ข้อมูลการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนประเทศสาธารณรัฐเช็ก (Cross-Border E-Commerce)

  1. ข้อมูลทั่วไป (Country Overview)

1.1 ข้อมูลขนาดเศรษฐกิจของประเทศ (GDP)

  • GDP ในปี 2023 ปรับลดลงร้อยละ 0.4 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ ปัญหาเงินเฟ้อ และราคาพลังงาน ที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้การบริโภคของครัวเรือนลดลง โดยยอดค้าปลีกลดลงต่อเนื่อง 18
  • ในปี 2024 กระทรวงการคลังสาธารณรัฐเช็กคาดการณ์ว่า GDP จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เนื่องจาก อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยคาดว่าจะลดลงเหลือร้อยละ 3.1 ในปีนี้ (ปี 2023 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 10.7 และร้อยละ 15.1 ในปี 2022) รวมถึงการลงทุนของภาคเอกชนและการเติบโตของตลาดส่งออกจะ ช่วยสนับสนุนภาพรวมทางเศรษฐกิจ

1.2 ข้อมูลสถิติเชิงภูมิศาสตร์ประชากร (Age/Gender/Education/Etc.)

  • จำนวนประชากรของสาธารณรัฐเช็กมีทั้งหมด 10.76 ล้านคน (ประมาณการปี 2023)
  • สัดส่วนประชากรหญิงคิดเป็นร้อยละ 94 และประชากรชายคิดเป็นร้อยละ 49.06 โดยประชากรจำนวนประมาณ 1.3 ล้านคน อาศัยอยู่ในกรุงปราก
  • สัดส่วนประชากร อายุ 0 – 14 ปี คิดเป็นร้อยละ 16.17 อายุ 15 – 64 ปี คิดเป็นร้อยละ 63.42 และอายุ 65 ปี ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 20.41
  • การศึกษาระดับประถมศีกษาร้อยละ 7.3 ระดับมัธยมศึกษาร้อยละ 58.1 และระดับมหาวิทยาลัย ร้อยละ 34.6

1.3 ข้อมูลระดับรายได้ต่อหัวของประชากร (GDP per capita)

  • GDP per capita ของสาธารณรัฐเช็กอยู่ที่ 27,223 เหรียญสหรัฐ (ประมาณการปี 2022 ข้อมูลจาก WORLD BANK)

1.4 ข้อมูลผู้ใช้งาน (Internet Users/ Mobile User/Online Shoppers)

  • ปัจจุบัน E-Commerce ครองส่วนแบ่งของตลาดค้าปลีกทั้งหมดร้อยละ 16 โดยมีร้านค้าออนไลน์มากกว่า 49,900 แห่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงใน สาธารณรัฐเช็ก แต่อย่างไรก็ตามผู้บริโภคชาวเช็กเพียงร้อยละ 18.1 ที่สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ
  • Internet Users : จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในปี 2024 ณ เดือนกุมภาพันธ์ ของสาธารณรัฐเช็ก ประมาณ 8.89 ล้านคน (ร้อยละ 7) โดยมีผู้ใช้งาน Internet Banking ประมาณ 8.86 ล้านคน
  • Mobile User : สาธารณรัฐเช็กมีสถิติการเชื่อมต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวน 513 ล้านเครื่อง คิดเป็นร้อยละ 88.41 ของจำนวนประชากร เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.63 หรือ 155,000 เครื่อง จากปี ก่อนหน้า
  • Online Shoppers : ในปี 2022 สาธารณรัฐเช็กมีจำนวนผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ร้อยละ 61 โดยเป็น กลุ่มอายุ 16 -74 ปี ร้อยละ 66 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในสหภาพยุโรปร้อยละ 56

1.5 ข้อมูลด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและดิจิทัลที่เกี่ยวข้อง (Digital Infrastructure)

  • สาธารณรัฐเช็กติดอันดับต้นๆ ในสหภาพยุโรปสำหรับการเป็นประเทศที่เอื้ออำนวยต่อธุรกิจดิจิทัล เนื่องจากสาธารณรัฐเช็กมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยในปัจจุบันมีการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ อาทิ เครือข่ายใยแก้วนำแสงเพื่อเชื่อมต่อไปยังจุดที่สำคัญของยุโรป รวมถึงสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ต่อการดำเนินธุรกิจ
  • ผลการสำรวจ The Digital Quality of Life ในปี 2021 ระบุว่า สาธารณรัฐเช็กจัดอยู่ในลำดับที่ 28 จากประเทศทั่วโลก ที่มีสภาพแวดล้อมทางดิจิทัลที่ดีที่สุด โดยการประเมินจาก 5 ด้าน คือ ความพร้อม ใช้งานในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คุณภาพของการเชื่อมต่อ โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่มีอยู่ ความปลอดภัย ทางดิจิทัล และการจัดการกิจการสาธารณะโดยใช้เทคโนโลยี หรือ e-Government

