รัฐบาลฮ่องกงได้ริเริ่มโครงการ Northern Metropolis ในเดือนตุลาคม ปี 2564 เพื่อพัฒนา เขตเมืองทางตอนเหนือของฮ่องกงให้เป็นศูนย์กลางที่สมดุลระหว่างการอยู่อาศัย การทํางาน และ โครงสร้างพื้นฐาน Northern Metropolis ไม่เพียงแต่เป็นการขยายพื้นที่เมือง แต่ยังเป็นโครงการเชิง ยุทธศาสตร์ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการเติบโตของ อุตสาหกรรม เทคโนโลยี การศึกษา วัฒนธรรม และสิ่งอํานวยความสะดวกของชุมชน
รายงานนโยบายปี 2565 ได้กําหนดให้ Northern Metropolis เป็นโครงการพัฒนาเมืองที่ สําคัญของฮ่องกง โดยขับเคลื่อนด้วยแนวคิด “อุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานเป็นตัวนํา” (Industry and Infrastructure-led Development) ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการ ขยายพื้นที่เมือง พื้นที่พัฒนา ครอบคลุมกว่า 30,000 เฮกตาร์ หรือ หนึ่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของ ฮ่องกง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ Yuen Long และ North District รวมถึงเมืองที่มีอยู่เดิม เช่น Yuen Long, Tin Shui Wai, Fanling และ Sheung Shui พร้อมทั้ง พื้นที่พัฒนาใหม่ (NDAs) ที่อยู่ระหว่าง การดําเนินการ ปัจจุบัน Northern Metropolis มีประชากรราว 980,000 คน และตําแหน่งงาน ประมาณ 134,000 ตําแหน่ง อย่างไรก็ตาม เมื่อโครงการพัฒนาเสร็จสมบูรณ์ พื้นที่นี้จะสามารถ รองรับประชากรได้ถึง 2.5 ล้านคน และสร้างตําแหน่งงานเพิ่มขึ้นเป็น 500,000 ตําแหน่ง
ภาพที่ 1: Northern Metropolis Action Agenda
นอกจากนี้ โครงการนี้ยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับชาติของจีน เช่น แผนพัฒนา 5 ปี ฉบับที่ 14 ที่มุ่งเน้นให้ฮ่องกงเป็น ศูนย์กลางนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับนานาชาติ (I&T Centre) รวมถึงการบูรณาการกับโครงการ Greater Bay Area (GBA) ซึ่งเป็นกลไกสําคัญในการเชื่อมโยง เศรษฐกิจระหว่างฮ่องกง มาเก๊า และจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะในส่วนของ Hong Kong-Shenzhen I&T Park (HSITP) และ Shenzhen I&T Zone
1. วิสัยทัศน์และเป้าหมาย (Vision and Target)
Northern Metropolis ถูกออกแบบให้เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับ นานาชาติที่ผสมผสานการพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต และวัฒนธรรมอย่างสมดุล โดยมุ่งเน้นให้เป็น เมืองที่เติบโตอย่างยั่งยืนผ่านการพัฒนาที่ดิน ที่อยู่อาศัย และอุตสาหกรรม โดยมีแผนพัฒนาพื้นที่กว่า 3,000 เฮกตาร์ และจัดสรรโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับประชากรกว่า 2.5 ล้านคน
เมืองนี้จะเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่สําคัญ ภายใต้แนวคิดการพัฒนา อุตสาหกรรมแบบคู่ขนานเหนือ-ใต้ โดยมุ่งเน้นการเชื่อมโยงภาคการเงินและเทคโนโลยี และคาดว่าจะ สร้างตําแหน่งงานใหม่กว่า 500,000 ตําแหน่ง นอกจากนี้ ยังให้ความสําคัญกับการบูรณาการกับ Greater Bay Area (GBA) ผ่านโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทาง เศรษฐกิจและการพัฒนาเมืองให้สอดคล้องกับภูมิภาคโดยรอบ
ระบบคมนาคมจะถูกพัฒนาให้ขับเคลื่อนด้วยโครงข่ายรถไฟ โดยมีแผนสร้างเส้นทางรถไฟ ใหม่เพื่อเชื่อมต่อกับเซินเจิ้นและพื้นที่สําคัญอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนา Northern Metropolis University Town เพื่อส่งเสริมการศึกษาและการวิจัย โดยจัดสร รพื้นที่เฉพาะสําหรับสถาบันอุดมศึกษาและศูนย์วิจัย
