เครื่องมือที่ทรงพลังที่สุดในการต่อต้านนโยบายการขึ้นภาษีของ Trump

นับตั้งแต่ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ออกมาเมื่อเดือนที่แล้ว ก็มีเพียงเรื่องเดียวที่ถูกวิภาควิจารณ์อย่างหนาหูในรัฐสภาสหภาพยุโรป (EU) ของกรุงบรัสเซลส์ ว่า นาย Donald Trump ผู้ชนะการเลือกตั้งและกำลังจะได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ อีกสมัย น่าจะมีท่าทีต่อ EU และ NATO อย่างไร โดยมีความกังวลค่อนข้างมากว่า Trump น่าจะสร้างอุปสรรคทางการค้าครั้งใหม่ และจะยกเลิกความช่วยเหลือบางส่วนแก่ยูเครน แต่เมื่อพูดถึงนโยบายเศรษฐกิจของ EU เองแล้ว ก็น่าจะยังสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเองได้บ้าง ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง Trump ได้ขู่ว่าจะเรียกเก็บภาษีสินค้าที่นำเข้าจากยุโรป 20% เพื่อลดการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ กับ EU ซึ่งสถาบันเพื่อการวิจัยทางเศรษฐกิจ ของมหาวิทยาลัยมิวนิค (Ifo – Institut für Wirtschaftsforschung an der Universität München) ได้วิเคราะห์และเขียนรายงานในเรื่องดังกล่าวไว้ว่า EU จะสามารถชดเชยผลกระทบด้านภาษีเหล่านี้ได้ภายในพริบตา หาก EU สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้เพียง 10% ที่มีอยู่ภายในตลาดสหภาพยุโรป (European Single Market) ด้านนาง Lisandra Flach นักเศรษฐศาสตร์ของ Ifo กล่าวว่า European Single Market เป็นเครื่องมือในการผลักดันให้เศรษฐกิจของ EU เติบโตดีที่สุด ซึ่งปัจจุบันยุโรปล้มเหลวในการใช้งานสิ่งนี้อย่างถูกวิธี

 

หาก EU สามารถทำลายแก้ไขปัญหาระดับชาตินี้ได้ แม้แต่หนึ่งในสี่ พวกเขาก็จะสามารถได้รับเงินปันผลทางเศรษฐกิจสูงถึง 353 พันล้านยูโรต่อปี ซึ่งนั่นหมายความว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมขึ้น 2.3% นาง Flach กล่าวว่า “มันขึ้นอยู่กับว่า เราที่จะใช้ประโยชน์จากศักยภาพนี้ได้มากน้อยขนาดไหน เพราะเรื่องนี้เราไม่จำเป็นต้องพึ่งใครเลย” สำหรับ ปัญหาแรก ๆ ที่ต้องแก้ไข ก็คือ (1) ภาระหน้าที่ในการรายงานที่ซ้ำซ้อน (2) การทำเรื่องของคืนภาษี หากบริษัทดำเนินธุรกิจในหลาย ๆ ประเทศของ EU ที่แตกต่างกัน (3) การเก็บรักษาข้อมูลของภาคเอกชน ยังคงได้รับการคุ้มครองด้วยกฎหมายในระดับประเทศอยู่ และ (4) ยังขาดการยอมรับคุณสมบัติทางวิชาชีพในระดับ EU ซึ่งทำให้แพทย์และทนายความไม่สามารถเสนอบริการของตนได้ทั่วทั้ง EU ได้เป็นต้น ทำให้กลุ่มผู้มองโลกในแง่ดีในกรุงบรัสเซลส์ออกมาโต้แย้งว่า เหตุการณ์ช็อกที่ Trump ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ อาจเป็นประโยชน์ช่วยกระตุ้นให้ประเทศสมาชิก EU ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น นาง Kerstin Jorna ผู้อำนวยการทั่วไปในคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปผู้รับผิดชอบด้าน European Single Market สัญญาในการประชุม Ifo ว่า จะวางกลยุทธ์ใหม่สำหรับ European Single Market โดย “อุปสรรคระดับชาติก็เหมือนหญ้า ที่มันจะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ” นาง Jorna กล่าวต่อว่า ตอนนี้ “เราต้องการเครื่องตัดหญ้า” โดยเธอรู้วิธีแก้ปัญหาและเตรียมเครื่องตัดหญ้าไว้แล้ว ในอนาคต EU จะออกข้อบังคับ (Regulation) มากกว่าออกหลักเกณฑ์ (Directive) ข้อแตกต่าง ก็คือ หลักเกณฑ์จะอนุญาตให้ประเทศสมาชิกเพิ่มกฎของตนเองเมื่อนำไปปฏิบัติในกฎหมายของประเทศ สิ่งนี้มีส่วนทำให้เกิดปัญหาในการระบุหลักเกณฑ์ที่ใช้ในประเทศ ซึ่งทำให้เกิดความแตกต่างกันขึ้น EU ได้ง่าย ในทางกลับกัน ข้อบังคับ (Regulation) มีผลใช้โดยตรงในทั้ง 27 ประเทศ และรับประกันข้อบังคับที่เหมือนกัน

 

จาก Handelsblatt 6 ธันวาคม 2567

thThai