1.6 ข้อมูลความเป็นอยู่และค่านิยมหรือพฤติกรรมการกินอยู่ใช้ในภาพรวมของคนในประเทศ (Consumer Behaviors)

  • ผู้บริโภคชาวเช็กคำนึงถึงเรื่องราคาเป็นสำคัญ คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 73.7 รองลงมาคือเรื่อง คุณภาพของสินค้า และการจัดส่งสินค้าที่รวดเร็ว เชื่อถือได้ และมีความยืดหยุ่นในการจัดส่งสินค้าที่ หลากหลาย อาทิ การรับสินค้าผ่านร้านพันธมิตรใกล้บ้านหรือที่ทำงานโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย การจัดส่งสินค้าภายใน 1 – 2 วัน (มาตรฐานการจัดส่งสินค้าในกรุงปรากสำหรับสินค้าทั่วไป คือ 1 – 2 วัน หากเป็นสินค้า Grocery จะใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง) ระบบการติดตามการสั่งซื้อสินค้าจนกว่าสินค้าจะถึงมือผู้บริโภค และนโยบายการคืนสินค้า (อัตราการคืนสินค้าโดยเฉลี่ยในร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ของเช็กอยู่ที่ร้อยละ 11 และอัตราสูงสุดร้อยละ 22 อยู่ในหมวดเสื้อผ้า)
  • ปัจจุบันผู้บริโภคชาวเช็กให้ความสนใจในการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการขนส่งที่ยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น
  • กลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นกลุ่มที่ผู้บริโภคเช็กสั่งซื้อมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 29.6 รองลงมาคือ อุปกรณ์เกี่ยวกับการทำสวนและของตกแต่งบ้าน คิดเป็นร้อยละ 12.3 และอันดับที่ 3 ได้แก่ สินค้าแฟชั่น คิดเป็นร้อยละ 9.5

2. ข้อมูลตลาดออนไลน์ (E-Commerce Market)

2.1 ภาพรวมระบบนิเวศน์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ (E-Commerce Ecosystem)

  • สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ส่งผลให้ตลาด E-Commerce ในสาธารณรัฐเช็ก ขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2020 ขยายตัวขึ้นร้อยละ 26 และในปี 2021 ขยายตัวขึ้นร้อยละ 15 แต่มาในปี 2022 อัตราการขยายตัวลดลง อยู่ที่ร้อยละ 12 และลดลงร้อยละ 6 ในปี 2023 รวมถึงยอดสั่งซื้อสินค้าลดลงร้อยละ 12

2.2 แนวโน้มและโอกาสของสินค้าไทย (Trend & Opportunity)

  • ผู้บริโภคเช็กส่วนใหญ่มักจะเคยชินการซื้อสินค้าจากร้านค้าและบริการที่เป็นของเช็ก เนื่องจากเห็นว่าสามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างสมบูรณ์แบบ
  • สำหรับการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ (E-Shop) ผู้บริโภคชาวเช็กให้ความสำคัญกับเรื่องของความปลอดภัย (Security) เกี่ยวกับข้อมูลผู้บริโภคและตัวสินค้า การจัดส่งที่รวดเร็ว และความหลากหลายของประเภทสินค้า
  • สินค้าที่ได้มีศักยภาพ ได้แก่ สินค้าอาหาร ผลิตภัณฑ์เกษตร และสินค้าไลฟ์สไตล์ แต่อย่างไรก็ตาม การซื้อสินค้าจากประเทศไทยเป็นเรื่องยาก เนื่องจากภาษีศุลกากร การขนส่งที่มีราคาสูง และใช้เวลานาน ประกอบกับผู้บริโภคเช็กนิยมสั่งซื้อสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์ของเช็ก ทั้งนี้ หากบริษัทไทยมีคลังสินค้าในสหภาพยุโรปและรับประกันการส่งมอบได้ภายใน 1-2 วัน (มาตรฐานการจัดส่งสินค้าในกรุงปราก) และการร่วมกับบริษัทท้องถิ่นในการจัดจำหน่าย จะช่วยสร้างโอกาสในการแข่งขันได้มากขึ้น