ด้านสิ่งแวดล้อม เมืองนี้จะถูกออกแบบให้เป็นเมืองสีเขียวและคาร์บอนต่ำ โดยมีมาตรการ อนุรักษ์ระบบนิเวศ รวมถึงการดูแลพื้นที่ชุ่มน้ําสําคัญ เช่น Mai Po และ Inner Deep Bay นอกจากนี้ ยังมีแผนพัฒนาศูนย์กลางวัฒนธรรม ศิลปะ กีฬา และเยาวชน เพื่อส่งเสริมให้ฮ่องกงเป็นศูนย์กลาง ทางวัฒนธรรมและกีฬาระดับนานาชาติ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลจะ จัดตั้งหน่วยงานภาครัฐภายใน Northern Metropolis เพื่อให้การบริหารและพัฒนาภาคธุรกิจเป็นไป อย่างราบรื่น โครงการนี้ถือเป็นก้าวสําคัญของฮ่องกงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและนวัตกรรม พร้อม ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เติบโตไปสู่อนาคตอย่างมั่นคง
เพื่อให้แผนพัฒนาเป็นไปอย่างเป็นระบบ เอกสาร Action Agenda 2568 ได้กําหนด 4 เขต พัฒนาเศรษฐกิจหลัก ใน Northern Metropolis ได้แก่:
– ศูนย์กลางบริการวิชาชีพระดับสูงและโลจิสติกส์ มีบทบาทสําคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจข้าม พรมแดน เชื่อมโยงกับ Qianhai Cooperation Zone ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการเงินและธุรกิจ ระหว่างประเทศ เขตนี้ออกแบบให้รองรับการค้า บริการทางการเงิน และโลจิสติกส์ โดยมี โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเติบโตในอนาคต
– เขตนวัตกรรมและเทคโนโลยี (I&T) ตั้งเป้าให้เป็นศูนย์กลางวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระดับโลก เชื่อมโยงกับ Shenzhen I&T Zone โดยมี San Tin Technopole เป็นจุดศูนย์กลาง ซึ่งจะเป็น แหล่งรวมบริษัทเทคโนโลยีขั้นสูงและสตาร์ทอัพ สนับสนุนด้วยนโยบายพิเศษจากรัฐบาลและการ ลงทุนจากภาคเอกชน
– เขตพาณิชย์และอุตสาหกรรมชายแดน เน้นการพัฒนาเมืองใหม่ เช่น Fanling, Sheung Shui, Kwu Tung North, Fanling North และ New Territories, North New Town รวมถึงพื้นที่ รอบด่านชายแดนสําคัญ เช่น Lo Wu, Man Kam To และ Heung Yuen Wai เพื่อลดความ แออัดของเมืองเก่าและเพิ่มขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์ การค้า และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง กับการบริโภคข้ามพรมแดน
– เขตนันทนาการสีฟ้าและสีเขียว มุ่งเน้นการอนุรักษ์ธรรมชาติและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยพื้นที่สําคัญ เช่น Robin’s Nest, Sha Tau Kok และ Yan Chau Tong จะได้รับการพัฒนา ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน มีการอนุรักษ์ระบบนิเวศควบคู่ไปกับการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น
ภาพที่ 2: 4 เขตพัฒนาเศรษฐกิจหลักใน Northern Metropolis
การพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจหลัก 4 เขต มีรายละเอียดการดําเนินการ และแนวคิดการพัฒนา ดังนี้
(1) ศูนย์กลางบริการวิชาชีพระดับสูงและโลจิสติกส์ (High-end Professional Services and Logistics Hub)
Northern Metropolis ถูกกําหนดให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของฮ่องกง โดยหนึ่งใน พื้นที่ยุทธศาสตร์สําคัญคือ ศูนย์กลางบริการวิชาชีพระดับสูงและโลจิสติกส์ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของ เขตพัฒนาใหม่ ครอบคลุม Yuen Long, Tin Shui Wai, Hung Shui Kiu / Ha Tsuen และ Lau Fau Shan โดยเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ การค้าข้ามพรมแดน และบริการวิชาชีพระดับสูง ที่เชื่อมโยงกับโครงสร้างเศรษฐกิจของ Greater Bay Area (GBA)
ภาพที่ 3: ศูนย์กลางบริการวิชาชีพระดับสูงและโลจิสติกส์ High-end Professional Services and Logistics Hub
