จีนเป็นประเทศที่มีกำลังด้านการผลิตและบริโภคผลไม้ปริมาณมาก อีกทั้งจากการที่จีนมี การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ประชากรมีรายได้และกำลังซื้อมากยิ่งขึ้น และส่งให้ผู้บริโภคชาวจีนหันมาให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ และแสวงหาสินค้าที่มีประโยชน์และให้โภชนาการคุณค่าทางอาหาร เพื่อบำรุงร่างกายกันมากขึ้น 1 ในสินค้าที่ผู้บริโภคชาวจีนนิยมรับประทาน คือ ผลไม้ ซึ่งจัดเป็นสินค้าที่ให้คุณประโยชน์แก่ร่างกาย หากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม
1.ปริมาณการผลิตผลไม้ในจีน
ในปี 2566 จีนมีปริมาณการผลิตผลไม้รวมทั้งสิ้น 327,442,800 ตัน คิดเป็นปริมาณการผลิตผลไม้เฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ประมาณ 232.28 กิโลกรัม บ่งชี้ว่าผู้บริโภคชาวจีนสามารถบริโภคผลไม้ได้ประมาณ 0.64 กิโลกรัม/วัน ซึ่งข้อมูลนี้สะท้อนถึงศักยภาพมหาศาลของตลาดผลไม้ของจีน นอกจากนี้ มูลค่าตลาดผลไม้หั่นรวมทั้งสิ้น 100,000 ล้านหยวน และตลาดสินค้าผลไม้อื่น ๆ เช่น ผลไม้ดอง ชาผลไม้ และของหวานที่ทำจากผลไม้ก็มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากเทรนด์การท่องเที่ยว ตั้งแคมป์ และการพักผ่อนในช่วงบ่าย
ทำให้ชาวจีนหันมาบริโภคผลไม้เป็นอาหารว่างกันมากขึ้น
- สถานการณ์การนำเข้า – ส่งออกผลไม้ที่สำคัญของจีน – ทั่วโลก
จากสถิติ Global Trade Atlas การค้าสินค้าผลไม้ระหว่างประเทศของจีน – ทั่วโลก เดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2567 มีมูลค่ารวม 24,260.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.24 แบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออก 6,221.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.57 และมูลค่าการนำเข้า 18,038.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.30 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566
4.1 รายประเทศ
- มาตรการกำกับและบริหารการตรวจสอบและกักกันผลไม้นำเข้า
(ปรับแก้ไขและประกาศเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564)
(อ้างอิงตามประกาศ General Administration of Quality Supervision, Inspection and Quarantine of the People’s Republic of China ฉบับที่ 68 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2561 ประกาศศุลกากรจีน ฉบับที่ 238 (การแก้ไขกฎระเบียบบางอย่างครั้งที่ 1) วันที่ 28 เมษายน 2561 และประกาศ ศุลการจีน ฉบับที่ 243 (การแก้ไขกฎระเบียบบางอย่างครั้งที่ 2))
1) เพื่อป้องกันไม่ให้ผลไม้นำเข้านำศัตรูพืชและสารอันตรายต่างๆ เข้ามายังประเทศจีน และเพื่อปกป้องการผลิตทางการเกษตรมีความปลอดภัยทางนิเวศวิทยาและสุขภาพของประชากร ตามกฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการกักกันพืชและสัตว์นำเข้าและส่งออก และระเบียบการนำเข้าและส่งออกของสาธารณรัฐประชาชนจีน มาตรการเหล่านี้กำหนดขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการตรวจสอบสินค้าโภคภัณฑ์และระเบียบการบังคับใช้ กฎหมายความปลอดภัยด้านอาหารของสาธารณรัฐประชาชนจีน และกฎหมายและข้อบังคับอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2) มาตรการเหล่านี้มีผลบังคับใช้กับการตรวจสอบ การกักกัน การกำกับดูแล และการจัด การผลไม้สดที่เข้ามาในสาธารณรัฐประชาชนจีน (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ผลไม้”)
3) กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานผู้ดำเนินการจัดการ กำกับดูแล ตรวจสอบและกักกันผลไม้นำเข้าทั่วประเทศ (ศุลกากรมีอำนาจและจะต้องรับผิดชอบในการกำกับดูแล การตรวจสอบและกักกันผลไม้นำเข้าภายในเขตอำนาจของตน)
4) ห้ามพกพาและส่งผลไม้ไปยังประเทศจีน เว้นแต่จะมีกฎหมายและระเบียบกำหนดเป็นอย่างอื่น
5) ก่อนลงนามในสัญญาหรือข้อตกลงการค้าผลไม้นำเข้า ควรยื่นคำร้องต่อกรมศุลกากรเพื่อขออนุมัติขั้นตอนการกักกันผลไม้นำเข้าตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง และรับ “ใบอนุญาตกักกันพืชและสัตว์เข้าสาธารณรัฐประชาชนจีน” (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ใบอนุญาตกักกัน”)
6) ใบรับรองสุขอนามัยพืช (ต่อไปนี้เรียกว่า “ใบรับรองสุขอนามัยพืช”) (ต้นฉบับ) ที่ออกโดยหน่วยงานตรวจสอบและกักกันของประเทศหรือภูมิภาคที่ส่งออก จะต้องจัดเตรียมโดยเจ้าของหรือตัวแทนที่ยื่นขอตรวจสอบต่อศุลกากร
7) ใบรับรองสุขอนามัยพืชควรเป็นไปตามข้อกำหนด ดังนี้ :
(7.1) เนื้อหาและรูปแบบของใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของ ISPM No. 12 “แนวทางสำหรับใบรับรองสุขอนามัยพืช”
(7.2) หากตู้คอนเทนเนอร์ถูกขนส่งมายังประเทศจีน ให้ระบุหมายเลขตู้คอนเทนเนอร์บนใบรับรองสุขอนามัยพืช
(7.3) หากมีการลงนามข้อตกลง (รวมถึงข้อตกลง ระเบียบการ บันทึกข้อตกลง ฯลฯ) ข้อตกลงนั้นควรเป็นไปตามข้อกำหนดของใบรับรองสุขอนามัยพืชที่เกี่ยวข้องในข้อตกลง
8) กรมศุลกากรจะดำเนินการตรวจสอบและกักกันผลไม้นำเข้าตามระเบียบ ดังนี้ :
(8.1) กฎหมาย ข้อบังคับ มาตรฐาน และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องของจีนเกี่ยวกับการตรวจสอบและกักกัน
(8.2) ข้อตกลงทวิภาคี พิธีสารที่ลงนามระหว่างรัฐบาลจีนกับประเทศผู้ส่งออกหรือรัฐบาลระดับภูมิภาค
(8.3) พิธีสารที่ลงนาม โดยฝ่ายบริหารทั่วไปของศุลกากรและแผนกตรวจสอบและกักกันของประเทศหรือภูมิภาคผู้ส่งออก
(8.4) ข้อกำหนดที่ระบุในใบอนุญาตกักกัน
9) ผลไม้นำเข้าต้องเป็นไปตามข้อกำหนดการตรวจสอบและกักกัน ดังนี้ :
(9.1) ห้ามปนหรือนำผลไม้อื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช
(9.2) ต้องระบุชื่อผลไม้ แหล่งกำเนิด และชื่อหรือรหัสของโรงบรรจุเป็นภาษาจีนหรือภาษาอังกฤษบนกล่องบรรจุ
(9.3) ต้องไม่มีศัตรูพืช ดิน กิ่ง ใบ และเศษซากพืชอื่นๆ ที่ประเทศจีนห้ามนำเข้า
(9.4) ปริมาณสารและสารอันตรายที่ตรวจพบจะต้องไม่เกินข้อกำหนดของมาตรฐาน ความปลอดภัยและสุขภาพของจีนที่เกี่ยวข้อง
(9.5) หากประเทศหรือภูมิภาคผู้ส่งออกได้ลงนามในข้อตกลงหรือพิธีสารกับจีน จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องของข้อตกลงหรือพิธีสารด้วย
