จีนแก้กฏระเบียบการใช้บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอาง มีผลตั้งแต่ 1 ก.ย. 66

ปัจจุบัน ผู้ผลิตสินค้าส่วนใหญ่ในจีน นิยมใช้บรรจุภัณฑ์เป็นจุดดึงดูดผู้บริโภคและเพิ่มมูลค่าของสินค้า และเนื่องจากจีนเป็นประเทศที่มีการบริโภคมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ทำให้ขยะจากบรรจุภัณฑ์ในจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามข้อมูลของรัฐบาลจีน ระบุว่า ปัจจุบันขยะที่มาจากบรรจุภัณฑ์ของจีนคิดเป็นประมาณ 30-40% ของขยะภายในเมือง เพื่อลดการใช้ทรัพยากรและปริมาณขยะ ซึ่งบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรและสร้างขยะหากใช้เกินความเหมาะสม โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องสำอาง ทั้งนี้หน่วยงานด้านการกำกับดูแลตลาดและหน่วยงานด้านมาตรฐานสินค้าของจีนจึงได้ออกกฎระเบียบแก้ไขกฎระเบียบฉบับเดิมที่ว่าด้วยการจำกัดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มากเกินไปสำหรับสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องสำอาง หน่วยงานกำกับดูแลการตลาดแห่งรัฐของจีนได้แก้ไขและออกมาตรฐานแห่งชาติบังคับ “ข้อกำหนดด้านบรรจุภัณฑ์ที่มากเกินไปสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ด้านอาหารและเครื่องสำอาง” (GB 23350-2021) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กันยายน 2566 โดยมีการกำหนดมาตรฐานบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร 31 หมวด และเครื่องสำอาง 16 หมวด ซึ่งสินค้าที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานใหม่จะไม่ได้รับอนุญาตให้ผลิต จำหน่าย หรือนำเข้าอย่างเด็ดขาด ซึ่งข้อรายละเอียดกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ มีดังนี้

(1) ข้อกำหนดสำหรับจำนวนชั้นบรรจุภัณฑ์ ระบุว่า สินค้าธัญพืชและผลิตภัณฑ์แปรรูปในอาหารไม่ควรมีบรรจุภัณฑ์เกินสามชั้น และอาหารและเครื่องสำอางอื่น ๆ ไม่ควรบรรจุเกินกว่าสี่ชั้น

จีนแก้กฏระเบียบการใช้บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอาง มีผลตั้งแต่ 1 ก.ย. 66

(2) ต้นทุนบรรจุภัณฑ์: ต้นทุนบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด ยกเว้นชั้นแรกของบรรจุภัณฑ์จะต้องไม่เกิน 20% ของราคาขายผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น ขนมไหว้พระจันทร์และบ๊ะจ่างที่มีราคาขายมากกว่า 100 หยวน นอกจากบรรจุภัณฑ์ด้านในสุดแล้ว บรรจุภัณฑ์อื่นๆ จะต้องมีต้นทุนไม่เกิน 15% ของราคาขายผลิตภัณฑ์ และห้ามไม่ให้ขนมไหว้พระจันทร์และบ๊ะจ่างจะต้องไม่ใช้วัสดุโลหะมีค่าและวัสดุไม้มะฮอกกานีมาใช้ทำบรรจุภัณฑ์ รวมถึงขนมไหว้พระจันทร์ไม่ควรบรรจุรวมกับสินค้าอื่นๆ และบ๊ะจ่างไม่ควรบรรจุรวมกับสินค้าที่เกินราคาของบ๊ะจ่าง

จีนแก้กฏระเบียบการใช้บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอาง มีผลตั้งแต่ 1 ก.ย. 66

 

 

 

 

จีนแก้กฏระเบียบการใช้บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอาง มีผลตั้งแต่ 1 ก.ย. 66

