การแพร่ระบาดของโรค COVID – 19 ที่ยืดเยื้อ เศรษฐกิจโลกที่ผันผวน และการเกิดขึ้นของปัญญาประดิษฐ์ใหม่ ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป บริษัท Mintel จึงได้จัดทำรายงานแนวโน้มเครื่องดื่มและอาหารทั่วโลกและจีนปี 2024 สรุปได้ดังนี้

 

1. ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในกระบวนการแปรรูปอาหารมากขึ้น โดยปัจจุบันอาหารแปรรรูปและเทคโนโลยีการแปรรูปหลายประเภทได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีความเป็นอาหารท้องถิ่น ดีต่อสุขภาพ และมีความเป็นธรรมชาติ เช่น น้ำมันสกัดเย็น นมหมัก เป็นต้น ขณะที่อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มยุคใหม่มีการตรวจสอบกระบวนการแปรรูปที่เข้มข้นมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับส่วนผสม โภชนาการ และวิธีการผลิต

 

ผลการสำรวจของบริษัท Mintel พบว่า ชาวจีนที่มีอายุระหว่าง 50 – 65 ปี ร้อยละ 79  เห็นว่าการรับประทานอาหารแปรรูปน้อยลงเป็นวิธีที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพ ส่วนชาวอเมริกันวัยกลางคนร้อยละ 34 ให้ความสำคัญต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารหรือเครื่องดื่มนอกจากปัจจัยด้านราคาและรสชาติแล้ว การแปรรูปของผลิตภัณฑ์ที่สูงก็เป็นข้อกังวลของพวกเขาด้วย ส่วนชาวอินเดียร้อยละ 47 ชาวชิลีร้อยละ 34 และชาวสเปนร้อยละ 28 ระบุว่าหากผลิตภัณฑ์ทางเลือกจากนมและเนื้อจากพืชมีการแปรรูปน้อยลง ก็มีแนวโน้มที่จะเลือกรับประทานมากขึ้น

 

นอกจากนี้ มีการคาดการณ์ว่าตั้งแต่ปี ค.ศ. 2024 ผู้บริโภคจำนวนมากขึ้นมีความสมัครใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับระดับการแปรรูปของอาหารและเครื่องดื่มผ่านรายงานสื่อ กฎระเบียบ และคำอธิบายบนบรรจุภัณฑ์มากขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เวลาที่เลือกซื้ออาหารและเครื่องดื่มผู้บริโภคจะพิจารณาจากระดับการแปรรูปมากขึ้น รวมถึงระมัดระวังต่อความถี่ในการรับประทานอาหารแปรรูปมากขึ้นด้วย ขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์ที่มีการแปรรูปไม่สูงและมีคุณค่าโภชนาการสูงจะได้รับความนิยมจากผู้บริโภค และในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะเลือกอาหารและเครื่องดื่มที่มีระดับการแปรรูปต่ำ มีส่วนผสมหมุนเวียนที่อุดมไปด้วย วิตามิน แรธาตุ เซลลูโลส โปรตีน และสารอาหารอื่นๆ

 

ไม่เพียงเท่านั้นผลสำรวจยังพบว่า ผู้บริโภคชาวไทยร้อยละ 47 ผู้บริโภคชาวแคนาดาร้อยละ 32 และผู้บริโภคชาวไอแลนด์ร้อยละ 33 เห็นว่าอาหารที่ช่วยในการรับประทานผลไม้และผักเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเลือกซื้ออาหาร ขณะที่ผู้บริโภคที่ซื้อผักและผลไม้ชาวอเมริกันร้อยละ 47 เห็นว่า สินค้าเกษตรแปรรูป เช่น มะเขือเทศกระป๋อง สามารถทดแทนผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรที่มีความสดใหม่ได้ดีเช่นกัน

 

