ผู้ประกอบการทุเรียนของจีนมุ่งทำตลาด เพื่อต้อนรับฤดูกาลทุเรียนไทยที่เริ่มขึ้นแล้ว

 

ทุเรียน ซึ่งได้รับขนานนามว่า “ราชาแห่งผลไม้” ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เนื่องจากความอร่อย และคุณค่าทางโภชนาการที่สูงของทุเรียน ปัจจุบันพันธุ์ทุเรียนที่โด่งดังและเป็นที่ รู้จักมากที่สุดในจีนคือ หมอนทอง นอกจากนี้ สายพันธุ์อื่นๆ เช่น ชะนี ก้านยาว กระดุม พวงมณี ก็กำลังเป็นที่รู้จักมากขึ้นในกลุ่มผู้บริโภค

เดือนเมษายน เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลของทุเรียนทางภูมิภาคตะวันออกของไทย และกำลังทยอยเข้าสู่ตลาดต่างๆ ของจีน โดยสื่อท้องถิ่นต่างๆ จับตาทุเรียนไทยด้วยการร่วมกันรายงานข่าว  อาทิ

1.วันที่ 18 เมษายน 2567 ตลาดขายส่งผลไม้ Jin Ma Zheng Chang นครคุนหมิง มณฑลหยูนหนาน ทุเรียนจากประเทศต่างๆ รวมทั้ง ไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ถูกวางจำหน่ายเป็นกองๆ ตามร้านค้าต่างๆ และคึกคักเต็มไปด้วยเสียงตะโกนขายทุเรียนของพ่อค้าแม่ค้า โดยทุเรียนที่วางขายในตลาดยังคงมีราคาที่ค่อนข้างสูง เช่น ราคาของพันธุ์หมอนทอง กิโลกรัมละ 48-65 หยวน พวงมณี กิโลกรัมละ 38-48 หยวน ชะนี กิโลกรัมละ 58 หยวน ก้านยาว กิโลกรัมละ 78 หยวน และพันธุ์กระดุม อยู่ที่กิโลกรัมละ 48-68 หยวน คาดว่าเดือนพฤษภาคม 2567 ที่กำลังจะมาถึง ราคาจะตกไปกว่านี้ เนื่องจากเป็นช่วง high Season ของทุเรียน ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารตลาดขายส่งผลไม้ Jin Ma Zheng Chang นครคุนหมิงได้ให้ข้อมูลว่า ตั้งแต่เดือนเมษายน 2567 เป็นต้นมา จำนวนทุเรียนที่วางจำหน่ายในตลาดได้เริ่มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงนี้ตลาดมีปริมาณทุเรียนวันละประมาณ 400 ตัน โดยส่วนมากเป็นทุเรียนจากประเทศไทย และจากเวียดนามและฟิลิปปินส์เพียงเล็กน้อย

2.วันที่ 10 เดือนเมษายน 2567 ศุลกากรหนานซา เมืองกว่างโจว มณฑลกว่างตงเปิดเผยว่า ทุเรียนจำนวน 195 ตัน ที่ออกเดินทางจากท่าเรือแหลมฉบังของไทย  ได้เข้าสู่ด่านหนานซา เมืองกว่างโจว และผ่านกระบวนการต่างๆ ด้านพิธีสารศุลกากรเป็นที่เรียบร้อย และได้การกระจายส่งไปยังตลาดขายส่งผลไม้ต่างๆ แล้ว โดยทุเรียนล๊อตนี้ ถือว่าเป็นทุเรียนไทยล๊อตแรกของปีนี้ที่ได้เข้าสู่ด่านหนานซาของเมืองกว่างโจว และเพื่อรองรับทุเรียนล็อตนี้ ศุลกากรหนานซาได้อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ เช่น ให้คำแนะนำในการสำแดงล่วงหน้า และดำเนินการพิธีการศุลกากรแบบ “ไร้กระดาษ” เป็นต้น ซึ่งช่วยผู้ประกอบการประหยัดเวลาในการเอาของออก พร้อมได้รักษาความสดของผลไม้                                                                 เช่นเดียวกันกับเขตหนานซา ทุเรียนนำเข้าล๊อตแรกที่เป็นพันธุ์หมอนทองของไทย เริ่มถูกกระจายสู่ตลาดเมืองหยางเจียงของมณฑลกว่างตง ผู้ประกอบการจำหน่ายทุเรียนของร้านท้องถิ่นให้ข้อมูลว่า แหล่งปลูกและเวลาเข้าสู่ตลาดของทุเรียน จะทำให้รสชาติและคุณภาพของทุเรียนแตกต่างกัน และแม้ว่าปีนี้ ผลผลิตของทุเรียนไทยจะลดลง แต่คุณภาพได้ปรับปรุงขึ้นมาก โดยราคาจำหน่ายทุเรียนหมอนทองในปัจจุบัน อยู่ที่กิโลกรัมละ 53-63 หยวน

