9 เทรนด์อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ในช่วงปี 2566-2569

9 เทรนด์อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ในช่วงปี 2566-2569

เว็บไซด์ Exploding Topic ซึ่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเทรนด์ในอุตสาหกรรมต่างๆ

ได้เปิดเผย 9 เทรนด์อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในสหรัฐอเมริกาช่วงปี 2566-2569

ดังนี้

  1. Direct to consumer (DTC) หรือการสร้างช่องทางการขายออนไลน์ตรงถึงผู้บริโภคโดยไม่ผ่านคนกลาง กำลังมีแนวโน้มเติบโตและเป็นที่นิยมอย่างมากในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม โดยคาดการณ์ว่าภายในปี 2567 ตลาดยอดขายสินค้า Grocery แบบ DTC ในสหรัฐฯ จะมีมูลค่าสูงถึง 187,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

 

ผลกระทบของโควิด-19 นั้น ทำให้ตลาดของ e-commerce มีการเติบโตเป็นอย่างมาก การซื้ออาหารและของใช้ออนไลน์จึงกลายเป็นเทรนด์ที่มาแรงมากในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา แบรนด์อาหารและเครื่องดื่มที่สร้างช่องทางการขายในการเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงโดยไม่ผ่านคนกลาง (DTC) กำลังได้เปรียบคู่แข่งและสามารถสร้างฐานลูกค้าของแบรนด์ได้แข็งแกร่งมากขึ้น

ในปัจจุบันนี้ มีแบรนด์สินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นแบรนด์ใหม่หรือแบรนด์ขนาดเล็กน็็้เข้ามาใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในการจำหน่ายและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์จำนวนมาก  ตัวอย่างเช่น แบรนด์อาหารเสริมโปรตีนจากพืช “Laird Superfood” ซึ่งพบว่าผู้บริโภคมีการค้นหาสินค้าจากแบรนด์นี้ผ่านอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 108 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และ “Magic Spoon” แบรนด์อาหารเช้าซีเรียลคาร์โบไฮเดรตต่ำโปรตีนสูงสำหรับผู้ใหญ่ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีการค้นหาสินค้าจากผู้บริโภคผ่านอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 2,050

  1. Kitchen Robot หรือการใช้หุ่นยนต์ในการให้บริการลูกค้า รวมทั้ง หุ่นยนต์ที่มาช่วยในการประกอบ

อาหารภายในร้านอาหาร เช่นเดียวกับโรงงานผลิตอาหารที่มีแนวโน้มพัฒนาหุ่นยนต์ประดิษฐ์เพื่อเข้ามาช่วยในด้านการผลิตมากขึ้นเช่นกัน ตัวอย่างเช่น หุ่นยนต์ Flippy หุ่นยนต์ที่ช่วยในการประกอบอาหารที่ขับเคลื่อนด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผลิตโดยบริษัท Miso หรือ Miso Robotics มีความสามารถในการทอดและการพลิกเนื้อเบอร์เกอร์ รวมทั้ง นำไปวางบนขนมปังได้ ปัจจุบันหุ่นยนต์ Flippy ได้เริ่มติดตั้งภายในหลายสถานที่ เช่น ร้านอาหาร Cali Burger รวมทั้งในสนามกีฬา LA Dodgers Stadium และ Arizona Diamondbacks Chase Field นอกจากนี้ อาจจะได้เห็น Flippy ให้บริการอยู่ภายในร้าน fast food ชื่อดังอย่าง White Castle และในภาย Cloud Kitchens ครัวกลางสำหรับส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ของ Uber ในอนาคตอันใกล้นี้

  1. Vertical Farming การทำเกษตรกรรมแนวตั้ง หรือการเพาะปลูกพืชผลภายในอาคาร โดยคาดว่าภายในปี 2593 ความต้องการน้ำทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นมากขึ้นร้อยละ 30 รวมทั้ง การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียพืชผลทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่เข้ามาจะสามารถช่วยในการพัฒนาคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร (AgTech) ทำให้สามารถเพราะปลูกพืชผลแบบยั่งยืน

 การทำฟาร์มเกษตรแนวตั้ง มีวิธีการเพาะปลูกพืชผลเป็นชั้นวางซ้อนกันหลายๆ ชั้น มักใช้พื้นที่ในโกดังที่มี

