แม้ว่าความต้องการบริโภคเนื้อโคในตลาดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือยูเออีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องใน ทุกๆ ปี เพราะเนื้อโคสามารถนำมาประกอบอาหารในหลากหลายเมนูเหมาะกับประเทศนี้ที่ประชากรเป็นชาวต่างชาติจาก หลายประเทศ รวมทั้งยูเออีไม่มีอุตสาหกรรมเนื้อโคในประเทศ จึงอาศัยการนำเข้าทั้งสิ้น แต่มีการผลิตปศุสัตว์ (แพะ แกะ) ในยูเออีโดยตั้งเป้าไว้ที่ 1.3 ล้านตัวภายในปี 2569 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบเป็นรายปีนับตั้งแต่ปี 2509 การผลิตในปี 2564 ยูเออีเป็นประเทศที่อยู่ในอันดับที่ 113 หรือมีจำนวน 1.2 ล้านตัว ผู้ผลิตเนื้อโคสำคัญของโลก (ปี 2566/67) คือสหรัฐอเมริกา 12.29 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ บราซิล 10.95 ล้านตัน และจีน 7.53 ล้านตัน การผลิตรวมของ 3 ประเทศดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของการผลิตทั้งหมดของโลก
สถานการณ์นำเข้าและการบริโภค
ประชากรในยูเออีส่วนใหญ่เป็นมุสลิมต่างชาติมาจากกลุ่มประเทศเอเซียใต้ (อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ) ส่วนใหญ่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง นิยมเนื้อโคจากปากีสถาน เนื้อควายจากอินเดีย เนื้อโคจากบราซิล มีราคาไม่สูง ชาวอาหรับพื้นเมืองและชาวต่างชาติรายได้ดีนิยมซื้อเนื้อโคนำเข้าจากออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รวมทั้งร้านอาหารในโรงแรมที่ใช้เนื้อวัวคุณภาพดี เช่น เนื้อ Wagyu จากญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เป็นต้น
จากสถิติการนำเข้าล่าสุดของ UN COMTRADE ระบุปี 2565 ยูเออีมีปริมาณและมูลค่าการนำเข้าเนื้อโครวมกว่า 173,183 ตัน (+15.8%) มูลค่า 892.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+22.4%) ซึ่งทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.8 และร้อยละ 22.47 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (ปี 2564 มีการนำเข้า 149,522 ตัน เป็นมูลค่า 728.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
สถิตินำเข้าโคและเนื้อโค สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
(มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
รายการ | 2563 | 2564 | 2565 | |||
ปริมาณ(ตัน) | มูลค่า | ปริมาณ(ตัน) | มูลค่า | ปริมาณ(ตัน) | มูลค่า | |
โคมีชีวิต | – | 17.1 | – | 5.9 | – | 4.1 |
อัตราเพิ่ม % | – | (+150.0%) | – | (-66.0%) | – | (-30.0%) |
เนื้อโคสด/แช่เย็น | 63,425 | 325.8 | 66,332 | 395.5 | 73,248 | 470.7 |
อัตราเพิ่ม % | (+10.0%) | (+1.0%) | (+5.0%) | (+21.0%) | (+10.0%) | (+19.0%) |
เนื้อโคแช่แข็ง | 77,661 | 282.6 | 83,190 | 327.5 | 99,935 | 417.7 |
อัตราเพิ่ม % | (-56.0%) | -(56.0%) | (+7.0%) | (+16.0%) | (+20.0%) | (+28.0%) |
Sources: ITC calculations based on UN COMTRADE statistics since January, 2020
แหล่งนำเข้าเนื้อโคที่สำคัญของยูเออี ได้แก่ บราซิล มูลค่า 276.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (สัดส่วน 31.10%) ปากีสถาน 161.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (18.2%) ออสเตรเลีย 146.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (16.5%) อินเดีย 120.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (13.5%) สหรัฐอเมริกา 79.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (9.0%) นิวซีแลนด์ 25.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (2.8%) แอฟริกาใต้ 21.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ( 2.4%) จอร์แดน 7.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (1.0%) เนเธอร์แลนด์ 7.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (0.8%) และซาอุดีอาระเบีย 7.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (0.8 %) ตามลำดับ.
