กระแสการลดจำนวนถุงพลาสติกล่าสุดของรัฐบาลดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อหาวิธีการเพิ่มเติม  มาช่วยลดปริมาณการใช้ภายในประเทศ หลังจากก่อนหน้านี้รัฐบาลดูไบประกาศงดแจกถุงพลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง ของห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ แต่ลูกค้าสามารถซื้อถุงพลาสติกได้จากร้านเองต่างหาก    ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม  นอกจากนี้การกำจัดพลาสติกที่กลายเป็นปัญหาร้ายแรง ถึงขนาดที่องค์การสหประชาชาติระบุว่าพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวเป็นหนึ่งในความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน

ต่อมาได้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเมื่อวันที่ 4 เดือนมกราคม 2567 Sheikh Hamdan bin Mohammed bin Rashid Al Maktoum มกุฎราชกุมารรัฐดูไบและประธานคณะมนตรีบริหารรัฐดูไบ  เห็นชอบประกาศมติคณะมนตรีบริหารฉบับที่ 124 ปี พ.ศ. 2566  (Executive Council Resolution No.124 of 2023)  โดยออกประกาศห้ามใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทใช้แล้วทิ้ง   ได้แก่ โฟม  แก้ว หลอดกาแฟ ไม้ชงเครื่องดื่ม และ ไม้พันสำลี แบบเด็ดขาดในปี 2568 การเคลื่อนไหวนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์รีไซเคิล พยายามควบคุมการใช้ การรีไซเคิลผลิตภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวและผลิตภัณฑ์พลาสติก ประกาศนี้ใช้บังคับใช้กับผลิตภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และผลิตภัณฑ์รีไซเคิล รวมถึงพลาสติกและสินค้าที่ไม่ใช่พลาสติก โดยไม่คํานึงถึงองค์ประกอบของวัสดุ

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

ผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมในมติข้างต้นเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง และประเภทไม่ใช่พลาสติก ตลอดจนวัสดุบรรจุภัณฑ์จัดส่งอาหาร ห่อผักและผลไม้ ถุงพลาสติกหนา ภาชนะพลาสติก และวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ทําจากพลาสติกบางส่วนหรือทั้งหมด เช่น ที่ใช้สําหรับขวดพลาสติก ถุงขนม ทิชชู่เปียก ลูกโป่ง และก้านพลาสติกลูกโป่ง ที่นอกเหนือไปจากบรรจุภัณฑ์อาหาร กฎระเบียบนี้ครอบคลุมถึงผู้ขายและผู้บริโภคทั่วไปในดูไบ ครอบคลุมเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Free Zones )   รวมถึงศูนย์การเงินระหว่างประเทศดูไบ (Dubai International Financial Centre)

แนวทางแบบค่อยเป็นค่อยไป

ข้อกําหนดของมติห้ามนําเข้าและซื้อขายผลิตภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งเป็นผลิตภัณฑ์แรกที่ถูกห้าม โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 จากนั้นระยะถัดไปเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2567 รัฐบาลจะสั่งห้ามจำหน่ายผลิตภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวที่ไม่ใช่พลาสติกเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งที่เข้าข่ายต้องห้ามตามระเบียบ ได้แก่ ไม้ชงเครื่องดื่ม ผ้าพลาสติกคลุมโต๊ะ ถ้วย ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร หลอดพลาสติก และสําลีก้านพลาสติก

ผลิตภัณฑ์ยกเว้น

รัฐบาลดูไบให้ความสำคัญกับการในด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  การกระจายรูปแบบพลังงาน และเพิ่มการใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน มติดังกล่าวยังกําหนดให้ผู้ขายมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในโครงการ ความคิดริเริ่ม และโปรแกรมที่กําหนดเป้าหมายการลดวัสดุพลาสติกและผลิตภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยกเว้นจากมติ ได้แก่ ถุงพลาสติกม้วนบางแบบใช้ครั้งเดียว สำหรับบรรจุเนื้อสัตว์ ปลา ผัก ผลไม้ ธัญพืชและขนมปัง และถุงขยะ ข้อยกเว้นยังครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ไว้สำหรับการส่งออกและส่งออกต่อ          (re-export) อาทิ ถุงช้อปปิ้งพลาสติกใช้แล้วทิ้ง และผลิตภัณฑ์ใช้แล้วทิ้งอื่นๆ

บทลงโทษ

ผู้ฝ่าฝืนจะถูกปรับประมาณ 55 เหรียญสหรัฐฯ (Dhs 200) หากฝ่าฝืนซ้ำภายในหนึ่งปี นับจากวันที่กระทําความผิดครั้งก่อนบทลงโทษจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าโดยสูงสุดไม่เกิน 545 เหรียญสหรัฐฯ(Dhs2,000)  ทั้งนี้มตินี้ยกเลิกมติอื่นใดที่ประกาศก่อนหน้าหรือที่อาจขัดแย้งกับบทบัญญัตินี้

ความเห็นของ สคต.ดูไบ

นโยบายสั่งห้ามใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งที่ออกมานี้เป็นการแสดงถึงแรงขับเคลื่อนจากทุกๆ ฝ่ายที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ปัจจุบันประชากรยูเออี 10 ล้านคนในประเทศ มีอัตราการปล่อยมลพิษต่อหัวสูงที่สุดในโลก แซงหน้าประเทศออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกาไปเป็นที่เรียบร้อย จากการศึกษาพบว่าประชากรยูเออี     มีการใช้ถุงพลาสติก 11 พันล้านใบต่อปี  ทําให้เกิดขยะรวม 912.5 กิโลกรัมต่อคนต่อปี และขยะมูลฝอยชุมชนเพิ่มขึ้นเกือบ 2.1 กิโลกรัม/วัน   ท่ามกลางวิกฤติขยะพลาสติกที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ยูเออีเป็นหนึ่งในประเทศที่ต้องการรณรงค์ และลดการใช้พลาสติกอย่างมาก ผู้ประกอบการธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัว เพื่อตอบโจทย์ในการลดขยะพลาสติก        และสอดคล้องกับความต้องการใช้งานของผู้บริโภค พัฒนาบรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นโอกาส          ของผู้ประกอบการไทยในการขยายตลาดบรรจุภัณฑ์ทางเลือก

———————————————————————————

 

thThai