พื้นที่นี้มีบทบาทสําคัญในการรองรับธุรกิจระหว่างประเทศ โดยเฉพาะด้าน การเงิน โลจิสติกส์ และการค้าข้ามพรมแดน โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งที่กําลังได้รับการพัฒนา เพื่อเชื่อมโยง Qianhai Cooperation Zone ในเซินเจิ้น ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเงินและธุรกิจของ GBA ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
Qianhai เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของ GBA ที่ดึงดูด ธุรกิจการเงิน บริการทางกฎหมาย เทคโนโลยี และโลจิสติกส์สมัยใหม่ โดยเฉพาะการขยายพื้นที่จาก 14.92 ตารางกิโลเมตร เป็น 120.56 ตารางกิโลเมตร ในปี 2564 ทําให้สามารถรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น พื้นที่ HSK/ HT และ Lau Fau Shan ได้รับการออกแบบให้เชื่อมโยงกับ Qianhai และ Nanshan ผ่าน โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม เช่น
– Hong Kong-Shenzhen Western Rail Link (Hung Shui Kiu – Qianhai)
– Hong Kong Island West-Hung Shui Kiu Rail Link
พื้นที่ HSK / HT ได้รับการพัฒนาให้เป็น ศูนย์กลางบริการวิชาชีพระดับสูงของ GBA โดยเน้น บริการทางการเงิน การประกันภัย การบริหารความเสี่ยง กฎหมาย และการให้คําปรึกษาทางธุรกิจ โดยมี พื้นที่เชิงพาณิชย์กว่า 2 ล้านตารางเมตร รอบ สถานี Hung Shui Kiu ซึ่งจะกลายเป็นศูนย์กลาง ธุรกิจหลัก โดยโครงการพัฒนาจะเริ่มในปี 2569 และอาคารชุดแรกจะแล้วเสร็จภายในปี 2573
พื้นที่ HSK / HT ตั้งอยู่ใกล้กับ Shenzhen Bay Port ทําให้เป็น ศูนย์กลางโลจิสติกส์ สมัยใหม่ ที่สําคัญของฮ่องกง ภายใต้ยุทธศาสตร์ “East in East out, West in West out” มีการ จัดสรร พื้นที่อุตสาหกรรมกว่า 70 เฮกตาร์ สําหรับ การพัฒนาอาคารอุตสาหกรรมหลายชั้น (MSBs) เพื่อรองรับ โลจิสติกส์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมยานยนต์ และบริการซ่อมบํารุง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการ เติบโตของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ใน GBA
พื้นที่ Yuen Long South (YLS) ได้รับการกําหนดให้เป็น เขตที่อยู่อาศัยหลัก โดยสามารถ รองรับที่อยู่อาศัย 30,000 ยูนิต และโครงการที่อยู่อาศัยใน HSK / HT จะมีมากกว่า 66,700 ยูนิต รองรับประชากร 184,000 คน การพัฒนาที่อยู่อาศัยสาธารณะบางส่วนในพื้นที่นี้คาดว่าจะเปิดให้ ประชาชนย้ายเข้าอยู่ภายในไม่กี่ปีข้างหน้า
Northern Metropolis จึงเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนา บริการระดับมืออาชีพ และระบบโลจิสติกส์ที่ทันสมัย ซึ่งจะช่วยยกระดับฮ่องกงให้เป็น ศูนย์กลางธุรกิจและการค้าเชื่อมต่อ กับ GBA ได้อย่างสมบูรณ์
ภาพที่ 4: Housing supply and employment opportunities
(2) เขตนวัตกรรมและเทคโนโลยี (Innovation and Technology Zone)
Northern Metropolis ได้รับการออกแบบให้เป็นศูนย์กลาง อุตสาหกรรมนวัตกรรมและ เทคโนโลยี (I&T) ที่สําคัญ โดยมีการเชื่อมโยงอย่างแข็งแกร่งกับ Shenzhen I&T Zone ซึ่งเป็นแหล่ง พัฒนาเทคโนโลยีระดับสูงของ Greater Bay Area (GBA) พื้นที่นี้รองรับ เศรษฐกิจดิจิทัล เทคโนโลยีชีวภาพ และการผลิตอัจฉริยะ
ภาพที่ 5: เขตนวัตกรรมและเทคโนโลยี (Innovation and Technology Zone)
San Tin Technopole เป็นจุดศูนย์กลางของเขตนี้ โดยมีพื้นที่กว่า 600 เฮกตาร์ ซึ่ง 300 เฮกตาร์ ถูกจัดสรรให้เป็น พื้นที่สําหรับอุตสาหกรรม I&T รองรับโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ขนาดใหญ่ รวมถึง Shenzhen-Hong Kong Science and Technology Innovation cooperation Zone (Cooperation Zone) ที่พัฒนาโดยใช้แนวคิด “แม่น้ําหนึ่ง สองฝั่ง” และ “หนึ่งเขต สองอุทยาน”
ภาพที่ 6: San Tin Technopole
