คณะกรรมการบริหารการค้าระหว่างประเทศ (The International Trade Administration Commission : ITAC) รายงานว่า ภายใต้ระเบียบต่อต้านการทุ่มตลาด (Anti-Dumping Regulations) อากรทุ่มตลาด (Anti-Dumping duty) จะถูกยกเลิกภายใน 5 ปีหลังจากที่ได้ประกาศใช้บังคับ เว้นแต่กรณีที่ ITAC จะเริ่มการตรวจสอบใหม่หรืออุตสาหกรรมในประเทศร้องขอก่อน
สำหรับอากรทุ่มตลาดสินค้าไก่ที่นำเข้าจากสหรัฐฯ ได้สิ้นสุดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 ทั้งนี้ สมาคมสัตว์ปีกแอฟริกาใต้ (The South African Poultry Association : SAPA) ได้ยื่นขอให้ ITAC ทบทวนการทุ่มตลาด โดย ITAC ได้รับคำทบทวนฉบับสมบูรณ์ เมื่อเดือนกันยายน 2565 ต่อมาเดือนธันวาคม 2565 ITAC ได้เริ่มสอบสวน และผลการตรวจสอบได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (No. 47480) เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567 โดย ITAC พบว่า หากยกเลิกเก็บอากรทุ่มตลาดไก่ที่นำเข้าจากสหรัฐฯจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไก่ต่อสหภาพศุลกากรแอฟริกาตอนใต้ (The Southern African Customs Union : SACU ประกอบด้วย 5 ประเทศ ได้แก่ แอฟริกาใต้ เลโซโท เอสวาตินี บอสวานา นามิเบีย)
ทั้งนี้ อากรทุ่มตลาดใช้อัตราเดียวกับที่ผ่านมา คือ 9.40 แรนด์ต่อกิโลกรัม (ประมาณ 18.61 บาท) ดังนี้
แม้ว่า แอฟริกาใต้ได้บังคับใช้การเก็บอากรทุ่มตลาดสินค้าไก่จากสหรัฐฯ แต่เมื่อเดือนมกราคม 2567 แอฟริกาใต้ได้ลดอัตราภาษีนำเข้า(Rebate)ไก่ เพื่อป้องกันปัญหาการขาดแคลนเนื้อไก่ที่เกิดจากระบาดของไข้หวัดนกเมื่อปี 2565 และคาดว่ายังคงลดภาษีนำเข้าไปอีก 3 เดือน
ปัจจุบัน อัตราภาษีนำเข้าเนื้อไก่ที่ได้รับการลดภาษี (Rebate) ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ มกราคม 2567ปรากฏตามตาราง
ข้อมูลเพิ่มเติม/ความเห็นของ สคต. : ข้อมูลจาก GTA (ประมวลจาก South African Revenue Service) ระบุว่า ปี 2567 แอฟริกาใต้นำเข้าสัตว์ปีก (HS CODE 0207 (Meat And Edible Offal Of Poultry (Chickens, Ducks, Geese, Turkeys And Guineas), Fresh, Chilled Or Frozen) มูลค่า 258.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 8.58) โดยประเทศที่นำเข้ามูลค่าสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ บราซิล สหรัฐอเมริกา อาร์เจนติน่า สเปน ไอร์เลนด์ (คิดเป็นร้อยละ 75.11, 13.68, 3.77, 2.58 และ 1.8 ของมูลค่าการนำเข้าสัตว์ปีกทั้งหมดของแอฟริกาใต้ ตามลำดับ)
ทั้งนี้ แอฟริกาใต้นำเข้าสัตว์ปีกจากไทย (อันดับที่ 7) มูลค่า 1.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.25 เมื่อเทียบกับปีก่อน) โดยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.61 เมื่อเทียบกับมูลค่านำเข้าสัตว์ปีกทั้งหมด โดยสัตว์ปีกที่นำเข้าจากไทยส่วนใหญ่เป็นไก่บด (Hs Code 02071210 :Mechanically deboned meat) มูลค่า 1.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 224.29 เมื่อเทียบกับปีก่อน (แอฟริกาใต้นำเข้าไก่บดจากบราซิลมากที่สุด มูลค่า 92.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่นำเข้าลดลงร้อยละ 23.12 เมื่อเทียบกับปีก่อน) รองลงมาคือเป็ด (HS Code 020742 : Meat Of Ducks, Frozen, Not Cut In Pieces) มูลค่า 0.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ลดลงร้อยละ 19.66 เมื่อเทียบกับปีก่อน) ข้อมูลสถิติ ข้างต้นแสดงให้เห็นว่าสัตว์ปีกไทย โดยเฉพาะไก่บด (Hs Code 02071210 :Mechanically deboned meat) ยังคงมีโอกาสขยายตัวในแอฟริกาใต้ หากสามารถแข่งขันได้ในเชิงราคาและคุณภาพ
ที่มาข่าว : www.moneyweb.co.za
เครดิตภาพ : by volodya on Shutterstock.com
สคต. ณ กรุงพริทอเรีย