เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2024 หน่วยงาน U.S. Customs and Border Protection (CBP) ได้ออกประกาศแนวทางการนำเข้าเพชรและเครื่องประดับเพชรว่า เริ่มต้นตั้งแต่วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2024 การนำเข้าสหรัฐฯเพชรหรือเครื่องประดับเพชร บริษัทต้องมีเอกสารรับรอง ที่ทำบนกระดาษที่มีหัวเป็นของบริษัท (company letterhead) และอยู่ในรูปของ PDF ทั้งนี้

 

การจัดส่งสินค้า (shipment) หนึ่งครั้งใช้เอกสารหนึ่งฉบับ ระบุข้อความดังนี้

1. เพชรที่เป็น non-industrial ที่มีน้ำหนัก 1 กะรัตขึ้นไป ต้องระบุในเอกสารว่า “I certify that the non-industrial diamonds in this shipment were not mined, extracted, produced, or manufactured wholly or in part in Russian Federation, notwithstanding whether such diamonds have been substantially transformed into other products outside of the Russian Federation.”

 

2. เครื่องประดับทำด้วยเพชรหรือเพชรที่ยังไม่ได้ถูกเจียระไน(unsorted diamonds) ต้องระบุในเอกสารว่า “I certify that the diamond jewelry and unsorted diamonds in this shipment are not of Russian Federation origin or were not exported from the Russian Federation”

 

ในกระบวนการนำเข้า เอกสารรับรองข้างต้นต้องถูก upload ขึ้น Automated Commercial Environment (ACE) Document Image System ซึ่งเป็น electronic platform ของ CBP สำหรับการค้าเพชรและเครื่องประดับเพชร

 

ข้อกำหนดใหม่ของ CBP นี้จัดทำขึ้นตามแนวทางที่ประเทศกลุ่ม G7 ที่สหรัฐฯเป็นสมาชิก ที่กำหนดขึ้นในการประชุมในเดือนธันวาคม 2023 เป้าหมายเพื่อห้าม (ban) การนำเข้าเพชรรัสเซียไปยังประเทศสมาชิก  ทั้งนี้ CBP กำหนดเวลา “sunrise period” ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2024 จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2024 เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีเวลาเตรียมตัวปฏิบัติตามกฎระเบียบนี้และกฎระเบียบใหม่ที่จะเริ่มต้นวันที่ 1 กันยายน 2024 และเป็นการขยายเพิ่มขึ้นจากการประกาศครั้งแรก โดยจะเปลี่ยนน้ำหนักสินค้าเพชรให้ลดจาก 1 กะรัต เหลือ 0.5 กะรัต และ กฎระเบียบจะขยายวงครอบคลุมถึง เครื่องประดับสำเร็จรูป (finished jewelry) เพชรที่ผลิตจากห้องแลป (lab-grown diamonds) และ นาฬิกา

                    

ข้อกำหนดใหม่ได้ไปเปลี่ยนข้อกำหนดเดิมของ CBP ที่กำหนดว่า สินค้าใดๆที่ถูกนำเข้ากระบวนการเปลี่ยนรูปอย่างมาก (substantially transformed) ในประเทศใดประเทศหนึ่ง ให้ถือว่า ประเทศนั้นๆที่เป็นแหล่งกระบวนการเปลี่ยนรูป เป็นประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า (country of origin)  กฎระเบียบนี้ได้กลายเป็นช่องโหว่ให้การนำเข้าเพชรจากรัสเซียไปยังสหรัฐฯยังคงดำเนินอยู่ต่อไป แม้ว่าประธานาธิบดี Joe Biden จะได้ออกประกาศคำสั่งผู้บริหาร (executive order) เมื่อเดือนมีนาคม 2022 ห้ามการนำเข้าเพชรจากรัสเซีย

 

การจัดข้อกำหนดเรื่องการนำเข้าเพชรจากรัสเซียในครั้งนี้ยังจะขยายนำไปใช้กับการนำเข้าปลาและอาหารทะเลจากรัสเซียด้วย ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน ทั้งนี้  CBP จะได้จัดประกาศกฎระเบียบเรื่องนี้ออกมาในภายหลัง

 

ที่มา: National Jeweler: “What to Know About Importing Diamonds Into the U.S.”, by Lenore Fedow, March 4, 2024

 