ปัจจุบันแบรนด์อาหารมีรูปแบบในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น โดยบริษัท Mintel ให้ข้อมูลด้านเทคโนโลยีการแปรรูปของแบรนด์อาหารที่ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์ Pureharvest ของออสเตรเลีย   ที่ได้พัฒนาเครื่องดื่มอัลมอนด์ออร์แกนิกปราศจากน้ำตาลที่มาพร้อมกับการแปรรูปต่ำ โภชนาการสูง ใส่สารเติมแต่งน้อยแต่รสชาติดี และยังประหยัดและรักษ์โลกด้วย

เกาะติดเทรนด์อาหารและเครื่องดื่มทั่วโลกและจีน ปี 2024

 

ส่วนแบรนด์ L’Atelier V ผู้ผลิตเนื้อมังสวิรัติของฝรั่งเศสที่ทำจากถั่วออร์แกนิกที่มีโปรตีน มีไฟเบอร์ แร่ธาตุ และยังมีส่วนผสมของขมิ้น มะพร้าว และกะหรี่ ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้แสดงให้เห็นถึงระดับการแปรรูปที่สูงพอสมควร เนื่องจากมีการผสมผสานผลิตภัณฑ์หลายประเภท ขณะที่บริษัท Wisely Foods ของแคนาดา  ได้รีไซเคิลกากถั่วเหลืองที่เหลือจากการทำเต้าหู้ มาเป็นส่วนผสมหลักของผลิตภัณฑ์จากพืชอย่างข้าวผัดเต้าหู้รสออริจินัล นอกจากนี้ ดอยคำ แบรนด์น้ำผลไม้ของไทย ยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ชื่อว่า ICE POP ไอศกรีมที่สามารถวางจำหน่ายในอุณภูมิห้องได้ และผู้บริโภคสามารถนำไปแช่แข็งที่บ้านได้เอง ซึ่งทำให้ประหยัดพลังงานระหว่างการขนส่งด้วย

 

เกาะติดเทรนด์อาหารและเครื่องดื่มทั่วโลกและจีน ปี 2024

 

ดังนั้น อาหารและเครืองดื่มแปรรูปที่เน้นการใช้เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารจะเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพมากขึ้น เช่น การเสริมสร้างโภชนาการ การลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ยังถือเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ยังคงมีศักยภาพในการเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อแบรนด์สามารถอธิบายประโยชน์ของการแปรรูปในภาษาที่ผู้บริโภคเข้าใจได้ง่าย ในขณะที่แบรนด์ที่ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีการแปรรูปสูงเกิน ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มคำเตือนให้แก่ผู้บริโภคด้วยการระบุปริมาณไขมัน น้ำตาลและเกลือที่สูงบนบรรจุภัณฑ์ด้วยเช่นกัน

 

2. มีการเปลี่ยนโฉมของผู้บริโภคกลุ่มผู้สูงอายุ จะเริ่มจากกลุ่มผู้บริโภค Gen X คือผู้ที่มีอายุระหว่าง 44 – 50 หรือเกิดในปี ค.ศ. 1965 – 1979 (แต่อย่างไรก็ดี Gen X ของแต่ละประเทศจะมีช่วงอายุแตกต่างกันเล็กน้อย) ซึ่งในบริบทของสังคมผู้สูงอายุ คนกลุ่มนี้กำลังเป็นผู้บุกเบิกคนในวัยสูงอายุให้มีสุขภาพที่ดี รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่สร้างความแตกต่างให้กับวิถีชีวิตในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า  ซึ่งจะทำให้สังคมสูงวัยคำนึงถึงความสำคัญของการยืดอายุขัยและระยะเวลาการใช้ชีวิตที่มีสุขภาพดีให้ยาวนานมากยิ่งขึ้น ส่งให้ในอนาคตแบรนด์ไม่เพียงแต่ต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มชาว Gen Z ที่เป็นผู้บริโภคหลักของอาหรและเครื่องดื่ม แต่ยังต้องให้ความสำคัญกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุมากกว่า 40 ปีด้วย เพราะหลายตลาดทั่วโลก ผู้บริโภคที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จะมีส่วนแบ่งตลาดในการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มมากที่สุด

 

นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่าในระยะเวลา 1 ปีข้างหน้า แบรนด์จะมีบทบาทสำคัญในการนำพาผูบริโภค Gen X เข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนผ่านวัยกลางคนและสูงอายุ และให้ความรู้ในการเปลี่ยนผ่านช่วงชีวิตต่างๆ ให้มีสุขภาพที่ดี โดยแบรนด์ต้องคำนึงถึงความต้องการด้านสุขภาพที่หลากหลายของผู้บริโภคเหล่านี้ ทั้งด้านโภชนาการ ร่างกาย  จิตใจ และอารมณ์ และต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์และสูตรที่ใช้นวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพ เช่น หัวใจและหลอดเลือด สมอง และความเครียด เป็นต้น ซึ่งแบรนด์อาหารและเครื่องดื่ม สามารถช่วยขับเคลื่อนวัยสูงอายุที่มีสุขภาพดีได้ด้วยการจัดสรรอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ราคาไม่แพง สามารถเข้าถึงได้ง่าย และสะดวกกับผู้สูงวัยทุกคน รวมทั้งสามารถรองรับไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายของผู้บริโภคที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ด้วยการจัดสรรโภชนาการที่เหมาะสมและสมดุล เพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ผลการสำรวจยังพบว่า ผู้บริโภค Gen X ให้ความสำคัญต่อปัญหาสุขภาพมากขึ้น ซึ่งในที่นี้ ชาวจีนผู้ที่มีอายุระหว่าง 40 – 59 ปี กว่าร้อยละ 60 ไม่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่มีความกังวลว่าจะป่วยในอนาคต ขณะที่ผู้บริโภค Gen X (เกิดระหว่างปี ค.ศ.​1966 – 1971) ชาวแคนาดา ร้อยละ 76 มีความกังวัลต่อโรคที่เกี่ยวข้องกับวัย ส่วนผู้บริโภค Gen X (เกิดระหว่างปี ค.ศ.​1965 – 1980) ชาวเยอรมันร้อยละ 63 เชื่อว่าการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการรักษาสุขภาพ

 

ปัจจุบันมีบางแบรนด์ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสำหรับชาว Gen X ออกมาแล้ว ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์ Plant Magic จากเยอรมนี ได้เปิดตัวเครื่องดื่มข้าวโอ๊ตออร์แกนิก ที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติ เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่สมดุล และยังมีส่วนผสมที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีเส้นใยสูงที่สามารถต่อต้านการอักเสบ และรักษาระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ช่วงสูงวัยได้อย่างมีสุขภาพดี

 

เกาะติดเทรนด์อาหารและเครื่องดื่มทั่วโลกและจีน ปี 2024

 

ส่วนเครื่องดื่มสกัดจากพืช ของแบรนด์ Elements of Balanc เครื่องดื่มสัญชาติอเมริกัน   ที่มีส่วนผสมของสาร Adaptogen ที่มีประสิทธิภาพทางคลินิก รวมถึงส่วนผสมจากดอกเสาวรส ที่ช่วยในการนอนหลับด้วย

 

เกาะติดเทรนด์อาหารและเครื่องดื่มทั่วโลกและจีน ปี 2024

 

ในอนาคต แบรนด์จะมีบทบาทสำคัญในการรณรงค์การดูแลตนเองของผู้บริโภคที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากแบรนด์อาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้สามารถตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นไปที่ปัญหาสุขภาพข้อต่อและแนะนำผู้บริโภคให้ออกกำลังกายและมีพฤติกรรมการนอนหลับที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการปรับปรุงสุขภาพร่างกายและอารมณ์

 

