1. ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจสำคัญ

1.1 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนมิถุนายน 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2566 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2565 CPI เฉลี่ยในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.41 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565

1.2 ดัชนีภาวะเงินเฟ้อ ในเดือนมิถุนายน 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.24 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2566 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.33 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2565 ส่วนดัชนีภาวะเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.74 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565

1.3 ดัชนีราคาทองคำ ในเดือนมิถุนายน 2566 ลดลงร้อยละ 0.64 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2566 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.95 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2565 ดัชนีราคาทองคำเฉลี่ยในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.67

1.4 ดัชนีมูลค่าเงินเหรียญสหรัฐ ในเดือนมิถุนายน 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.14 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2566 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.14 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2565 ส่วนดัชนีมูลค่าเงินเหรียญสหรัฐเฉลี่ยในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.61

2. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Products)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของเวียดนามในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.72 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 โดยการเกษตรการป่าไม้และประมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.07 อุตสาหกรรมและการก่อสร้าง เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.13 และการบริการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.33

โครงสร้างเศรษฐกิจในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 ภาคการเกษตร การป่าไม้ และประมงมีสัดส่วนร้อยละ 11.32 ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง มีสัดส่วนร้อยละ 36.62 ภาคบริการ มีสัดส่วนร้อยละ 43.25 และรายรับจากภาษีหักลบเงินสนับสนุนสินค้ามีสัดส่วนร้อยละ 8.81

ส่วนประกอบผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเวียดนามในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 การบริโภคภายในประเทศ (final consumption) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.68 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 การสะสมสินทรัพย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.15 การส่งออกสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 10.0 และการนำเข้าสินค้าและบริการ ลดลงร้อยละ 13.20

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของเวียดนามในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566

 

ม.ค. – มิ.ย. 2566

(พันล้านเวียดนามด่ง)

โครงสร้าง (%)

ม.ค. – มิ.ย. 2566 เทียบกับ ม.ค. – มิ.ย. 2565

รวม

4,741,481

100.00

103.72

การเกษตร การป่าไม้ และการประมง

536,480

11.32

103.07

การเกษตร

385,714

8.14

103.14

การป่าไม้

23,280

0.49

103.43

การประมง

127,486

2.69

102.77

อุตสาหกรรมและการก่อสร้าง

1,736,335

36.62

101.13

อุตสาหกรรม

1,465,560

30.91

100.44

การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน

130,806

2.76

98.57

การผลิตสินค้า

1,111,534

23.44

100.37

การผลิตและการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า น้ำประปา ก๊าซ และเครื่องปรับอากาศ

199,898

4.22

101.79

การจัดหาน้า การจัดการน้าเสียและของเสียรวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

23,322

0.49

105.45

การก่อสร้าง

270,775

5.71

104.74

บริการ

2,050,730

43.25

106.33

การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์

501,500

10.58

108.49

การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า

243,049

5.13

107.18

ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร

119,155

2.51

115.14

ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร

169,153

3.57

102.29

กิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย

214,338

4.52

107.13

กิจกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์

160,271

3.38

99.18

วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ

102,117

2.15

106.76

กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน

64,406

1.36

113.50

การบริหารราชการ การป้องกันประเทศและการประกันสังคมภาคบังคับ

89,811

1.89

104.74

การศึกษา และการฝึกอบรม

198,542

4.19

104.26

กิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์

120,416

2.54

100.89

ศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ

29,011

0.61

112.05

กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ

32,584

0.69

110.13

กิจกรรมการจ้างงานในครัวเรือน กิจกรรมการผลิตสินค้าและบริการที่ทาขึ้น เองเพื่อใช้ในครัวเรือน ซึ่งไม่สามารถจาแนกกิจกรรมได้อย่างชัดเจน

6,377

0.13

104.56

ภาษีสินค้าลดเงินอุดหนุนสินค้า

417,936

8.81

102.48

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (General Statistics Office of Vietnam: GSO)