ประเภทเนื้อโคที่นำเข้ามาก คือ เนื้อสดแช่เย็น เนื้อแช่แข็ง มีการนำเข้าโคนมเพื่อเลี้ยงในฟาร์มผลิตนมเนยในประเทศ โดยมีฟาร์มใหญ่ที่สุดคือ Al Ain farm ในเมือง Al Ain
กฎระเบียบ เอกสารประกอบการนำเข้า ภาษีนำเข้า
- หน่วยงานมาตรฐานสินค้ายูเออี (ESMA) กำหนดมาตรฐานเนื้อสัตว์ (เนื้อโค เนื้อควาย เนื้อแพะ เนื้อแกะ) แช่เย็น แช่แข็ง ภายใต้ GCC STANDARDIZATION ORGANIZATION (GSO) UAE.S GSO 997 : 2016 ปรากฏตามรายละเอียดดังนี้
- https://wwwsag.gob.cl/pecuaria/establecimientos_habilitados_exportar/normativa/EAU/UAE-S_GSO_997_2016-en.pdf
- ผู้นำเข้าเนื้อสัตว์ในยูเออีจะต้องมีใบอนุญาตนำเข้าจากเทศบาลรัฐดูไบ(Dubai Municipality) เอกสารประกอบการนำเข้า ได้แก่ Invoice, Bill of Entry หรือ Airway Bill, Packing List, Certificate of Origin ใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) ที่ออกให้โดยกรมปศุสัตว์
- Halal certificate ที่ออกหรือได้รับการรับรองจากองค์กรอิสลามจดทะเบียนในประเทศผู้ส่งออกที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานรับรองฮาลาลของยูเออี ในใบรับรองฮาลาลมีรายละเอียด ดังนี้
- ชื่อ ที่อยู่ของโรงเชือดและกระบวนการชำแหละ
- ชื่อ ที่อยู่ของผู้ส่งมอบ (consignor) และผู้ส่งออก
- รายละเอียดสินค้า จำนวนสินค้า วันที่ของการเชือด วันส่งมอบ (date of dispatch)
และปริมาณสินค้า
- เนื้อโคที่นำเข้าต้องมาจากสัตว์ที่ไม่ได้กินอาหารสัตว์ประกอบด้วยโปรตีนหรือ ฮอร์โมนจากสัตว์ใด ๆ และต้องมีใบรับรองอย่างเป็นทางการที่รับประกันว่าสัตว์จะถูกเลี้ยงในพื้นที่ปลอดโรคอย่างน้อยสามเดือนก่อนการเชือด
- ฉลากบรรจุภัณฑ์และการติดฉลาก:เนื้อสัตว์ต้องระบุเป็นภาษาอาหรับตามชนิดของสัตว์ ฉลากของเนื้อสัตว์แช่แข็งและผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ต้องมีวันที่ผลิตหรือวันที่เชือดและวันหมดอายุ ส่วนเนื้อสัตว์แช่แข็งและผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์จะต้องระบุวันเชือดหรือวันผลิตและวันหมดอายุ เป็นหน้าที่ของผู้ส่งออกที่จะตรวจสอบกับผู้นำเข้าให้แน่ใจว่าฉลากเป็นไปตามข้อกำหนดของยูเออี
- Shelf life สำหรับเนื้อสัตว์และสัตว์ปีกแช่แข็ง 12 เดือน เนื้อโคและเนื้อกระบือบรรจุสูญญากาศ แช่เย็น มีระยะเวลาหมดอายุตามข้อบังคับคือ 120 วัน นับจากวันที่เชือด สำหรับสัตว์ปีกแช่เย็นบรรจุสุญญากาศคือ 7 วันนับจากวันที่เชือด สำหรับอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์/สัตว์ปีกอื่นๆ ผู้ส่งออกควรปรึกษากับผู้นำเข้า
- อัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 5 และภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 5
ปัญหาและอุปสรรค
ปัจจุบัน ประเทศไทยยังไม่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกสินค้าเนื้อโคไปยังยูเออีได้ในขณะนี้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ไทยยังไม่ได้รับการรับรองการเชือดสัตว์กีบคู่จากหน่วยงานรับรองเครื่องหมายฮาลาลของยูเออี อีกทั้งไทยติดอยู่ในรายการประเทศที่ถูกห้ามนำเข้าสัตว์มีชีวิต ได้แก่ แพะ แกะ วัว และอูฐ