บริษัท Mintel ยังพบว่าชาวอเมริกัน Gen X (เกิดปี ค.ศ.​ 1965 – 1979) ร้อยละ 78 กำลังเผชิญกับปัญหาด้านการนอนหลับ ขณะที่แบรนด์ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ที่สอดคล้องกับความต้องการด้านสุขภาพของผู้บริโภคมากขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากดอกคาโมไมล์ที่สามารถปรับปรุงการนอนหลับได้ เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้บริโภควัยกลางคนจำนวนมากมักต้องดูแลสมาชิกในครอบครัวหลายรุ่น เช่น ผู้บริโภคชาวบราซิลอายุระหว่าง 45 – 64 ปี ร้อยละ 74 เห็ฯว่าการใช้เวลาอยู่กับเพื่อนและครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งแบรนด์สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และเครื่องมือที่ง่ายต่อการดูแลครอบครัวเพื่อลดความเครียดของผู้บริโภควัยกลางคน นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้บริโภคชาวไทยที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป ร้อยละ 60 ส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาบุตรหลานในการตัดสินใจซื้ออาหารและเครื่องดื่ม ดังนั้น เมื่อบุตรหลานของผู้สูงอายุกลายเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจในการบริโภคของพ่อแม่วัยสูงอายุ แบรนด์จึงต้องปรับกลยุทธ์การตลาดสินค้าสำหรับผู้บริโภคสูงอายุตามไปด้วย

 

3. อาหารเข้าสู่ยุคแห่งความสะดวกสบาย เนื่องจากเทคโนโลยีและความก้าวหน้าต่างๆ ทำให้การวางแผนมื้ออาหาร การชอปปิง และการทำอาหารง่ายดายขึ้น ขณะที่ความสะดวกสบายเป็นแนวคิดที่ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และผู้บริโภคก็มองหาทางลัดในการได้รับประสบการณ์ด้านอาหารและเครืองดื่มที่มีคุณภาพในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การแพร่ระบาดของโรค COVID – 19 ได้กระตุ้นความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น

 

จากการสำรวจพบว่า การประหยัดเวลาถือเป็นสิ่งสำคัญต่อความสะดวกของห้องครัว ดังนั้น จึงพบว่าพ่อครัวชาวแคนาดาร้อยละ 51 เห็นว่าเวลาในการปรุงอาหารเป็นสิ่งสำคัญในการวางแผนหรือเตรียมอาหาร ส่วนผู้บริโภคชาวอเมริกันร้อยละ 48 มักจะเลือกอาหารแบบง่ายๆ ใช้เวลาในการเตรียมอย่างรวดเร็ว ด้านพ่อครัวชาวอังกฤษร้อยละ 38 จะให้ความสำคัญต่อสูตรของผลิตภัณฑ์ที่ซื้อเป็นประจำ เนื่องจากผู้บริโภคมีความเคยชินกับการได้รับความช่วยเหลือจากเทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อยๆ จึงสนใจและเชื่อมั่นในเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำอาหาร ขนมขบเคี้ยว และเครื่องดื่ม ซึ่งเมื่อต้องการสร้างสรรค์อาหาร เครื่องดื่ม และขนมขบเคี้ยว ไปพร้อมๆ กับการชอปปิง การวางแผนอาหาร หรือทำอาหาร ก็สามารถทำได้โดยอัตโนมัติ เพราะเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถช่วยให้ผู้บริโภคหาจุดความสมดุลระหว่างการทำสองอย่างในเวลาเดียวกันได้

 

ปัจจุบันแบรนด์หลายแบรนด์ได้ใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีมาใช้ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงพฤติรรมผู้บริโภคแล้ว ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์​DiGiorno ของเนสท์เล่ที่กําลังทดสอบตู้จําหน่ายสินค้าอัตโนมัติที่ออกแบบมาเพื่อทําให้พิซซ่าแช่แข็งร้อน และพร้อมเสิร์ฟในเวลาเพียงสามนาที

 

เกาะติดเทรนด์อาหารและเครื่องดื่มทั่วโลกและจีน ปี 2024

 

ส่วนแบรนด์ Hellmann ก็ได้เปิดตัวแอปพลิเคชัน Fridge Night ในหลายตลาดทั่วโลก ซึ่งสามารถแจ้งเตือนผู้บริโภคให้ทําความสะอาดตู้เย็นสัปดาห์ละครั้ง รวมถึงนำเสนอสูตรเฉพาะและผลิตภัณฑ์ของ Hellmann สําหรับผู้บริโภคในการเตรียมอาหารอีกด้วย