ฮ่องกงและเซินเจิ้นร่วมมือกันพัฒนา Shenzhen I&T Zone ให้เป็นเขตนําร่องด้านนวัตกรรมระดับนานาชาติ โดย Hong Kong-Shenzhen Innovation and Technology Park (HSITP) จะถูก พัฒนาเป็นศูนย์กลางสําหรับ ชีวการแพทย์ เทคโนโลยีสุขภาพ ปัญญาประดิษฐ์ และการผลิตขั้นสูง สํานักงาน Innovation, Technology and Industry Bureau (ITIB) กําลังศึกษาแนวทางพัฒนา อุตสาหกรรม I&T ในทุกระดับ ได้แก่
– ต้นน้ำ (Upstream): การวิจัยและพัฒนา
– กลางน้ํา (Midstream): การพัฒนาต้นแบบและการทดลอง
– ปลายน้ํา (Downstream): กระบวนการผลิตเชิงอุตสาหกรรม
ในระยะยาว ฮ่องกงมีแผนจัดตั้ง ศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวติ้งปัญญาประดิษฐ์ (AI Supercomputing Facility) เพื่อเร่งพัฒนา เศรษฐกิจดิจิทัล และสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี
San Tin Technopole ได้รับการออกแบบให้มี โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่ทันสมัย โดยมี สถานี Lok Ma Chau เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อกับเซินเจิ้น นอกจากนี้ ยังมีแผนพัฒนา Northern Link (NOL) และ NOL Spur Line เพื่อรองรับการขยายตัวของพื้นที่
พื้นที่นี้ยังรองรับ โครงการที่อยู่อาศัยมากกว่า 50,000 ยูนิต เพื่อรองรับบุคลากรในภาค เทคโนโลยี โดยมีการพัฒนาสถาบันการศึกษาในพื้นที่ Ngau Tam Mei เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างภาควิชาการและอุตสาหกรรม
เขตนวัตกรรมและเทคโนโลยี (I&T Zone) จะเป็นหัวใจสําคัญของ Northern Metropolis โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ล้ําสมัยและการร่วมมือกับ เซินเจิ้น จะช่วยให้ฮ่องกงกลายเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมระดับโลก และเป็นกําลังขับเคลื่อนสําคัญของ Greater Bay Area (GBA) ใน อนาคต
ภาพที่ 7: Housing supply and employment opportunities
(3) เขตพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมชายแดน (Boundary Commerce and Industry Zone)
เขตพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมชายแดนของ Northern Metropolis ตั้งอยู่ทางทิศ ตะวันออกของ San Tin Technopole ครอบคลุมพื้นที่บริเวณด่านสําคัญ เช่น Lo Wu, Man Kam To และ Heung Yuen Wai ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อหลักระหว่างฮ่องกงและเซินเจิ้น พื้นที่นี้ถูกออกแบบให้ เป็นศูนย์กลางของการค้า การลงทุน และอุตสาหกรรมข้ามพรมแดน โดยเชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจ ของเซินเจิ้นที่มีบทบาทสําคัญในอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และเศรษฐกิจดิจิทัล
ภาพที่ 8: เขตพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมชายแดน (Boundary Commerce and Industry Zone)
การพัฒนาพื้นที่นี้ยังรวมถึงเมืองใหม่ New Territories North (NTN) และเขตเศรษฐกิจ บริเวณจุดควบคุมชายแดน ซึ่งจะรองรับธุรกิจที่ต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่และสามารถเชื่อมต่อกับ อุตสาหกรรมด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีของ San Tin Technopole ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ พื้นที่ใกล้เคียงยังมีศักยภาพสูงสําหรับการพัฒนาแหล่งค้าปลีก บริการสุขภาพ และ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อรองรับผู้บริโภคข้ามพรมแดนจากเซินเจิ้น
ภาพที่ 9: เมืองใหม่ New Territories North (NTN)
