“รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าทูน่าจากประเทศอินโดนีเซีย”

 

  •                อินโดนีเซียและญี่ปุ่นเจรจาปรับปรุงข้อตกลงเพิ่มเติมเพื่อยกเลิกการกีดกันทางการค้าระหว่างกัน หลังจากที่ทั้งสองประเทศสรุปการเจรจาเกี่ยวกับการปรับปรุงข้อตกลงทางเศรษฐกิจทวิภาคี ญี่ปุ่นจะอนุญาตให้เข้าถึงผลิตภัณฑ์ของอินโดนีเซียได้มากขึ้น โดยฝ่ายอินโดนีเซียได้ร้องขอให้ฝ่ายญี่ปุ่นยกเลิกการเก็บภาษีสินค้าประมงแปรรูป โดยได้หยิบยกประเด็นที่ประเทศญี่ปุ่นได้ยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าจากประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และเวียดนามก่อนหน้านี้ ซึ่งในขณะเดียวกันรัฐบาลอินโดนีเซียก็ได้ผ่อนปรนกฎระเบียบด้านการลงทุนและด้านการธนาคารให้แก่ฝ่ายญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ทั้งสองฝ่ายกำลังพิจารณาข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-ญี่ปุ่น ภายใต้กรอบการประชุม IJEPA (Indonesia-Japan Economic Partnership Agreement) ฉบับแก้ไขที่จะนำมาใช้ภายในไตรมาสแรกของปี 2567 การเจรจาดังกล่าวมีขึ้นหลังจากประธานาธิบดีโจโค “โจโควี” วิโดโด ของอินโดนีเซียเข้าร่วมการประชุมทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะของญี่ปุ่น นอกรอบการประชุมสุดยอดอาเซียน – ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ (ASEAN – Japan Commemorative Summit) เพื่อฉลองวาระครบรอบ ๕๐ ปี ความสัมพันธ์อาเซียน – ญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 14 – 18 ธันวาคม 2566 ณ กรุงโตเกียว ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงข้อตกลง IJEPA เพิ่มเติมจากที่ลงนามครั้งแรกในปี 2550
  • ในการนี้ จากการที่รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าประมงแปรรูปสินค้าทูน่าจากประเทศอินโดนีเซีย ส่งผลทำให้ญี่ปุ่นปรับปรุงอัตราภาษีนำเข้าจากอัตราเดิมที่ 9.6% (หรืออัตรา 7.2% ตามสิทธิ GSP)
    “รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าทูน่าจากประเทศอินโดนีเซีย”          โดยมีข้อมูลการนำเข้าทูน่าแปรรูปในญี่ปุ่นปี 2565 เป็นมูลค่า 39,976.77 ล้านเยน (ประมาณ 9,623.18 ล้านบาท) โดยเป็นการนำเข้าจากประเทศไทย (56.93%) ฟิลิปปินส์ (20.57%) อินโดนีเซีย (13.16%) และอื่นๆ (9.34%) ตามลำดับ ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า การส่งออกทูน่าแปรรูปของประเทศอินโดนีเซียไปประเทศญี่ปุ่นโดยส่วนใหญ่ จะเป็นรูปแบบทูน่ากระป๋อง และปลาทูน่าแห้ง (Katsuobushi) ในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกัน
  • สำหรับประเทศไทย รัฐบาลญี่ปุ่นได้ยกเลิกภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าทูน่าจำนวน 94 รายการ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นมา ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement) หรือ JTEPA โดยสินค้าที่ได้รับการยกเลิกภาษีนำเข้าปลาทูน่าแปรรูป (HS. 1604.14.11) ซึ่งการส่งออกทูน่ากระป๋องไปญี่ปุ่นเป็นส่วนหนึ่งของการส่งออกสินค้าประมงและแปรรูปของไทยเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพอยู่ในอันดับ 2 ของโลก รองจากจีน เท่านั้น และในภูมิภาคอาเซียนไทยเป็นอันดับ 1 โดยที่ตลาดหลักทูน่ากระป๋องของไทย 5 อันดับเรียงตามสัดส่วน % ของมูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋อง มีดังนี้ กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง 23.52% สหรัฐ 20.00% กลุ่มแอฟริกา 13.01% ออสเตรเลีย 8.83% และญี่ปุ่น 8.83% จากข้อมูลของกรมประมง เดือน ม.ค.-พ.ค. 2566 ระบุว่า ไทยส่งออกทูน่ากระป๋อง ปริมาณ 172,016.93 ตัน มูลค่า 26,698.09 ล้านบาท ซึ่งเป็นสัดส่วน 32.58% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประมงทั้งหมด

บทวิเคราะห์ (ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย)
การที่ญี่ปุ่นยกเลิกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าบางรายการจากหลายประเทศ โดยเฉพาะเกี่ยวกับสินค้าอาหารที่ญี่ปุ่นบังคับใช้ สืบเนื่องจากหลังจากเกิดวิกฤตนิวเคลียร์ฟุกุชิมะในปี 2011 การยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าประมงจากอินโดนีเซีย จะเปิดโอกาสการลงทุนให้กับนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นต่ออุตสาหกรรมประมงในอินโดนีเซีย นอกจากนั้นการยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าอื่นๆ จากอินโดนีเซีย เช่น สับปะรด และกล้วย จะช่วยลดต้นทุนผู้นำเข้าและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า และอาจจะส่งผลกระทบต่อส่วนแบ่งการนำเข้าทูน่าจากไทย และสัดส่วนการแข่งขันในตลาดญี่ปุ่น

«««««««««««««««««««««««««««««««««»»»»»»»»»»»»»»»»»»»»»»»»»»»»»»»»»»»»»»»

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ฉบับที่ 17 ประจำวันที่ 20 – 26 มกราคม 2567 จากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

อ้างอิงจาก
หนังสือพิมพ์ Nikkei
ฉบับวันที่ 16 ธันวาคม 2566
https://asia.nikkei.com/Economy/Trade/Indonesia-and-Japan-agree-on-removing-more-trade-barriers

กรมประมง
https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/site/Fisheriesintertrade

thThai