3.ช่วงกลางเดือนเมษายน 2567 ซูเปอร์มาเก็ตและร้านจำหน่ายผลไม้ต่างๆ ของเมืองยวี่หลิน มณฑลกว่างสี ได้ชูทุเรียนเป็น “ผลไม้เด่น” พร้อมตั้งราคาพิเศษ เพื่อดึงดูผู้ซื้อ เช่น ในซูเปอร์มาเก็ต Guan Supermarket และ Jincheng Center Supermarket ราคาทุเรียนพันธุ์กระดุมของทั้งสองแห่งอยู่ที่ 59.8 หยวนต่อกิโลกรัม ในส่วนของราคาของหมอนทองอยู่ที่ 65.6 หยวนต่อกิโลกรัม และ 79.8 หยวนต่อกิโลกรัม ตามลำดับ นอกจากนี้ ร้านจำหน่ายผลไม้หลายร้านได้จำหน่ายทุเรียนพันกระดุมด้วยราคาพิเศษแบบ “จำหน่ายทั้งลูก” ซึ่งราคาอยู่ที่ลูกละ 58 หยวน, 78 หยวน หรือ 88 หยวน ขึ้นกับน้ำหนักและคุณภาพ น้ำหนักอยู่ที่ลูกละประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม

4.จากการสำรวจตลาดค้าปลีกในเมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน พบว่า ทุเรียนพันธุ์ชะนี ล๊อตแรกได้เข้าสู่ตลาดแล้ว โดยจำหน่ายอยู่ที่ 65.8 หยวนต่อกิโลกรัม พันธุ์หมอนทอง จำหน่ายยกลูกๆ ละ 89.9 – 179.9 หยวน (ขึ้นอยู่กับขนาดของลูก) มังคุด กิโลกรัมละ 67.6 หยวน มะพร้าว ลูกละ 9.9 หยวน

ราคาจำหน่ายทุเรียนในตลาดต่างๆ ของจีนจะมีความแตกต่างกัน ล่าสุด วันที่ 23 เมษายน 2567 ระบบราคาสินค้าของตลาดขายส่งสินค้าเกษตรทั่วประเทศ (https://pfsc.agri.cn/#/indexPage) ซึ่งเป็นระบบที่บริหารจัดการโดยกระทรวงการเกษตรและกิจการชนบทแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ประกาศราคาขายส่งทุเรียนของตลาดขายส่งต่างๆ ทั่วประเทศจีนดังตารางต่อไปนี้

หน่วย: หยวน/กิโลกรัม

ลำดับ ชื่อตลาดหรือบริษัทขายส่ง ราคาขั้นต่ำ ราคาขั้นสูง ราคาโดยเฉลี่ย
1 Changzhi Jinxin Fruits and Vegetable

Wholesale Market (มณฑลซาน ซี)

78 85 82
2 Taiyuan Zhangzitou Agricultural Product

Logistics Park (มณฑลซาน ซี)

43 50 45
3 Taiyuan Hexi Agricultural Products Co.,Ltd (มณฑลซาน ซี) 30 56 43
4 Lvzhu Jiuding Agricultural Management Co.,Ltd

(เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์)

