วันที่ 17 เมษายน 2568 ประธานาธิบดี Donald Trump ได้ออกคำสั่ง Executive Order เรื่อง Restoring American Seafood Competitiveness เป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการเสียเปรียบทางการค้าอาหารทะเลของสหรัฐฯ ประธานาธิบดี Trump มีความเห็นว่า สหรัฐฯ มีความพร้อมที่จะเป็นผู้นำด้านอาหารทะเลของโลก แต่กฎหมายและกฎระเบียบของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ควบคุมการประมงมีความเข้มงวดมากเกินไปและไปขัดขวางความสามารถในการทำประมงเพื่อตอบสนองความต้องการของการบริโภคในประเทศ ทำให้ต้องจำเป็นต้องนำเข้าอาหารทะเลเกือบทั้งหมดที่บริโภคในประเทศ  และ ต้องเผชิญหน้ากับการทำการค้าและการแข่งขันอย่างไม่ยุติธรรมจากประเทศคู่ค้าสินค้าอาหารทะเล ส่งผลให้สหรัฐฯ เสียดุลการค้าอาหารทะเลมากกว่า 20  พันล้านเหรียญฯ

 

นโยบายอาหารทะเลที่ผ่านมาที่รัฐบาลสหรัฐฯ นำมาใช้ คือ ส่งเสริมการประมงในประเทศ ช่วยลดความเข้มงวดที่มากเกินไปของกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ต่อสู้กับการประมงที่ผิดกฎหมาย ที่ไม่มีการรายงาน และไม่เป็นไปตามกฎระเบียบ – IUU (Illegal, unreported, and unregulated fishing) และปกป้องตลาดอาหารทะเลสหรัฐฯ จากปฏิบัติการทางการค้าที่ไม่ยุติธรรมของประเทศคู่ค้า

 

นโยบายใหม่ที่ประธานาธิบดี Donald Trump วางแผนจัดทำคือ สั่งการให้ภาครัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้อง คือ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงบริการสุขภาพและมนุษยชน ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ และองค์กรในอุตสาหกรรมประมงสหรัฐฯ รวมถึง The Regional Fishery Management Councils เร่งเพิ่มการทำงานที่เป็น

  1. การระงับ ปรับเปลี่ยน หรือ ยกเลิกกฎระเบียบต่างๆที่เป็นภาระแก่อุตสาหกรรมประมง การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ และการผลิตอาหารทะเล ในทุกระดับ
  2. การพัฒนาการบริหารจัดการและวิทยาศาสตร์การประมง ตามที่มีระบุไว้ในกฎหมาย The Magnuson-Stevens Fishery Conservation and Management Act กฎหมาย the Endangered Species Act of 1973  กฎหมาย the Marine Mammal Protection Act และ กฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
  3. การพัฒนาและจัดทำ America First Seafood Strategy เพื่อส่งเสริมการผลิต การตลาด การขาย และการส่งออกสินค้าประมง และ สินค้าจากฟาร์มสัตว์น้ำของสหรัฐฯเพิ่มความสามารถในการผลิตอาหารทะเล และส่งเสริมการบริโภคอาหารทะเลในประเทศ
  4. การพัฒนาจัดทำกลยุทธการค้าอาหารทะเล ที่จะพัฒนาการเข้าถึงตลาดต่างประเทศ การระบุการค้าที่ไม่ยุติธรรมของประเทศคู่ค้า ที่รวมถึงการประมงผิดกฎหมาย และข้อกีดกันทางการค้าการค้าที่ไม่ใช่ด้านภาษี  และสร้างหลักประกันในการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดอาหารทะเลภายในประเทศให้แก่ผู้ผลิตสหรัฐฯ โดยให้ทำให้เสร็จสมบูรณ์ภายใน 60 วันจากวันที่ออกคำสั่ง หรือประมาณวันที่ 15 มิถุนายน 2567    

  5. ตรวจสอบปฏิบัติการทางการค้าของประเทศคู่ค้าที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลที่สำคัญ ในเรื่อง การประมงผิดกฎหมายและการใช้แรงงานทาสในห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเล จัดทำมาตรการตอบโต้ ทำการเจรจาต่อรองหรือ การบังคับใช้อำนาจที่เป็นกฎหมายด้านการค้า

