อินเดียยังคงสถานะประเทศผู้นำเข้าสุทธิผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าสำเร็จรูปในปีงบประมาณ 2023-2024

คณะกรรมการร่วมโรงงาน (Joint Plan Committee: JPC) อินเดียได้รายงานว่า ปัจจุบันอินเดียมีการนำเข้าปริมาณเหล็กจำนวน 8.319 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 38 ทำให้อินเดียกลายเป็นผู้นำเข้าสุทธิสินค้าโภคภัณฑ์ระหว่างปีงบประมาณ 2023 – 2024 โดยเป็นการนำเข้าเหล็กสำเร็จรูปปริมาณ 6.022 ล้านตัน แม้ว่าอินเดียจะเป็นผู้นำเข้าเหล็กสำเร็จรูปสุทธิ แต่สถิติข้อมูลต่างๆ ที่ได้รวบรวมในช่วงดังกล่าว ภาคอุตสาหกรรมเหล็กมีความกังวลเกี่ยวกับการนำเข้าหลักจากต่างประเทศ อาทิ จีน และประเด็นการเข้าแทรกแซงต่อปัญหาของภาครัฐ

ผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมฯภายในประเทศ ประสงค์ที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของภาคการนำเข้าและต้องการให้เกิดการทบทวนข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับหลายประเทศ ทั้งนี้ ในระหว่างปี 2565 – 2566 ปริมาณการผลิตเหล็กดิบขยายตัวร้อยละ 12.4 จากปริมาณเดิมที่ 123.19 ล้านตัน เป็น 138.48 ล้านตัน แต่ในทางตรงกันข้ามปริมาณการใช้เหล็กสำเร็จรูปขยายตัวเป็น 135.9 ล้านตัน จากเดิมที่ 119.89 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 13.40 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ภายใต้นโยบายเหล็กแห่งชาติ อินเดียตั้งเป้าที่จะบรรลุการเพิ่มกำลังการผลิตรายปีให้ได้ถึง 300 ล้านตันภายในปี 2030 รวมทั้งมีการบริโภคและใช้เหล็กและผลิตภัณฑ์ที่ 160 กิโลกรัมต่อคน
ข้อมูลเพิ่มเติม
1. สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีส่วนทำให้อุปสงค์ของเหล็กทั่วโลกมีการขยายตัวมากกว่า ร้อยละ 75 ด้วยอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อปีมากกว่า 8% ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้คาดการณ์ได้ว่าอุปสงค์เหล็กของตลาดโลกในทศวรรษหน้า อาจมีการหดตัวเฉลี่ยต่อปีที่ประมาณร้อยละ 1 สถานการณ์นี้อาจเกิดขึ้นได้เมื่อ ประเทศมีการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายจากการเติบโตของโครงสร้างพื้นฐานไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยการให้ความสำคัญกับผู้บริโภคมากขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงจากแนวทางการลงทุนเชิงรุก ไปสู่รูปแบบการเติมเต็มสินค้าคงคลังสำหรับสินค้าและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก

อินเดียยังคงสถานะประเทศผู้นำเข้าสุทธิผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าสำเร็จรูปในปีงบประมาณ 2023-2024

2. ในทางตรงกันข้าม อินเดียและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจเพิ่มอุปสงค์ของเหล็กเนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น และรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริม การลงทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งประเทศกลุ่ม MENA และยูเครน อาจดำเนินการผ่านโครงการขนาดใหญ่ หรือ Mega project (ที่จำเป็นต้องใช้ปริมาณเหล็กกล้าสูงถึง 10 ถึง 15 ล้านตัน) และเดินหน้าฟื้นฟูสภาพภูมิประเทศ รวมทั้งกิจกรรมด้านเศรษฐกิจที่อาจกระตุ้นให้เกิดความต้องการเหล็กพุ่งสูงขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ของเหล็กในอินเดีย ยังมีความเป็นไปได้ที่จะขยายตัวประมาณร้อยละ 6 ภายในปี 2575 โดยได้รับแรงหนุนจากการลงทุนภาครัฐทั้งด้านการก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนโครงการของรัฐที่สำคัญอีกหลากหลายโครงการ อาทิ ถนน สะพาน ส่งผลให้ความต้องการของเหล็กในประเทศมีแนวโน้มที่จะเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ภายในปี 2593