50 57.5
5 Bozhou Agricultural Co.,Ltd (มณฑลอันฮุย) 45
6 Tianchang Yongfu Agricultural Products Wholesale Market (มณฑลอันฮุย) 68 70 69
7 Handan Development Zone Gandaong Modern Agricultural Management Co.,Ltd (มณฑลเหอเป่ย) 46 70 60
8 Jiuquan Chunguang Agricultural Market Co.,Ltd

(มณฑลกานซู่)

73 75 74
9 Lingjiatang Market Development Co.,Ltd (มณฑลเจียงซู) 42 70 60

ทั้งนี้ เนื่องจากทุเรียนเป็นผลไม้หน้าร้อนที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวจีนเป็นอย่างมาก ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องจึงได้เร่งทำตลาด เพื่อครองส่วนแบ่งการตลาดให้มากขึ้น ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยในฐานะเป็นตลาดส่งออกทุเรียนใหญ่ที่สุดของจีน ได้ให้ความสำคัญกับตลาดจีนอย่างมาก ซึ่งรัฐบาลไทยได้มุ่งเน้นที่จะนำผลไม้ที่ดีมีคุณภาพสู่ตลาดจีนให้เพิ่มมากขึ้น โดยเดือนมีนาคม 2567 ที่ผ่านมา สคต เซี่ยเหมิน ร่วมกับ พณจ. จันทบุรี ให้การสนับสนุนบริษัท เซียนเฟิง ฟรุต จำกัด หนึ่งในผู้นำเข้ารายใหญ่เป็นผู้สนับสนุนผลไม้สดในกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19 ณ เมืองหางโจว และติด Top 100 Chain Stores ของจีน  มีสาขากว่า 2200 สาขาทั่วจีน โดยมีสาขาครอบคลุมใน 15 มณฑล รวมถึงมณฑลฝูเจี้ยน จำหน่ายทุเรียนปีละ 7 ล้านลูก คาดการณ์นำเข้าทุเรียนจากไทยปีนี้ ประมาณ  1,500 ตู้  สรุปกิจกรรม ดังนี้

– กิจกรรม ณ ประเทศไทย : วันที่ 21 มีค 67 ที่ผ่านมา บริษัทฯ จัดแถลงข่าวเปิดตัว “เทศกาลทุเรียนไทย” โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ตรวจราชการนันทพงษ์ จิระเลิศพงษ์ เป็นประธานเปิดตัวกิจกรรม ณ ล้งในจังหวัดจันทบุรี  พร้อมด้วยนายจิรวุฒิ สุวรรณอาจ พณจ. จันทบุรี มีการถ่ายทำคลิปวีดีโอ ภาพนิ่ง เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สร้างความเชื่อมั่น ส่งเสริมภาพลักษณ์ทุเรียนไทยแก่ผู้บริโภคจีน

 

ผู้ประกอบการทุเรียนของจีนมุ่งทำตลาด เพื่อต้อนรับฤดูกาลทุเรียนไทยที่เริ่มขึ้นแล้ว ผู้ประกอบการทุเรียนของจีนมุ่งทำตลาด เพื่อต้อนรับฤดูกาลทุเรียนไทยที่เริ่มขึ้นแล้ว

 

– กิจกรรม ในประเทศจีน : บริษัทฯ จัด “เทศกาลทุเรียนไทย” ตั้งแต่วันที่ 12 เม.ย.- พค. 67 โดยจัดเป็น PopUp ทุเรียนในร้านออฟไลน์ในสาขาเมืองหลัก อย่าง หางโจว เหอเฝย ฉงชิ่ง เจิ้งโจวและเทียนจิน และตกแต่งในสาขาย่อยเมืองอื่นๆ รวมถึงออนไลน์ ในระบบ app / mini app จัดส่งถึงบ้าน การจัดเทศกาลทุเรียนเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคจับจ่าย ด้วยความเชื่อมั่นว่าบริษัทฯ ซื้อจากแหล่งสวนที่มีคุณภาพของไทย

 