  6. ทบทวนและพัฒนา Seafood Import Monitoring Program ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และตั้งเป้าไปที่การจัดส่งสินค้าที่มีความเสี่ยงสูงจากประเทศคู่ค้าที่มีปฏิบัติการฝ่าฝืนกฎหมายการประมงระหว่างประเทศอยู่เป็นประจำ

 

ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็น สคต. ลอสแอนเจลิส

1. เป็นที่สงสัยว่า การทำงานส่งเสริมการประมงของสหรัฐฯและลงแข่งขันกับประเทศคู่ค้า จะประสบผลสำเร็จได้หรือไม่ เนื่องจาก สหรัฐฯ มีความเสียเปรียบหลายประการ เช่น

(1) แม้ว่าแนวคิดของประธานาธิบดี Trump จะไม่เชื่อในสภาวะโลกร้อนและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่คน

อเมริกันส่วนใหญ่ มีแนวคิดเชื่อมั่นในปัญหาโลกร้อนและความจำเป็นต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเห็นด้วยกับการจัดทำกฎหมายและกฎระเบียบเข้มงวดเพื่อควบคุมอุตสาหกรรมต่างๆที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และจะต่อต้านปฏิบัติการใดๆที่เห็นว่าจะส่งกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

(2) ค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจในสหรัฐฯ สูงกว่าประเทศคู่แข่ง ที่เป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายในการทำงานเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบการทำธุรกิจและการจ้างแรงงาน

(3) ลดการนำเข้าและส่งเสริมการบริโภคอาหารทะเลที่ผลิตได้ในสหรัฐฯ หมายถึง ราคาอาหารทะเลในสหรัฐฯ ที่ปกติสูงอยู่แล้ว จะเพิ่มสูงมากยิ่งขึ้น ที่อาจนำไปสู่การบริโภคที่ลดลง

 

2. หากการปฏิบัติตามคำสั่งนี้เกิดขึ้นจริง จะเพิ่มอุปสรรคในการส่งสินค้าอาหารทะเลเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ที่เพิ่มเติมจากปัญหาการถูกเก็บภาษีนำเข้าเพิ่ม ความเสี่ยงในเรื่องนี้ของประเทศไทย อาจมาจากการที่กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ยังคงระบุว่า ประเทศไทยยังมีปัญหาเรื่องแรงงานในอุตสาหกรรมประมง ที่ส่งผลเป็นความเสี่ยงโดยตรงกับสินค้าอาหารทะเลที่ส่งเข้าสหรัฐฯ คือ กุ้ง อาหารและสินค้าอื่นที่มีความเสี่ยงในทางอ้อมจากปัญหาแรงงานในอุตสาหกรรมประมงไทย คือ อาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์ (animal feed) อาหารสัตว์เลี้ยง (pet food), fishmeal, fish oil และยังเชื่อมโยงไปถึง สินค้าเครื่องสำอาง และ อาหารเสริม ที่อาจใช้ส่วนผสมที่มาจากสัตวทะเล

 

3. สินค้าอาหารทะเลที่ได้รับความนิยมบริโภค และมีการนำเข้าสหรัฐฯ มากที่สุดในหลายรูปแบบ คือ กุ้ง จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่ อุตสาหกรรมกุ้งสหรัฐฯ ได้ออกมาสนับสนุนคำสั่งและนโยบายการส่งเสริมการประมง และอุตสาหกรรมอาหารทะเลสหรัฐฯ โดยทันที และจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมกุ้งสหรัฐฯ ทำงานอย่างเข้มแข็งในการสนับสนุนการทำงานของภาครัฐและสอดส่องต่อต้านการนำเข้า

4. การนำเข้าอาหารทะเลสหรัฐฯในปี 2023 มีมูลค่า 21.13 พันล้านเหรียญฯ ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ากุ้ง

 

5. ในปี 2024 มูลค่านำเข้าอาหารทะเลของสหรัฐฯประมาณ 26.6 พันล้านเหรียญฯลดลงจากปี 2023 ประมาณร้อยละ 4

 

6. แหล่งอุปทานสำคัญ คือ จีน ประเทศไทย แคนาดา อินโดนิเซีย เวียดนาม และ เอควาดอร์ และมีผู้นำเข้ารายใหญ่ เช่น Thai Union Group, Baywatch Seafood, Stavis Seafood และ Pacific Seafood Group เป็นต้น

 

7. สินค้านำเข้าจากประเทศไทยที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก คือ

คำสั่ง Executive Order ให้ฟื้นฟูอุตสาหกรรมอาหารทะเลสหรัฐอเมริกา

thThai