นักเศรษฐศาสตร์โนเบลแนะนำรัฐบาลฮ่องกงลงทุนในระบบการศึกษาและสาธารณสุขเพื่อกระจายความเสี่ยง

Mr. Joseph Stiglitz ผู้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ แสดงทัศนคติเชิงบวกต่ออนาคตฮ่องกง และมีข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการลงทุน ฮ่องกงควรปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนและนำประโยชน์ของการเป็นประตูทางการค้าสู่จีนเพื่อนำสู่การพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม ฮ่องกงควรให้ความสำคัญการลงทุนด้านการศึกษาและด้านสุขภาพของประชากรฮ่องกง ควรลดบทบาทการพึ่งพาอุตสาหกรรมการเงิน โดยค้นหาปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เกิดการเติบโตและคงความเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญแห่งหนึ่ง         ของโลก

Mr. Joseph Stiglitz ยกย่องความสำเร็จของฮ่องกงในช่วง 56 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่มาเยือนฮ่องกงครั้งแรกมีความรู้สึกภาคภูมิใจในประชากรฮ่องกง พร้อมกล่าวว่าภาคการศึกษาจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในเศรษฐกิจของฮ่องกงต่อไป โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยที่สอนเป็นภาษาอังกฤษจะมีข้อได้เปรียบกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ต้องพึ่งพาผู้มีความรู้และนวัตกรรม การลงทุนด้านสุขภาพซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น

 

Hong Kong’s Financial Secretary จะประกาศแผนการจัดทำงบประมาณของฮ่องกงในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 โดยคาดว่าการขาดดุลที่เพิ่มขึ้นเกิน 100 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง (12.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) สืบเนื่องจากการใช้จ่ายงบประมาณในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด-19

 

จากการคาดการณ์ของบริษัทบัญชียักษ์ใหญ่อย่าง PwC เห็นว่าทุนสำรองทางการคลังของฮ่องกงลดลงเหลือ 724.8 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง ณ วันที่ 31 มีนาคมปีนี้ จากมูลค่า 834.79 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกงในปี 2566

 

นักเศรษฐศาสตร์ Richard Wong Yue-chim กล่าวว่าฮ่องกงจะยังคงเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศ และสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านการให้บริการเชื่อมต่อจีนกับเศรษฐกิจโลก ฮ่องกงมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการ Supply Chain ทั่วโลก
ในขณะที่ทุกฝ่ายต้องเจอปัญหาความเสี่ยงด้านการค้ากับภูมิทัศน์ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงไป ฮ่องกงควรสร้างกลยุทธ์และวิทัศน์สัยทางการค้า “Visionary Strategies” ใหม่ๆ หรือนโยบายดึงดูดผู้ประกอบการจากภายนอกที่มีความรู้เชี่ยวชาญเข้ามาลงทุนในฮ่องกง และการบริหารงบประมาณสำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น

 

จากข้อมูลสถิติคาดการณ์ว่าชาวฮ่องกง 2.74 ล้านคน ไม่รวมผู้ช่วยแม่บ้าน จะมีอายุ 65 ปีขึ้นไปในปี 2589 หรือคิดเป็นร้อยละ 36 ของประชากรทั้งหมด การประมาณการในปี 2560 อยู่ที่ 2.59 ล้านคน หรือร้อยละ 34 ของประชากรทั้งหมด ในขณะที่อัตราว่างงานของฮ่องกงยังคงอยู่ที่ร้อยละ 2.9 ในช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2566 ไม่เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อนหน้า โดยการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวขาเข้าและการบริโภคภายในอย่างต่อเนื่องจะช่วยสนับสนุนด้านแรงงาน

 

ความคิดเห็นของ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองฮ่องกง

เพื่อกระจายความเสี่ยงด้านการค้าระหว่างประเทศ รัฐบาลฮ่องกงเร่งสนับสนุนและสร้างศักยภาพผ่านธุรกิจสมัยใหม่ อาทิ นวัตกรรม เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจัดตั้งศูนย์วิจัยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีชิวิตและสุขภาพ   อีกทั้ง แนวทางสนับสนุนและอำนวยความสะดวกแก่บริษัทที่มีภูมิลำเนาในต่างประเทศเพื่อย้ายถิ่นฐานเข้ามายังฮ่องกง นอกจากนี้ ฮ่องกงเป็นเมืองเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่ในเขต Greater Bay Area ที่มีศักยภาพในการค้าระหว่างมาเก๊าและจีน  ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เกิดการเติบโตและคงความเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญแห่งหนึ่งของโลก

 

 

แหล่งข้อมูล

https://www.scmp.com/news/hong-kong/hong-kong-economy/article/3248929/im-still-somewhat-optimistic-about-hong-kong-nobel-prize-winning-economist-urges-city-diversify

thThai