- ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจสำคัญ
1.1 ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer price index: CPI) ในเดือนมีนาคม 2568 หดตัวลงร้อยละ 0.03 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2568 และขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.13 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2567 ทั้งนี้ CPI เฉลี่ยในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2568 (มกราคม – มีนาคม) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.22 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567
1.2 ดัชนีภาวะเงินเฟ้อ ในเดือนมีนาคม 2568 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2568 และขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2567 ทั้งนี้ ดัชนีภาวะเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2568 (มกราคม – มีนาคม) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.01 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567
1.3 ดัชนีราคาทองคำ ในเดือนมีนาคม 2568 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.68 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2568 และขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.68 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2567 ทั้งนี้ ดัชนีราคาทองคำเฉลี่ยในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2568 (มกราคม – มีนาคม) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.45 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567
1.4 ดัชนีมูลค่าเงินเหรียญสหรัฐ ในเดือนมีนาคม 2568 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.77 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2568 และขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2567 ทั้งนี้ ดัชนีมูลค่าเงินเหรียญสหรัฐเฉลี่ยในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2568 (มกราคม – มีนาคม) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.63 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567
- ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Products: GDP)
2.1 GDP ของเวียดนาม ในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2568 (มกราคม – มีนาคม) คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.93 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 ซึ่งนับเป็นอัตราการเติบโตสูงที่สุดในช่วงไตรมาสแรกของแต่ละปี นับตั้งแต่ปี 2563-2568 การเติบโตครั้งนี้เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 6.5 – 7.0 ตามมติหมายเลข 01/NQ-CP อย่างไรก็ตาม ยังไม่ถึงเป้าหมายสูงสุดที่รัฐบาลคาดหวังไว้ที่ร้อยละ 8.0 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังมีความผันผวน และ
ความไม่แน่นอนสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ภาคบริการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.70 ภาคอุตสาหกรรมและก่อสร้าง ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.42 และภาคเกษตรกรรม ป่าไม้ และการประมง ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.74
2.2 โครงสร้างทางเศรษฐกิจของเวียดนามในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2568 (มกราคม – มีนาคม) ประกอบด้วย ภาคบริการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.44 ภาคอุตสาหกรรมและก่อสร้าง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36.31 ภาคการเกษตร การป่าไม้ และประมง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.56 และภาษีสินค้าหักด้วยเงินอุดหนุนสินค้า คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ69 ตามลำดับ
