📰 ข่าวเด่นประจำเดือนธันวาคม 2566 โดย สคต. ณ กรุงบูดาเปสต์
www.thaitradebudapest.hu / Facebook Fanpage: @ThaiTradeBudapest 

Cover Photo by Charl van Rooy on Unsplash

 

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566 เอเจนซี่โฆษณาด้านการตลาดดิจิทัลชั้นนำระดับโลก Offerista Group และ ShopFully จัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นของ 8 ประเทศในยุโรป ได้แก่ บัลแกเรีย ฮังการี โรมาเนีย เยอรมนี ออสเตรีย อิตาลี ฝรั่งเศส และสเปน รวมทั้งสิ้น 7,921 คน[1] มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจับจ่ายสินค้าและบริการของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลวันหยุดสิ้นปี โดยผลสำรวจระบุว่าภาวะเงินเฟ้อ ยังคงเป็นปัจจัยหลักของการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภค อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าการจับจ่ายใช้สอยจะไม่มากเท่าเดิม แต่ก็ยังมีการซื้อสินค้าตามประเพณีนิยม เพียงแต่ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง

 

คำถามแรกที่ผู้ตอบแบบสอบถามต้องตอบ คือ “มีอะไรที่คุณกังวลเกี่ยวกับการจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลสิ้นปีหรือไม่” ผู้บริโภคตอบคำถามนี้อย่างเป็นเอกฉันท์ในทุกประเทศว่า ภาวะเงินเฟ้อเป็นความกังวลหลัก เนื่องจากสินค้าและบริการทุกอย่างราคาแพงขึ้น อย่างไรก็ดี แม้ต้องต่อสู้กับค่าครองชีพที่สูงขึ้น แต่ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบ 70% กล่าวว่า จะยังซื้อของขวัญให้กับเพื่อน สมาชิกครอบครัว และคนพิเศษต่อไป

 

แนวโน้มพฤติกรรมการจับจ่ายซื้อของขวัญช่วงเทศกาลสิ้นปีของชาวยุโรปในภาวะเงินเฟ้อสูง

รูปภาพที่ 1: ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุว่าภาวะเงินเฟ้อเป็นความกังวลหลักต่อการซื้อสินค้าในเทศกาลสิ้นปี จาก 8 ประเทศที่ทำการสำรวจความคิดเห็น
ที่มาของข้อมูล: Shopfully

 

จากการพิจารณาลดค่าใช้จ่ายในช่วงเทศกาลลงอันเนื่องมาจากค่าครองชีพสูงขึ้น ผู้บริโภคได้ระบุปัจจัยที่มีส่วนสำคัญในการจับจ่ายใช้สอย ดังนี้ ปัจจัยอันดับหนึ่งคือความคุ้มค่าของราคา คิดเป็น 39% โปรโมชั่นลดราคาพิเศษ คิดเป็น 35% การมีตัวเลือกให้เลือกซื้อหลากหลาย คิดเป็น 12% และคุณภาพสินค้า คิดเป็น 7%

 

แนวโน้มพฤติกรรมการจับจ่ายซื้อของขวัญช่วงเทศกาลสิ้นปีของชาวยุโรปในภาวะเงินเฟ้อสูง

รูปภาพที่ 2: ปัจจัยหลักในการเลือกซื้อของขวัญคริสต์มาสของ 8 ประเทศที่ทำการสำรวจความคิดเห็น
ที่มาของข้อมูล: Shopfully

 

ประเภทของขวัญที่เลือกซื้อ ในภาพรวม 8 ประเทศ ระบุว่าสินค้าประเภทเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องประดับ มาเป็นอันดับหนึ่ง 43% ตามด้วยอาหารและเครื่องดื่ม 42% ของเล่น 37% และเครื่องสำอาง และน้ำหอม 30% ด้านช่องทางการซื้อสินค้า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อสินค้าทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์เพื่อแสวงหาสินค้าที่ตนเองต้องการมากที่สุด

 

