รายงานสถานการณ์สงครามในอิสราเอล ฉบับที่ 7

1. ลำดับเหตุการณ์
วันศุกร์ที่ 17 พ.ย.66 สถานการณ์ล่าสุด
– ข้อตกลงหยุดยิง 3 วัน สำหรับตัวประกันที่ถูกควบคุมตัวในฉนวนกาซา
– ช่องข่าว Al -Arabiya ของซาอุดิอาระเบีย รายงานว่าคณะรัฐมนตรีสงครามอิสราเอลอนุมัติการป้อนเชื้อเพลิงเข้าสู่ฉนวนกาซาอย่างจำกัดภายใต้การกำกับดูแลของสหประชาชาติเพื่อวัตถุประสงค์ด้านมนุษยธรรม
– คณะรัฐมนตรีสงครามมีมติเป็นเอกฉันท์อนุมัติข้อเสนอแนะร่วมกันของ IDF และ Shin Bet ซึ่งจะเป็นไปตามคำขอของสหรัฐฯ สำหรับเรือบรรทุกน้ำมันดีเซลสองลำต่อวันตามที่สหประชาชาติขอการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบน้ำ ท่อระบายน้ำเสีย และสุขาภิบาลเพื่อป้องกันโรคระบาดที่อาจแพร่กระจายไปทั่วพื้นที่
– ในเวลาเดียวกัน ทางการอียิปต์กำลังเตรียมรถบรรทุก 10 คันที่บรรทุกเชื้อเพลิง 150,000 ลิตร เข้าสู่ฉนวนกาซาผ่านทางจุดผ่านแดนราฟาห์ เชื้อเพลิงดังกล่าวจะถูกนำไปใช้สำหรับรถบรรทุก UNRWA ความต้องการด้านมนุษยธรรม และเพื่อจ่ายพลังงานให้กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของบริษัทสื่อสารของฉนวนกาซา
– เจ้าหน้าที่ที่รับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับการเจรจา เมื่อวันพุธว่า กลุ่มฮามาสได้ตกลงทำร่างขข้อตกลง “general outline” เพื่อปล่อยตัวประกันพลเรือน 50 คน ที่ถูกลักพาตัวไปจากอิสราเอลเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566 แต่อิสราเอลยังคงเจรจาเกี่ยวกับเงื่อนไขดังกล่าว
– รายงาน ของรอยเตอร์ ยังเปิดเผยเงื่อนไขบางประการในการหยุดยิงสามวัน และการปล่อยตัวสตรีและเยาวชนชาวปาเลสไตน์ที่ไม่เปิดเผยจำนวนหนึ่งที่ถูกควบคุมตัวโดยอิสราเอล เช่นเดียวกับการเพิ่มความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในฉนวนกาซา
– นอกจากนี้ องค์กรก่อการร้ายฮามาสจะมอบรายชื่อตัวประกันพลเรือนที่ยังมีชีวิตอยู่ที่ถูกคุมขังในฉนวนกาซาทั้งหมด เมื่อวันพุธ เจ้าหน้าที่อิสราเอลบอกกับผู้สื่อข่าวว่าผู้ไกล่เกลี่ยรู้ว่าอิสราเอลต้องการข้อตกลงที่สำคัญกว่านี้
– เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากการเจรจาที่เข้มข้นในกาตาร์ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากสหรัฐอเมริกา โดยมีฝ่ายต่างๆ ในภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประเทศที่พลเมืองของตนถูกลักพาตัวไป
– ในสัปดาห์ที่ผ่านมา มี🚨 เสียงไซเรนเตือนจรวดดังขึ้นในชุมชนชายแดน Sderot และฉนวนกาซา
– IDF ยืนยันการโจมตีทางอากาศต่อเป้าหมายของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ทางตอนใต้ของเลบานอน หลังจากยิงด้วยปืนใหญ่ทางตอนเหนือของอิสราเอล
– 🚨 เสียงไซเรนเตือนจรวดดังขึ้นในชุมชนชายแดนฉนวนกาซา
– นายอาเหม็ด เบฮาร์ สมาชิกสำนักการเมืองอาวุโสของกลุ่มฮามาส ถูกสังหารในการโจมตีของ IDF – รายงานของสื่อปาเลสไตน์
– มีการพยายามยิงโจมตีใกล้เมืองเฮบรอน และเสียงไซเรนแจ้งเตือนจรวดดังขึ้นอีกครั้งในชุมชนชายแดนฉนวนกาซา
ที่มา : i24news