3. การเกษตร การป่าไม้ และประมง

3.1 การเกษตร

เวียดนามพื้นที่เพาะปลูกข้าวในช่วงฤดูหนาว 2565 – ฤดูใบไม้ผลิ 2566 (พ.ย. 65 – ก.พ. 66) รวม 2.95 ล้านเฮคเตอร์ ลดลงร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงปี 2564-2565 ผลผลิตต่อเฮคเตอร์อยู่ที่ 6,840 กิโลกรัมต่อเฮคเตอร์ เพิ่มขึ้น 160 กิโลกรัมต่อเฮคเตอร์ ผลผลิตข้าวอยู่ที่ 20.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 231,900 ตัน ซึ่งภาคเหนือได้ 1.1 ล้านเฮคเตอร์ ลดลงร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงปี 2565-2566 ผลผลิตต่อเฮคเตอร์อยู่ที่ 6,440 กิโลกรัมต่อเฮคเตอร์ เพิ่มขึ้น 220 กิโลกรัมต่อเฮคเตอร์ ผลผลิตข้าวอยู่ที่ 6.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 165.8 พันตัน ภาคใต้ได้ 1.9 ล้านเฮคเตอร์ ลดลงร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงปี 2565-2566 ผลผลิตต่อเฮคเตอร์อยู่ที่ 7,080 กิโลกรัมต่อเฮคเตอร์ เพิ่มขึ้น 150 กิโลกรัมต่อเฮคเตอร์ ผลผลิตข้าวอยู่ที่ 13.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 66.1 พันตัน

ในกลางเดือนมิถุนายน 2566 พื้นที่เพาะปลูกผักและถั่วต่างๆ 751.6 พันเฮคเตอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดอยู่ที่ 560.8 พันเฮคเตอร์ ลดลงร้อยละ 1.6 พื้นที่เพาะปลูกถั่วลิสงอยู่ที่ 119.4 พันเฮคเตอร์ ลดลงร้อยละ 5.1 พื้นที่เพาะปลูกมันเทศอยู่ที่ 58.4 พันเฮคเตอร์ ลดลงร้อยละ 5.7 และพื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลือง 15.0 พันเฮคเตอร์ ลดลงร้อยละ 7.1

การเลี้ยงปศุสัตว์ในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 คงที่ คาดว่า ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2566 จํานวนหมูของประเทศเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2565 จํานวนวัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 จํานวนสัตว์ปีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 และจํานวนควายลดลงร้อยละ 1.7

3.2 การป่าไม้

ในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 มีพื้นที่ปลูกป่าขนาด 125.5 พันเฮคเตอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 และพื้นที่ป่าที่ได้รับความเสียหายประมาณ 1,168 เฮคเตอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 92.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565

3.3 ประมง

การประมงในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 เวียดนามผลิตสินค้าประมงได้ 4.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 โดยผลผลิตของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ 2.33 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 และการจับสัตว์น้ำได้ 1.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 โดยการจับอาหารทะเลได้ 1.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1

4. อุตสาหกรรม

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 ลดลงร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 โดยการผลิตสินค้าลดลงร้อยละ 1.6 การผลิตและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 การผลิตน้ำประปาและการกําจัดของเสียเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 และการทำเหมืองแร่และเหมืองหินลดลงร้อยละ 1.7

ดัชนีการบริโภคภาคอุตสาหกรรมในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 ลดลงร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 ดัชนีสินค้าคงคลังภาคอุตสาหกรรม ในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 และอัตราสินค้าคงคลังภาคอุตสาหกรรมเฉลี่ยในช่วงมกราคม – มิถุนายน 2566 อยู่ที่ 83.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 จำนวนแรงงานที่ทำงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรมเวียดนามลดลงร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 โดยในภาครัฐลดลงร้อยละ 1.9 ภาคเอกชนลดลงร้อยละ 3.5 และภาคการลงทุนจากต่างประเทศลดลงร้อยละ 4.7

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเวียดนามในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566

