รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนกันยายน 2567

  1. ภาพรวมเศรษฐกิจ/ สถานการณ์สำคัญ

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 (ณ เดือนสิงหาคม 2567) มีมูลค่าทั้งสิ้น 74,887.346 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่ยังคงลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ฮ่องกง 4) สหราชอาณาจักร และ 5) ไทย ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 5 มูลค่า 4,494.139 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 6.18 โดยมีโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จำนวน 105 โครงการ

1.1 เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า ในปี 2567 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเมียนมา (GDP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 อัตราเงินเฟ้อในปี 2567 ของเมียนมา คาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 15 นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per Capita) อยู่ที่ระดับ 1,454 เหรียญสหรัฐฯ ดังตาราง

ตารางที่ 1 – เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจเมียนมา

ตัวชี้วัดทาง

เศรษฐกิจที่สำคัญ

ปี 2560 ปี 2561

 

ปี 2562

 

ปี 2563

 

ปี 2564

 

ปี 2565 ปี 2566 ปี 2567

(คาดการณ์)

GDP Growth (%) 5.8 6.4 6.8 3.2 -17.9 2.0% 2.6% 1.5%
GDP (billions of US$) 61.27 66.7 68.8 81.26 65.16 66.12 74.86 79.27
GDP per Capita (US$) 1,180 1,270 1,300 1,530 1,217 1,228 1,381 1,454
Inflation (%) 4.62 5.94 8.63 5.73 3.64 16 14 15

ที่มา: IMF  https://www.imf.org/en/Countries/MMR#countrydata

1.2 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ตารางที่ 2 เปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเงินจ๊าตต่อสกุลเงินสำคัญ ก.ย. 66 และ ก.ย. 67

ประเทศ/สหภาพ สกุลเงิน อัตราทางการ

สิ้นเดือน ก.ย. 66

อัตราทางการ

สิ้นเดือน ก.ย. 67

อัตราตลาดออนไลน์

สิ้นเดือน ก.ย. 67

อัตราตลาด

สิ้นเดือน ก.ย. 67

USA 1 USD 2,100.0 MMK 2,100.0 MMK 3,535.0 MMK 4,670.0 MMK
Euro 1 EUR 2,213.4 MMK 2,352.0 MMK 3,903.2 MMK 5,085.0 MMK
Singapore 1 SGD 1,533.0 MMK 1,640.6 MMK 2,730.0 MMK 3,555.0 MMK
Thailand 1 THB 57.143 MMK 65.248 MMK 107.10 MMK 140.85 MMK

ข้อมูลจากธนาคารกลางเมียนมา : https://forex.cbm.gov.mm/index.php/fxrate

https://www.cbm.gov.mm/sites/default/files/inline-files/FX%20Market%20Online%20Trading%20Platform%20Data%20%2830-9-2024%29.pdf,

Myanmar Market Price Application

1.3 ภาวะการลงทุน

1.3.1 มูลค่าการลงทุนตามรายประเทศนักลงทุนสำคัญ

ภาพรวมด้านการลงทุนทางตรงของต่างประเทศในเมียนมา (FDI) ในเดือนเมษายน – สิงหาคม 2567 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมียนมา (Myanmar Investment Commission : MIC) อนุมัติโครงการไปแล้ว คิดเป็นมูลค่า 154.859 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ดังตาราง

 

ตารางที่ 3 – ประเทศที่มีการลงทุนทางตรง FDI ในเมียนมา เดือนเมษายน – สิงหาคม 2567

อันดับ ประเทศ มูลค่าการลงทุน (ล้านเหรียญสหรัฐ)

เม.ย. – ส.ค. 67

สัดส่วน (%)
1 สิงคโปร์ 87.742 56.66%
2 ไทย 44.00 28.41%
3 จีน 35.370 22.84%
4 อินโดนีเซีย 20.892 13.49%
5 อินเดีย 7.088 4.58%
6 ไต้หวัน 2.628 1.70%
7 อังกฤษ 2.519 1.63%
8 เกาหลีใต้ 2.357 1.52%
9 ฮ่องกง 1.827 1.18%
10 ญี่ปุ่น 0.436 0.28%
รวม 154.859 100%