ด้านโลจิสติกส์ ด่าน Heung Yuen Wai BCP จะถูกพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ สมัยใหม่ของฮ่องกง โดยรองรับซัพพลายเชนและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้า นอกจากนี้ยังมีแผนพัฒนาอุตสาหกรรมเกิดใหม่ เช่น เทคโนโลยีอาหาร อุตสาหกรรมก่อสร้างสีเขียว และอุตสาหกรรมการเกษตรอัจฉริยะ โดยรัฐบาลเตรียมย้ายสถานที่ตรวจสอบสัตว์มีชีวิตและอาหาร สด รวมถึงโรงฆ่าสัตว์ไปยังพื้นที่ใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทาน
ภาพที่ 10: Housing supply and employment opportunities
รัฐบาลยังให้ความสําคัญกับโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม โดยมีแผนพัฒนาสถานี Kwu Tung ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2570 รวมถึงขยายเครือข่ายรถไฟและถนนเพื่อเชื่อมต่อ พื้นที่สําคัญ เช่น Northern Link Extension และ Northern Metropolis Highway ซึ่งจะช่วย สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาค
ภาพที่ 11: โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ของ Boundary Commerce and Industry Zone
ในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รัฐบาลมีแผนจัดตั้ง อาคารสํานักงานรัฐบาลร่วม ใน KTN เพื่อเป็นศูนย์กลางการบริหาร พร้อมพัฒนา Northern Metropolis University Town เพื่อยกระดับ ระบบการศึกษาและการวิจัย นอกจากนี้ยังมีโครงการ New Territories East Cultural Centre ใน Fanling ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางศิลปะและการแสดง รวมถึงโครงการขยายโรงพยาบาล North District Hospital ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2572
เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม Long Valley Nature Park ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็น พื้นที่อนุรักษ์ระบบนิเวศ และมีกําหนดเปิดให้ประชาชนเข้าชมในปี 2567 ภายในสามปีข้างหน้า รัฐบาลจะเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และที่อยู่อาศัยในพื้นที่ KTN / FLN ควบคู่ไป กับการสร้างศูนย์ราชการและอาคารสํานักงานรัฐบาล เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิต ใน Northern Metropolis
ภาพที่ 12: Long Valley Nature Park
(4) เขตนันทนาการสีฟ้าและสีเขียว การท่องเที่ยว และการอนุรักษ์ (Blue and Green Recreation, Tourism and Conservation Circle)
พื้นที่ Robin’s Nest, Lin Ma Hang, Sha Tau Kok และ Yan Chau Tong มีทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรมที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และการพัฒนา Sha Tau Kok Frontier Closed Area เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ภาพที่ 13: เขตนันทนาการสีฟ้าและสีเขียว การท่องเที่ยว และการอนุรักษ์ (Blue and Green Recreation, Tourism and Conservation Circle)
Robin’s Nest Country Park (530 เฮกตาร์) กําลังอยู่ระหว่างกระบวนการจัดตั้ง เชื่อมต่อกับ Shenzhen Wutong Mountain Scenic Area เพื่อพัฒนาทางเดินนิเวศข้ามพรมแดน พร้อมเครือข่ายเส้นทางเดินป่าและจุดชมวิว เหมืองแร่ Lin Ma Hang จะถูกบูรณะเป็น พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง
ภาพที่ 14: Robin’s Nest Country Park
Mirs Bay / Yan Chau Tong ได้รับการพัฒนาเป็นเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายใต้ Hong Kong UNESCO Global Geopark รัฐบาลยังศึกษาการพัฒนา “เขตวัฒนธรรมการท่องเที่ยว ร่วมกัน” ระหว่าง Hong Kong Sha Tau Kok และ Shenzhen Shatoujiao ใน ระหว่างปี 2567 – 2569 มีโครงการสําคัญที่ดําเนินการ ได้แก่
– จัดตั้ง Robin’s Nest Country Park
-ขยายการเข้าถึง Sha Tau Kok Frontier Closed Area
– พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด่าน Sha Tau Kok BCP