หน่วย: %

.ค. 2566
เทียบกับ

.ค. 2565

มิ.ย. 2566
เทียบกับ
.ค. 2566
มิ.ย. 2566
เทียบกับ
มิ.ย. 2565

.ค. – มิ.ย. 2566  เทียบกับ
ม.ค. – มิ.ย. 2565

รวม

100.5

102.0 102.8

98.8

การทำเหมืองแร่และเหมือง

102.9

98.3 101.9

98.3

ถ่านหินและลิกไนต์

103.5

99.0 101.0

97.7

น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ

104.6

97.7 107.7

99.5

แร่โลหะ

105.8

100.2 107.9

111.5

การทำเหมืองแร่อื่นๆ

106.1

100.1 101.6

103.5

กิจกรรมบริการที่สนับสนุนการทำเหมืองแร่

79.8

97.0 63.7

79.3

การผลิตสินค้า

99.1

102.5 102.9

98.4

สินค้าอาหาร

106.2

103.7 109.9

104.6

เครื่องดื่ม

95.5

104.6 106.8

105.7

ยาสูบ

110.4

100.0 98.5

106.7

สิ่งทอ

102.6

101.5 106.4

97.9

เสื้อผ้า

94.8

103.0 99.6

93.2

หนังและสินค้าที่เกี่ยวข้อง

99.3

100.4 97.2

97.6

การแปรรูปไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ยกเว้นเฟอร์นิเจอร์ และการผลิตผลิตภัณฑ์หัตถกรรม

84.2

107.1 82.9

92.3

กระดาษและผลิตภัณฑ์จากกระดาษ

95.8

100.0 95.8

92.5

การพิมพ์และการทำสำเนาสื่อบันทึก

106.0

100.6 99.2

100.3

ผลิตภัณฑ์ถ่านโค้กและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

108.7

99.6 109.5

113.2

เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี

110.0

103.4 110.6

105.1

ยาและผลิตภัณฑ์ทางพฤกษศาสตร์

97.4

104.0 97.5

100.5

ผลิตภัณฑ์จากยางพาราและพลาสติก

109.4

103.1 108.7

107.2

ผลิตภัณฑ์แร่โลหะอื่นๆ

99.5

100.4 105.1

96.7

โลหะพื้นฐาน

98.0

100.6 102.6

95.4

ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ (ยกเว้นเครื่องจักรและอุปกรณ์)

105.5

98.2 105.4

103.1

คอมพิวเตอร์และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์

93.5

104.0 100.1

95.4

อุปกรณ์ไฟฟ้า

108.7

95.8 110.8

100.3

เครื่องจักรและอุปกรณ์อื่นๆ

86.2

105.4 91.8

95.3

ยานยนต์

90.3

111.8 105.9

93.2

ยานพาหนะการขนส่ง ชิ้นส่วน อุปกรณ์และส่วนประกอบ

111.3

97.9 110.8

97.1

เฟอร์นิเจอร์

100.1

94.7 107.9

98.1

การผลิตสินค้าอื่นๆ

98.9

102.2 92.6

98.6

ซ่อม บำรุง รักษา และติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์

109.3

97.6 84.8

103.9

การผลิตและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า

107.7

102.1 103.0

101.5

การผลิตน้ำประปาและการกำจัดของเสีย

104.7

100.2 102.9

105.4

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (General Statistics Office of Vietnam: GSO)

5. การจัดตั้งธุรกิจ

ในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 มีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ในเวียดนามจำนวน 75,874 บริษัท คิดเป็นมูลค่าทุนจดทะเบียนประมาณ 31.44 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 19.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 บริษัทที่กลับมาดำเนินการ 37,676 บริษัท ลดลงร้อยละ 7.4 ส่วนบริษัทที่หยุดกิจการชั่วคราว 60,172 บริษัท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 บริษัทที่หยุดกิจการเพื่อดำเนินการขั้นตอนการยุบเลิก 31,023 บริษัท เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 28.9 และมีบริษัทปิดกิจการ 8,831 บริษัท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8

ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 บริษัทเวียดนามร้อยละ 27.5 เปิดเผยว่าสถานการณ์การค้าและการผลิตในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 ดีขึ้นกว่าไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 บริษัทเวียดนามร้อยละ 36.7 เปิดเผยว่าสถานการณ์การค้าและการผลิตในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 มั่นคงกว่าไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 บริษัทเวียดนามร้อยละ 35.8  เปิดเผยว่าบริษัทที่เผชิญความยากลำบาก

ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 บริษัทเวียดนามร้อยละ 34.3 คาดว่า สถานการณ์การค้าและการผลิตจะดีขึ้นกว่าไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 บริษัทเวียดนามร้อยละ 38.3 เปิดเผยว่าสถานการณ์การค้าและการผลิต มั่นคงกว่าไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 บริษัทเวียดนามร้อยละ 27.4 คาดว่าบริษัทที่เผชิญความยากลำบากมากกว่าไตรมาสที่ 2 ของปี 2566

6. ด้านการลงทุน

6.1 การลงทุนของภาครัฐ ในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 เวียดนามมีการลงทุนของภาครัฐมูลค่าประมาณ 10.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565

6.2 ต่างประเทศเข้ามาลงทุนในเวียดนาม การลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) รวมทั้งหมด 13.43 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 4.3 โดยโครงการใหม่ 1,293 โครงการ มีมูลค่า 6.49 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.3 และโครงการที่ปรับขึ้นมูลค่าลงทุน 632 โครงการ มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 2.93 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 57.1 โครงการที่นักลงทุนซื้อหุ้นจากบริษัทในเวียดนามจำนวน 1.594 โครงการ มูลค่า 4.01 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565

FDI โครงการใหม่ที่ได้รับอนุญาตในเวียดนามตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 20 มิถุนายน 2565

โครงการใหม่

(จำนวน)

มูลค่าของโครงการใหม่

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

มูลค่าของโครงการที่ปรับขึ้นมูลค่าลงทุน

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

รวม

1,293

6,492.1

2,926

จังหวัดที่ได้รับการลงทุน
Bac Giang

37

1,067.9

171.1

Nghe An

8

613.1

107.8

Binh Phuoc

13

585.3

-29.7

Bac Ninh

139

557.4

259.2

Long An

42

443.4

56.9

Quang Ninh

9

440.9

Binh Duong

39

344.4

53.7

Hai phong

42

318.9

477.8

Hung Yen

19

236.3

147.0

Ho Chi Minh City

514

231.1

458.0

Quang Ngai

2

165.1

18.9

Hai Duong

33

160.7

40.4

Thanh Hoa

10

152.4

47.1

Dong Nai

36

147.3

395.5

Tay Ninh

12

138.2

338.2

Nam Dinh

5

138.0

3.5

Thai Nguyen

14

122.0

7.4

Vinh Phuc

11

115.2

2.4

Ha Nam

8

104.3

28.6

Soc Trang

1

90.8

จังหวัดอื่นๆ

299

319.2

342.2

ประเทศที่เข้าลงทุน
Singapore

163

1,792.2

342.7

China

233

1,292.9

587.3

Special Administration Hong Kong

114

773.9

66.5

Taiwan

84

543.8

199.7

Japan

135

386.0

188.9

Thailand

16

333.2

25.2

South Korea

223

326.8

680.4

Netherlands

12

190.1

74.8

Denmark

9

165.4

Germany

18

159.4

8.5

Sweden

5

154.6

9.5

Samoa

14

81.0

54.3

Israel

2

60.0

Seychelles

10

45.2

44.6

Italy

9

39.6

29.9

Virgin Islands (UK)

14

38.9

46.8

ประเทศอื่นๆ

232

109.2

566.9

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม

6.3 เวียดนามลงทุนในต่างประเทศ

ในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 เวียดนามลงทุนในต่างประเทศรวมมูลค่า 320.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 โดยโครงการใหม่ที่ได้รับใบอนุญาตลงทุนในต่างประเทศมีจำนวน 60 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 147.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 51.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 และโครงการที่ได้รับอนุญาตให้เพิ่มทุนจำนวน 16 โครงการ มีมูลค่าการลงทุนเพิ่ม 173.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.9 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565