แนวโน้มพฤติกรรมการจับจ่ายซื้อของขวัญช่วงเทศกาลสิ้นปีของชาวยุโรปในภาวะเงินเฟ้อสูง

รูปภาพที่ 3: ช่องทางการซื้อสินค้าในช่วงเทศกาลปลายปีของกลุ่มตัวอย่างฯ
ที่มาของข้อมูล: Shopfully

 

 

แนวโน้มพฤติกรรมการจับจ่ายซื้อของขวัญช่วงเทศกาลสิ้นปีของชาวยุโรปในภาวะเงินเฟ้อสูง

รูปภาพที่ 4: สินค้าและบริการที่กลุ่มตัวอย่างฯ มีการจับจ่ายใช้สอยลดลงในช่วงเทศกาลปลายปี
ที่มาของข้อมูล: Shopfully

 

ข้อมูลรายประเทศ: ฮังการี

ผู้ตอบแบบสอบถามในฮังการีส่วนใหญ่ (40%) ใช้เงินซื้อของขวัญสำหรับเทศกาลคริสต์มาสในช่วง 35,000-75,000 โฟรินท์ (ประมาณ 3,478-7,454 บาท) ในภาพรวม คนส่วนใหญ่จะใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อของขวัญจำนวนเท่ากับปีที่แล้ว แต่เลือกซื้อของรายชิ้นที่มีราคาถูกกว่าปีที่แล้ว แต่เลือกซื้อของรายชิ้นที่มีราคาถูกกว่าปีที่แล้ว

ด้านวิธีการชำระเงิน ผู้ตอบแบบสอบถาม 34% ชำระค่าสินค้าด้วยเงินสด ส่วน 65% ชำระเงินด้วยบัตรเครดิต/บัตรเดบิต ด้านช่วงเวลาในการซื้อของขวัญ ผู้บริโภคส่วนมากในฮังการีจะรอให้ร้านค้าที่สนใจจัดโปรโมชั่นลดราคาสินค้ารับเทศกาลคริสต์มาส ซึ่งจะเกิดขึ้นช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนจนถึงกลางเดือนธันวาคม ฉะนั้น ร้านค้าที่จัดโปรโมชั่นลดราคารับเทศกาลฯ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงกลางเดือนธันวาคม ก็จะได้รับความสนใจจากผู้บริโภคในฮังการีมากขึ้นเป็นพิเศษ

 

ข้อมูลรายประเทศ: โรมาเนีย

ผู้ตอบแบบสอบถามในโรมาเนียส่วนใหญ่ (43%) ใช้เงินซื้อของขวัญสำหรับเทศกาลคริสต์มาสในช่วง 400-800 เลย์ (ประมาณ 3,054-6,108 บาท) ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยปีที่แล้ว ทว่าผู้ตอบแบบสอบถามราว 31% ใช้จ่ายเงินน้อยลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อัน
เนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและสถานการณ์เงินเฟ้อ ฉะนั้น ในภาพรวม คนส่วนใหญ่จะใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อของขวัญจำนวนเท่ากับปีที่แล้ว แต่เลือกซื้อของรายชิ้นที่มีราคาถูกกว่าปีที่แล้ว

ด้านวิธีการชำระเงิน ผู้ตอบแบบสอบถาม 55% ชำระค่าสินค้าด้วยเงินสด ส่วน 42% ชำระเงินด้วยบัตรเครดิต/บัตรเดบิต ด้านช่วงเวลาในการซื้อของขวัญ ผู้บริโภคส่วนมากในโรมาเนียนิยมซื้อของขวัญเมื่อเข้าเดือนธันวาคม จนถึงช่วง 1 สัปดาห์ก่อนเทศกาลคริสต์มาส ไม่นิยมซื้อสินค้าก่อนเดือนธันวาคม

 

ข้อมูลรายประเทศ: บัลแกเรีย

ผู้ตอบแบบสอบถามในบัลแกเรียส่วนใหญ่ (40%) ใช้เงินซื้อของขวัญสำหรับเทศกาลคริสต์มาสในช่วง 200-400 เลฟ (ประมาณ 3,884-7,769 บาท) ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยปีที่แล้ว ทว่าผู้ตอบแบบสอบถามราว 24% ใช้จ่ายเงินน้อยลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อัน
เนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและสถานการณ์เงินเฟ้อ ฉะนั้น ในภาพรวม คนส่วนใหญ่จะใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อของขวัญจำนวนเท่ากับปีที่แล้ว แต่เลือกซื้อของรายชิ้นที่มีราคาถูกกว่าปีที่แล้ว