10) ศุลกากรจะต้องดำเนินการตรวจสอบและกักกันผลไม้นำเข้า ณ สถานที่ปฏิบัติงานตามขั้นตอนและมาตรฐานการทำงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ :
(10.1) ตรวจสอบความถูกต้อง และความสอดคล้องของเอกสารในการขนส่งสินค้า
(10.2) ตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องบนใบรับรองสุขอนามัยพืชและกล่องบรรจุภัณฑ์และเครื่องหมายกักกันอย่างเป็นทางการตามข้อ 7) และ 9)
(10.3) ตรวจสอบว่าผลไม้มีหนอน เชื้อโรค กิ่งและใบ ดินและศัตรูพืชหรือไม่ หากพบ การระบาดที่น่าสงสัยในการกักกัน ควรส่งไปที่ห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบ
(10.4) เก็บตัวอย่างตามระเบียบและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง และส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อ ทำการตรวจสอบ
11) ศุลกากรจะต้องดำเนินการตรวจสอบและกักกันห้องปฏิบัติการตามขั้นตอนและมาตรฐาน การทำงานที่เกี่ยวข้อง โดยระบุศัตรูพืช เชื้อโรค วัชพืช และสิ่งมีชีวิตที่เป็นอันตรายอื่นๆ ที่พบในสถานที่กักกันหรือในห้องปฏิบัติการ ตัวอย่างที่นำมาทดสอบเพื่อหาสารพิษและสารอันตรายและออกใบตรวจสอบและผลการตรวจสอบกักกัน
12) กรมศุลกากรจะดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับจากผลการตรวจสอบและกักกันผลไม้นำเข้า ดังนี้ :
(12.1) หากผ่านการตรวจสอบและกักกันจะออกใบรับรองการตรวจสอบและกักกันสำหรับสินค้านำเข้าและปล่อยสินค้า
(12.2) หากตรวจพบศัตรูพืชกักกันหรือศัตรูพืชอื่นๆ ที่มีความสำคัญในการกักกัน จะต้องดำเนินการบำบัดควบคุมศัตรูพืชและออกหนังสือแจ้งการตรวจสอบและการบำบัดกักกัน หากผ่าน การบำบัดควบคุมโรคและวัชพืชจะได้รับการปล่อยสินค้า
(12.3) หากสินค้าไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในข้อ 9 แสดงว่าสินค้าไม่มีคุณสมบัติและไม่เป็นไปตามใบรับรองหรือการตรวจสอบและกักกัน และไม่มีประสิทธิภาพ ศุลกากรจะแจ้งการตรวจสอบและกักกัน รวมถึงส่งสินค้ากลับหรือทำลายสินค้าต่อไป
13) หากผลไม้ที่นำเข้าตกอยู่ภายใต้สถานการณ์ ต่อไปนี้ กรมศุลกากรจะระงับการนำเข้าผลไม้ดังกล่าวหรือระงับการนำเข้าจากพื้นที่ผลิตผลไม้ สวนผลไม้และโรงงานบรรจุภัณฑ์แล้วแต่กรณี
(13.1) การระบาดอย่างรุนแรงของโรคพืชที่เกิดขึ้นในสวนผลไม้ โรงงานแปรรูปหรือพื้นที่โดยรอบ
(13.2) ศัตรูพืชกักกันที่เป็นปัญหาในประเทศจีนพบได้จากการตรวจสอบและกักกัน
(13.3) สารพิษและอันตรายเกินมาตรฐานความปลอดภัยและสุขภาพของจีน
(13.4) ไม่เป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับด้านการตรวจสอบและกักกันที่เกี่ยวข้องของจีน ข้อตกลงทวิภาคีหรือมาตรฐานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หากจำเป็นต้องนำเข้าผลไม้ที่ถูกระงับจะต้องได้รับการยืนยันจากกรมศุลกากรตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง
14) ผลไม้ที่ขนส่งผ่านเขตบริหารพิเศษฮ่องกงและมาเก๊า (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “เขตฮ่องกงและมาเก๊า”) จะต้องขนส่งและนำเข้าในตู้คอนเทนเนอร์เดิม บรรจุภัณฑ์เดิม และใบรับรองสุขอนามัยพืชเดิม (เรียกว่า “ต้นฉบับสามใบ”) ก่อนเข้าประเทศ หน่วยงานตรวจสอบในฮ่องกงและมาเก๊าที่รับรองโดยกรมศุลกากรควรตรวจสอบก่อนว่าเป็นผลไม้ประเภทใดที่อนุญาตให้เข้าประเทศและหากได้รับการยืนยันว่ามีคุณสมบัติ หน่วยงานตรวจสอบของฮ่องกงและมาเก๊าที่กรมศุลกากรรับรองจะปิดผนึกตู้คอนเทนเนอร์ พร้อมทั้งออกเอกสารยืนยันที่เกี่ยวข้อง และระบุหมายเลขตราประทับเพิ่มเติม หมายเลขใบรับรองเดิม
และหมายเลขตราประทับเดิมและยืนยันเอกสารรับรองพร้อมๆ กัน ส่งให้กรมศุลกากรที่ท่าเรือขาเข้าให้ทันท่วงที สำหรับตู้คอนเทนเนอร์หลายตู้ ต้องมีการแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชที่ได้รับการยืนยันจากหน่วยงานตรวจสอบในฮ่องกงและมาเก๊าที่รับรองโดยกรมศุลกากร
15) กรมศุลกากรอาจส่งเจ้าหน้าที่ศุลกากรไปยังสถานที่ต้นทาง เพื่อดำเนินการตรวจสอบล่วงหน้า เพื่อควบคุมการบรรทุกหรือสำรวจสถานการณ์โรคระบาดและการใช้สารเคมีในแหล่งกำเนิด ตาม ความต้องการโดยได้รับอนุมัติจากหน่วยงานตรวจสอบและกักกันของรัฐบาลของประเทศหรือภูมิภาค ผู้ส่งออก
16) ผลไม้นำเข้าที่ยังไม่ผ่านการตรวจสอบและกักกัน ให้เก็บไว้ในสถานที่ที่กำหนดโดยศุลกากร และห้ามเคลื่อนย้าย ขาย หรือใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยสถานที่จัดเก็บผลไม้นำเข้าต้องดูแลและจัดการ โดยศุลกากรท้องถิ่นตามกฎหมายและต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้ :
(16.1) มีพื้นที่จัดเก็บที่เพียงพอ
(16.2) มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นสำหรับการรักษาคุณภาพและความสด
(16.3) ปฏิบัติตามข้อกำหนดในการกักกันและป้องกันการแพร่ระบาด
(16.4) มีเงื่อนไขในการกำจัดสาร โรคและวัชพืช
17) หากมีความจำเป็นต้องการนำเข้าผลไม้ต้องห้ามที่จีนห้ามไม่ให้นำเข้าจีน เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ เช่น การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ของขวัญ งานแสดงสินค้า ฯลฯ เจ้าของหรือตัวแทนจะต้องยื่นคำร้องต่อกรมศุลกากรหรือศุลกากรที่ได้รับอนุญาตจากพิธีการทั่วไปของศุลกากรสำหรับขั้นตอนการอนุมัติสำหรับการกักกันพิเศษ การตรวจศุลกากรที่ท่าเรือและอยู่ภายใต้การกักกัน โดยผลไม้สำหรับงานแสดงสินค้าจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลและจัดการของศุลกากรในช่วงระยะเวลาจัดงานแสดงสินค้าและจะไม่ถูกโอนขายหรือนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมศุลกากร หลังจากการจัดงานแสดงสินค้า และจะต้องส่งคืนหรือทำลายภายใต้การดูแลของ ศุลกากร
18) ในกรณีที่ฝ่าฝืน กรมศุลกากรจะกำหนดบทลงโทษตามกฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการกักกันพืชและสัตว์นำเข้าและส่งออก และระเบียบการบังคับใช้กฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการนำเข้าและการตรวจสอบสินค้าส่งออก กฎหมายสุขอนามัยด้านอาหารของสาธารณรัฐประชาชนจีนและกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