2.3 การใช้จ่าย GDP ของเวียดนามในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2568 (มกราคม – มีนาคม) พบว่า การนำเข้าสินค้าและบริการ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.45 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 การส่งออกสินค้าและบริการ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 71 การสะสมสินทรัพย์ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.24 และการบริโภคขั้นสุดท้ายขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.45
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของเวียดนามในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568
ม.ค. – มี.ค. 2568
(พันล้านเวียดนามด่ง) |
โครงสร้าง (%) | % การเปลี่ยนแปลง
2567/2568 |
|
รวม | 2,809,099 | 100.00 | 6.93 |
ภาคการเกษตร การป่าไม้ และการประมง | 324,685 | 11.56 | 3.74 |
การเกษตร | 251,495 | 8.95 | 3.53 |
การป่าไม้ | 12,092 | 0.43 | 6.67 |
การประมง | 61,098 | 2.17 | 3.98 |
ภาคอุตสาหกรรมและก่อสร้าง | 1,020,031 | 36.31 | 7.42 |
อุตสาหกรรม | 883,084 | 31.44 | 7.32 |
การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน | 70,524 | 2.51 | -5.76 |
การผลิตสินค้า | 666,116 | 23.71 | 9.28 |
การผลิตและการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า น้ำประปา ก๊าซ และเครื่องปรับอากาศ | 132,840 | 4.73 | 4.60 |
การจัดหาน้ำ การจัดการน้ำเสียและของเสียรวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง | 13,604 | 0.48 | 8.81 |
การก่อสร้าง | 136,947 | 4.88 | 7.99 |
ภาคบริการ | 1,220,270 | 43.44 | 7.70 |
การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ | 297,602 | 10.59 | 7.47 |
การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า | 155,722 | 5.54 | 9.90 |
ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร | 80,302 | 2.86 | 9.31 |
ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร | 96,900 | 3.45 | 6.66 |
กิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย | 134,008 | 4.77 | 6.83 |
กิจกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ | 94,428 | 3.36 | 3.66 |
วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ | 54,351 | 1.93 | 6.10 |
กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน | 38,577 | 1.37 | 12.57 |
การบริหารราชการ การป้องกันประเทศและ การประกันสังคมภาคบังคับ |
49,566 | 1.76 | 9.65 |
การศึกษา และการฝึกอบรม | 103,816 | 3.70 | 9.28 |
กิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ | 71,265 | 2.54 | 3.56 |
ศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ | 18,803 | 0.67 | 9.22 |
กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ | 21,170 | 0.75 | 8.79 |
กิจกรรมการจ้างงานในครัวเรือน กิจกรรมการผลิตสินค้าและบริการที่ทำขึ้นเองเพื่อใช้ในครัวเรือน ซึ่งไม่สามารถจำแนกกิจกรรมได้อย่างชัดเจน | 3,761 | 0.13 | 6.79 |
ภาษีสินค้าลดเงินอุดหนุนสินค้า | 244,113 | 8.69 | 4.99 |
ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (General Statistics Office of Vietnam: GSO)
- ภาคการเกษตร การป่าไม้ และประมง
ในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2568 (มกราคม – มีนาคม) การผลิตภาคเกษตรกรรมของเวียดนามยังคงเติบโตอย่างมั่นคง โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญคือ สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยและการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผลผลิตจากพืชยืนต้นอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ขณะเดียวกันการเลี้ยงสัตว์มีพัฒนาการที่ดีโดยสามารถควบคุมโรคระบาดได้อย่างมีประสิทธิผล ส่วนภาคป่าไม้มีการส่งเสริมการปลูกป่าใหม่และปริมาณไม้ที่สามารถเก็บเกี่ยวได้เพิ่มสูงขึ้น สำหรับภาคการประมง ผลผลิตจากการทำประมงเพิ่มขึ้น เนื่องจากการส่งเสริมการทำฟาร์มแบบเข้มข้นและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่มากขึ้น
3.1 ภาคการเกษตร