    ตารางที่ 4 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนกันยายน 2567

https://www.dica.gov.mm

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 (ณ เดือนสิงหาคม 2567) มีมูลค่าทั้งสิ้น 95,566.139 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่เข้ามาลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ไทย 4) ฮ่องกง และ 5) สหราชอาณาจักร ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 3 มูลค่า 11,678.673 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 12.51 โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว จำนวน 156 โครงการ

ตารางที่ 5 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนกันยายน 2567

https://www.dica.gov.mm

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 (ณ เดือนสิงหาคม 2567) มีมูลค่าทั้งสิ้น 74,887.346 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่ยังคงลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ฮ่องกง 4) สหราชอาณาจักร และ 5) ไทย ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 5 มูลค่า 4,494.139 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 6.18 โดยมีโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จำนวน 105 โครงการ

 1.3.2 มูลค่าการลงทุนตามประเภทสาขาการลงทุนที่สำคัญ

ในส่วนของอุตสาหกรรมที่ต่างชาติลงทุนในเมียนมาของปีงบประมาณ 2024 – 2025 ในเดือนเมษายน – สิงหาคม 2567 รายละเอียดดังตาราง

 

ตารางที่ 6 – อุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในเมียนมา

ปีงบประมาณ 2024-2025 (เม.ย. – ส.ค. 67)

อันดับ ประเภทธุรกิจ มูลค่า

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

เม.ย.– ส.ค. 67

สัดส่วน (%)
1 Transport& Communication 82.660 39.81%
2 Manufacturing 75.617 36.42%
3 Services 44.000 21.19%
4 Power 3.723 1.79%
5 Livestock & Fisheries 1.088 0.52%
6 Agriculture 0.125 0.06%
  รวม 207.613 100%

สำหรับสาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 สามอันดับแรกได้แก่ พลังงาน ร้อยละ 27.98 น้ำมันและแก๊ส ร้อยละ 20.25 และอุตสาหกรรมการผลิต ร้อยละ 15.42

 ตารางที่ 7 สาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนกันยายน 2567

  1. สถานการณ์การค้า (การนำเข้า-ส่งออก) ของเมียนมา

      2.1 สถิติการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา

ตารางที่ 8 – มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา (เมษายน – มิถุนายน 2567)

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

Export Import Trade Volume
2024-2025 2023-2024 % 2024-2025 2023-2024 % 2024-2025 2023-2024 %
(30-6-2024) (30-6-2023) change (30-6-2024) (30-6-2023) change (30-6-2024) (30-6-2023) change
3,574.520 3,847.271 -7.08% 3,331.868 4,672.395 -28.69% 6,906.388 8,519.666 -18.93%

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์เมียนมา

ในช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน 2567 ของปีงบประมาณ 2024-2025 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของเมียนมามีมูลค่า 6,906.388 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 18.93 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในส่วนของการส่งออกมีมูลค่า 3,574.520 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.08 การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศของเมียนมามีมูลค่า 3,331.868 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 28.69 ทั้งนี้ ในช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน 2567 เมียนมาได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 242.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

 

2.2 สินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา

   ตารางที่ 9 – มูลค่าการส่งออกสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (เมษายน – มิถุนายน 2567) ที่มา : กระทรวงพาณิชย์เมียนมา

ลำดับ สินค้า มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สัดส่วน (%)
1 MANUFACTURING GOODS 1,896.82 53.06%
2 AGRICULTURAL PRODUCTS 1,405.20 39.31%
3 MARINE PRODUCTS 144.973 4.05%
4 MINERALS 46.838 1.31%
5 FOREST PRODUCTS 15.521 0.43%
6 ANIMAL PRODUCTS 1.851 0.05%
7 OTHER PRODUCTS 63.302 1.77%
รวม 3,574.520 100.0%

2.3 สินค้านำเข้าสำคัญของเมียนมา

ตารางที่ 10 – มูลค่าการนำเข้าสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (เมษายน – มิถุนายน 2567) ที่มา : กระทรวงพาณิชย์เมียนมา