เพดานที่สูง และต้องมีการควบคุมความชื้น อุณหภูมิ และแสงอย่างระมัดระวัง เพื่อให้การเพาะปลูกภายในโกดังเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

โดยภายในปี 2569 คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมเกษตรกรรมแนวตั้งนี้ จะมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 19.86 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และยังมีโอกาสในการเติบโตได้สูงมากขึ้นอีก ซึ่งข้อดีของการทำฟาร์มแนวตั้งที่แตกต่างไปจากฟาร์มแบบดั้งเดิม ได้แก่ ประหยัดพื้นที่ได้มากกว่า ใช้น้ำน้อยลงถึงร้อยละ 95 แต่เพิ่มผลิตได้มากขึ้นถึง 17 เท่า ด้วยระบบไฮโดรโพนิกหรือแอโรโพนิกขั้นสูง เป็นฟาร์มแนวตั้งไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง ลดความเสี่ยงต่อเชื้อราและอีโคไลให้น้อยลง สามารถเติบโตตลอดทั้งปีที่ไม่ขึ้นอยู่กับฤดูกาล ปราศจากภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ลมหนาว น้ำท่วม มรสุม พายุเฮอริเคน และไฟไหม้ ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรรมแนวตั้งถูกมองว่าเป็นคำตอบที่ยั่งยืนเพื่อต่อสู้กับการขาดแคลนอาหารในอนาคต

ตัวอย่างของบริษัทในสหรัฐอเมริกาที่เริ่มมีการทำฟาร์มแนวตั้ง ได้แก่ บริษัท Plenty เริ่มการทำฟาร์มแนวตั้งในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนาย Jeff Bezos และอดีตทีมด้านวิศวกรรมของบริษัท Tesla

รวมทั้ง บริษัท Aero Farms ที่ดำเนินกิจการฟาร์มแนวตั้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีโรงงานขนาด 70,000 ตารางฟุตสามารถเพาะปลูกผักใบเขียวได้ 2 ล้านปอนด์ต่อปี และมีแผนสร้างฟาร์มแนวตั้งที่ใหญ่ยิ่งขึ้นในเมืองอาบูดาบี นอกจากนี้ ยังมีบริษัท Unfold ที่เปิดตัวในปี 2563 ด้วยเงินทุน 30 ล้านเหรียญสหรัฐจากบริษัท Bayer และบริษัทTemasek โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงพันธุ์พืชที่มีชีววิทยาที่เหมาะสมเป็นพิเศษสำหรับฟาร์มแนวตั้ง

  1. เทรนด์อาหาร Plant-Based หรือ อาหารที่ทำมาจากพืช กำลังป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน ผู้บริโภคหันมาสนใจรักษาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ยอดขายทั่วโลกของผลิตภัณฑ์ อาหาร Plant-Based คาดว่าจะเติบโตสูงถึง 35,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2570 โดยจำนวนผู้บริโภคสายวีแกนในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นจาก 1% ของประชากรในปี 2557 เป็น 6% ในปี 2560

อย่างไรก็ตาม ยังพบว่าความสนใจในอาหารจากพืชส่วนใหญ่ยังมาจากผู้ที่รับประทานเนื้อสัตว์ แต่ต้องการหันมาทานเนื้อสัตว์ที่ทำมาจากพืช ข้อมูลจาก The NPD Group บริษัทวิจัยตลาดในสหรัฐฯ ระบุว่าประมาณ 90% ของผู้บริโภคอาหารที่ทำจากพืชหรือ Plant-Based ไม่ใช่มังสวิรัติหรือวีแกน และ 43% ของผู้บริโภคมีความเห็นว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์ Plant-based ดีต่อสุขภาพ

แบรนด์ใหญ่ที่ผลิตอาหาร Plant-Based อย่าง Beyond Meat มีมูลค่าตามตลาด (Market Cap) อยู่ที่  930 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ณ เดือนเมษายน 2566 และแบรนด์ Impossible Foods มีมูลค่าแบรนด์ประมาณ 7,000 เหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565 โดยทั้งสองแบรนด์นี้ได้จัดส่งเนื้อสัตว์ที่ทำมาจากพืชให้กับร้านชื่อดังอย่าง KFC, Burger King, Carl’s Jr., Hardee’s และอื่นๆ