(3) ค่าสัมประสิทธิ์พื้นที่จำเป็นในกล่องบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ :ค่าสัมประสิทธิ์พื้นที่จำเป็นในกล่องบรรจุภัณฑ์ที่ไม่รวมบรรจุภัณฑ์ด้านในกับอัตราส่วนต่อพื้นที่บรรจุภัณฑ์ทั้งหมด ซึ่งข้อกำหนดค่าสัมประสิทธิ์พื้นที่จำเป็นในกล่องบรรจุภัณฑ์ในระเบียบ GB 23350-2021 มีดังต่อไปนี้

– ปริมาณสุทธิของผลิตภัณฑ์ด้านในชิ้นเดียวน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 มล. หรือ 1 กรัม ค่าสัมประสิทธิ์พื้นที่จำเป็นของบรรจุภัณฑ์ไม่ควรเกิน 85%
– ปริมาณสุทธิของผลิตภัณฑ์ด้านในชิ้นเดียวมากกว่า 1 มล. หรือ 1 กรัม และน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 มล. หรือ 5 กรัม ค่าสัมประสิทธิ์พื้นที่จำเป็นของบรรจุภัณฑ์ไม่ควรเกิน 70%
– ปริมาณสุทธิของผลิตภัณฑ์ด้านในชิ้นเดียวมากกว่า 5 มล. หรือ 5 กรัม และน้อยกว่าหรือเท่ากับ 15 มล. หรือ 15 กรัม ค่าสัมประสิทธิ์พื้นที่จำเป็นของบรรจุภัณฑ์ไม่ควรเกิน 60%
– ปริมาณสุทธิของผลิตภัณฑ์ด้านในชิ้นเดียวมากกว่า 15 มล. หรือ 15 กรัม และน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 มล. หรือ 30 กรัม ค่าสัมประสิทธิ์พื้นที่จำเป็นของบรรจุภัณฑ์ไม่ควรเกิน 50%
– ปริมาณสุทธิของผลิตภัณฑ์ด้านในชิ้นเดียวมากกว่า 30 มล. หรือ 30 กรัม และน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 มล. หรือ 50 กรัม อัค่าสัมประสิทธิ์พื้นที่จำเป็นของบรรจุภัณฑ์ไม่ควรเกิน 40%
– ปริมาณสุทธิของผลิตภัณฑ์ด้านในชิ้นเดียวมากกว่าหรือเท่ากับ 50 มล. หรือ 50 กรัม ค่าสัมประสิทธิ์พื้นที่จำเป็นของบรรจุภัณฑ์ไม่ควรเกิน 30 %

หมายเหตุ: ตารางนี้ใช้ไม่ได้กับผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์ชั้นเดียว และสำหรับเครื่องสำอางที่ต้องใช้ร่วมกัน ให้อ้างอิงจากผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณสุทธิมากที่สุดเป็นหลัก

โดยสูตรการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์พื้นที่จำเป็นในกล่องบรรจุภัณฑ์ มีดังนี้

จีนแก้กฏระเบียบการใช้บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอาง มีผลตั้งแต่ 1 ก.ย. 66

สูตรคำนวณ:

X —— ค่าสัมประสิทธิ์พื้นที่จำเป็น

Vn —— ขนาดบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ หน่วยลูกบาศก์มิลลิเมตร (mm³)

V0 —— ขนาดบรรจุภัณฑ์ด้านในของผลิตภัณฑ์ หน่วยลูกบาศก์มิลลิเมตร (mm³)

k —— อัตราส่วนช่องว่างในกล่องบรรจุภัณฑ์

จีนแก้กฏระเบียบการใช้บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอาง มีผลตั้งแต่ 1 ก.ย. 66

 

ซึ่งประเภทอาหารและเครื่องสำอางที่มีการกำหนดอัตราส่วนช่องว่างในกล่องบรรจุภัณฑ์ สามารถดูได้จากตารางที่ 2 และตารางที่ 3 ตามลำดับ ดังนี้

ตารางที่ 2 ตารางแสดงอัตราส่วนช่องว่างในกล่องบรรจุภัณฑ์อาหาร

รายการสินค้า

k

ธัญพืชและผลิตภัณฑ์แปรรูป

4.5

น้ำมัน ไขมัน และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสิ่งของดังกล่าว