2.3 มูลค่าการซื้อขายบนตลาดออนไลน์แบบB2B/B2C/C2C (Domestic vs. Cross-Border)

  • ในปี 2023 มูลค่าการซื้อขายรวมของ E-Commerce ในสาธารณรัฐเช็กในทุกหมวดผลิตภัณฑ์ ประมาณ 185 พันล้านเช็กคราวน์ ปรับลดลงจากปีก่อนหน้า และคาดว่ามูลค่าการซื้อขายจะลดลง ตามสถานการณ์และปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เนื่องจากผู้บริโภคต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย
  • ช่วงที่ชาวเช็กนิยมซื้อสินค้าออนไลน์มากที่สุด คือ ช่วงก่อนเทศกาลคริสต์มาส ในเดือนตุลาคม – ธันวาคม เพื่อเป็นของขวัญสำหรับเทศกาลดังกล่าว

2.4 ข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ (Online Consumer Behaviors)

  • ผู้บริโภคเช็กส่วนใหญ่ยังคงนิยมสินค้าและบริการภายในประเทศ เนื่องจากต้องการหลีกเลี่ยงค่าขนส่ง (Shipping fee) และการรับประกันสินค้าระหว่างประเทศ โดยการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์จากต่างประเทศ คิดเป็นร้อยละ 1 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของสหภาพยุโรปที่มีสัดส่วนร้อยละ 21.2
  • การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ เป็นเพศหญิงร้อยละ 4 และเพศชายร้อยละ 16.8 จากสถิติพบว่ากลุ่มอายุ 16 – 24 ปี มีการสั่งซื้อสูงที่สุดร้อยละ 31.4 ตามมาด้วยกลุ่มอายุ 25 – 54 ปี ร้อยละ 22.6 และกลุ่มอายุ 55 – 74 ปี ร้อยละ 5.8 โดยสั่งซื้อสินค้าจากประเทศในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีพรมแดนติดกัน ได้แก่ เยอรมนี ออสเตรีย สโลวาเกีย ซึ่งมีข้อได้เปรียบในการ ซื้อสินค้าปลอดภาษีศุลกากร สำหรับประเทศนอกสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่เป็นประเทศจีน เนื่องจากราคาถูก สำหรับแฟลตฟอร์มที่ผู้บริโภคเช็กนิยมสั่งซื้อสินค้าข้ามพรมแดน ได้แก่ Amazon, eBay และ Aliexpress

2.5 ความถี่ และค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ (ต่อครั้ง/ต่อปี) (Shopping frequency /Spending per transactions)

  • จากงานวิจัยล่าสุดของ DHL E-commerce พบว่าผู้สั่งซื้อสินค้าออนไลน์ร้อยละ 60 สั่งซื้อสินค้าขั้นต่ำ 1 ครั้งต่อเดือน และร้อยละ 30 สั่งซื้อสินค้า 1 ครั้งต่อสัปดาห์
  • มูลค่าการสั่งซื้อออนไลน์โดยเฉลี่ยในปี 2022 อยู่ที่ 1,677 เช็กคราวน์ต่อครั้ง และมีการใช้จ่ายเฉลี่ย 8,794 เช็กคราวน์ต่อปี
  • ช่วงที่ชาวเช็กนิยมซื้อสินค้าออนไลน์มากที่สุด คือ ช่วงก่อนเทศกาลคริสต์มาส โดยปี 2023 กว่าร้อยละ 40 ใช้จ่ายมากกว่า 2,500 เช็กคราวน์ ในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์เพียงครั้งเดียว นอกจากนี้ช่วงดังกล่าวมี จำนวนคำสั่งซื้อออนไลน์เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 50

2.6 แฟลตฟอร์ม Social medias ช่องทางที่นิยมใช้ซื้อขายสินค้าออนไลน์พร้อมสัดส่วน (Top 5 Emarketplace& Market Share) (ในประเทศ vs cross-border)

  • แพลตฟอร์ม Social medias ยอดนิยมในสาธารณรัฐเช็ก คือ Facebook, Instagram, YouTube และ TikTok
  • 5 อันดับแฟลตฟอร์มที่ชาวเช็กนิยมสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ได้แก่

ข้อมูลการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนประเทศสาธารณรัฐเช็ก (Cross-Border E-Commerce)

 

2.7 กลยุทธ์การทำประชาสัมพันธ์/โปรโมทสินค้า (Marketing & Promotion)