ความต้องการผลิตภัณฑ์นมทางเลือกก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยคาดว่ายอดขายผลิตภัณฑ์นมทางเลือกทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 22,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2563 เป็น 40,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2569 โดยผลิตภัณฑ์ที่กำลังเติบโตอย่างมากในหมวดนี้ได้แก่ นมข้าวโอ๊ต

  1. Smart Kitchen appliances หรือเครื่องครัวอัจฉริยะ ซึ่งจะเป็นเครื่องครัวที่มีระบบการใช้งานพิเศษ

รองรับระบบ WiFi หรือ Bluetooth โดยทั่วไปจะมีฟีเจอร์ต่างๆ เช่น การควบคุมด้วยเสียง การสแกนบาร์โค้ดของบรรจุภัณฑ์ และการสั่งสินค้า เป็นต้น อุตสาหกรรมเครื่องใช้ในครัวอัจฉริยะทั่วโลกมีมูลค่าประมาณ 13,180 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจะเติบโตที่อัตราการเติบโตต่อปีที่ 18.6% จนถึงปี 2571 ซึ่งแม้ว่าอุปกรณ์เครื่องไฟฟ้าที่มีระบบการใช้งานพิเศษผ่านการรองรับของ WiFi หรือ Bluetooth จะเริ่มเข้าสู่ตลาดและเติบโตก่อนช่วงการระบาดของโควิด-19 แต่หลังจากการแพร่ระบาดนั้นส่งผลให้ความสนใจเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน

เครื่องครัวอัจฉริยะส่งผลให้ชาวอเมริกันกว่า 54% หันมาทำอาหารเองมากขึ้น และ 51% บอกว่า

จะ ทำอาหารต่อไปแม้ว่าการระบาดของโควิด-19 จะสิ้นสุดลงในสหรัฐอเมริกา อุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวที่มีระบบอัจฉริยะ ที่เป็นที่นิยม ได้แก่ ตู้เย็นอัจฉริยะ (smart refrigerators) ไมโครเวฟอัจฉริยะ (smart ovens) เครื่องครัวอัจฉริยะ (smart cookware) เตาอัจฉริยะ (smart cooktop) และเครื่องล้างจานอัจฉริยะ (smart dishwashers)

สำหรับตู้เย็นอัจฉริยะ (smart refrigerators) พบว่ามี

การค้นหาสินค้าจากผู้บริโภคผ่านอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 146 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และเครื่องล้างจานอัจฉริยะ (smart dishwashers) มีการค้นหาสินค้าจากผู้บริโภคผ่านอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 137 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยแบรนด์ตู้เย็นอัจฉริยะที่เป็นที่นิยมในสหรัฐฯ ได้แก่แบรนด์ LG แบรนด์ GE แบรนด์ Kenmore    แบรนด์ Samsung แบรนด์ Whirlpool และแบรยด์ Bosch เป็นต้น

 

  1. Home Cooks Find Inspiration on Social Media โซเชียลมีเดียเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อน

ชาวอเมริกันให้ทำอาหารที่บ้านเองมากขึ้น โดยพบว่าผู้คนมีแนวโน้มที่จะใช้สูตรอาหารที่พบในโซเชียลมีเดียมากกว่าสูตรอาหารที่พวกเขาเห็นในทีวีถึง 5 เท่า

ปัจจุบัน Food/Brand Influencers หรือ ผู้มีอิทธิพลด้านอาหารและแบรนด์อาหาร ได้เข้ามามีบทบาทในโซเชียลมีเดียมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ยกตัวอย่างเช่น ทีมทำอาหารของ Tasty Buzzfeed มีผู้ติดตามมากกว่า 43 ล้านคนบน Instagram และผู้ติดตามมากกว่า 96 ล้านคนบน Facebook เชฟผู้มีชื่อเสียงอย่าง Gordon Ramsay และ Ree Drummond มีผู้ติดตามในโซเชียลมีเดียหลายล้านคน นอกจากนี้ บุคคลธรรมดาที่ผันตนเองมาเป็นผู้มีอิทธิพลด้านอาหาร อย่าง natural.jo ที่โพสต์รูปถ่ายอาหารบน Instagramของเขาและมีผู้ติดตามประมาณ 1.5 ล้านคนก่อนที่เขาจะอายุ 20 ปี รวมทั้ง Mariam วัย 23 ปี โพสต์วิดีโอสูตรอาหารบน TikTok และมีผู้ติดต่อมากกว่า 7 ล้านคน ซึ่งพบว่า แม้แต่คนที่ไม่เคยทำอาหารมาก่อนก็ยังได้รับแรงบันดาลใจในการเริ่มทำอาหารจากคลิปการทำอาหารที่ผู้มีอิทธิพลเหล่านี้โพสต์บนโซเชียลมีเดีย และส่วนใหญ่โพสต์เหล่านี้ก็มักจะกลายเป็นกระแสไวรัลด้วย

