ภาพรวมเศรษฐกิจ
- เศรษฐกิจของประเทศชิลีประจำเดือนมกราคม 2568 ในภาพรวม GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.3% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ได้แรงสนับสนุนจากภาคธุรกิจการค้า และภาคการผลิต เพิ่มขึ้นที่ 8.7% และ 6.4% ตามลำดับ การบริโภคภาคเอกชนโดยรวมปรับตัวดีขึ้นที่ 5.6% ภาคการลงทุนของชิลีเริ่มปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่เดือนธันวาคม 2567 อัตราว่างงานลดลงต่ำที่สุดในรอบ 2 ปี โดยอยู่ที่ 8.0% ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อภายในประเทศได้ปรับเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบ 12 เดือน มาอยู่ที่ 4.9% การนำเข้าและส่งออกโดยรวมของชิลีเพิ่มขึ้น 8.4% และ 7% ตามลำดับ ทั้งนี้ ในเดือนมกราคม ชิลีมีมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากไทยมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก (และมากเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศในกลุ่มอาเซียน) รวมมูลค่ากว่า 48.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าถึง 30.5% โดยสินค้าที่มีสัดส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นสูงที่สุดได้แก่ (1) ปลากระป๋อง (2) ผลิตภัณฑ์พลาสติก (3) รถยนต์และส่วนประกอบ โดยเพิ่มขึ้นถึง 169.3% , 82.0% และ 52.8% ตามลำดับ
- ในส่วนของรายละเอียดในแต่ละด้านประจำเดือนมกราคม 2568 สคต. ณ กรุงซันติอาโก ขอสรุปรายละเอียด ดังนี้
1. การบริโภคภาคเอกชน (ข้อมูลจากธนาคารกลางชิลี )
การบริโภคภาคเอกชนของชิลีประจำเดือนมกราคม 2568 ในภาพรวมขยายตัว 5.6% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สอดคล้องกับดัชนีกิจกรรมค้าปลีกที่เพิ่มขึ้น 7.2% โดยกลุ่มสินค้าคงทน (รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยี) ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 10.2% ทั้งนี้ หมวดสินค้าที่มีการบริโภคเพิ่มมากขึ้นสูงที่สุด ในเดือนมกราคมนี้ ได้แก่ หมวดเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยี โดยเพิ่มขึ้น 14.5%, 13.6%, และ 12.3%, ตามลำดับ โดยมีเพียงหมวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบเพียงหมวดเดียว หดตัวลงที่ -1.0%
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนมกราคม 2568 ปรับระดับลดลงเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากที่ระดับ 43.8 มาอยู่ที่ 43.3 ลดลง -1.2%
2.การลงทุน (ข้อมูลจากธนาคารกลางชิลี https://www.bcentral.cl/)
บรรยากาศการลงทุนในภาครัฐและเอกชนของชิลีประจำเดือนมกราคม 2568 ในภาพรวมปรับตัวดีขึ้น โดยสะท้อนจากตัวเลขการขออนุญาตก่อสร้าง (คิดเป็นตารางเมตร) เพิ่มขึ้น จาก 6.7 แสนตรม. มาอยู่ที่ 7.6 แสนตรม. เพิ่มขึ้น 13.0% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สอดคล้องกับการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ก่อสร้างในเดือนมกราคมที่เพิ่มขึ้นถึง 90.0% และสินค้าหมวดวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างเพิ่มขึ้น 3.0% ในส่วนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของชิลี ในเดือนมกราคม 2568 อยู่ที่ 36,233 จุด เพิ่มขึ้น 19.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจโดยรวมประจำเดือนมกราคม 2568 ปรับระดับเพิ่มขี้นจาก 43.8 มาอยู่ที่ 46.5 เพิ่มขึ้น 6.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยภาคธุรกิจที่มีดัชนีความเชื่อมั่นสูงที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ (1) ภาคธุรกิจเหมืองแร่ (2) ภาคการค้า และ (3) ภาคการผลิต โดยอยู่ที่ 61.9, 50.6 และ 44.4 ตามลำดับ
3. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (ข้อมูลจากธนาคารกลางชิลี https://si3.bcentral.cl และสำนักงานสถิติแห่งชาติของชิลี https://www.ine.gob.cl)
อัตราการว่างงานของประเทศชิลีในเดือนมกราคม 2568 อยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 2 ปี โดยอยู่ที่ 8.0% ของจำนวนผู้ใช้แรงงานทั้งหมดในประเทศ หากพิจารณาแยกตามเขตการปกครอง แคว้นที่มีอัตราการว่างงานสูงที่สุดคือ แคว้นอาตาคาม่า ที่ 9.2% และแคว้นที่มีอัตราการว่างงานต่ำที่สุดคือ แคว้นมากายาเนส ที่ 3.9%
อัตราเงินเฟ้อของประเทศชิลีในเดือนมกราคม 2568 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 4.9% โดยสินค้า 3 หมวดแรก ที่ปรับเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบ 12 เดือนนี้ ได้แก่ (1) หมวดที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภค (2) หมวดร้านอาหารและโรงแรม และ (3) หมวดการศึกษา โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ 12.1%, 7.8% และ 5.7% ตามลำดับ