1. ข้าว พื้นที่เพาะปลูกข้าวของเวียดนามในช่วงฤดูหนาว 2567 – ฤดูใบไม้ผลิ 2568 มีจำนวนรวม 2.95 ล้านเฮกตาร์ เพิ่มขึ้น 17,200 เฮกตาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566-2567 โดยเป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าวในภาคเหนือจำนวน 1.03 ล้านเฮกตาร์ ลดลง 7,600 เฮกตาร์ ขณะที่ภาคใต้มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวจำนวน 1.92 ล้านเฮกตาร์ เพิ่มขึ้น 24,800 เฮกตาร์ โดยในเขตพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงมีพื้นที่เพาะปลูกถึง 1.51 ล้านเฮกตาร์ เพิ่มขึ้น 20,700 เฮกตาร์ การเพิ่มขึ้นของพื้นที่เพาะปลูกข้าวในภาคใต้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกข้าวในช่วงฤดูใบไม้ร่วง-ฤดูหนาว 2567 มาเพาะปลูกในช่วงฤดูนี้ โดยเฉพาะบางจังหวัดที่มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกอย่างมากเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เช่น จังหวัดลองอาน (Long An) มีพื้นที่เพาะปลูก 242,900 เฮกตาร์ เพิ่มขึ้น 3,900 เฮกตาร์ จังหวัดเบ๊นแจ (Ben Tre) มีพื้นที่ 7,700 เฮกตาร์ เพิ่มขึ้น 6,900 เฮกตาร์ และจังหวัดบากเลียว (Bac Lieu) มีพื้นที่ 58,200 เฮกตาร์ เพิ่มขึ้น 13,200 เฮกตาร์
สำหรับพื้นที่ภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ได้เริ่มเก็บเกี่ยวข้าวไปแล้วจำนวน 1.06 ล้านเฮกตาร์ คิดเป็นร้อยละ 70.3 ของพื้นที่เพาะปลูก และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.3 โดยผลผลิตข้าว อยู่ที่ 5.27 ตันต่อเฮกตาร์ ลดลง 0.06 ตันต่อเฮกตาร์ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากฝนที่ตกผิดฤดูกาลในช่วงที่ต้นข้าวออกดอก ทั้งนี้ ผลผลิตข้าวคาดว่าจะอยู่ที่ 1.0 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 35,400 ตัน
2. ไม้ยืนต้น
พื้นที่เพาะปลูกไม้ยืนต้นของเวียดนามในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2568 (มกราคม – มีนาคม) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ดังนี้
- พืชผลไม้ ผลผลิตพืชผลไม้ในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2568 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2567 เนื่องจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกและการเพิ่มขึ้นของผลผลิตต่อไร่ นอกจากนี้ เกษตรกรยังให้ความสำคัญกับการลงทุน การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมามาประยุกต์ใช้ รวมถึงการเลือกใช้พันธุ์ไม้ผลที่ให้ผลผลิตสูง และรูปลักษณ์ของผลผลิตสวยงาม ตอบสนองได้ทั้งความต้องการการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก โดยผลผลิตพืชผลไม้สำคัญ ประกอบด้วย ผลผลิตทุเรียนจำนวน 162,400 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 ผลผลิตกล้วยจำนวน 708,900 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 ผลผลิตมะม่วงจำนวน 194,200 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ผลผลิตส้มจำนวน 336,100 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ผลผลิตส้มโอจำนวน 161,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 และผลผลิตแก้วมังกรจำนวน 330,900 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1
2. พืชอุตสาหกรรม เนื่องมาจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเพิ่มการลงทุนและดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผลผลิตพืชยืนต้นหลายชนิด เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2567 ได้แก่ ผลผลิตมะพร้าว 546,700 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ผลผลิตพริกไทยอยู่ที่ 145,600 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ผลผลิตปลูกชา 178,300 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 และผลผลิตยางพาราอยู่ที่ 137,700 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7
