สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ขึ้นแท่นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลกอาหรับ

กองทุนการเงินอาหรับ (Arab Monetary Fund-AMF) จัดอันดับประเทศอาหรับที่มีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจล่าสุด ปรากฏว่าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือยูเออีขึ้นแท่นเบอร์ 1 ของกลุ่มประเทศอาหรับ

รายงาน AMF’s Arab Economic Competitiveness Report  ครั้งที่ 7 เผยแพร่ผลการจัดอันดับ   ขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศยูเออีว่ามีความก้าวหน้าและยั่งยืนในภาคส่วนต่างๆ ที่สำคัญ รวมถึงเศรษฐกิจโดยรวมที่แข็งแกร่ง สภาพแวดล้อมการลงทุนที่น่าดึงดูดมากขึ้น

รายงานยังเน้นย้ำอีกว่า ยูเออีครองตำแหน่งสูงสุดในดัชนีภาคการเงินของรัฐบาล โดยอยู่ในอันดับที่ 1 ในด้านอัตราส่วนการขาดดุล/ส่วนเกินต่อ GDP และอันดับที่ 2 ในดัชนีภาระภาษี(tax burden )

สันนิบาตอาหรับ (The League of Arab States) หรือ Arab League เป็นองค์กรภูมิภาคของประเทศอาหรับ ได้ร่วมกันจัดตั้ง กองทุนการเงินอาหรับ  (Arab Monetary Fund-AMF)  เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2519 สำนักงานใหญ่อยู่กรุงอาบูดาบี มีสมาชิก (ปี 2563)            22 ประเทศ  วัตถุประสงค์เพื่อกำหนดนโยบายความร่วมมือทางการเงินและส่งเสริมการพัฒนาตลาดการเงินของอาหรับ โดยวิธีการให้เงินกู้ยืมระยะสั้นและระยะกลาง  การจัดการสินทรัพย์ การค้า  การเงินเพื่อการพัฒนา

ยูเออี มีเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันสูงที่สุดของโลกอาหรับ

นอกจากนี้ รายงานยังระบุด้วยว่า ยูเออีขึ้นเป็นที่ 1 ของกลุ่มประเทศอาหรับในด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ สภาพแวดล้อมการลงทุนและความน่าดึงดูดใจ โดยอยู่อันดับต้น ของดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ที่มาจากสถานะขั้นสูงในดัชนีย่อยทั้งหมด

ยูเออียังติดอันดับดัชนีภาคโครงสร้างพื้นฐาน ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีดิจิทัล  โดยเป็นผู้นำในการครอบครองหมายโทรศัพท์มือถือต่อประชากร และสัดส่วนของประชากรที่เข้าถึงไฟฟ้าได้ ขณะเดียวกันก็อยู่ในอันดับที่สองของการขนส่งทางอากาศและการขนส่ง (shipping)ของการการขนส่งและ shipping ทั่วโลกทั้งหมด

ในด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ กาบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล และป้องกันกาทุจริตและประพฤติมิชอบในหน่วยงานภาครัฐ ยูเออีอยู่ในอันดับต้นๆ ของกลุ่มประเทศอาหรับ รัฐบาลปรับเปลี่ยนกาบริหารจัดการภาครัฐ โดยนำหลักการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบราชการและกาแสวงหาประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ โดยได้รับการจัดอันดับต้นทั้งในด้านดัชนีการทุจริตด้านการบริหาร และดัชนีประสิทธิภาพของภาครัฐ

รายงานของกองทุนการเงินอาหรับเน้นย้ำว่าอาหรับหลายประเทศ ได้นำกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ระดับชาติหลายประการมุ่งเน้นไปที่ภาคการผลิต มาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต และปรับปรุงประสิทธิภาพของสินค้าที่ผลิต  มีหลายประเทศมุ่งมั่นที่จะพัฒนาภาคบริการ อำนวยความสะดวกสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อจัดการกับความท้าทายที่เป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ปัจจัยหลักของความพยายามของชาติอาหรับอยู่บนพื้นฐาน 3 ด้าน ได้แก่

  • เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ • การเติบโตที่ยั่งยืน• มาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้นสำหรับพลเมืองอาหรับ

กลยุทธ์เพื่อยกระดับศักยภาพทางการแข่งขัน เพิ่มประสิทธิภาพเศรษฐกิจ ตั้งแต่ การขับเคลื่อนการลงทุนในอุตสาหกรรมในท้องถิ่นไปจนถึงการส่งเสริมสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่น่าดึงดูดสำหรับ FDI  ด้วยความตระหนักถึงบทบาทสำคัญของพลเมืองที่มีทักษะสูง ประเทศอาหรับจึงลงทุนมหาศาลในด้านการศึกษาและการฝึกอบรมแรงงาน

เป้าหมายคือการจัดหาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญที่จำเป็นต่อการเติบโตในภาคการผลิตและอุตสาหกรรมบริการ  โครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่กำลังเปลี่ยนแปลง เครือข่ายการขนส่ง สิ่งอำนวยความสะดวกของท่าเรือ และบริการด้าน         ลอจิสติกส์ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ประเทศเหล่านี้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ และคาดว่าการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและผลผลิตทางเศรษฐกิจจะส่งผลให้เศรษฐกิจอาหรับมีความหลากหลาย มอบโอกาสการจ้างงาน นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และยกระดับมาตรฐานการครองชีพของพลเมือง

ความเห็นของ สคต.ดูไบ

เป็นที่น่าสังเกตว่าปัจจัยที่ส่งผลให้ยูเออีประสบความสำเร็จรวมไปถึงผลการดำเนินการที่ดีทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง นั้นเกิดมาจากมาตรการด้านการค้าระหว่างประเทศและการลงทุน การจ้างงานและ มาตรการตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง   การที่ยูเออีครองอันดับหนึ่งมาจากปัจจัยหลักๆ ของความสะดวกสบายในการ จัดตั้งธุรกิจ ความพร้อมของแรงงานที่มีทักษะ และโครงสร้างพื้นฐานที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผลการดำเนินการที่มีเสถียรภาพของประเทศทั้งด้านระบบการศึกษาและโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีเช่น โทรคมนาคม ความเร็วของอินเทอร์เน็ต  ต่างมีบทบาทสำคัญต่อผลการดำเนินการของยูเออี

———————————————————–

thThai