ลำดับ สินค้า มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สัดส่วน (%)
1 สินค้า Commercial Raw material 1985.968 59.60%
2 สินค้า Investment Goods 519.433 15.58%
3 สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) 826.467 24.80%
รวม 3331.868 100%

 2.4 สถานการณ์การค้าระหว่างไทย – เมียนมา

ตารางที่ 11 สรุปมูลค่าการค้าระหว่างไทย – เมียนมา

รายการ มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราขยายตัว (%) สัดส่วน (%)
2566 2566

(ม.ค.-ส.ค.)

2567

(ม.ค.-ส.ค.)

2566 2566

(ม.ค.-ส.ค.)

2567

(ม.ค.-ส.ค.)

2566 2566

(ม.ค.-ส.ค.)

2567

(ม.ค.-ส.ค.)

มูลค่าการค้า 7,434.41 5,248 4,803 -9.68 -7.41 -8.47 1.29 1.37 1.19
การส่งออก 4,410.49 3,026 2,664 -6.17 -7.65 -11.96 1.55 1.6 1.35
การนำเข้า 3,023.92 2,222 2,139 -14.36 -7.06 -3.73 1.04 1.14 1.05
ดุลการค้า 1,386.57 804 525 18.56 -9.25 -34.70

ที่มา : Thailand’s Trade Statistic (moc.go.th)

ปี 2567 มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยและเมียนมาระหว่างเดือนมกราคม – สิงหาคม 2567 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 4,803 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 8.47 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยไทยมีการส่งออกไปยังเมียนมาเป็นมูลค่า 2,664 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 11.96 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้าของประเทศเมียนมาใช้เวลานาน สำหรับการนำเข้าสินค้าจากเมียนมามายังประเทศไทยมีมูลค่า 2,139 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.73 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ไทยได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 525 ล้านเหรียญสหรัฐ

สินค้าที่ไทยส่งออกไปเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องดื่ม เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องเทศและสมุนไพร เคมีภัณฑ์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ปูนซิเมนต์ ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เป็นต้น

สินค้าที่ไทยนำเข้าจากเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ กาแฟ ชา เครื่องเทศ และเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เป็นต้น

3. สถานการณ์สำคัญ

3.1 เมียนมาประกาศให้ “การนำเข้ายา ต้องกับคู่กับ Export Earning”

 

เมียนมาประกาศให้ “การนำเข้ายา ต้องจับคู่กับ Export Earning” ตั้งแต่ 1 ก.ย. 67 โดยใบอนุญาตนำเข้า (Import License) และการชำระเงินการนำเข้า พิจารณาโดยคณะกรรมการกำกับดูแลอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (FESC : Foreign Exchange Supervisory Committee) ของเมียนมา

ผลกระทบ/โอกาส นอกจากการนำเข้ายาที่ต้องจับคู่กับ Export Earning ตามประกาศดังกล่าวแล้ว คาดว่าจะมีผลกระทบต่อการนำเข้า “สินค้าอื่นๆ” ด้วย เพราะขนาดยา ซึ่งเป็นสินค้านำเข้าจำเป็นยังต้องจับคู่กับ Export Earning รวมทั้ง Export Earning หาไม่ง่ายและมีไม่เพียงพอกับการนำเข้าทั้งหมด นอกจากนี้ เป็นห่วงว่าถ้าหา Export Earning ไม่ได้ และไม่ได้ Import License แล้ว ก็อาจมีผลกระทบเกิดเป็นสินค้าลักลอบนำเข้ามากขึ้น

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ เมียนมามีความต้องการตลาดและนิยมสินค้าไทย เป็นตลาดที่มีโอกาสและศักยภาพ อย่างไรก็ตาม มีความท้าทาย เช่น เรื่องกฎระเบียบ Import License ที่ต้องจับคู่กับ Export Earning ข้างต้น ทั้งนี้ ขอให้ภาคเอกชนปรับแผนธุรกิจรองรับเพื่อก้าวข้ามความท้าทาย อาทิ การหา Export Earning จับคู่กับการนำเข้าสินค้าต่างๆ เพื่อประกอบการขอ Import License การพิจารณาปรับรูปแบบธุรกิจจากการส่งออกสินค้าที่ผลิตจากไทย เป็นการผลิตในเมียนมามากขึ้น เช่น การจ้างผลิต (OEM) ในเมียนมา การร่วมลงทุนหรือร่วมการผลิตในเมียนมา เป็นต้น