3. พืชผลประจำปี ข้อมูล ณ วันที่ 20 มีนาคม 2568 เวียดนามมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดจำนวน 323,000 เฮกตาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 พื้นที่เพาะปลูกมันเทศจำนวน 42,500 เฮกตาร์ ลดลงร้อยละ 6.4 เฮกตาร์ พื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลืองจำนวน 8,300 เฮกตาร์ ลดลงร้อยละ 3.2 พื้นที่เพาะปลูกถั่วลิสงจำนวน 95,100 เฮกตาร์ ลดลงร้อยละ 1.8 และพื้นที่เพาะปลูกผักและถั่วต่าง ๆ จำนวน 0.57 ล้านเฮกตาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ทั้งนี้ พื้นที่ปลูกถั่วลิสง มันเทศและถั่วเหลืองลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 เนื่องจากให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจไม่คุ้มค่าเท่าที่ควร
4. ปศุสัตว์ ในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2568 ปริมาณการเลี้ยงกระบือและโคมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจไม่สูงและพื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์ลดลง โดยจํานวนกระบือลดลงร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 จํานวนโคลดลงร้อยละ 0.1 ในขณะที่ การเลี้ยงสุกรและสัตว์ปีกยังคงเติบโตได้ดี เนื่องจากสามารถควบคุมโรคระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งราคาจำหน่ายสุกรมีชีวิตยังปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้การผลิตมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการลดบทบาทของเกษตรกรรายย่อย และส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แบบระบบปิด โดยบริษัทหรือฟาร์มขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ดีกว่า โดยจํานวนสุกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 และจํานวนสัตว์ปีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 อย่างไรก็ตาม เกษตรกรยังจำเป็นต้องติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องควรให้ข้อมูลอย่างทันท่วงที ควบคุมสถานการณ์การเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ และดำเนินการตามกฎหมายที่ห้ามเลี้ยงสัตว์ในเขตเมือง เขตเทศบาล และชุมชนที่อยู่อาศัย เพื่อรักษาความปลอดภัยด้านสุขอนามัยของอาหารและสิ่งแวดล้อม
3.2 ภาคการป่าไม้
ในเดือนมีนาคม 2568 มีพื้นที่ป่าที่เพิ่งปลูกใหม่ทั่วประเทศประมาณ 24,500 เฮกตาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 โดยผลผลิตไม้ที่ได้รับการแปรรูปมีจํานวน 1.68 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 และมีพื้นที่ป่าที่เสียหายประมาณ 69.2 เฮกตาร์ ลดลงร้อยละ 57.7 ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2568 (มกราคม – มีนาคม) คาดว่าจะมีพื้นที่ป่าที่เพิ่งปลูกใหม่ประมาณ 45,600 เฮกตาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 ผลผลิตไม้ที่ได้รับการแปรรูปมีจํานวน 4.35 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 และมีพื้นที่ป่าที่เสียหายประมาณ 216.0 เฮกตาร์ ลดลงร้อยละ 14.4
3.3 ภาคการประมง
ในเดือนมีนาคม 2568 ปริมาณผลผลิตจากภาคประมงทั่วประเทศอยู่ที่ประมาณ 750,500 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 ประกอบด้วยปลาจำนวน 558,100 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 กุ้งจำนวน 77,300 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 และสัตว์น้ำอื่น ๆ จำนวน 115,100 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 สำหรับผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอยู่ที่ประมาณ 421,400 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 ประกอบด้วยปลาจำนวน 306,400 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 กุ้งจำนวน 65,200 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 และสัตว์น้ำอื่น ๆ จำนวน 49,800 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ขณะที่ผลผลิตจากการทำประมงธรรมชาติอยู่ที่ประมาณ 329,100 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ประกอบด้วยปลาจำนวน 251,700 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 กุ้งจำนวน 12,100 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 และสัตว์น้ำอื่น ๆ จำนวน 65,300 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2568 (มกราคม – มีนาคม) ปริมาณผลผลิตจากภาคการประมงคาดว่าจะมีปริมาณ 1.99 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 ประกอบด้วยปลาจำนวน 1.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 กุ้งจำนวน 202,400 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 และสัตว์น้ำอื่น ๆ จำนวน 310,700 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5