โครงการนี้จะยกระดับ Northern Metropolis ให้เป็น ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์และวัฒนธรรมที่สําคัญ
2. การวางแผนการใช้ที่ดินที่ขับเคลื่อนโดยอุตสาหกรรม (Industry-driven Land Use Planning)
Northern Metropolis มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมสําคัญเพื่อรองรับการเติบโตของฮ่องกง โดยจัดสรรที่ดินสําหรับ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (I&T), โลจิสติกส์, สิ่งแวดล้อม, ก่อสร้าง,
เกษตรกรรม, การดูแลสุขภาพ, การศึกษา และบริการทางวิชาชีพ
- I&T: พัฒนา San Tin Technopole และ HSITP บนพื้นที่ 300 เฮกตาร์ เชื่อมโยงกับเซินเจิ้น รองรับการวิจัยและอุตสาหกรรมเทคโนโลยี
- โลจิสติกส์: เขต HSK / HT และ Yuen Long InnoPark จะเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ยุคใหม่ เพิ่ม ประสิทธิภาพซัพพลายเชน
- สิ่งแวดล้อม: พัฒนา EcoPark II และโรงกําจัดขยะผลิตพลังงาน (WTE) ตาม แผนจัดการขยะ 2035
- ก่อสร้าง: ส่งเสริม Modular Integrated Construction (MiC) และตั้ง ศูนย์วิจัยวัสดุก่อสร้าง
- เกษตรกรรม: ส่งเสริม ฟาร์มเกษตรแนวดิ่งและฟาร์มปศุสัตว์ในอาคารสูง และพัฒนา ศูนย์วิจัย การประมง
- สุขภาพ: ตั้ง Greater Bay Area International Clinical Trial Institute และส่งเสริม ศูนย์ แพทย์แผนจีน (CMCTRCs)
- การศึกษา: จัดสรร 60 เฮกตาร์ สําหรับ Northern Metropolis University Town เพื่อพัฒนา สถาบันอุดมศึกษา
- ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬา: สร้าง ศูนย์วัฒนธรรมใน San Tin และพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน กีฬา รองรับกิจกรรมระดับนานาชาติ
- บริการวิชาชีพ: เขต HSK / HT จะเป็นศูนย์กลางธุรกิจด้าน กฎหมาย, การเงิน และบริหารความ เสี่ยง
- การท่องเที่ยว: สนับสนุน Sha Tau Kok, Lau Fau Shan และพื้นที่อนุรักษ์ ส่งเสริม มรดก วัฒนธรรมและท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
3. ลําดับของการพัฒนา (Milestones of Development)
รัฐบาลเร่งพัฒนา Northern Metropolis ด้วยแนวทาง เพิ่มปริมาณ ความเร็ว ประสิทธิภาพ และคุณภาพ เพื่อเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้ กลไกตลาด และ แนวทาง พัฒนาเมืองใหม่ที่ปรับปรุงแล้ว
เป้าหมายสําคัญ
- 2567: เปิดเผยแผนพัฒนาและข้อเสนอการใช้ที่ดิน
- 2570: เริ่มเวนคืนที่ดินโครงการใหญ่ทั้งหมด
- 2575: พัฒนา 40% ของที่ดินใหม่ และสร้างที่อยู่อาศัยสําเร็จ 40%
ระยะที่ 1: พัฒนาเร่งด่วน ( พ.ศ 2567- 2571)
- เปิดให้ประชากรกลุ่มแรกย้ายเข้าใน HSK / HT, KTN / FLN
- ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานหลัก เช่น Hung Shui Kiu Station, NOL Main Line, สถานี Kwu Tung
- เปิด Long Valley Nature Park และ New Territories East Cultural Centre
- พัฒนา San Tin Technopole, Ngau Tam Mei, NTN New Town, LW / MKT
- ศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับ Sha Tau Kok Tourism Zone และ Wetland Conservation Park
ระยะที่ 2: การขยายและเสริมสร้างศักยภาพ (พ.ศ 2572 – 2576)
- เปิด Hung Shui Kiu Station และขยายโรงพยาบาล North District
- ประชากรกลุ่มแรกของ San Tin Technopole และ YLS เริ่มย้ายเข้า
- ดํ า เ นิ น โ ครงการถนนและทางหลวง เ ช่น Tuen Mun Bypass, Yuen Long Highway Expansion และ Route 11
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและสํานักงานรัฐบาล
ภายใน 10 ปีแรก Northern Metropolis จะเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง พร้อมโครงสร้างพื้นฐานสําคัญ การพัฒนาเมือง และการขยายอุตสาหกรรมที่สอดรับกับ Greater Bay Area (GBA) เป้าหมายคือ สร้างเมืองอุตสาหกรรมที่สมดุล มีที่อยู่อาศัยเพียงพอ โครงสร้างพื้นฐานทันสมัย และเชื่อมโยง เศรษฐกิจระดับภูมิภาคอย่างแข็งแกร่ง