4.5

เครื่องปรุงรส

5.0

ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์

7.0

ผลิตภัณฑ์นม

4.5

เครื่องดื่ม

5.0

อาหารสำเร็จรูป

9.5

คุกกี้

10.0

อาหารกระป๋อง

2.5

เครื่องดื่มแช่แข็ง

6.0

อาหารแช่แข็ง

5.0

มันฝรั่งและอาหารพอง

20.0

ลูกอม

10.0

ชาและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

13.0

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

13.0

ผลิตภัณฑ์จากผัก

7.0

ผลิตภัณฑ์จากผลไม้

7.0

เมล็ดพืชคั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่ว

5.5

ผลิตภัณฑ์จากไข่

4.5

ผลิตภัณฑ์โกโก้และกาแฟคั่ว

4.5

น้ำตาล

4.5

ผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ

4.5

แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง

3.0

 

ขนมอบ

 

ขนมไหว้พระจันทร์

7.0

ขนมไหว้พระจันทร์

5.0

ขนมอบอื่นๆ

12.0

ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง

5.0
ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง

5.0

อาหารเสริมสุขภาพ

18.0

อาหารทางการแพทย์พิเศษ

3.0

อาหารสำหรับทารก

3.0

อาหารสำหรับผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม

3.0

อาหารอื่น ๆ

10.0

– ค่า k ของผลิตภัณฑ์ที่ต้องทำด้วยเครื่องชง คือ 3.5 เท่าของผลิตภัณฑ์ที่ประเภทเดียวกัน ค่า k ของผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณสุทธิน้อยกว่า 10 กรัมคือ 5 เท่าของผลิตภัณฑ์ที่ประเภทเดียวกัน ค่า k ของผลิตภัณฑ์ที่ใช้บรรจุภัณฑ์สูบอากาศ คือ 2 เท่าของผลิตภัณฑ์ที่ประเภทเดียวกัน
– ค่า k ของผลิตภัณฑ์หมูหยอง คือ 10.0

– ค่า k ของผลิตภัณฑ์นมผง คือ 3.0

– ค่า k ของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแบบผง คือ 15.0

– ค่า k ของผลิตภัณฑ์แบบชง คือ 11.0

– ค่า k ของผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำแข็งแห้งและสารทำความเย็นอื่นๆ ในบรรจุภัณฑ์ คือ 9.0

– ค่า k ของผลิตภัณฑ์จากช็อกโกแลตที่มีลักษณะรูปร่างเหมือนมันฝรั่งทอด คือ15.0

g ค่า k ของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยกเว้นการติดฉลากอายุการเก็บรักษา มีปริมาณการจำหน่ายขั้นต่ำต่อปีน้อยกว่า 10,000 ชิ้น และมีคำว่า “จำนวนจำกัด” และปริมาณการผลิตพิมพ์อยู่บนบรรจุภัณฑ์ คือ 30.0

– ค่า k ของผลิตภัณฑ์จากสาหร่ายทะเลแห้ง คือ 60.0

– ค่า k ของผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองอบกรอบคือ 20.0

– ค่า k ของผลิตภัณฑ์ยาเม็ด แคปซูล ยาผงแกรนูล หรือยาน้ำสำหรับรับประทาน เครื่องดื่มอื่นๆ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คุกกี้ ลูกอม ขนมอบ นมแบบน้ำ (ไม่รวมแคปซูลแบบหยด) เทียบจากหมวดหมู่อาหารทั่วไปที่เกี่ยวข้อง

 

ตารางที่ 2 ตารางแสดงอัตราส่วนช่องว่างในกล่องบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง

 

ลักษณะสินค้า รายการสินค้า

k

 

แบบของเหลวทั่วไป

 

ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและดูแลเส้นผม

9.0

โทนเนอร์

9.0

ผลิตภัณฑ์ย้อมสีผมและดัดผม

9.0

เจล

9.0

แบบครีมโลชั่น

 