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

3.2 เมียนมาประกาศให้ “การนำเข้าต้องใช้ราคาอ้างอิง”

เมียนมาประกาศให้การนำเข้าสินค้าต้องใช้ราคาอ้างอิง โดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย. 67 ซึ่งราคาอ้างอิงสินค้านำเข้า นอกจากใช้ดำเนินการด้านภาษีศุลกากรแล้ว ต้องใช้ในการขอใบอนุญาตนำเข้า (Import License) ด้วย โดยสินค้านำเข้าที่มีราคาอ้างอิง จำนวน 3,279 รายการ ซึ่งเป็นสินค้าเริ่มบังคับใช้ก่อน จำนวน 1,958 รายการ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามหน่วยงานเมียนมา ได้แก่ กรมศุลกากร กระทรวงการคลังเมียนมา หรือกรมการค้า กระทรวงพาณิชย์เมียนมา

ผลกระทบ/โอกาส มาตรการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อผู้นำเข้าที่ต้องตรวจสอบว่าราคาซื้อขายสอดคล้องกับราคาอ้างอิงและเงื่อนไขที่เมียนมากำหนด

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ผู้นำเข้าสินค้าควรศึกษาข้อมูล เงื่อนไขสินค้านำเข้าที่มีราคาอ้างอิง และรายการสินค้าที่มีผลบังคับใช้ โดยตรวจสอบว่าราคาซื้อขายสอดคล้องกับราคาอ้างอิงและเงื่อนไขที่เมียนมากำหนด เพื่อความราบรื่นในการดำเนินการกับหน่วยงานเมียนมาที่เกี่ยวข้อง ทั้งการขอใบอนุญาตนำเข้า (Import License) กับกรมการค้า กระทรวงพาณิชย์เมียนมา หรือการดำเนินการด้านภาษี กับกรมศุลกากร กระทรวงการคลังเมียนมา

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

3.3 ธนาคารกลางเมียนมาขยายเวลา Export Earning เข้าระบบการเงินเมียนมา

ธนาคารกลางเมียนมาขยายเวลา Export Earning เข้าระบบการเงินเมียนมา สำหรับรายได้การส่งออก ช่วงวันที่ 3 เม.ย. 65 – 7 ส.ค. 67 ให้นำเงินดังกล่าวเข้าระบบการเงินเมียนมา โดยขยายเวลาให้ถึงวันที่ 30 พ.ย. 67 และหากผู้ส่งออกไม่ปฏิบัติตามภายในเวลาที่กำหนด จะถูกดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

ผลกระทบ มาตรการขยายเวลาและข้อกำหนดดังกล่าว เป็นโอกาสช่วยให้ Export Earning เข้าระบบการเงินเมียนมามากขึ้น เป็นโอกาสให้เกิดการจับคู่ Export Earning ช่วยขอใบอนุญาตนำเข้า Import License มากขึ้น ซึ่งหากผู้นำเข้าสามารถจับคู่กับ Export Earning ดังกล่าวได้ ก็จะช่วยนำเข้าสินค้าไทยในเมียนมาได้มากขึ้น

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ผู้นำเข้าสินค้าไทยสามารถใช้โอกาสจากมาตรการนี้ ประสานกับผู้ส่งออกสินค้าจากเมียนมาที่มี Export Earning ช่วงเวลาดังกล่าว (หากผู้ส่งออกสินค้าจากเมียนมา ปฏิบัติตามมาตรการข้างต้น)เพื่อเจรจาจับคู่กับสินค้านำเข้าและประกอบการขอใบอนุญาตนำเข้า (Import License) ต่อไป

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง

ตุลาคม 2567

thThai