- ภาคอุตสาหกรรม
4.1 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2568 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2568 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2568 (มกราคม – มีนาคม) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 โดยอุตสาหกรรมน้ำประปาและการบำบัดของเสียเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 อุตสาหกรรมแปรรูปและการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 อุตสาหกรรมการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 และอุตสาหกรรมเหมืองแร่ลดลงร้อยละ 4.7
4.2 ดัชนีการบริโภคของอุตสาหกรรมแปรรูปและการผลิตในเดือนมีนาคม 2568 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2568 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 ทั้งนี้ ดัชนีการบริโภคของอุตสาหกรรมแปรรูปและการผลิตในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2568 (มกราคม – มีนาคม) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567
4.3 ดัชนีสินค้าคงคลังของอุตสาหกรรมแปรรูปและการผลิตในเดือนมีนาคม 2568 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2568 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 อัตราสินค้าคงคลังโดยเฉลี่ยของอุตสาหกรรมแปรรูปและการผลิตในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2568 (มกราคม – มีนาคม) อยู่ที่ร้อยละ 90.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567
4.4 จำนวนแรงงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรม ณ วันที่ 1 มีนาคม 2568 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2568 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเวียดนามในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568
หน่วย: %
A.พ. 2568 เทียบกับ A.พ. 2567 |
มี.ค. 2568 เทียบกับ A.พ. 2568 |
มี.ค. 2568 เทียบกับ มี.ค. 2567 |
ม.ค. – มี.ค. 2568 เทียบกับ ม.ค. – มี.ค. 2567 |
|
รวม | 117.6 | 112.0 | 108.6 | 107.8 |
การทำเหมืองแร่และเหมือง | 103.1 | 114.0 | 96.1 | 95.3 |
ถ่านหินและลิกไนต์ | 134.4 | 103.5 | 99.4 | 103.8 |
น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ | 88.6 | 122.1 | 94.7 | 90.4 |
แร่โลหะ | 126.7 | 99.6 | 99.6 | 105.6 |
การทำเหมืองแร่อื่นๆ | 119.6 | 112.5 | 102.6 | 102.8 |
กิจกรรมบริการที่สนับสนุนการทำเหมืองแร่ | 92.1 | 106.4 | 82.9 | 89.1 |
การผลิตสินค้า | 119.7 | 111.1 | 110.2 | 109.5 |
สินค้าอาหาร | 117.9 | 107.9 | 110.3 | 108.6 |
เครื่องดื่ม | 107.4 | 120.7 | 100.1 | 99.3 |
ยาสูบ | 117.4 | 110.4 | 99.7 | 99.6 |
สิ่งทอ | 126.3 | 109.8 | 109.2 | 109.9 |
เสื้อผ้า | 125.1 | 115.4 | 116.8 | 114.6 |
หนังและสินค้าที่เกี่ยวข้อง | 135.9 | 106.1 | 115.1 | 118.1 |
การแปรรูปไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ยกเว้นเฟอร์นิเจอร์ และการผลิตผลิตภัณฑ์หัตถกรรม | 142.3 | 115.3 | 105.0 | 111.0 |
กระดาษและผลิตภัณฑ์จากกระดาษ | 126.9 | 106.6 | 107.8 | 106.7 |
การพิมพ์และการทำสำเนาสื่อบันทึก | 123.2 | 105.1 | 102.8 | 103.9 |
ผลิตภัณฑ์ถ่านโค้กและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม | 97.3 | 104.6 | 130.6 | 106.1 |
เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี | 116.0 | 107.1 | 107.0 | 103.9 |
ยาและผลิตภัณฑ์ทางพฤกษศาสตร์ | 132.6 | 105.0 | 107.6 | 100.8 |