ผู้ประกอบการทุเรียนของจีนมุ่งทำตลาด เพื่อต้อนรับฤดูกาลทุเรียนไทยที่เริ่มขึ้นแล้ว ผู้ประกอบการทุเรียนของจีนมุ่งทำตลาด เพื่อต้อนรับฤดูกาลทุเรียนไทยที่เริ่มขึ้นแล้ว ผู้ประกอบการทุเรียนของจีนมุ่งทำตลาด เพื่อต้อนรับฤดูกาลทุเรียนไทยที่เริ่มขึ้นแล้ว

ทั้งนี้ นอกจากทุเรียนแล้ว บริษัทฯ ยังมีการอัดคลิปวีดีโอเผยแพร่การเก็บเกี่ยวมะพร้าวจากสวนของไทย อันเป็นการช่วยสร้างความเชื่อมั่น และส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีต่อผลไม้ไทย โดยเผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของร้านและวีเชททางการ

ความเห็นจากสคต.เซี่ยเหมิน : ปัจจุบัน จีนอนุญาตให้นำเข้าทุเรียนสดจาก 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย เวียนนามและฟิลิปปินส์ ตามสถิติของศุลกากรจีน ประมวลโดย Global Trade Atlas แสดงให้เห็นว่า ปี 2565 ทุเรียนไทยคงส่วนแบ่งการตลาดในจีนกว่าร้อยละ 95 เนื่องจากเวียดนามเพิ่งได้รับอนุญาตให้ส่งออกทุเรียนสู่จีนในช่วงเดือนสิงหาคมปี 2565 และฟิลิปปินส์ได้รับอนุญาตช่วงต้นปี 2566

ปี 2566 จีนนำเข้าทุเรียนสดทั้งสิ้น 1.42 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่านำเข้า 6,699.51 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยนำเข้าจากประเทศไทยมากที่สุด คิดเป็นปริมาณทั้งสิ้น 928,644 ตัน รองลงมาได้แก่ เวียดนาม ปริมาณนำเข้าอยู่ที่ 492,111 ตัน และฟิลิปปินส์ 3,770 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 65.19, ร้อยละ 34.55 และร้อยละ 0.26 ของการนำเข้าทั้งหมด ตามลำดับ และสำหรับปี 2567 ในช่วง 3 เดือนแรก ปริมาณนำเข้าทุเรียนจากเวียดนามของจีน    ได้แซงหน้าทุเรียนไทยเป็นครั้งแรก เนื่องจากเป็นช่วง Low Season ของทุเรียนไทย (ทุเรียนไทยยังไม่ออก)  โดยการนำเข้าจากเวียดนามคิดเป็นปริมาณนำเข้า 44,948 ตัน มูลค่า 224.86 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่นำเข้าจากไทยเป็นเพียง 27,263 ตัน มูลค่า 170 ล้านเหรียญสหรํบ ซึ่งเวียดนามถือว่าเป็นตลาดคู่แข่งที่แข็งแกร่งของไทย และยังไม่นับความสามารถในการปลูกทุเรียนในจีน ที่ได้พัฒนาสายพันธุ์ และมีผลผลิตออกสู่ตลาดจีนแล้วในช่วงปลายปีที่ผ่านมา แต่เนื่องจากนับเป็นช่วงพัฒนาเริ่มต้นของทุเรียนจีน ปริมาณจึงยังเพียงเล็กน้อย ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคทั้งหมดของชาวจีน ดังนั้น ตลาดทุเรียนจึงเป็นเค้กก้อนใหญ่ที่ทุกประเทศต้องการได้ส่วนแบ่งในเค้กก้อนนี้ ไทยจึงต้องมุ่งเน้นทุเรียนคุณภาพเพื่อรักษาส่วนแบ่งในตลาดจีน

แหล่งที่มา:

https://www.gxylnews.com/xwk/ms/202404/t20240416_720148.html

https://news.southcn.com/node_54a44f01a2/d26d3f392d.shtml

https://finance.sina.com.cn/7×24/2024-04-17/doc-inasecmn0202276.shtml

https://m.kunming.cn/news/c/2024-04-19/13827974.shtml#/

https://pfsc.agri.cn/#/indexPage

   เรียบเรียงโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน

23 เมษายน 2567

thThai