  • SEO- Search Engine Optimization เป็นกลยุทธ์การโปรโมทสินค้าที่นิยมที่สุดในสาธารณรัฐเช็ก เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหา โดยใช้เว็บไซต์ Google คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4 ตามด้วยเว็บไซต์ seznam.cz ร้อยละ 10.8 และ bing ร้อยละ 4.18
  • Optimization for Price Comparison การเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการเปรียบเทียบราคา โดยเว็บไซต์เปรียบเทียบราคาที่ใหญ่ที่สุด คือ เว็บไซต์ cz และมีบริการให้คำปรึกษาในการ เลือกซื้อสินค้าด้วย รองลงมาคือเว็บไซต์ Zbozi.cz
  • Content Marketing การโปรโมทสินค้าเพื่อดึงดูดและสร้างความสนใจแก่ลูกค้าผ่านทาง Blog วิดีโอ จดหมายข่าว การรีวิวสินค้า คู่มือการซื้อ และ Pop-up Chat เพื่อพูดคุยกับลูกค้าในทันที รวมถึง รับคำติชมจากลูกค้า
  • E-Mail Marketing การนำเสนอข้อมูลสินค้าใหม่ รวมถึงส่วนลดผ่านทางอีเมล์
  • Social Media Marketing เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์กับผู้ซื้อออนไลน์ ในการพัฒนาและ เพิ่มฐานลูกค้าให้ใหญ่ขึ้น
  • PPC Advertising การโฆษณาแบบจ่ายต่อคลิก ผ่าน Google และ YouTube เป็นต้น
  • Optimization for Mobile Phone การเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการเข้าถึงผ่านทางโทรศัพท์มือถือ
  • สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แฟชั่น เครื่องสำอาง สินค้าเกี่ยวกับบ้าน/สวน/งานอดิเรก รวมไปถึงสัตว์เลี้ยง การโฆษณาแบบดั้งเดิมผ่านโทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ และป้ายโฆษณา ยังคงมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ สินค้าเครื่องสำอางและแฟชั่น การโปรโมตสินค้าผ่าน Bloggers และ Influencers เป็นเครื่องมือที่ควรให้ความสำคัญเช่นกัน

2.8 ช่องทางการชำระเงินออนไลน์ (e-Payment)

  • เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา วิธีการชำระเงินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดกว่าร้อยละ 56 คือชำระเงินสดเมื่อมีการ จัดส่งสินค้า ปัจจุบันการชำระเงินออนไลน์ด้วยบัตรเครดิตได้รับความนิยมมากที่สุดร้อยละ 43.2 ตามมาด้วยการโอนเงินผ่านธนาคารออนไลน์ร้อยละ 15 การชำระเงินด้วยบัตรเมื่อจัดส่งสินค้าร้อยละ 11.7 การชำระเงินด้วยเงินสดเมื่อจัดส่งสินค้าร้อยละ 9.9 การชำระเงินด้วย Apple Pay ร้อยละ 9.2 และ การชำระเงินด้วย Google Pay ร้อยละ 7.9

2.9 ประมาณการค่าใช้จ่ายสำหรับช่องทางออนไลน์ 3 อันดับแรก

ข้อมูลการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนประเทศสาธารณรัฐเช็ก (Cross-Border E-Commerce)

3. กฎหมาย กฎระเบียบและภาษีการประกอบธุรกิจออนไลน์ (Legal Framework, Regulations, Tax)

  • กฎระเบียบทางกฎหมาย E-Commerce ของประเทศสาธารณรัฐเช็กดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติ E-Commerce ของสหภาพยุโรป โดยบังคับใช้กับบริการที่แสดงผ่านระบบประมวลผลอิเล็กทรอนิกส์ และระบบจัดเก็บข้อมูล
  • การดำเนินธุรกิจออนไลน์ในสาธารณรัฐเช็กต้องมีใบอนุญาตการค้าจากสำนักงานทะเบียนการค้าเช็ก (Czech Trade License Office)
  • การสร้างร้านค้าออนไลน์บริษัทจะต้องสร้างเว็บไซต์ ระบบการชำระเงิน และเครือข่ายโลจิสติกส์ โดย โลจิสติกส์เป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ E-Commerce ที่ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วยการจัดหาสินค้า การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการคำสั่งซื้อ การบรรจุภัณฑ์ และการจัดส่ง ตลอดจนการจัดการคืนสินค้า ซึ่งอาจว่าจ้างผู้ให้บริการโลจิสติกส์
  • ตามประมวลกฎหมายแพ่งของสาธารณรัฐเช็ก สัญญาใดๆ ที่ทำขึ้นระหว่างธุรกิจและผู้บริโภคจะต้องเป็นภาษาเช็ก ข้อกำหนดนี้ยังใช้กับข้อกำหนดและเงื่อนไขของธุรกิจและข้อมูลอื่นๆ ที่สื่อสาร กับลูกค้าด้วย
  • ภายใต้กฎหมายเช็ก การคืนสินค้าที่มีตำหนิจะมีผลกับการขายทั้งแบบปกติและแบบออนไลน์ โดยผู้บริโภค มีสิทธิที่จะเพิกถอนสัญญาโดยไม่ต้องระบุเหตุผลภายใน 14 วัน นับจากวันทำสัญญา
  • อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจะใช้อัตราเดียวกันกับร้านค้าออฟไลน์ สำหรับสินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม อัตราร้อยละ 21 สินค้าอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์ยาอัตราร้อยละ 12 หนังสืออัตราร้อยละ 0