ผลิตภัณฑ์จากยางพาราและพลาสติก | 136.1 | 112.7 | 112.4 | 112.7 |
ผลิตภัณฑ์แร่โลหะอื่นๆ | 118.3 | 125.8 | 101.4 | 104.8 |
โลหะพื้นฐาน | 102.5 | 108.3 | 103.3 | 100.9 |
ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ (ยกเว้นเครื่องจักรและอุปกรณ์) | 115.1 | 107.7 | 108.6 | 108.4 |
คอมพิวเตอร์และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ | 116.9 | 115.3 | 111.2 | 110.6 |
อุปกรณ์ไฟฟ้า | 114.4 | 104.9 | 96.2 | 98.9 |
เครื่องจักรและอุปกรณ์อื่นๆ | 129.7 | 107.5 | 111.3 | 108.4 |
ยานยนต์ | 159.3 | 113.6 | 118.4 | 136.1 |
ยานพาหนะการขนส่ง ชิ้นส่วน อุปกรณ์และส่วนประกอบ | 135.2 | 100.1 | 109.7 | 111.8 |
เฟอร์นิเจอร์ | 127.5 | 111.0 | 109.6 | 112.9 |
การผลิตสินค้าอื่นๆ | 124.6 | 108.1 | 107.4 | 107.1 |
ซ่อม บำรุง รักษา และติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ | 137.0 | 95.4 | 111.4 | 112.8 |
การผลิตและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า | 112.0 | 120.6 | 106.7 | 104.6 |
การผลิตน้ำประปาและการกำจัดของเสีย | 124.1 | 97.4 | 109.2 | 111.6 |
ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (General Statistics Office of Vietnam: GSO)
- การดำเนินธุรกิจ
5.1 สถานการณ์การจดทะเบียนธุรกิจในเดือนมีนาคม 2568 มีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ จำนวน 15,619 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.2 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2568 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2567 โดยมีทุนจดทะเบียนมูลค่า 126,304 ล้านเวียดนามด่ง หรือประมาณ 4,953 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2568 และลดลงร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2567 ทั้งนี้ มีธุรกิจที่กลับมาดำเนินการใหม่ จำนวน 9,122 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 202.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2567 ธุรกิจที่จดทะเบียนขอหยุดดำเนินการชั่วคราว จำนวน 4,392 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ธุรกิจที่หยุดดำเนินการรอการชำระบัญชี จำนวน 4,899 แห่ง ลดลงร้อยละ 1.6 และธุรกิจที่ปิดกิจการ จำนวน 2,137 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.4
ในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2568 (มกราคม – มีนาคม) มีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ จำนวน 36,400 แห่ง ลดลงร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2567 โดยมีทุนจดทะเบียนมูลค่า 356,752 ล้านเวียดนามด่ง หรือประมาณ 13,990 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2567 ทั้งนี้ มีธุรกิจที่กลับมาดำเนินการใหม่ จำนวน 36,543 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.8 ธุรกิจที่จดทะเบียนขอหยุดดำเนินการชั่วคราว จำนวน 61,444 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 ธุรกิจที่หยุดดำเนินการรอการชำระบัญชี จำนวน 11,474 แห่ง ลดลงร้อยละ 26.1 และธุรกิจที่ปิดกิจการ จำนวน 5,895 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0
5.2 แนวโน้มธุรกิจขององค์กร ผลการสำรวจแนวโน้มธุรกิจขององค์กรในอุตสาหกรรมแปรรูปและการผลิตในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2568 พบว่า บริษัทเวียดนามกว่าร้อยละ 24.1 มีสถานการณ์การค้าและการผลิตในไตรมาสที่ 1 ดีขึ้นกว่าไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 บริษัทเวียดนามร้อยละ 47.1 มีสถานการณ์การผลิตและธุรกิจที่มีเสถียรภาพ และบริษัทเวียดนามร้อยละ 28.8 กำลังเผชิญกับความยากลำบาก ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2568 บริษัทเวียดนามร้อยละ 45.8 คาดว่า สถานการณ์การค้าและการผลิตจะดีขึ้นกว่าไตรมาสที่ 1 บริษัทเวียดนามร้อยละ 39.2 เชื่อว่าสถานการณ์การผลิตและธุรกิจจะมีเสถียรภาพ และบริษัทเวียดนามร้อยละ 15.0 คาดการณ์ว่าสถานการณ์จะยากลำบากมากขึ้น