การดูแลผิวและการทำความสะอาด

9.0

ผลิตภัณฑ์ดูแลผม

9.0

ผลิตภัณฑ์ย้อมสีผมและดัดผม

9.0

 

แบบผง

แป้งฝุ่น

15.0

แป้งอัดแข็ง

15.0

ผลิตภัณฑ์ย้อมสีผม

8.0

เกลือขัดผิว

5.0

แบบสเปรย์และตัวทำละลายอินทรีย์ สเปรย์

5.0

ตัวทำละลายอินทรีย์

15.0

แบบขี้ผึ้ง แว็กซ์

20.0

แบบยาสีฟัน ยาสีฟัน

5.0

ลักษณะอื่นๆ

12.0

– ค่าสูงสุดของอายไลเนอร์ชนิดน้ำและผลิตภัณฑ์ดูแลผิว คือ 20.0

– กล่องเครื่องสำอางที่ประกอบด้วยแป้งพัฟ บลัชออน อายแชโดว์ และผลิตภัณฑ์มากกว่า 10 รายการ (หมายเลขสีต่างกันนับเป็นหลายผลิตภัณฑ์) คือ 60.0

– ผลิตภัณฑ์เดียวที่มีปริมาณสุทธิน้อยกว่า 0.2 กรัม/มิลลิลิตร คือ 80

– ค่าผลิตภัณฑ์ที่มีก๊าซป้องกัน เช่น ไนโตรเจน คือ 11.0

– ค่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า คือ 15 เท่าของผลิตภัณฑ์ที่ประเภทเดียวกัน

– ค่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้ร่วมกับอุปกรณ์อย่างอื่น คือ 2 เท่าของผลิตภัณฑ์ที่ประเภทเดียวกัน

ซึ่งหากผลิตภัณฑ์ใดๆ ที่กล่าวข้างต้นไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานหนึ่งในสามรายการนี้ บรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์จะถูกระบุว่าเป็นบรรจุภัณฑ์เกินกำหนด สินค้าและบริการที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานไม่อนุญาตให้ผลิต ขาย นำเข้าหรือจัดหาในจีน และหลังจากช่วงเปลี่ยนผ่านการดำเนินการสองปี อาหารและเครื่องสำอางที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานใหม่จะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำซ้ำและขายในตลาดจีนได้ต่อไป

ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจต่อประเทศไทย และแนวทางการปรับตัวของภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการไทย

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอางของจีนมีการพัฒนาอย่างมาก ขณะเดียวกัน การแข่งขันของอุตสาหกรรมเหล่านี้ก็สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สินค้าหลายชนิดต่างออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่หรูหราเพื่อดึงดูดผู้บริโภค ส่งผลให้เกิดปัญหาสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ที่หรูหรามากเกินไปและกลายเป็นความฟุ่มเฟือย รัฐบาลจีนจึงได้มีการออกกฎระเบียบเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้บริโภคสินค้าตามปริมาณที่กำหนด หรือตามที่ระบุไว้ในฉลาก ในบรรจุภัณฑ์สินค้า และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากขยะบรรจุภัณฑ์มากเกินไป เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่งออกสินค้า ทั้งสองประเภทนี้ ควรศึกษารายละเอียดกฎระเบียบนี้ เพื่อปรับกลยุทธ์การผลิตให้สอดคล้องกับข้อกำหนดการใช้บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอางดังกล่าว เพื่อให้การส่งออกสินค้าไทยไปยังจีนได้อย่างราบรื่นต่อไป

ที่มา:

https://www.sxx.gov.cn/zwgk/public/1851/62045281.html

https://www.gov.cn/xinwen/2021-09/03/content_5635105.htm

http://www.heyuan.gov.cn/hysscjdj/attachment/0/45/45615/512885.pdf?eqid=88a54fbc0015307a000000066486c9a4

จัดทำโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองกวางโจว

thThai