(https://www.moccae.gov.ae/en/our-services/list-of-approved-disapproved-countries-for-import.aspx#page=1) โดย Ministry of Climate Change and Environment : MOCCAE แต่ประเทศไทยได้รับการรับรองการเชือดสัตว์ปีกสามารถส่งออกไปยูเออีแล้ว
ราคาสินค้า
ตัวอย่างราคาขายปลีกเนื้อโคในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สำรวจเมื่อเดือน พฤษภาคม 2567
ประเภทเนื้อโค | น้ำหนัก (กรัม) | ราคา (บาท) |
ออสเตรเลีย | ||
เนื้อสะโพก | 500 | 296.93 |
เนื้อบด | 1000 | 475.53 |
เนื้อ Tenderloin | 500 | 747.42 |
เนื้อวากิว Ribeye | 300 | 1238.19 |
บราซิล | ||
เนื้อ Ribeye | 1500 | 754.68 |
เนื้อบด | 500 | 157.91 |
เนื้อสเต๊ก | 500 | 222.52 |
อินเดีย | ||
เนื้อควายบด/หั่นเต๋า | 500 | 111.44 |
เนื้อควาย Tenderloin | 300 | 121.24 |
ญี่ปุ่น | ||
เนื้อ Saroma วากิว A5 | 300 | 3119.99 |
นิวซีแลนด์ | ||
เนื้อน่อง | 500 | 267.17 |
เนื้อ Ribeye | 500 | 495.13 |
เนื้อบด | 1000 | 495.13 |
เนื้อ Tenderloin | 500 | 692.97 |
ปากีสถาน | ||
เนื้อทำสตู | 1000 | 262.09 |
เนื้อสเต๊ก | 300 | 109.63 |
เนื้อหั่นเต๋า | 500 | 157.91 |
เนื้อสันติดกระดูก | 500 | 153.19 |
แอฟริกาใต้ | ||
เนื้อล้วน | 1000 | 362.27 |
เนื้อติดกระดูก | 1000 | 311.82 |
เนื้อ sirloin | 300 | 136.13 |
เนื้อสะโพกล่าง (Topside) | 500 | 222.52 |
ที่มา: Carrefour , Lulu supermarket, Union Coop., Prime Gourmet
สรุป
จากข้อมูลสถิติพบว่าในปี 2565 มีปริมาณการนำเข้าเนื้อโคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามอัตราการเติบโตของประชากรและการขยายตัวของภาคการท่องที่ยว อีกทั้งผู้บริโภคสมัยใหม่มีแนวโน้มที่จะบริโภคผลิตภัณฑ์เนื้อโคที่มีมาตราฐาน มีการนำเข้าเนื้อโคคุณภาพสูงส่งผลให้การแข่งขันในตลาดเนื้อวัวของยูเออีมีความรุนแรงขึ้น เช่น เนื้อเลี้ยงด้วยธัญพืชออสเตรเลีย เนื้อวากิวญี่ปุ่น ฯลฯ เป็นต้น การส่งเสริมเผยแพร่สินค้าของผู้ส่งออกเนื้อโคของประเทศต่างๆ นิยมเข้าร่วมงาน Gulfood รัฐดูไบ ที่เป็นงานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่มประจำปีที่ใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลาง
การนำเข้าของยูเออีให้ความสำคัญเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การเชือดสัตว์ตามบัญญัติศาสนาอิสลาม ต้องปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย (FDM) และโรคติดต่ออื่นๆ ซึ่งไทยต้องเร่งเตรียมความพร้อมในเรื่องห่วงโซ่อุปทาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงเชือดที่ได้รับการรับรองจากหน่ายงานรับรองเครื่องหมายฮาลาลของยูเออีเพื่อส่งออก วัคซีน และ การตรวจสอบย้อนกลับที่มาของโคเนื้อ นอกจากนี้การส่งออกเนื้อโคไปยูเออีหรือกลุ่มประเทศ GCC มีการแข่งขันใน ด้านราคากับสินค้าจากบราซิล ปากีสถาน อินเดีย แอฟริกาใต้ ส่วนด้านคุณภาพของสินค้าที่มาจากญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐฯ เป็นต้น
—————————————————————————————-