- ภาคการลงทุน
6.1 การลงทุนของภาครัฐ ในเดือนมีนาคม 2568 มีการลงทุนจากภาครัฐ มูลค่า 43.9 ล้านล้านเวียดนามด่ง หรือประมาณ 1,724 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2567 ส่วนในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2568 (มกราคม – มีนาคม) เวียดนามมีการลงทุนจากภาครัฐมูลค่าประมาณ 116,876 ล้านเวียดนามด่ง หรือประมาณ 4,583 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567
6.2 ต่างประเทศเข้ามาลงทุนในเวียดนาม
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ดำเนินการในเวียดนามในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2568 (มกราคม – มีนาคม) มีมูลค่า 4,960 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 ในจำนวนนี้ อุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปมีมูลค่าการลงทุน 4,050 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 81.7 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีมูลค่า 387.7 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 7.8 การผลิตและการจำหน่ายไฟฟ้า, ก๊าซ, น้ำร้อน, ไอน้ำ และเครื่องปรับอากาศมีมูลค่า 193.3 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 3.9
FDI ในเวียดนามจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 มีมูลค่า 10,980 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 โดย FDI ที่ลงทะเบียนใหม่จำนวน 850 โครงการ มีมูลค่าการลงทุนรวม 4,330 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 31.5 แง่ของประเทศผู้ลงทุน สิงคโปร์เป็นนักลงทุนที่ใหญ่ที่สุดด้วยมูลค่าการลงทุน 1,320 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 30.5 ของมูลค่า FDI ที่ลงทะเบียนใหม่ รองลงมาคือ จีน 1,230 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 28.5 และไต้หวัน 368.1 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 8.5 ทั้งนี้ ไทยเป็นตลาดลงทุนสำคัญลำดับที่ 12 มูลค่า 36.5 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ FDI ที่ปรับเพิ่มมูลค่าการลงทุน มีจำนวน 401 โครงการเพิ่มทุนการลงทุนรวม 5,160 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 5 เท่า และ FDI ที่ซื้อหุ้นและเพิ่มทุนในบริษัทของเวียดนามมีจำนวน 810 โครงการ มีมูลค่าการลงทุนรวม 1,490 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 83.7
FDI โครงการใหม่ที่ได้รับอนุญาตในเวียดนามตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2568
โครงการใหม่
(จำนวน) |
มูลค่าของโครงการใหม่
(ล้านเหรียญสหรัฐ) |
มูลค่าของโครงการที่ปรับขึ้นมูลค่าลงทุน
(ล้านเหรียญสหรัฐ) |
|
รวม | 850 | 4,333.3 | 5,155.9 |
จังหวัดที่ได้รับการลงทุน | |||
Bac Ninh | 66 | 517.7 | 1,367.9 |
Hai Phong | 44 | 500.1 | 58.9 |
Ho Chi Minh City | 333 | 421.8 | 334.0 |
Ha Nam | 17 | 417.1 | 233.3 |
Dong Nai | 31 | 413.5 | 836.0 |
Ba Ria – Vung Tau | 11 | 317.4 | 535.2 |
Tay Ninh | 8 | 263.6 | 69.2 |
Hung Yen | 20 | 141.7 | 49.1 |
Tuyen Quang | 2 | 135.3 | – |
Binh Duong | 70 | 127.3 | 8.6 |
Thai Binh | 16 | 127.1 | 9.3 |
Nam Dinh | 7 | 121.2 | 90.8 |
Binh Phuoc | 10 | 109.3 | 10.4 |
Quang Ninh | 5 | 92.9 | 22.5 |
Long An | 32 | 85.8 | 71.7 |
Tien Giang | 4 | 55.7 | – |
Nghe An | 3 | 55.0 | -71.9 |
Quang Nam | 7 | 52.2 | – |
Hai Duong | 10 | 50.0 | 47.5 |
Quang Ngai | 1 | 45.0 | 19.9 |
จังหวัดอื่นๆ | 153 | 283.4 | 1,463.5 |
ประเทศที่เข้าลงทุน | |||
Singapore | 121 | 1,321.0 | 1,007.1 |
China | 251 | 1,233.6 | 188.8 |
Taiwan | 44 | 368.1 | 254.7 |
Japan | 77 | 341.8 | 721.3 |
Special Administration Hong Kong | 95 | 310.2 | 162.8 |
Virgin Islands (UK) | 9 | 190.7 | 20.6 |
The United States | 29 | 119.4 | 5.0 |
South Korea | 77 | 105.1 | 1,738.2 |
Samoa | 11 | 61.5 | 35.8 |
