ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ สคต. ณ กรุงบูดาเปสต์ วันที่ 12-16 มิถุนายน 2566www.thaitradebudapest.hu / Facebook Fanpage: @ThaiTradeBudapest
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Ana-Maria Antonenco @ Pexels
เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566 สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศโรมาเนีย (Romanian Civil Aeronautical Authority) เปิดใช้งานสนามบินเมืองบราชอฟ (Brașov) ในภูมิภาคทรานซิลเวเนีย (Transylvania) ที่ครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันตกและภาคกลางของประเทศอย่างเป็นทางการ โดยมีเที่ยวบินปฐมฤกษ์เป็นเที่ยวบินจากกรุงบูคาเรสต์สู่เมืองบราชอฟของสายการบิน TAROM ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติโรมาเนีย ได้รับเกียรติจากบุคคลสำคัญทางการเมืองหลายรายเป็นผู้โดยสารกิตติมศักดิ์ในเที่ยวบินนี้ ได้แก่ นายกรัฐมนตรี นาย Nicolae Ciuca ประธานสภามณฑลบราชอฟ นาย Adrian Vestea ประธานสภาแคว้น Covasna นาย Sándor Tamás และนายกเทศมนตรีเมือง Sfântu Gheorghe ในแคว้นทรานซิลเวเนีย นาย Árpád Antal เป็นต้น สนามบินเมืองบราชอฟเป็นสนามบินเชิงพาณิชย์แห่งใหม่ล่าสุดของประเทศ ตั้งอยู่ ณ เมืองกิมบัฟ (Ghimbav) ห่างจากเมืองบราชอฟ 9 กิโลเมตร เพิ่งก่อสร้างเสร็จเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หลังจากเริ่มวางแผนก่อสร้างเมื่อราว 20 ปีที่แล้ว นับเป็นสนามบินลำดับที่ 17 ของโรมาเนีย มีขนาดใหญ่เป็นลำดับ 3 รองจากสนามบินกรุงบูคาเรสต์ และสนามบินเมืองคลูจ-นาโปซ่า (Cluj-Napoca) ซึ่งเป็นเมืองหลักของภูมิภาคทรานซิลเวเนีย ใช้งบประมาณลงทุนก่อสร้าง 140 ล้านยูโร (ประมาณ 5,292 ล้านบาท) ความโดดเด่นของสนามบินเมืองบราชอฟ คืออาคารผู้โดยสารมีขนาดพื้นที่ 11,780 ตารางเมตร มีรันเวย์ความยาว 2.8 กิโลเมตร เพื่อรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ อีกทั้ง คณะผู้บริหารตั้งเป้าหมายว่าจะพัฒนาสนามบินเมืองบราชอฟให้เป็นสนามบิน Smart & Green Airport อย่างแท้จริง ผ่านการใช้เทคโนโลยีการเดินอากาศใหม่ล่าสุด เช่น ระบบควบคุมจราจรทางอากาศในเขตสนามบินระยะไกลโดยใช้ระบบอัตโนมัติ (Remote Virtual Tower Control System) ที่เชื่อมกับศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศ ณ สนามบินเมืองอาราด (Arad) นับเป็นสนามบินแห่งแรกๆ ในภูมิภาคยุโรปตะวันกลางและตะวันออกที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและลดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ คณะผู้บริหารยังให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Energy Efficient) เช่น การผลิตพลังงานไฟฟ้าในระบบกริดเพื่อใช้เองในสนามบินอีกด้วย [caption id="attachment_127647" align="aligncenter" width="2048"]รูปภาพที่ 1: สนามบินเมืองบราชอฟ ที่มาของรูปภาพ: Popp & Asociatii
สายการบินที่ประกาศเส้นทางบินไป-กลับ จากสนามบินเมืองบราชอฟในปีนี้ ได้แก่รูปภาพที่ 2: แผนที่ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของโรมาเนีย และประเทศเพื่อนบ้านของโรมาเนีย ที่มาของรูปภาพ: World Trade Atlas