– สอท. ณ กรุงเทลอาวีฟ ปิดให้บริการศูนย์พักพิงเพื่ออพยพแรงงานไทยที่ขอกลับประเทศไทย เมื่อวันที่ 2 พ.ย.66 โดยแรงงานไทยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ฝ่านกงสุล สอท. ณ กรุงเทลอาวีฟ
– อิสราเอลลงนามนำเข้าแรงงานศรีลังกา 10,000 คน เนื่องจากภาคการเกษตรของอิสราเอลเริ่มขาดแคลนแรงงานอาจส่งผลต่อผลิตผลการเกษตรในประเทศ
2. เศรษฐกิจของประเทศอิสราเอลในภาวะสงคราม
– อัตราการเติบโตของ GDP ของอิสราเอลชะลอตัวในไตรมาสที่ 3 ก่อนเกิดสงครามด้วยซ้ำ เศรษฐกิจอิสราเอลขยายตัว 2.8% ในไตรมาสที่สาม หลังจากเติบโต 3% ในไตรมาสที่สองและ 4.2% ในไตรมาสแรก
– ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของอิสราเอลเติบโตในอัตรา 2.8% ต่อปีในไตรมาสที่สามของปีนี้ สำนักงานสถิติกลาง Central Bureau of Statistics รายงานในวันที่ 16 พ.ย. 2566 ในการประมาณการเบื้องต้น เศรษฐกิจอิสราเอลขยายตัว 3% ในไตรมาสที่สองของปี 2566 และ 4.2% ในไตรมาสแรก หลังจากเติบโต 6.5% ในปี 2565 อย่างไรก็ตาม คาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวในไตรมาสที่ 4 เนื่องจากสงครามต่อต้านกลุ่มฮามาสซึ่งเริ่มในวันที่ 7 ตุลาคม 2566
– ตัวเลขไตรมาส 3 สะท้อนให้เห็นถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจก่อนที่สงครามจะเริ่มขึ้นด้วยซ้ำ GDP ของธุรกิจขยายตัว 2.9% ในไตรมาสที่สาม ในขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นเพียง 1.8% การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น 1.2% การส่งออกสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น 8.8% และการใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้น 5.9%
– S&P คาดว่า GDP ของอิสราเอลจะเติบโต 0.5% ในปี 2567
– Moody’s มองว่าอัตราเงินเฟ้อของอิสราเอลเพิ่มขึ้นเป็น 6.8%
ที่มา : Globes, Israel business news – en.globes.co.il
3. การค้าระหว่างไทย-อิสราเอล
• ปัจจุบัน ปี 2566 (ม.ค.- ก.ย.) อิสราเอล เป็นคู่ค้าอันดับที่ 40 ของไทย และอันดับ 6 ของไทยในภูมิภาคตะวันออกกลาง
• ในปี 2566 (มกราคม-กันยายน) การค้าระหว่างไทย-อิสราเอล มีมูลค่า 32,393 ล้านบาท (ลดลง ร้อยละ 4.98) โดยไทยส่งออกไปอิสราเอล 20,686 ล้านบาท (ขยายตัว ร้อยละ 7.28) และนำเข้าจากอิสราเอล 11,707 ล้านบาท (ลดลง ร้อยละ 20.94)
• ในปี 2565 การค้าระหว่างไทย-อิสราเอล มีมูลค่า 1,401.83 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 9.96) โดยไทยส่งออกไปอิสราเอล 850.17 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ขยายตัวร้อยละ 2.92) และนำเข้าจากอิสราเอล 551.66 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (ขยายตัว ร้อยละ 22.9)
• สินค้าส่งออกสำคัญจากไทยไปอิสราเอล 5 อันดับแรก ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ และข้าว เป็นต้น
• สินค้านำเข้าสำคัญจากอิสราเอล 5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องเพชรพลอยและอัญมณี ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า และผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้เป็นต้น
4. ผลกระทบต่อไทย
หากสงครามยืดเยื้อยาวนาน คาดว่า เศรษฐกิจของประเทศอิสราเอลถดถอยย่อมส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศของอิสราเอลกับประเทศต่างๆ รวมทั้งการค้ากับไทย
สงครามได้เริ่มส่งผลต่อเศรษฐกิจถดถอยและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงจากที่คาดการไว้เดิม JP Morgan คาดว่า GDP ในอิสราเอลโดยรวมจะเติบโต 2.5% ในปี 2566 ลดลงจากเดิมที่การคาดการณ์ครั้งก่อนซึ่งอยู่ที่ 3.2% การคาดการณ์ของธนาคาร JP Morgan ในปี 2567 คือการเติบโตของ GDP ที่ 1.9% ลดลงเล็กน้อยจากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่ 2.0 % โดยธนาคารแห่งอิสราเอลคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ 2.5% ในปีหน้าและการเติบโตของ GDP ยังคาดการเป็นบวกอยู่ที่ 2.8%
5. แนวทางการรับมือ
• ติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจการค้าที่เกี่ยวข้องทุกวัน และวิเคราะห์ผลกระทบ รวมถึง
แนวทางการแก้ไขให้ทันต่อเหตุการณ์
• หารือกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด เพื่อรับทราบปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไข
• ศึกษาโอกาสส่งออกสินค้าศักยภาพของไทย เพื่อทดแทนตลาดอิสราเอล หากสงครามยืดเยื้อรุนแรง

—————————————————————–
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเทลอาวีฟ
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
17 พฤศจิกายน 2566

thThai