7. การค้า และการนำเข้า-ส่งออก

7.1 ยอดขายปลีกสินค้าและบริการ

ในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 ประมาณการยอดขายค้าปลีกของสินค้าและบริการมีมูลค่าประมาณ 134.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 โดยยอดขายค้าปลีกของสินค้า 105.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 ยอดขายบริการที่พักและร้านอาหาร 14.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 รายรับจากการท่องเที่ยว 641.99 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 รายรับจากบริการอื่นๆ 13.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565

ยอดขายปลีกสินค้าและบริการเวียดนามในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566

หน่วย: พันล้านเวียดนามด่ง

 

 มิ.ย. 2566

.ค. – มิ.ย. 2566 มิ.ย. 2566 เทียบกับ มิ.ย. 2565 (%)

.ค. – มิ.ย. 2566 เทียบกับ ม.ค. – มิ.ย. 2565 (%)

มูลค่ารวม

โครงสร้าง (%)

รวม

505,651

3,016,764 100.0 106.5

110.9

ยอดขายปลีกสินค้า

396,958

2,377,225 78.8 106.0

109.3

ธุรกิจบริการที่พักและอาหาร

54,571

321,672 10.7 106.5

118.7

การท่องเที่ยว

2,793

14,445 0.5 107.8

165.9

บริการอื่นๆ

51,328

303,422 10.0 111.1

114.4

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม

7.2 การส่งออกและนำเข้า (ในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566)

7.2.1 การส่งออกสินค้าและบริการ

การส่งออกสินค้าของเวียดนามมีมูลค่า 164.45 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 12.1
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 มาจากภาคการผลิตเพื่อส่งออกของเวียดนามมูลค่า 43.41 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 11.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 ภาคการผลิตเพื่อส่งออกของบริษัทต่างชาติในเวียดนามมูลค่า 121.04 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565

กลุ่มสินค้าที่ส่งออก ได้แก่ กลุ่มสินค้าเชื้อเพลิงและแร่ธาตุ 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.3 กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมแปรรูป 144.82 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 88.1 กลุ่มสินค้าเกษตรและป่าไม้ 13.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.1 กลุ่มผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ 4.13 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.5

สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มูลค่า 44.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

การส่งออกบริการของเวียดนามมีมูลค่า 8.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 99.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 โดยการส่งออกบริการท่องเที่ยวมีมูลค่า 4.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.5 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 และการส่งออกบริการขนส่งสินค้ามีมูลค่า 2.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.5

7.2.2 การนำเข้าสินค้าและบริการ

การนำเข้าสินค้าของเวียดนามมีมูลค่า 152.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 โดยการนำเข้าของบริษัทเวียดนาม มีมูลค่า 53.22 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 19.0 และเป็นการนำเข้าของบริษัทต่างชาติในเวียดนาม มีมูลค่า 98.98 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 17.8

กลุ่มสินค้าที่นำเข้า ได้แก่ กลุ่มวัสดุเพื่อใช้ในการผลิตสินค้า 142.66 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 93.7 กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค 9.54 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.3

จีนเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มูลค่า 50.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

การนำเข้าบริการของเวียดนามมีมูลค่า 12.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 โดยการนำเข้าบริการขนส่งสินค้ามีมูลค่า 5.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.4 และการนำเข้าบริการท่องเที่ยวมีมูลค่า 3.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8

ในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 ประเทศเวียดนามมีการเกินดุลการค้ากับสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 37.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 24.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 การเกินดุลการค้ากับสหภาพยุโรปอยู่ที่ 14.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 9.8 การเกินดุลการค้ากับญี่ปุ่น 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ การขาดดุลการค้ากับจีนอยู่ที่ 24.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 30.9 การขาดดุลการค้ากับเกาหลีใต้อยู่ที่ 13.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 34.8 การขาดดุลการค้ากับประเทศในภูมิภาคอาเซียนอยู่ที่ 4.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 39.1

จัดทำโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโฮจิมินห์

thThai