หน่วยงานของสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ได้เสนอแนะให้ เคนยาเน้นความสำคัญของการพัฒนาเพิ่มพูนทักษะและความรู้ด้านเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ให้มากขึ้น เพราะอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดนี้สามารถก่อให้เกิดการจ้างงานขึ้นได้จากการเติบโตในตลาดแผงโซลาร์เซลล์อย่างต่อเนื่อง
การเติบโตของตลาดแผงโซลาร์เซลล์จะมอบโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างมาก ผ่านการพัฒนาของภาคเอกชนและการจ้างงาน อย่างไรก็ตาม ตลาดส่วนใหญ่ยังถือครองโดยบริษัทชั้นนำระดับโลก ส่วนบริษัทภายในประเทศส่วนใหญ่มักดำเนินธุรกิจด้านการให้บริการโดยนำเสนอด้านการพัฒนาโครงการ ให้คำปรึกษา และบริการหลังการขาย เคนยาเองก็เป็นอีกหนี่งประเทศที่ประกาศใช้ข้อบังคับด้านพลังงานเพื่อส่งเสริมการผลิตแผงโซลาร์เซลล์เพื่อใช้ในประเทศ
จากการศึกษาของ UNCTAD พบว่า หากมีการลงทุนมูลค่าประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการลงทุนสำหรับสร้างโรงงานผลิตแผงโซลาร์เซล์ที่สร้างขึ้นใหม่ ซึ่งจะเป็นโรงงานที่มีกำลังการผลิตน้อยกว่า 3 เมกะวัตต์ ตามการประมาณการของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ จากการศึกษาข้อมูลโดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งสหประชาชาติสำหรับภูมิภาคแอฟริกา (UNECA) แสดงให้เห็นว่า โรงงานผลิตขนาดเล็ก กำลังการผลิตขนาด 1 เมกะวัตต์นั้นจะสามารถสร้างการจ้างงานแบบเต็มเวลาได้ประมาณ 800 ตำแหน่งต่อหนึ่งปี ดังนั้น การพัฒนาให้เกิดความรู้ความชำนาญด้านเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นอีกหนึ่งแสงสว่างที่จะต่อยอดทางเศรษฐกิจให้มีความมั่นคงไปพร้อมกับความมั่นคงทางพลังงานในเวลาเดียวกัน
สำหรับในเคนยา การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้านั้น มีสัดส่วนเพียง 2 % ของกำลังการผลิตทั้งประเทศในปัจจุบัน โดยมีโรงงานผลิตไฟฟ้าที่ Garissa solar power station มีกำลังการจ่ายไฟฟ้าได้ประมาณ 55 เม็กกาวัตต์ (MG) ซึ่งถือว่าเป็นโรงไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกาตะวันออกที่ใช้พลังงานแสดงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงาน นอกจากนั้น ตามบ้านหรือที่อยู่อาศัยก็มีการใช้ระบบ Solar Panel ในการเป็นพลังงานหลักในการทำน้ำร้อนที่ใช้ภายในบ้าน
ความเห็นของ สคต.
จากข่าวดังกล่าวนี้ จะเห็นว่า เคนยาก็ให้ความสำคัญในการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทางเลือกในการผลิตไฟฟ้า หรือ เป็นแหล่งพลังงานจากธรรมชาติที่สะอาด และมีความยั่งยืนในการพัฒนามากกว่า พลังงานจากแหล่งฟอสชิล เช่น ถ่านหินหรือน้ำมัน โดยเคนยาเป็นประเทศหนึ่งที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานธรรมชาติถึงร้อยละ 85 ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด ไม่ว่า จะเป็น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานไอน้ำจากบ่อน้ำพุร้อน พลังงานน้ำ เป็นต้น ทำให้ เคนยาถือเป็นต้นแบบ ของประเทศในแอฟริกาที่จะพัฒนาการใช้พลังงานสะอาดในการผลิตไฟฟ้า อย่างไรกีดี การที่ยังไม่มีโรงงานผลิตแผงโชลาร์เชล หรือ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องภายในประเทศนั้น ทำให้เคนยายังต้องพึงพาอุปกรณ์หรือความรู้ในด้านนี้ จากนักลงทุนจากต่างประเทศอยู่เกือบทั้งหมด
ในส่วนของไทยนั้น ไทยเองก็มีความสามารถในการผลิตแผงโซลาร์เซล ทำให้อาจจะพิจารณาในการส่งออกประเภทดังกล่าวมายังเคนยาได้ ทั้งนี้ อุปกรณ์แผงโซลาร์เชลในที่ใช้ในเคนยา ส่วนใหญ่มีการนำเข้ามาจาก อินเดียและจีน
ผู้ส่งออกที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมด้านการค้าและการลงทุนต่าง ๆ เกี่ยวประเทศเคนยา และประเทศในแอฟริกาตะวันออก ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ E-mail: ของสำนักงานฯ ที่ info@ocanairobi.co.ke
ที่มา : Business Daily