 

เกาะติดเทรนด์อาหารและเครื่องดื่มทั่วโลกและจีน ปี 2024

 

เช่นเดียวกับแอปพลิเคชัน Pickup Limes ในเนเธอร์แลนด์ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งสูตรอาหารจากพืชเพื่อตอบสนองความต้องการทางโภชนาการได้ด้วยตนเอง

 

เกาะติดเทรนด์อาหารและเครื่องดื่มทั่วโลกและจีน ปี 2024

 

ในอีก 2 – 5 ปีข้างหน้า ประสบการณ์ของผู้บริโภคต่อเทคโนโลยีในชีวิตประจำวันจะทำให้ปัญญาประดิษฐ์ AR และเครื่องมือทางเทคโนโลยีอื่นๆ กลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยประหยัดเวลาในครัว และบังคับให้แบรนด์ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มต้องมอบประสบการณ์ในการทดลองใช้เทคโนโลยีให้แก่ลูกค้ามากยิ่งขึ้น ขณะที่ร้านค้าปลีก จะได้รับความช่วยเหลือในการชอปปิงแบบเรียลไทม์ เช่น การแจ้งเตือนส่วนบุคคล และ AI ที่สามารถช่วยให้ผู้บริโภคค้นหาส่วนผสมหรือผลิตภัณฑ์ในร้านค้า ระหว่างทาง หรือเมื่อซื้อสินค้าออนไลน์ ในขณะเดียวกันแบรนด์จะทำงานร่วมกับผู้ให้บริการเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ของตน ทำให้การตลาดจะเปลี่ยนจากการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมายโดยตรงไปสู่รูปแบบของการวางรากฐานของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้รับการพัฒนาเฉพาะผู้บริโภคแต่ละบุคคลอย่างต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น โดยมีการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคชาวอเมริกันร้อยละ 43 สนใจที่จะซื้อสินค้าในร้านค้าเสมือนจริง ขณะที่ผู้บริโภคชาวอิตาเลียนร้อยละ 38 สนใจที่จะใช้ AR เพื่อเพิ่มประสบการณ์ในการบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม

 

ในอนาคตประสบการณ์ของผู้บริโภคที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์และเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเหล่านี้ จะกระตุ้นให้ผู้บริโภคเต็มใจที่จะยอมรับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ และประหยัดเวลามากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยผลักดันสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น รายการชอปปิงอัตโนมัติ และแอปพลิเคชันการวางแผนอาหาร เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมอาหารและการบริโภคอย่าง AI และ AR ที่จะช่วยหาทางออกในการเลือกบริโภคที่เหมาะสมสำหรับผู้บริโภคได้มากขึ้นอีกระดับหนึ่ง

 

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจต่อประเทศไทย และแนวทางการปรับตัวของภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการไทย

การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคอย่างใกล้ชิดจะช่วยในการวางแผนการดำเนินงานของผู้ประกอบการ ซึ่งรายงานเทรนด์การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มข้างต้น ได้นำเสนอแนวโน้มของอุตสาหกรรมอาหารและเครืองดื่มในปัจจุบันและพฤติกรรมผู้บริโภคจากทั่วโลกรวมทั้งของจีน ที่ผู้ประกอบการไทยสามารถศึกษา และนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนด้านการตลาด การพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้ทั้งในจีนและทั่วโลก นอกจากนี้ ยังพบว่าหลังการแพร่ระบาดของโรค COVID – 19 ผู้บริโภคชาวจีนมีพฤติกรรมการจับจ่ายที่รัดกุมมากยิ่งขึ้น และให้ความสำคัญต่อความคุ้มค่าคุ้มราคา ซึ่งถือเป็นพฤติกรรมสำคัญที่ผู้ประกอบการไทยต้องนำไปประกอบการวางแผนกลุยทธ์การตลาดอย่างระมัดระวัง เพื่อให้สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคชาวจีน และสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดในตลาดจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

แหล่งที่มา: https://www.foodtalks.cn/news/48558

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองชิงต่าว

thThai