สถานการณ์เศรษฐกิจออสเตรเลีย
การเติบโตทางเศรษฐกิจออสเตรเลียไตรมาสเดือนมีนาคม 2567 ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 และมีการขยายตัวร้อยละ 1.1 ต่อปี (ต่ำสุดตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563) การเติบโตของ GDP ต่อหัวไตรมาสเดือนมีนาคมลดลงร้อยละ 0.4 (ลดลง 4 ไตรมาสติดต่อกัน) จากการใช้จ่ายภาครัฐและภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 และร้อยละ 0.4 ตามลำดับ (จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการใช้จ่ายในสินค้าและบริการที่จำเป็นของครัวเรือน) และการลงทุนของภาคธุรกิจหดตัวลงร้อยละ 0.9 (อุตสาหกรรมเหมืองและก่อสร้าง) เป็นการลงทุนประเภท Non-dwelling building ลดลงมากถึงร้อยละ 4.3 ด้านการค้าออสเตรเลียค่อนข้างซบเซาเนื่องจากการส่งออกออสเตรเลียเพี่มขึ้นร้อยละ 1.1 (การส่งออกก๊าซเหลว LNG ทองคำและเนื้อสัตว์) แต่การส่งออกถ่านหินและสินแร่โลหะลดลงและภาคบริการท่องเที่ยวหดตัวลง สำหรับการนำเข้าสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 (จากการนำเข้าสินค้าทุนและการท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น) การใช้จ่ายภาคครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นการใช้จ่ายสินค้าและบริการที่จำเป็นต่อการดำรงชีพเป็นหลัก อัตราการออมเงินภาคครัวเรือนลดลงร้อยละ 0.9 ธนาคารกลางออสเตรเลียยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.35 แต่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นภายในสิ้นปี 2567 เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง การเติบโตของประชากรออสเตรเลียเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 (มีจำนวนทั้งสิ้น 26.9 ล้านคน)อัตราการว่างงานเดือนพฤษภาคม 2567 เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 4 (ดัชนีราคาผู้บริโภคไตรมาสเดือนมีนาคม 2567 ที่ร้อยละ 3.6) ภายใต้แผนงบประมาณปี 2567 รัฐบาลตั้งเป้าลดจำนวนผู้โยกย้ายถิ่นลงให้เหลือเพียง 260,000 ต่อปีโดยใช้มาตรการอนุมัติวีซ่าที่เข้มงวดขึ้น (โดยเฉพาะวีซ่านักเรียน)และปรับเพิ่มราคาค่าธรรมเนียมในการขอวีซ่าทุกชนิดโดยเฉพาะวีซ่านักเรียนที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 125 (เดิม 710 เป็น 1,600 เหรียญออสเตรเลีย)
สถานการณ์การค้าภาพรวมของออสเตรเลีย [1]
การส่งออก
ปี 2567 เดือนมกราคม–เมษายน สถานการณ์การส่งออกสินค้าของออสเตรเลีย มีมูลค่า 113,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 11.98) เป็นการส่งออกถ่านหินบิทูมินัส (ร้อยละ 34.57) สินแร่และหัวแร่เหล็ก (ร้อยละ 29.06) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป (ร้อยละ 7.11) เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค (ร้อยละ 3.48) และข้าวสาลีและเมสลิน (ร้อยละ 3.27) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และอินเดียสำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 13 (น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป ทองแดงบริสุทธิ์ อะลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป และข้าวสาลีและเมสลิน)
การนำเข้า
ปี 2567 เดือนมกราคม–เมษายน การนำเข้าสินค้าของออสเตรเลีย มีมูลค่า 91,598 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 2.64) โดยเป็นการนำเข้ารถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 15.64 ) เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (ร้อยละ 14.24) น้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 14.15) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 10.24) ยารักษาหรือป้องกันโรค (ร้อยละ 4.00) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไทย ปี 2567 เดือนมกราคม–เมษายน ออสเตรเลียได้ดุลการค้า 21,702 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 5 มีมูลค่า 4,697 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 27.25) (สินค้านำเข้าหลักจากไทย 5 อันดับแรกได้แก่ รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ ยางรถยนต์ใหม่ แชมพูและผลิตภัณฑ์ที่ไช้กับเส้นผม) และ ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 2,117.28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (104,220 ล้านบาท)
การค้าของออสเตรเลียเดือนเมษายน 2567
สถานการณ์การส่งออกสินค้าของออสเตรเลียในเดือนเมษายน 2567 มีมูลค่า 27,075 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 9.22) โดยเป็นผลมาจากการส่งออกถ่านหินบิทูมินัส (ร้อยละ 34.13) สินแร่และหัวแร่เหล็ก (ร้อยละ 27.55) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป (ร้อยละ 7.34) เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค (ร้อยละ 3.63) และข้าวสาลีและเมสลิน (ร้อยละ 2.84) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และอินเดีย สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 15 (น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ทองแดงบริสุทธิ์ อะลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค และข้าวสาลีและเมสลิน)
สำหรับการนำเข้าสินค้าของออสเตรเลียในเดือนเมษายน 2567 มีมูลค่า 22,686 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 10.59) โดยเป็นการนำเข้ารถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 16.16) เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (ร้อยละ 14.79) น้ำมันปิโตรเลียมที่ได้จากแร่ บิทูมินัส (ดีเซล) (ร้อยละ 14.46) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือสำหรับเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 10.57) ยารักษาหรือป้องกันโรค (ร้อยละ 3.66) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและไทย ซึ่งในเดือนเมษายน 2567 ออสเตรเลียได้ดุลการค้าที่ 4,389 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 5 (รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องจักรสำหรับการรับการเปลี่ยนและการส่ง หรือการสร้างเสียง ภาพหรือข้อมูลอื่นๆ ยางรถยนต์ใหม่และทูน่ากระป๋อง)
สรุปสถานการณ์การค้าไทย-ออสเตรเลีย [2]
เป้าหมายส่งออก | มูลค่าการค้ารวม (ล้าน US$) | มูลค่าการส่งออก (ล้าน US$) | มูลค่าการนำเข้า (ล้าน US$) | |||||||
ปี 2023
(%) |
ปี 2024
(%) |
ปี 2023 | ปี 2024 | ปี 2023 | ปี 2024 | ปี 2023 | ปี 2024 | |||
ม.ค.-เม.ย. | +/- (%) | ม.ค.-เม.ย. | +/- (%) | ม.ค.-เม.ย. | +/- (%) | |||||
2.0
(8.21) |
1.0 | 18, 979.28
(3.62) |
6,271..45 | -0.34 | 12,106.0 (8.21) | 4,174.34 | 22.59 | 6,873.28
(-3.58) |
2,097.11 | -27.38 |
[1] Source: Global Trade Atlas
[2] Source: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
การส่งออกและนำเข้าสินค้าไทยไปออสเตรเลียเดือนเมษายน ปี 2567
- การส่งออกสินค้าไทยไปออสเตรเลียเดือนเมษายน ปี 2567 มีมูลค่า 897.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (31,423 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.17 เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว อาหารทะเลกระป๋อง และอัญมณีและเครื่องประดับ แต่การส่งออกเม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรลดลง
- การนำเข้าสินค้าของไทยจากออสเตรเลียเดือนเมษายน ปี 2567 มีมูลค่า 445.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (15,589 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ46 เป็นการลดลงของการนำเข้าสินค้าก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืชและผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ แต่การนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี สินแร่โลหะอื่นๆ ถ่านหิน เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค เคมีภัณฑ์ นมและผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้น
……………………………………………………………………….
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์