  1. Food Becomes a Wellness Category ผู้บริโภคใส่ใจสุขภาพมากขึ้น พบว่าในปัจจุบันผู้ผลิต

อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ มักจะชนะใจผู้บริโภค โดยในช่วงการะบาดของโควิด-19 ร้อยละ 20 ของผู้บริโภคชาวสหรัฐฯ เริ่มบริโภคผลิตภัณฑ์อาหาร Plant-Based เป็นครั้งแรก และร้อยละ 92 จะซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้ต่อไป ซึ่งแบรนด์อาหารเพื่อสุขภาพต่างเร่งทำการการตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองเพื่อรองรับเทรนด์และความต้องการของผู้บริโภค ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์ Mindright นำเสนอสแน็คบาร์ Snack bar ที่มีส่วนผสมของโสมที่ช่วยให้นอนหลับสบาย ซึ่งแบรนด์ Mindright นี้ได้รับเงินช่วยในการลงทุนจำนวนกว่า 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากเซเลบริตี้หลายราย อาทิ เช่น นาย Joe Jonas นักดนตรีจากวง Jonas  Brothers นาย Travis Barker มือกลองแห่งลง Blink-182 เป็นต้น

นอกจากนี้ Adaptogens อแดปโตเจน เป็น 1 ในสมุนไพรที่ช่วยปรับและควบคุมสมดุลของร่างกาย และนำมาใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์อาหาร ช่วยในการนอนหลับที่ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์ Moon Juice ที่ประสบความสำเร็จอย่างก้าวกระโดดตามเทรนด์นี้  โดยบริษัทเริ่มต้นจากการผลิตและจำหน่ายน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพในรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยแบรนด์ Moon Juice ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จำหน่ายอแดปโตเจนแบบผง สำหรับผสมในเครื่องดื่มก่อนนอน ช่วยในการนอนหลับที่ดีขึ้น นอกจากนี้ แบรนด์เครื่องดื่มอย่าง Four Sigmatic ก็นำเสนอ Hot Chocolate ช็อกโกแลตแบบร้อน ที่มีส่วนผสมของอแดปโตเจน สำหรับรับประทานก่อนนอนด้วย

  1. Fermented Drinks เทรนด์เครื่องดื่มที่มาจากการหมักกำลังมาแรง โดยสถิติในปี 2561 แสดงให้เห็น

ว่าตลาดอาหารหมัก มีมูลค่า 23.64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าในปี 2566 จะเพิ่มขึ้นเป็น 35.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  ซึ่งภายในอีก 5 ปีข้างหน้า คาดการณ์ว่าตลาดอาหารหมักดองจะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 17.5

ปัจจัยที่ผลักดันให้เทรนด์นี้เติบโต มาจากการที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสุขภาพของลำไส้และอาหารที่มีพรีไบโอติกส์มากขึ้น ผู้บริโภคมีการรับรู้มากขึ้นว่าการรับประทานอาหารหมักดองให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ที่นอกเหนือจากการช่วยในเรื่องของลำไส้ อาหารหมักดองยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุที่ดีขึ้น ยกตัวอย่างอาหารหมักดองเช่น โยเกิร์ต ชีส กะหล่ำปลีดอง และไวน์ เป็นต้น

            เทรนด์ของเครื่องดื่มหมักดองในปัจจุบันแบบออกเป็น 2 ประเภทคือ Kombucha (คอมบูชา) และ Kefir (คีเฟอร์)

1) Kombucha คอมบูชา เครื่องดื่มหมักรสเปรี้ยว ที่กำลังอินเทรนด์เพื่อสุขภาพที่มาแรงที่สุด มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน รัสเซีย และยุโรปตะวันออก และในสหรัฐอเมริกา คอมบูชากำลังกลายเป็น 1 ในสินค้าที่เติบโตเร็วที่สุดภายในร้าน Grocery  โดยตลาดเครื่องดื่มคอมบูชา คาดการณ์ว่าจะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 42.4 ในช่วงปี 2564 ถึง 2569 อีกทั้ง เครื่องดื่มคอมบูชา ได้รับเลือกให้เป็นเทรนด์อาหารยอดนิยมประจำปี 2564 ของห้างซุเปอร์มาร์เก็ต Whole Foods อีกด้วย