ผลกระทบต่อผู้ประกอบการ
1. ความต้องการของวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น: ด้วยอินเดียมีการนำเข้าเหล็กที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการวัตถุดิบในการผลิตมีเพิ่มขึ้นตามมา อาทิ แร่เหล็กและถ่านหิน ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการไทยที่ทำธุรกิจในด้านวัตถุดิบดังกล่าวในการวางแผนและเจาะตลาดอินเดีย
2. การกระจายตลาดส่งออก: อินเดียถือเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นผู้นำเข้าเหล็กสำเร็จรูปที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกผู้ประกอบการไทยอาจใช้โอกาสนี้ในการขยายตลาด เพื่อกระจายสัดส่วนของตลาดส่งออกจากเดิมที่เคยทำธุรกิจอยู่ เนื่องจากความต้องการเหล็กที่เพิ่มขึ้นของตลาดอินเดีย จะทำให้ผู้ประกอบการเห็นภาพโอกาสของตลาดใหม่ ที่สอดรับกับผลิตภัณฑ์เหล็กของไทย
3. แนวโน้มอุปสรรคทางการค้าที่อาจเกิดขึ้น: ด้วยผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเหล็กมีความกังวลต่อการนำเข้ามากขึ้น อาจนำไปสู่ความเสี่ยงหรืออุปสรรคทางการค้าทั้งมาตรการทางภาษีและไม่ใช่ภาษี ที่รัฐบาลอินเดียออกข้อกำหนดไว้และเข้มงวดมากขึ้น มาตรการที่ออกมาจากภาครัฐเพื่อรักษาตลาดในประเทศอาจกลายเป็นอุปสรรค แก่ผู้ส่งออกไทยในการเข้าถึงตลาดอินเดียจากการมีต้นทุนด้านการส่งออกเพิ่มขึ้น
ข้อคิดเห็น
1.อินเดียยังคงเป็นประเทศที่มีความสำคัญและเป็นจุดสนใจในภาคอุตสาหกรรมเหล็กทั่วโลก ซึ่งหากพิจารณาความต้องการเหล็กในประเทศคาดว่าจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ร้อยละ 7.3 และ 6.2 ในปี 2566 และ 2567 เทียบกับการเติบโตทั่วโลกที่ร้อยละ 2.3 และ 1.7 ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ 2023 (เมษายน 23-มีนาคม 24) ตลาดอินเดียยังมีทิศทางและกำลังการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยกำลังการผลิตที่ 122.276 ล้านตัน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 จากปีที่ผ่านมา โดยเป็นการนำเข้าเหล็กสำเร็จรูปปริมาณ 6.022 ล้านตัน เทียบกับการส่งออกที่ 6.716 ล้านตัน ประเทศที่เป็นตลาดผู้นำเข้าสินค้ารายใหญ่ที่สุดของอินเดีย คือ เกาหลีใต้ (สัดส่วนตลาดร้อยละ 37) โดยปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้มีการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าสำเร็จรูป ในปริมาณมาก คือ การก่อสร้าง เป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 50 โดยแยกเป็นการบริโภคในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยประมาณ 12 ล้านตัน และรองลงมา คือ การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานประมาณ 7 ล้านตัน นอกจากนั้น เป็นการนำไปผลิตเป็นสินค้า
(ร้อยละ 34) และการขนส่ง (ร้อยละ 16) รวมทั้งภาคการผลิตรถยนต์ที่ทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
2. สคต.เห็นว่า โอกาสสำหรับธุรกิจของเหล็กในระบบห่วงโซ่อุปทานในตลาดอินเดียยังคงขยายตัว เมื่อผู้ประกอบการไทยมีการทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องแล้ว อาทิ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล การเป็นซัพพลายเออร์ให้แก่เครื่องจักร รวมถึงผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยี กิจกรรมเหล่านี้อาจก่อให้เกิดความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ผลิตเหล็กของอินเดียที่ต้องการขยายกำลังการผลิตในอนาคต ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยสามารถศึกษาใช้ประโยชน์จาก FTA ในการนำเข้าสินค้าต้นน้ำและสินค้ากลางน้ำเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตสำหรับส่งออก ทำให้ต้นทุนด้านภาษีนำเข้าลดลง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของไทย

 

 

ที่มา:
1. https://economictimes.indiatimes.com/industry/indl-goods/svs/steel/india-remains-net-importer-of-finished-steel-in-fy24-inbound-shipment-grows-38-pc-to-8-32-mnt/articleshow/109139716.cms?from=mdr

 

 

 

 

 

 

thThai