1. สถานการณ์เศรษฐกิจ
– ออสเตรเลียหันมาให้ความสำคัญกับการลดมลพิษในอากาศเพื่อบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อนมากขึ้น โดยเฉพาะมลพิษจากภาคการขนส่ง แม้ว่า รัฐบาลออสเตรเลียจะมีแผนใช้มาตรฐานการปล่อยมลพิษต่ำในยานยนต์ที่คาดว่าจะเริ่มในช่วงต้นปี 2568 เพื่อควบคุมการปล่อยมลพิษในอากาศจากยานพาหนะล่าช้ากว่าประเทศอื่นๆ แต่ผลการสำรวจคุณภาพอากาศโดย IQAir ล่าสุด (จาก 143 ประเทศ) พบว่า ออสเตรเลียติดอันดับ 1 ใน 7 ประเทศ (ออสเตรเลีย เอสโตเนีย ฟินแลนด์ เกรนาดา ไอร์แลนด์ มอริเชียสและนิวซีแลนด์) ที่มีค่าPM2.5 ซึ่งเป็นสภาวะฝุ่นและมลพิษในอากาศ ที่เกิดจากการปล่อยมลพิษในภาคอุตสาหกรรมและการคมนาคมขนส่งอยู่ในระดับมาตรฐานของ World Health Organization คาดว่า ชาวออสเตรเลียจะเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ปล่อยมลพิษต่ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
– ปัจจุบันชาวออสเตรเลียกำลังประสบปัญหาค่าครองชีพสูงที่ส่งผลกระทบยาวนาน ประชาชนประสบกับภาวะยากลำบาก จากราคาที่พักอาศัย ค่าอาหารและค่าบริการต่างๆที่เพิ่มขึ้น จำนวนคนไร้บ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ความต้องการความช่วยเหลือจากองค์กรการกุศลเพิ่มสูงขึ้น (Food bank) ส่งผลให้การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนลดลง อัตราการว่างงานปรับเพิ่มขึ้นและอัตราการออมเงินของภาคครัวเรือนลดลงที่ 0.9% ของรายได้ การบริโภคในประเทศโดยรวมค่อนข้างซบเซา
2. สถานการณ์การค้าภาพรวมของออสเตรเลีย [1]
ปี 2567 เดือนมกราคม–พฤษภาคม สถานการณ์การส่งออกสินค้าของออสเตรเลีย มีมูลค่า 142,763 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 11.06) เป็นการส่งออกถ่านหินบิทูมินัส (ร้อยละ 34.15) สินแร่และหัวแร่เหล็ก (ร้อยละ 29.33) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป (ร้อยละ 7.06) เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค (ร้อยละ 3.58) และข้าวสาลีและเมสลิน (ร้อยละ 3.04) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และอินเดีย สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 14 (น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ทองแดงบริสุทธิ์ อะลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป และข้าวสาลีและเมสลิน)
ปี 2567 เดือนมกราคม–พฤษภาคม การนำเข้าสินค้าของออสเตรเลีย มีมูลค่า 116,642 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 2.69) โดยเป็นการนำเข้ารถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 15.54) เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (ร้อยละ 14.36) น้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 14.21) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 10.36) ยารักษาหรือป้องกันโรค (ร้อยละ 3.91) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไทย ปี 2567 เดือนมกราคม–พฤษภาคม ออสเตรเลียได้ดุลการค้า 26,121 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 5 มีมูลค่า 5,764 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 21.40) (สินค้านำเข้าหลักจากไทย 5 อันดับแรกได้แก่ รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ ยางรถยนต์ใหม่ แชมพูและผลิตภัณฑ์ที่ไช้กับเส้นผม) และ ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 3,713 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (137,381 ล้านบาท)
สถานการณ์การส่งออกสินค้าของออสเตรเลียในเดือนพฤษภาคม2567 มีมูลค่า 29,463 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 7.62) โดยเป็นผลมาจากการส่งออกถ่านหินบิทูมินัส (ร้อยละ 31.19) สินแร่และหัวแร่เหล็ก (ร้อยละ 30.82) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป (ร้อยละ 6.91) เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค (ร้อยละ 4.11) และข้าวสาลีและเมสลิน (ร้อยละ 2.18) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดียและสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 18 (น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ทองแดงบริสุทธิ์ อะลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค และข้าวสาลีและเมสลิน)
สำหรับการนำเข้าสินค้าของออสเตรเลียในเดือนพฤษภาคม 2567 มีมูลค่า 25,207 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 3.55) โดยเป็นการนำเข้ารถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 15.05) น้ำมันปิโตรเลียมที่ได้จากแร่ บิทูมินัส (ดีเซล) (ร้อยละ 14.79) เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (ร้อยละ 14.70) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือสำหรับเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 10.72) ยารักษาหรือป้องกันโรค (ร้อยละ 3.57) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และเยอรมนี ซึ่งในเดือนพฤษภาคม 2567 ออสเตรเลียได้ดุลการค้าที่ 4,256 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 7 (รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องจักรสำหรับการรับการเปลี่ยนและการส่ง หรือการสร้างเสียง ภาพหรือข้อมูลอื่นๆ ยางรถยนต์ใหม่และกระสอบและทูน่ากระป๋อง)
3. สรุปสถานการณ์การค้าไทย-ออสเตรเลีย [2]
เป้าหมายส่งออก | มูลค่าการค้ารวม (ล้าน US$) | มูลค่าการส่งออก (ล้าน US$) | มูลค่าการนำเข้า (ล้าน US$) | |||||||
ปี 2023
(%) |
ปี 2024
(%) |
ปี 2023 | ปี 2024 | ปี 2023 | ปี 2024 | ปี 2023 | ปี 2024 | |||
ม.ค.-พ.ค. | +/- (%) | ม.ค.- พ.ค. | +/- (%) | ม.ค.- พ.ค. | +/- (%) | |||||
2.0
(8.21) |
1.0 | 18, 979.28
(3.62) |
7,718.84 | -2.94 | 12,106.0 (8.21) | 5,157.66 | 16.90 | 6,873.28
(-3.58) |
2,561.18 | -27.66 |
[1] Source: Global Trade Atlas
[2] Source: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
4. การค้าระหว่างไทย
4.1 การส่งออกสินค้าไทย
การส่งออกสินค้าไทยไปออสเตรเลียเดือนพฤษภาคม ปี 2567 มีมูลค่า 983.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (34,415 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 2.36 เป็นการลดลงของสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติกและเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ แต่การส่งออกเครื่องปรับอากาศ เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร อาหารทะเลกระป๋องและผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น
4.2 การนำเข้าสินค้าของไทย
การนำเข้าสินค้าของไทยจากออสเตรเลียเดือนพฤษภาคม ปี 2567 มีมูลค่า 464.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (16,243 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.19 เป็นการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าสินค้าน้ำมันดิบ สินแร่โลหะอื่นๆ ถ่านหิน เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค เครื่องเพชรพลอย อัญมณีและนมและผลิตภัณฑ์นม แต่การนำเข้าก๊าซธรรมชาติ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เคมีภัณฑ์และเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ลดลง