4. แนวทางการพัฒนา (Way Forward)
รัฐบาลเดินหน้าพัฒนา Northern Metropolis อย่างเต็มกําลัง โดยมี คณะกรรมการกํากับ ดูแล (SCNM) นําโดยหัวหน้าคณะผู้บริหาร และ คณะกรรมการที่ปรึกษา ทําหน้าที่ให้คําแนะนําด้านนโยบาย
เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือกับจีนแผ่นดินใหญ่ Task Force for Collaboration ได้รับการ จัดตั้งขึ้นภายใต้กลไกความร่วมมือ กวางตุ้ง-ฮ่องกง และฮ่องกง-เซินเจิ้น เพื่อประสานด้าน อุตสาหกรรม การใช้ที่ดิน คมนาคม และการอนุรักษ์
Northern Metropolis Co-ordination Office (NMCO) ทําหน้าที่ดูแลโครงการพัฒนา ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ (Action Agenda) ซึ่งกําหนดกรอบเวลาสําหรับ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลัก
รัฐบาลมีแนวทาง ปรับปรุงแผนให้ยืดหยุ่น รองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม พร้อมส่งเสริมความเข้าใจของประชาชนผ่าน ศูนย์นิทรรศการ ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการใหญ่ เช่น Kau Yi Chau เพื่อสร้างความโปร่งใสและความมีส่วนร่วมของสังคม
ภาพที่ 15: ผู้บริหารสูงสุด และหัวหน้าคณะผู้บริหาร คณะกรรมการที่ปรึกษา
ภาพที่ 16: เมืองนานาชาติด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี
ทั้งนี้ Northern Metropolis มีเป้าหมายในการพัฒนาให้เป็น “เมืองนานาชาติด้าน นวัตกรรมและเทคโนโลยี” ที่สามารถผสานคุณภาพชีวิตที่ดี อุตสาหกรรมที่ก้าวหน้า วัฒนธรรม และ การพักผ่อนเข้าไว้ด้วยกัน โดยใช้แนวคิดการพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยอุตสาหกรรมและโครงสร้าง พื้นฐาน เพื่อเป็นศูนย์กลางสําคัญที่ช่วยให้ฮ่องกงสามารถบูรณาการเข้ากับแผนพัฒนาระดับประเทศ ได้ โครงการมุ่งเน้นการพัฒนาใน 4 ด้านหลัก ได้แก่
1) การจัดหาที่ดินและที่อยู่อาศัย – Northern Metropolis จะเป็นแหล่งที่ดินสําคัญของฮ่องกง รองรับการพัฒนาใหม่กว่า 3,000 เฮกตาร์ และที่อยู่อาศัยมากกว่า 500,000 หน่วย คาดว่าจะ สามารถรองรับประชากรได้ถึง 5 ล้านคน
2)การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม – มุ่งเน้นการวางผังเมืองที่ขับเคลื่อนด้วยอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ นวัตกรรมและเทคโนโลยี (I&T) และ โลจิสติกส์ระดับสูง สร้างโอกาสการจ้างงานใหม่ กว่า 500,000 ตําแหน่ง
3)การเชื่อมโยงกับ Greater Bay Area (GBA) – ซึ่งครอบคลุมฮ่องกง มาเก๊า และอีก 9 เมือง ใน พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ทางตอนใต้ของจีน โดยรัฐบาลกลางดําเนินยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมค วามั่งคั่งจากการนําจุดแข็งของแต่ละเมืองมาเชื่อมโยงกัน โครงการ Northern Metropolis โดย รัฐบาลฮ่องกงส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจกับจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะเซินเจิ้น เพื่อพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน โลจิสติกส์ และอุตสาหกรรม ดังนั้นการเชื่อมโยงกับ GBA จะเป็นกําลังสําคัญในการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฮ่องกง
4)การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม – ใช้ ระบบรางเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลัก ขยาย เส้นทางรถไฟ และปรับปรุงเครือข่ายถนนเพื่อรองรับการเติบโตของเมือง นอกจากนี้ โครงการยังให้ ความสําคัญกับ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การพัฒนาให้เป็น ชุมชนคาร์บอนต่ํา และส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา และโครงสร้างพื้นฐานสําหรับเยาวชน เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาเมืองและ คุณภาพชีวิตของประชาชน