19) กรมศุลกากรมีหน้าที่ตีความข้อความเหล่านี้
20) กฎระเบียบและมาตรการข้างต้นมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ทั้งนี้ กฎระเบียบที่ออกโดยหน่วยงานบริหารการตรวจสอบและกักกันการเข้าออกของรัฐ (การควบคุม ตรวจสอบและกักกันผลไม้นำเข้า) เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2542 ถือเป็นโมฆะ
หมายเหตุ : กฎระเบียบและมาตรการมักมีการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนั้นผู้ประกอบการควรติดตามข่าวสารกฎระเบียบและมาตรการที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ
- สถานการณ์จีนใช้มาตรการตรวจสอบสารก่อมะเร็ง Basic Yellow 2 (BY2) ในทุเรียนไทยที่ส่งมายังจีน
1) สำนักงานศุลกากรแห่งชาติจีน (GACC) กำหนดให้ทุเรียนไทยทุกล็อตที่ส่งออกมายังจีน ต้องแนบ ผลวิเคราะห์ (Lab Report) การตรวจสารก่อมะเร็ง BY2 และผลตรวจจะต้องไม่พบสารดังกล่าว โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2568 เป็นต้นไป
2) จากการสอบถามเป็นการภายในกับฝ่ายเกษตร ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว และนายด่านโม่ฮาน พบว่า ปัจจุบันด่านโม่ฮานทางบกและทางรางมีการใช้มาตรการตรวจสาร BY2 ในทุเรียนไทยที่ส่งออกมายังจีน 100% โดยในเบื้องต้นเป็นการตรวจสอบทุเรียนที่ขนส่งเข้ามายังประเทศจีนครบทุกตู้ตามเอกสารประกอบการส่งออกในแต่ละล็อต ซึ่งทางการจีนจะสุ่มตรวจทุเรียนไทยในแต่ละตู้ประมาณ 3-5 ลูก โดยคิดรวมเป็น 1 ตัวอย่างต่อ 1 ตู้
3) ในช่วงฤดูกาลผลไม้ไทยเข้าสู่ตลาดจีนจะมีทุเรียนผ่านเข้ามาทางด่านทางบกและด่านรถไฟ โม่ฮาน ประมาณวันละ 700 ตู้ ซึ่งหากอ้างอิงตามแนวปฏิบัติของทางการจีน จะต้องมีการตรวจ BY2 ในทุเรียนไทยประมาณวันละ 700 ตัวอย่าง
4) จากการสอบถามเป็นการภายในกับฝ่ายเกษตร ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว และศุลกากรนครคุนหมิง พบว่า จากเดิมด่านทางบกโม่ฮาน ด่านรถไฟโม่ฮาน ยังไม่มีห้องแล็บในการตรวจสอบสาร BY2 ทำให้ต้องส่งทุเรียนที่ถูกสุ่มตรวจในแต่ละตู้เข้ามาตรวจใน Lab ในนครคุนหมิง ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาในการขนส่งเข้าสู่นครคุนหมิงและดำเนินการตรวจสอบ รวมทั้งสิ้น 7 วันทำการ
ล่าสุดศุลกากรนครคุนหมิงได้แก้ปัญหาดังกล่าว โดยกำหนดให้ด่านทางบกและด่านรถไฟโม่ฮาน มี Lab ตรวจสาร BY2 (โดย Lap ดังกล่าวตั้งอยู่ในอำเภอเหมิงล่า ซึ่งห่างจากด่านโม่ฮานประมาณ 30 นาที) ใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบสาร 3 วันทำการ โดยไม่มีค่าตรวจ ทั้งนี้ การดำเนินงานของด่านที่สำคัญทางตอนใต้ของจีนช่วงเทศกาลตรุษจีน ดังนี้
- ช่องทางการจำหน่าย
จากความต้องการความสะดวกรวดเร็วของผู้บริโภค โดยปัจจุบันช่องทางการจำหน่ายผลไม้มีความหลากหลายมากขึ้นทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งทั้งสองช่องทางต่างมีข้อดีและข้อเสียที่ต่างกัน