4. การส่งออก-นำเข้า (ข้อมูลจากกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศของชิลี SUBREI – www.subrei.gob.cl)
การส่งออกสินค้าของชิลีในเดือนมกราคม 2568 มีมูลค่ารวมที่ 10,431 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.7% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่
|
การนำเข้าของชิลีในเดือนมกราคม 2568 มีมูลค่ารวมที่ 7,054 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 8.4% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินค้านำเข้าหลัก ได้แก่
สินค้า | ม.ค. (ล้านเหรียญสหรัฐ) | ขยายตัว
(66/67) |
|
ปี 2567 | ปี 2568 | ||
สินค้าหมวดพลังงาน | 1,263 | 1,218 | -3.6% |
สินค้าอุปโภคบริโภค | 1,839 | 2,076 | 12.9% |
สินค้าทุน | 1,306 | 1,537 | 17.7% |
-รถยนต์เชิงพาณิชย์ | 148 | 212 | 43.2% |
-เครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมก่อสร้าง | 100 | 190 | 90.0% |
จากตัวเลขการส่งออกของชิลีที่สูงกว่าตัวเลขการนำเข้า ทำให้ชิลีได้ดุลการค้า จำนวน 3,377 ล้านเหรียญสหรัฐ
5. การค้าของชิลีกับไทย และกลุ่มประเทศอาเซียน (ข้อมูลสถิติทางการค้าจาก Global Trade Atlas)
ชิลีนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยในเดือนมกราคม 2568 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 48.66 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 30.46% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า) ซึ่งสินค้าที่นำเข้าจากไทยมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่
- รถยนต์และส่วนประกอบ (19.37 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 52.75%)
- เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (9.84 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 17.91%)
- ปลากระป๋อง (4.71 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น25%)
- ผลิตภัณฑ์จากยาง (42 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 29.52%)
- ผลิตภัณฑ์จากพลาสติก (34 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 81.95%)
สำหรับตัวเลขการนำเข้าของชิลีจากกลุ่มประเทศอาเซียนใน 5 อันดับแรก ได้แก่
- ชิลีนำเข้าจากเวียดนาม 127.15 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 18.51%)
- ชิลีนำเข้าจากไทย 48.66 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 30.46%)
- ชิลีนำเข้าจากอินโดนีเซีย 38.73 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 10.87%)
- ชิลีนำเข้าจากมาเลเซีย 18.86 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 15.03%)
- ชิลีนำเข้าจากสิงคโปร์ 9.35 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 29.70%)
ชิลีส่งออกสินค้าไปยังประเทศไทยในเดือนมกราคม 2568 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 65.39 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -4.35% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า) ซึ่งสินค้าที่ส่งออกไปยังไทยมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่
- ทองแดง (85 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -29.74%)
- แซลมอนและอาหารทะเล (33 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.98%)
- เยื่อกระดาษ (86 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.14%)
- ผลไม้และผลิตภัณฑ์ธัญพืช (7.87 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 50.00%)
- สินแร่อื่น ๆ (52 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 12.35%)
สำหรับตัวเลขการส่งออกของชิลีไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนใน 5 อันดับแรก ได้แก่
- ชิลีส่งออกไปยังไทย 65.39 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -4.35%)
- ชิลีส่งออกไปยังเวียดนาม 38.91 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 38.81%)
- ชิลีส่งออกไปยังมาเลเซีย 8.87 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -72.35%)
- ชิลีส่งออกไปยังสิงคโปร์ 7.42 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -78.87%)
- ชิลีส่งออกไปยังอินโดนีเซีย 7.12 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -34.93%)
มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทย-ชิลี ในเดือนมกราคม 2568 อยู่ที่ 114.05 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 7.94%) โดยชิลีส่งออกสินค้าไปยังไทยมากกว่านำเข้าจากไทย ทำให้ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าที่ 16.73 ล้านเหรียญสหรัฐ
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงซันติอาโก
มีนาคม 2568