ด้านการเชื่อมต่อกับระบบคมนาคม สนามบินเมืองบราชอฟตั้งอยู่ใกล้ทางหลวงโรมาเนียหมายเลข A3 ที่กำลังก่อสร้างอยู่ เมื่อแล้วเสร็จ จะอำนวยความสะดวกในการเดินทางตรงจากกรุงบูคาเรสต์ทางภาคใต้ ผ่านภูมิภาคทรานซิลเวเนีย ไปยังชายแดนโรมาเนีย-ฮังการีและเข้าเส้นทางทางหลวงฮังการีหมายเลข M4 ได้ นอกจากรถยนต์ส่วนบุคคลแล้ว ผู้โดยสารสามารถเดินทางจากใจกลางเมืองบราชอฟไปยังสนามบินโดยใช้รถโดยสาร Airport Shuttle Bus สาย A1 ซึ่งในปัจจุบันให้บริการวันละ 13 เที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 15-20 นาที ตามกำหนดเวลาเดินทางของเที่ยวบินในปัจจุบัน โดยรองนายกเทศมนตรีเมืองบราชอฟเปิดเผยว่า จะพิจารณาขยายความถี่การเดินรถเมื่อมีเที่ยวบินมาลงที่สนามบินเมืองบราชอฟมากขึ้น นอกจากนี้ การรถไฟโรมาเนียกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างเส้นทางรางรถไฟจากสถานีรถไฟกลางเมืองบราชอฟสู่สนามบิน ความยาว 8 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุนก่อสร้างรางรถไฟ และปรับปรุงระบบการเดินรถไฟอยู่ที่ประมาณ 300 ล้านยูโร (ประมาณ 11,343 ล้านบาท) โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ 150 ล้านยูโร (ประมาณ 5,670 ล้านบาท) จากรัฐบาลโรมาเนีย ด้านแผนการพัฒนาสนามบินในอนาคต ผู้บริหารสนามบิน เปิดเผยว่า คาดว่าในปีแรก จะมีจำนวนผู้โดยสารราว 3 แสนคน และตั้งเป้าหมายว่าจำนวนผู้โดยสารที่ใช้งานสนามบินจะถึง 1 ล้านคนภายใน 3 ปีข้างหน้า และวางแผนการก่อสร้างเฟสที่สองครอบคลุมการสร้างอาคารผู้โดยสารแห่งที่สองในช่วงปี 2570-2576รูปภาพที่ 3 : ปราสาท Peleș ที่มาของรูปภาพ: Mika @ Pexels
[caption id="" align="aligncenter" width="1500"]รูปภาพที่ 4: ปราสาท Bran ที่มาของข้อมูล: Iulian Patrascu @ Pexels
[caption id="" align="aligncenter" width="1467"]รูปภาพที่ 5: ระเบียงคมนาคมยุโรปเส้นทางแม่น้ำไรน์และแม่น้ำดานูบ (Rhine-Danube Corridor หรือ TEN-T Corridor VII) ที่มาของรูปภาพ: European Commission – Directorate General for Mobility and Transport
โรมาเนียตั้งเป้าหมายสู่การเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์นานาชาติแห่งใหม่ในภูมิภาคยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกส่วนที่ติดกับทะเลดำ มีศักยภาพในการอำนวยความสะดวกด้านการค้ากับภูมิภาคยุโรปตะวันออกและคอเคซัสใต้ (ตุรกี จอร์เจีย อาร์มีเนีย อาเซอร์ไบจาน) อย่างไรก็ดี เนื่องจากระบบโครงสร้างพื้นฐานส่วนอื่นๆ เช่น ระบบโครงข่ายถนนและเส้นทางรถไฟ ยังต้องพัฒนาอยู่อีกมาก โรมาเนียจึงกำลังเร่งก่อสร้างทางด่วนเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นแนวเหนือ-ใต้หรือตะวันออก-ตะวันตก โดยเฉพาะโครงข่ายมอเตอร์เวย์ที่จะตัดผ่านเทือกเขาที่ทอดตัวเป็นแนวยาวจากทางเหนือของประเทศลงมาทางตอนกลางและตะวันตก กั้นภูมิภาคทรานซิลเวเนียออกจากภูมิภาคอื่นๆ ในประเทศ ปัจจัยนี้จึงทำให้การเดินทางและการขนส่งสินค้า/บริการต่างๆ ข้ามเมืองยังคงเป็นไปอย่างล่าช้า โดยเฉพาะจากกรุงบูคาเรสต์ ไปยังภูมิภาคทรานซิลเวเนีย นอกจากนี้ เนื่องจากภูมิประเทศภายในประเทศโรมาเนียเป็นเทือกเขาสลับหุบเขา เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมทางบกมายาวนาน จึงทำให้การพัฒนาด้านการบินมีความสำคัญมากขึ้น ส่วนประโยชน์ด้านการคมนาคมและการท่องเที่ยว