ข้อมูลเพิ่มเติม ข้อคิดเห็น และคำแนะนำของ สคต. ลอสแอนเจลิส

ข้อมูลการนำเข้าเพชรสหรัฐฯในระหว่างปี 2021 ถึง 2022 เรียงตามลำดับมูลค่านำเข้า 15 อันดับแรกรวมกันแล้วคิดเป็นร้อยละ 98 ของการนำเข้าเพชรรวมทั้งสิ้นของสหรัฐฯ ได้แก่ อินเดีย อิสราเอล เบลเยี่ยม อาฟริกาใต้ บอสวานา สวิสเซอร์แลนด์ ฮ่องกง ฝรั่งเศส สหสาธารณรัฐอาหรับ นามิเบีย แองโกลา แคนาดา ประเทศไทย มอริเชียส์ และสหราชอาณาจักร ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีมูลค่านำเข้าสหรัฐฯเติบโตที่สุด รองจากฮ่องกง ฝรั่งเศส และแองโกลา คือ มีอัตราเติบโตของการนำเข้าไปยังสหรัฐฯร้อยละ 161.1 คิดเป็นมูลค่านำเข้า   111.7 ล้านเหรียญฯ

 

ข้อบังคับเรื่องการส่งสินค้าเพชรและเครื่องประดับเพชรที่มีแหล่งกำเนิดจากรัสเซียเป็นข้อบังคับเพิ่มเติมจากกฎหมายเรื่องการค้าเพชรที่สหรัฐฯใช้บังคับอยู่ก่อนหน้าแล้ว คือ

 

1. กฎหมาย Kimberley Act ที่กำหนด sanction เพชรที่เป็น conflict diamonds หรือ blood diamonds นำเข้าจากบางประเทศ เช่น Sierra Leone, Angola และ Liberia เป็นต้น และต้องปฏิบัติตามกฎหมาย Clean Diamond Act ด้วย ที่มีข้อกำหนดโดยสรุป คือ

1.  ต้องแจ้งการนำเข้าอย่างเป็นทางการ

2.  ต้องมีประกาศนียบัตรรับรอง Kimberly Process certificate ที่ในระหว่างการนำเข้าจะต้องส่งสำเนาประกาศนียบัตรนี้ให้  CBP และ U.S. Census Bureau และต้องเก็บเอกสารตัวจริงไว้นาน 5 ปี

 

2. กฎหมาย Patriot Act ที่มีเป้าหมายหลักเพื่อปกป้องการฟอกเงินและการก่อการร้ายทางเศรษฐกิจต่อประเทศสหรัฐฯ กำหนดข้อบังคับสำหรับผู้ค้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในการส่งสินค้าเข้าสหรัฐฯว่า

1. การนำเข้าเพชร เครื่องประดับ ไข่มุก และอัญมณีมีค่าและกึ่งมีค่า ที่มีมูลค่า 2,500 เหรียญฯและมากกว่า ต้องแจ้งการนำเข้าอย่างเป็นทางการ (Formal entry)

2. การนำเข้าสหรัฐฯเพื่อการค้าไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตนำเข้า (import license) แต่ต้องมี customs bond CBP Form 301 ประกอบการนำเข้า

3. เพชร ไข่มุก พลอยต่างๆ ที่ยังไม่ได้เข้ารูปเป็นเครื่องประดับจากประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับสหรัฐฯสามารถนำเข้าสหรัฐฯได้โดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าแต่ต้องมีการระบุรหัสศุลกากรสหรัฐฯที่ถูกต้องซึ่งมีอยู 11 รหัสด้วยกัน ในกรณีที่ประกอบเป็นเครื่องประดับแล้ว ถือว่าเป็นเครื่องประดับที่ต้องเสียภาษีนำเข้า

 

สคต. ลอสแอนเจลิสแนะนำให้ผู้ที่สนใจจะส่งออกสินค้าเครื่องประดับอัญมณีเข้าสหรัฐฯศึกษากฎระเบียบการนำเข้าและติดตามการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบนำเข้าของสหรัฐฯเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้

 

หมายเหตุ: ข่าวข้างบนนี้เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งที่จัดทำและนำเสนอข้อมูลเปิดเผยต่อสาธารณชนทั่วไป และบางส่วนเป็นความเห็นส่วนบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส นำมารวบรวมเผยแพร่เพื่อแก่ผู้สนใจ เนื่องจากเป็นข้อมูลและความเห็นจากบุคคลที่สาม การนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ ไม่ว่าในกรณีใดๆ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณเฉพาะบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆที่อาจเกิดขึ้นจากการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้                

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ นครลอสแอนเจลิส | ข่าวประจำสัปดาห์ 4 – 8 มีนาคม 2567

                                                                                                                                                             

thThai