การตั้งชื่อสินค้าเป็นกลยุทธ์การตลาดสำคัญของบริษัทชั้นนำในญี่ปุ่น โดยชื่อที่สื่อควาหมายชัดเจน และเข้าใจง่าย ช่วยเพิ่มยอดจำหน่ายอย่างมีนัยสำคัญ
บริษัท Ishokudougen.com ผู้ผลิตทิชชู่เปียกแบบใช้แล้วทิ้ง มีผิวสัมผัสนุ่มคล้ายผ้าขนหนู เดิมจำหน่ายภายใต้ชื่อ “Disposable Nonpaper Towel” สื่อถึงความอเนกประสงค์ของสินค้า โดยวางจำหน่ายในหลายแผนก ตั้งแต่แผนกอุปกรณ์ทำความสะอาดห้องครัว ไปจนถึงอุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุ ต่อมา ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภค พบว่า ส่วนใหญ่นิยมใช้ทิชชู่เปียกในการประทินผิว จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “Itsudemo Kirei Face Towel” หรือทิชชู่เปียกสำหรับใบหน้าเพื่อ “ความสวย และสะอาดทุกเวลา” ส่งผลให้ปริมาณการจำหน่ายต่อเดือนเพิ่มจาก 55,000 ชิ้น เป็น 83,000 ชิ้นทันทีจากนั้น ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเพื่อสร้างภาพจำให้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์ทิชชู่เปียกที่แยกประโยชน์การใช้งานเฉพาะ ภายใต้ชื่อ “Nanoni” (แปล: สำหรับ) เป็น Nanoni Face Towel ซึ่งการเปลี่ยนชื่อ และการจำแนกผลิตภัณฑ์สำหรับใช้เฉพาะด้านดังกล่าว ได้รับการตอบรับดีจากผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ส่งผลให้การจำหน่ายเพิ่มขึ้น
บริษัท Okamoto ผู้ผลิตถุงเท้าให้ความอบอุ่น เดิมใช้ชื่อ “Socks to Warm Saninko” ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่เข้าใจความหมาย เนื่องจาก “Saninko” เป็นคำศัพท์เฉพาะ หมายถึง เส้นเลือดสำคัญ ตามศาสตร์การแพทย์แผนตะวันออก ซึ่งเมื่อบริเวณนี้อบอุ่นจะกระจายความอุ่นทั่วเท้า ต่อมา เปลี่ยนชื่อเป็น “Marude Kotatsu Socks ” หรือ “ถุงเท้าที่ใส่แล้วเหมือนอยู่ในโคทัตสึ” (โต๊ะทำความร้อนแบบญี่ปุ่น) และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายไปยังร้านทั่วไป จากเดิมที่วางเฉพาะในร้านขายถุงเท้า ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 17 เท่าภายใน 1 ปี ปัจจุบัน Okamoto มีการจำหน่ายมากกว่า 700,000 คู่
ที่มา :
https://www.nikkei.com/article/DGXZQOCD161AS0W4A011C2000000/