เมื่อเปิดใช้สนามบินเมืองบราชอฟเต็มรูปแบบแล้ว จะทำให้เมืองบราชอฟและภูมิภาคทรานซิลเวเนียเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวมากขึ้น เพราะการเดินทางสะดวกมากขึ้น เป็นประโยชน์ต่อการสัญจรของพลเมือง EU และนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่ไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ากรุงบูคาเรสต์ หรือบินไปลงสนามบินอื่นๆ แล้วเดินทางทางบกต่อเข้ามาเมืองบราชอฟ อีกทั้ง จะช่วยลดช่องว่างของโครงสร้างพื้นฐานระหว่างภูมิภาคยุโรปกลาง-ตะวันออกกับยุโรปตะวันตก ปัจจุบัน โรมาเนียกับไทยยังคงไม่มีเที่ยวบินตรงสู่กันและกัน นับเป็นหนึ่งในอุปสรรคต่อทั้งการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว เนื่องจากผู้ที่ประสงค์จะเดินทางจากไทยไปโรมาเนีย และจากโรมาเนียไปไทย หรือแม้แต่ส่งออก/นำเข้าสินค้าจากแต่ละฝ่าย ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมากกว่าการเดินทาง/ขนส่งสินค้าไปยังประเทศที่มีระบบการคมนาคมที่พัฒนาพร้อมแล้ว สคต. ณ กรุงบูดาเปสต์ จึงเห็นว่าการที่รัฐบาลโรมาเนียลงทุนเพิ่มฐานการบินใหม่ในประเทศนั้น ถือเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับนักธุรกิจไทย เพราะการพัฒนาการศักยภาพการขนส่งของโรมาเนียที่จะช่วยร่นระยะเวลาขนส่งสินค้าทางอากาศจากทวีปเอเชียได้ ทำให้ผู้ประกอบการไทยที่ต้องการสำรวจตลาดในโรมาเนีย มีช่องทางการเดินทางที่สะดวกมากขึ้น สามารถเข้าร่วมงานแสดงสินค้า/บริการที่สำคัญในภูมิภาค และพบปะผู้นำเข้า ผู้จัดจำหน่าย รวมถึงผู้ให้บริการขนส่งสินค้าในท้องถิ่นได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะวัตถุดิบการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าอาหารทะเล อัญมณี และผักผลไม้ที่มีอายุบนชั้นวาง (Shelf Life) จำกัด ที่เป็นที่ต้องการของตลาดโรมาเนีย ส่วนนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ต้องการเดินทางจากเมืองหลักในภูมิภาคยุโรปตะวันตกไปเที่ยวภูมิภาคทรานซิลเวเนียก็จะสามารถเดินทางได้สะดวกยิ่งขึ้น ไม่จำเป็นต้องเดินทางผ่านสนามบินกรุงบูคาเรสต์ ปัจจุบัน โรมาเนียเป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป จึงได้สิทธิประโยชน์ในการเป็นสมาชิกสหภาพศุลกากรและตลาดร่วมของสหภาพฯ ฉะนั้น การส่งออกสินค้าไปโรมาเนียและเข้าตลาดโรมาเนียจะช่วยปูทางให้การเข้าตลาดประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรปสะดวกยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม โรมาเนียยังไม่ได้รับอนุมัติให้เข้าเป็นสมาชิกเขตเชงเก้น (Schengen Area) ทำให้เป็นอุปสรรคในการเดินทางข้ามชายแดน เพื่อขนย้ายสินค้า การพัฒนาภาคบริการ การท่องเที่ยว และการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต รัฐบาลโรมาเนียจึงผลักดันให้วาระการเข้าเป็นสมาชิกเขตเชงเก้นเข้าที่ประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงในสหภาพยุโรป[1] อย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องอาศัยฉันทามติจากประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทั้งนี้ สคต. ณ กรุงบูดาเปสต์จะติดตามการพิจารณารับสมาชิกเขตเชงเก้น (โรมาเนียและบัลแกเรีย) อย่างใกล้ชิด และรายงานความเคลื่อนไหวให้ทราบต่อไป