4. ความเห็นของสำนักงาน

4.1 สินค้าที่มีศักยภาพหรือตัวอย่างกรณีศึกษาสินค้า (Potential Products and/or Success Cases)

  • ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวเช็กที่เดินทางมายังประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารไทย และธุรกิจบริการของไทยจึงมีมากขึ้น ทั้งนี้ สามารถแบ่งกลุ่มสินค้าศักยภาพเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
  • สินค้าอาหารและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซอส เครื่องปรุงรส และส่วนผสมอาหาร อาหารสำเร็จรูป ข้าว ผักและผลไม้สด เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ฯลฯ) ปลาและอาหารทะเลแช่เย็น/แช่แข็ง
  • สินค้าอุปโภคบริโภค ได้แก่ สิ่งทอและผ้าผืนสำหรับบ้าน ของขวัญและของตกแต่ง ของตกแต่งและ อุปกรณ์สำหรับสวน ผลิตภัณฑ์พลาสติกสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมและในครัวเรือน ผลิตภัณฑ์พลาสติก ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องสำอางจากธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์ สำหรับการนวดแผนไทย
  • ธุรกิจบริการ ได้แก่ ร้านอาหารไทยและอาหารไทย การนวดแผนไทย และสปาไทย (จำหน่ายใน รูปแบบบัตรกำนัล)

4.2 การเตรียมตัวผู้ประกอบการไทย (Preparation)

  • สินค้าต้องมีคุณภาพมาตรฐานตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป จึงจะสามารถเข้ามาจำหน่ายในตลาดยุโรป
  • ผู้ประกอบการไทยควรจัดทำเว็บไซต์ให้มีรูปแบบเป็นสากล สวยงาม ใช้งานง่าย (User-friendly) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรสร้างระบบชำระเงิน (Check out) ที่ง่ายต่อการใช้งาน และต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยเรื่องการชำระเงินและการรักษาข้อมูลลูกค้าที่เข้มงวด
  • ผู้ประกอบการไทยควรศึกษาข้อมูลความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องและพัฒนาสินค้าให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคให้มากที่สุด รวมถึงการพัฒนาคุณภาพสินค้าให้มีความโดดเด่นแตกต่างจากสินค้าอื่น เพื่อสร้างความดึงดูดให้แก่สินค้า

4.3 กลยุทธ์แนะนำสำหรับผู้ประกอบการไทยเจาะตลาดออนไลน์ (Strategy recommendation for Thai Exporters)

  • ควรออกแบบเว็บไซต์ของร้านค้าให้ดึงดูดใจ มีความสะดวกสบายในการใช้งานและการค้นหา รวมถึง การให้ความสำคัญกับการรองรับการแสดงผลบนโทรศัพท์มือถือ หรือในรูปแบบของ Application เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถเข้าถึงร้านค้ามากขึ้น
  • เนื้อหาและการสื่อสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ควรนำเสนอข้อมูลที่ครบถ้วน น่าเชื่อถือเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ แสดงถึงมาตรฐาน คุณภาพ และคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ โดยนำเสนอข้อมูลที่เข้าใจง่าย และสร้าง ความน่าสนใจในตัวสินค้า
  • การใช้รูปภาพของสินค้าที่สวยงาม การจัดวางองค์ประกอบ และการเลือกใช้มุมภาพ จะช่วยดึงดูดใจ ผู้บริโภค และสร้างความน่าสนใจให้กับสินค้า

 

thThai