– ช่องทางออฟไลน์ เช่น ร้านค้าผลไม้ แผงผลไม้ในตลาดสดและโซนผลไม้ตามห้างหรือซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งเป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าแบบดั้งเดิม โดยข้อดีของช่องทางดังกล่าวคือ สามารถเลือกผลไม้ได้ตามความต้องการ ข้อเสีย คือ หากเป็นผลไม้ตามร้านค้าผลไม้และโซนผลไม้ตามห้างหรือซูเปอร์มาร์เก็ต จะไม่มีความสะดวกในการเปรียบเทียบราคากับร้านอื่นๆ
– ช่องทางออนไลน์ เช่น การสั่งผลไม้แบบเดลิเวอร์รี่ ผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ และการสั่งผลไม้แบบออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม ซึ่งกำลังเป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้ารูปแบบใหม่ที่มาแรงและได้รับความนิยมในยุคปัจจุบัน โดยข้อดีของช่องทางดังกล่าวคือ มีความสะดวกส่งตรงถึงบ้านและสามารถ
เปรียบเทียบราคาได้อย่างรวดเร็ว ข้อเสีย คือ หากเป็นการสั่งออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม จะไม่สามารถทราบได้ว่าสินค้าที่จะได้รับมีคุณภาพดีหรือไม่
- ปัญหาและข้อเสนอแนะ
– สคต.คุนหมิงได้รับข้อมูลจากการประชุมหารือกับตลาดค้าส่งผลไม้จินหม่าเฉิงชาง ซึ่งเป็นตลาดค้าส่งผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในมณฑลยูนนาน พบว่า ทุเรียนไทยที่นำเข้ามายังตลาดในนครคุนหมิงบางส่วนมีปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาทุเรียนเนื้อแข็ง ทุเรียนไม่สุก ทุเรียนหนามแตก หนอนเจาะเมล็ด ซึ่งในภาวะ การแข่งขันที่สูงขึ้นของผลไม้ไทยในตลาดจีน ทำให้เกษตรกร/ ผู้ส่งออกของไทยควรให้ความสำคัญกับ การรักษาคุณภาพทุเรียนให้สม่ำเสมอ รักษามาตรฐานคุณภาพ ป้องกันการตัดทุเรียนอ่อน หรือเลือกรูปแบบการขนส่งให้เหมาะสม เพื่อรักษามาตรฐานและความเชื่อมั่นต่อผลไม้ไทยในตลาดจีน
– จากการที่จีนประกาศเพิ่มให้ทุเรียนจากประเทศอื่น ๆ นอกเหนือจากไทย เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย นำเข้ามายังตลาดจีนได้ อาจมีผลกระทบต่อสัดส่วนทุเรียนไทยในตลาดจีนในอนาคต โดยเฉพาะทุเรียนเวียดนามที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันด้านราคา เนื่องมาจากต้นทุน การส่งออกของทุเรียนเวียดนาม ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรใส่ใจด้านคุณภาพสินค้า เพื่อลดปัญหา การส่งออกทุเรียนไทย ทำให้ผู้บริโภคชาวจีนมีความเชื่อมั่นต่อคุณภาพทุเรียนไทย ควรมีการศึกษาและวิจัย พัฒนาการทำทุเรียนนอกฤดูกาล เพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคชาวจีนได้ตลอดทั้งปี และรักษาสัดส่วนทุเรียนไทยในตลาดจีนต่อไป
– จีนสามารถปลูกทุเรียนได้และส่วนใหญ่อยู่พื้นที่จีนตอนใต้ ทำให้กลายเป็นคู่แข่งของตลาดทุเรียนไทยในจีน เช่น มณฑลไห่หนาน กวางตุ้ง ยูนนาน กวางสี เนื่องจากมีสภาพอากาศที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก ซึ่งจะเริ่มออกผลในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม และจะสุกในเดือนสิงหาคม – กันยายนของทุกปี แต่จะมีรสชาติไม่ดีเท่าทุเรียนนำเข้าจากไทย โดยหากจีนมีการพัฒนาด้านคุณภาพของทุเรียนให้มีรสชาติและคุณภาพที่ใกล้เคียงกับผลไม้นำเข้า ในอนาคตจีนอาจมีความสามารถในการผลิตและกลายเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทยได้
