริกา (AfCFTA) ที่มีการลงนามระหว่าง 54 ประเทศในแอฟริกาเมื่อ ธ.ค. 2021 เพื่อให้มีการค้าเสรีไม่มีภาษีระหว่างกันในการค้าระหว่างกลุ่มประเทศในแอฟริกา โดยปัจจุบันมีการตกลงเลือกประเทศนำร่องจำนวน 12 ประเทศ เพื่อทดลองชื้อขายในสินค้าบางชนิดเพื่อให้เกิดผลในทางปฎิบัติให้เร็วที่สุด เพื่อจะใช้เป็นข้อมูลและแสดงให้ประเทศที่ยังมีความพร้อมที่ต่างกัน เร่งการแก้ไขระเบียบทางการค้า เพื่อให้เกิดผลในทางปฎิบัติตามข้อตกลงภายใน 5 ปีจากกรอบระยะเวลาที่ทุกประเทศกำหนดไว้ ซึ่ง ตัวอย่างที่เคนยานำเข้าสินค้าประเภทนี้จากแอฟริกาใต้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า มีการเร่งรัดและเอาจริงที่จะทำให้การค้าตามข้อตกลงดังกล่าว มีผลในทางปฎิบัติต่อไปหลังจากไม่มีความคืบหน้ามากนักในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา

 

สำหรับประเทศไทยควรเร่งเจรจาการค้า หรือ FTA กับประเทศในแอฟริกาให้เร็วยิ่งขึ้นต่อไป เพราะนอกจากจะทำให้ไทยได้รับประโยชน์ทางด้านการค้าแล้ว ความมั่นใจในด้านการลงทุน ก็เป็นเรื่องที่หน่วยงานภาครัฐของไทยควรให้ความสำคัญในการเจรจา FTA ในอนาคตอันใกล้ และในส่วนของผู้ประกอบการก็ควรหาข้อมูล และมองหาโอกาสเข้ามาลงทุนในแอฟริกาโดยเร็วต่อไป ไม่เช่นนั้น แล้วหากเราช้าเกินไปโอกาสทางการค้าระหว่างไทยกับแอฟริกาก็จะยิ่งทำได้ยากขึ้น และมีต้นทุนสูงขึ้นตามไปด้วย เพื่อให้ทัดเทียมกับหลายประเทศหรือภูมิภาคที่มีข้อตกลงทางการค้าแล้ว ดังเช่น สหรัฐฯ ที่มี พรบ. AGOA ข้างต้น หรือ EU ที่มีข้อตกลงกับหลายประเทศในแอฟริกาในลักษณะเดียวกันแล้ว

 

ผู้ส่งออกที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมด้านการค้าและการลงทุนต่าง ๆ เกี่ยวประเทศเคนยา และประเทศในแอฟริกาตะวันออก ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ E-mail: ของสำนักงานฯ ที่ info@ocanairobi.co.ke

 

ที่มา : The EastAfrican

thThai