ปริมาณแอลกอฮอล์ของคอมบูชานั้นแตกต่างกันไป ทำให้แบรนด์ต่างๆ สามารถปรับแต่งเครื่องดื่มให้เหมาะกับผู้บริโภคได้หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์เครื่องดื่ม Luna Bay Booch ผลิตคอมบูชารสบลูเบอร์รี่ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพียง 6% และรสลิ้นจี่มะนาวมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพียง 4.5%

2) Kefir (คีเฟอร์) คือ นมหมักกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ มีรสคล้ายโยเกิร์ตแต่จะเข้มข้นกว่า ตลาดคีเฟอร์ คาด

ว่าจะสูงถึง 1.84 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2570 โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 5.4 เครื่องดื่มหมักมักจะมีส่วนผสมที่ทำมาจากนม และปราศจากแลคโตส แต่ยังมีการพัฒนา คีเฟอร์ Daily-Free อีกด้วย ที่สามารถดึงดูดผู้บริโภคที่เป็นมังสวิรัติ ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์ Inner-Eco นำเสนอน้ำมะพร้าวโปรไบโอติก ที่มีส่วนผสมของนมบัวหิมะธิเบต (Kefir grains)

 

 

  1. Mushrooms Becomes A Consumer-Favorite อาหารที่มีเห็ดเป็นส่วนผสม

เห็ดเป็นส่วนผสมหนึ่งที่ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มคาดว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จะ

แพร่หลายเพิ่มขึ้นอย่างมาก รายงานฉบับหนึ่งระบุว่า ผู้บริโภคจำนวน 1 ใน 4 วางแผนที่จะรับประทานเห็ดมากขึ้นในปีนี้ และอีกร้อยละ 63 วางแผนที่จะรับประทานเห็ดในปริมาณเท่ากับในปีที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากชาวอเมริกันจะนำเห็ดมาเป็นส่วนประกอบของการปรุงอาหารเองที่บ้านแล้ว ยังเลือกที่จะรับประทานเห็ดในร้านอาหารเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

จากข้อมูลของ The Mushroom Council พบว่าร้อยละ 80 ของเมนูอาหารในร้านอาหาร เห็ดนับเป็น

ส่วนผสมที่ปรากฏในลำดับอันดับต้น นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์อาหารได้นำเห็ดมาเป็นส่วนผสมก็พบว่ามีมากขึ้นอย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น Pan’s Mushroom Jerky ประสบความสำเร็จมาก จากการนำผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเห็ดมาออกในรายการ Shark Tank โดยได้รับคำสั่งซื้อมากกว่า 33,000 รายการ หลังจากออกอากาศ ตั้งแต่นั้นมา ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ได้ขยายไปสู่ร้านค้าอีคอมเมิร์ซออนไลน์และร้านค้าปลีกหลายแห่ง เช่น Urban Outfitters, Whole Foods และ Natural Grocers

ซึ่งนอกจากเห็ดแล้ว ยังมีพืชอื่นๆ อีกหลายชนิดที่ประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่ดีต่อสุขภาพ ได้นำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้วยทั้งในโปรตีนบาร์ ขนมขบเคี้ยว เครื่องเทศ และเครื่องปรุงรส เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

ความคิดเห็นของสคต. นิวยอร์ก

อาหารและเครื่องดื่ม ยังคงเป็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตในตลาดสหรัฐ และนับเป็นสินค้าจำเป็นที่ผู้บริโภคยังคงต้องสั่งซื้อแม้แต่ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี หลังวิกฤตโควิตพบว่าชาวอเมริกันมีพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้แนวโน้มสินค้าอาหารและเครื่องดื่มในสหรัฐฯ เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด การศึกษาเทรนด์และความต้องการของผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ จึงนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญของผู้ประกอบการไทยที่จะต้องเข้าใจตลาด พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ทันต่อแนวโน้มความปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างโอกาสให้กับสินค้าให้สามารถขยายตลาดสหรัฐอเมริกาได้อย่างมีศักยภาพ

แหล่งที่มา: https://explodingtopics.com/blog/food-trends

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก เดือนกันยายน 2566

thThai