– ปัญหาการทำการตลาด เนื่องจากผู้บริโภคชาวจีนบางส่วนยังไม่รู้จักผลไม้ไทยดีพอ โดยยังไม่รู้จักวิธีการปอกหรือการบริโภค อีกทั้งยังไม่สามารถแยกออกระหว่างผลไม้ประเภทเดียวกันของไทยและของประเทศอื่น ซึ่งหน่วยงานของไทยควรมีการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริม/สร้างการรับรู้ผลไม้ไทยในกลุ่มผู้บริโภคชาวจีนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผลไม้ไทยมีภาพลักษณ์ที่ดี และทำให้ชาวจีนเข้าใจผลไม้ไทยมากยิ่งขึ้น
ความคิดเห็น สคต.
ปัจจุบันจีนมีการยกระดับการบริโภคอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับระดับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคชาวจีนดีขึ้น ทำให้ผู้บริโภคชาวจีนทุกวัยหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น โดยมีความต้องการสินค้าอาหาร รวมถึงผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งผลไม้นำเข้าจากไทยก็เป็นที่นิยมอย่างมากในตลาดจีน โดยเฉพาะทุเรียน มังคุด ลำไยและส้มโอ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสของสินค้าผลไม้แปรรูปของไทย เช่น ผลไม้อบแห้ง ผลไม้เคลือบช็อคโกแลต ผลไม้กวน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้บริโภคชาวจีนนิยมเลือกซื้อสินค้าตามกระแสความนิยมในโลกอินเตอร์เน็ต ผู้ประกอบการผลไม้ไทยสามารถทำตลาดจีนด้วยการประชาสัมพันธ์ทางออนไลน์ เช่น แพลตฟอร์ม Wechat, Douyin และ Xiaohongshu และนอกจากการวางจำหน่ายสินค้าทางออฟไลน์ผ่านร้านค้าผู้นเข้าหรือซูเปอร์มาร์เก็ตแล้ว ผู้ประกอบการสามารถขยายตลาดบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของจีน เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคให้มากที่สุด
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการผลไม้ของไทยควรรักษามาตรฐานของสินค้า เพื่อให้ผลไม้ของไทยมีคุณภาพและมีภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของผู้บริโภคชาวจีนอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษา/เพิ่มส่วนแบ่งตลาดผลไม้นำเข้าของจีนต่อไป
*****************************************
โครงการ Business Support Center ภูมิภาคจีน
แหล่งที่มา: https://baijiahao.baidu.com/s?id=1811937490090866221&wfr=spider&for=pc
https://ydyl.cctv.cn/2024/10/04/ARTI7Z9bKOICPdGuGLMAFh1K241004.shtml
https://baijiahao.baidu.com/s?id=1761846843146478767&wfr=spider&for=pc
https://baijiahao.baidu.com/s?id=1813877362410439987&wfr=spider&for=pc
https://www.opsmoac.go.th/guangzhou-dwl-files-451591791874
https://caifuhao.eastmoney.com/news/20240725155404219224580
http://www.customs.gov.cn/customs/ztzl86/302310/2394720/4852287/index.html
http://dzs.customs.gov.cn/dzs/2747042/3995819/sg38/3998833/2022090717562858328.doc23