5. โอกาสของธุรกิจไทยใน Northern Metropolis
Northern Metropolis ถือเป็นโครงการพัฒนาเมืองที่ใหญ่ที่สุดของฮ่องกงและมีศักยภาพใน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจของภูมิภาคอย่างมีนัยสําคัญด้วยการเชื่อมต่อกับ Greater Bay Area (GBA)และตลาดจีนแผ่นดินใหญ่โดยตรง พื้นที่นี้จึงเปิดโอกาสให้ธุรกิจไทยสามารถขยายตัวและ สร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม
หนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับประโยชน์โดยตรงคือธุรกิจโลจิสติกส์และการขนส่ง ด้วยการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการ Hong Kong-Shenzhen Western Rail Link และ Northern Link ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟที่ช่วยเชื่อมต่อฮ่องกงกับเขตเศรษฐกิจสําคัญของจีน ทําให้การขนส่งสินค้า จากไทยไปยังฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่รวดเร็วยิ่งขึ้น การพัฒนาพื้นที่โลจิสติกส์ใน Hung Shui Kiu / Ha Tsuen และ Yuen Long South ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านการกระจายสินค้า ซึ่งเป็น โอกาสสําหรับธุรกิจไทยที่ต้องการลงทุนในคลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า และระบบขนส่งที่มี ประสิทธิภาพสูง
ด้านการท่องเที่ยวและบริการ พื้นที่ Sha Tau Kok และ Robin’s Nest กําลังได้รับการ พัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นตลาดใหม่ที่สําคัญสําหรับ ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และบริการด้านสุขภาพของไทย นักธุรกิจไทยสามารถใช้โอกาสนี้ในการ ขยายธุรกิจร้านอาหารไทย สปาไทย หรือแม้แต่โรงแรมที่นําเสนอประสบการณ์แบบไทยในพื้นที่นี้ได้ การพัฒนา Robin’s Nest Country Park ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติแห่งใหม่ของฮ่องกง ยังช่วยเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยวให้กับนักลงทุนไทยที่ต้องการขยาย ตลาดมายังฮ่องกงและ Greater Bay Area
นอกจากอุตสาหกรรมดั้งเดิมแล้ว Northern Metropolis ยังถูกออกแบบให้เป็นศูนย์กลาง นวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับโลก พื้นที่ San Tin Technopole และ Hong Kong-Shenzhen Innovation & Technology Park (HSITP) กําลังพัฒนาให้เป็นฐานของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี ขั้นสูง เช่น Fintech, AI, Robotics และ Smart City Solutions รัฐบาลฮ่องกงได้จัดสรรงบประมาณ และโครงการสนับสนุนเพื่อดึงดูดนักลงทุนและสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีสําหรับ ธุรกิจไทยที่ต้องการเข้าร่วมในอุตสาหกรรมนี้ การที่ฮ่องกงมีระบบโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่ แข็งแกร่งยังช่วยให้ธุรกิจไทยสามารถเข้าถึงแหล่งทุนและเครือข่ายทางธุรกิจได้ง่ายขึ้น
ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของ Northern Metropolis ธุรกิจไทยสามารถใช้โอกาสนี้ใน การเข้าสู่ตลาดฮ่องกงและขยายต่อไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นด้าน โลจิสติกส์ อาหาร การท่องเที่ยว หรือเทคโนโลยี พื้นที่นี้เป็นศูนย์กลางแห่งโอกาสที่สามารถขับเคลื่อน การเติบโตของธุรกิจไทยในระดับนานาชาติ
สคต. ณ เมืองฮ่องกง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- หนังสือ Northern Metropolis (2023) Action Agenda
- เว็ปไซต์ https://www.nm.gov.hk/en/four-zones