ด้านวิธีการชำระเงิน ผู้ตอบแบบสอบถาม 58% ชำระค่าสินค้าด้วยเงินสด ส่วน 40% ชำระเงินด้วยบัตรเครดิต/บัตรเดบิต ด้านช่วงเวลาในการซื้อของขวัญ ผู้บริโภคส่วนมากในบัลแกเรียจะรอให้ร้านค้าที่สนใจจัดโปรโมชั่นลดราคาสินค้ารับเทศกาลคริสต์มาสก่อน แล้วค่อยตัดสินใจซื้อสินค้า ซึ่งการจับจ่ายใช้สอยนี้มักจะเกิดขึ้นช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนจนถึงกลางเดือนธันวาคม และยังคงเลือกซื้อสินค้าจนถึงช่วง 1 สัปดาห์ก่อนเทศกาลคริสต์มาส

 

[1] แบ่งตามเพศ ได้เป็น เพศชาย 49.1% เพศหญิง 50.9% แบ่งตามช่วงอายุได้เป็น กลุ่มอายุ 55 ปีหรือมากกว่า (37.5%) อายุระหว่าง 45-54 ปี (25.9%) อายุระหว่าง 35-44 (21.5%) อายุระหว่าง 25-34 ปี (13.2%) และอายุระหว่าง 18-24 (1.8%)

 

💭 ข้อคิดเห็นของ สคต. ณ กรุงบูดาเปสต์ 💭

จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาข้างต้น ทำให้เห็นว่าแม้ว่าความนิยมซื้อสินค้าในช่วงเทศกาล ช่วงเวลาการซื้อสินค้า และวิธีการชำระเงินยอดนิยม จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่พฤติกรรมการใช้จ่ายที่มีแนวโน้มเหมือนกันในทุกประเทศ คือการคำนึงถึงความคุ้มค่าของราคาและการใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง นอกจากนี้ ข้อมูลดังกล่าวยังยืนยันว่า ผู้บริโภคชาวฮังการี โรมาเนีย และบัลแกเรีย กำลังเผชิญกับภาวะค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้น และยังไม่มีแนวโน้มที่จะคลี่คลายลง ส่งผลต่อวิถีการเลือกใช้จ่ายในแต่ละครัวเรือน สอดคล้องกับข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติยุโรป หรือ Eurostat ที่เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคแบบสอดคล้องกัน (Harmonised Index of Consumer Prices: HICP) ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566 ระบุว่าในขณะที่ค่าเฉลี่ย HICP ทั้งสหภาพยุโรป 27 ประเทศ อยู่ที่ 3.1% ทว่าฮังการี โรมาเนีย และบัลแกเรีย มีดัชนี HICP อยู่ที่ระดับ 7.7% 6.9% และ 5.5% ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศอื่นๆ ในยุโรป อันเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ในปัจจุบัน รวมทั้ง การซื้อสินค้าจากไทย หรือการเลือกเดินทางไปท่องเที่ยวที่ไทยด้วย เนื่องจากต้องใช้ค่าใช้จ่ายมากกว่าปกติ เพราะถึงแม้ว่าสินค้าจะมีคุณภาพในระดับดีในสายตาของคนยุโรป แต่หากผู้บริโภคให้ความสำคัญกับราคาอย่างมีนัยยะสำคัญ ก็อาจส่งผลกระทบต่อสินค้าไทยที่ส่งมายังตลาดยุโรปได้

 

ที่มาของข้อมูล

 

มอนเตเนโกรระงับการนำเข้าสุกรและผลิตภัณฑ์จากเนื้อสุกรจาก 43 ประเทศทั่วโลก 🐷 เนื่องจากโรค ASF ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง เป็นโอกาสที่น่าสนใจสำหรับผู้ส่งออกเนื้อสุกรจากไทย

สคต. ณ กรุงบูดาเปสต์
ธันวาคม 2566

thThai