Netherlands | 5 | 51.5 | 4.1 |
Cayman Islands | 3 | 40.4 | 309.8 |
Thailand | 10 | 36.5 | 391.9 |
Laos | 1 | 30.3 | – |
Canada | 10 | 28.1 | – |
Denmark | 1 | 19.0 | – |
Australia | 11 | 18.9 | 3.1 |
Seychelles | 5 | 18.0 | 6.0 |
Spain | 4 | 14.2 | – |
Germany | 7 | 5.5 | 5.3 |
Brunei | 1 | 4.7 | – |
ประเทศอื่นๆ | 78 | 14.6 | 301.3 |
ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม
6.3 เวียดนามลงทุนในต่างประเทศ ในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2568 (มกราคม – มีนาคม) เวียดนามลงทุนในต่างประเทศรวมมูลค่า 239.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.5 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 โดยมีโครงการใหม่ที่ได้รับใบรับรองการลงทุนจำนวน 30 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 233.6 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีโครงการที่ปรับเพิ่มทุนจำนวน 5 โครงการ มีมูลค่าการลงทุนเพิ่ม 5.4 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ มี 22 ประเทศที่ได้รับการลงทุนจากเวียดนาม โดยสปป.ลาว เป็นประเทศที่ได้รับการลงทุนสูงสุด มูลค่า 139.7 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 58.4 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด รองลงมาคือฟิลิปปินส์ 34.2 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 14.3 และอินโดนีเซีย 31.1 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 13.0
- การค้า และการนำเข้า-ส่งออก
7.1 การขายปลีกสินค้าและบริการ
ในเดือนมีนาคม 2568 การขายปลีกของสินค้าและบริการมีมูลค่า 570 ล้านล้านเวียดนามด่ง หรือประมาณ 22,388 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2567
ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2568 (มกราคม – มีนาคม) การขายปลีกของสินค้าและบริการมีมูลค่า 1,708 ล้านล้านเวียดนามด่งหรือประมาณ 66,990 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 โดยการขายปลีกของสินค้ามีมูลค่า 1,311 ล้านล้านเวียดนามด่งหรือประมาณ 51,438 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 ธุรกิจบริการที่พักและร้านอาหารมีมูลค่า 200 ล้านล้านเวียดนามด่งหรือประมาณ 7,847 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 การท่องเที่ยวมีมูลค่า 21 ล้านล้านเวียดนามด่งหรือประมาณ 843 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 และการบริการอื่น ๆ มีมูลค่า 175 ล้านล้านเวียดนามด่งหรือประมาณ 6,860 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5
ยอดขายปลีกสินค้าและบริการเวียดนามในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568
หน่วย: พันล้านเวียดนามด่ง
มี.ค. 2568 | ม.ค. – มี.ค. 2568 | มี.ค. 2568 เทียบกับ มี.ค. 2567 (%) | ม.ค. – มี.ค. 2568 เทียบกับ ม.ค. – มี.ค. 2567 (%) | ||
มูลค่ารวม | โครงสร้าง (%) | ||||
รวม | 570,913 | 1,708,252 | 100.0 | 110.8 | 109.9 |
ยอดขายปลีกสินค้า | 434,405 | 1,311,684 | 76.8 | 109.2 | 108.8 |
ธุรกิจบริการที่พักและอาหาร | 68,767 | 200,121 | 11.7 | 116.4 | 114.0 |
การท่องเที่ยว | 7,536 | 21,496 | 1.3 | 125.1 | 118.3 |
บริการอื่นๆ | 60,205 | 174,951 | 10.2 | 115.4 | 112.5 |
ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม
7.2 การนำเข้าสินค้าและบริการ
7.2.1 การนำเข้าสินค้า
ในเดือนมีนาคม 2568 เวียดนามนำเข้าสินค้ามูลค่า 36,880 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 โดยเป็นการนำเข้าของบริษัทเวียดนาม มูลค่า 13,980 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 และการนำเข้าของบริษัทต่างชาติในเวียดนาม มูลค่า 22,900 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3
ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2568 (มกราคม – มีนาคม) เวียดนามนำเข้าสินค้ามูลค่า 99,680 ล้าน
เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 โดยเป็นการนำเข้าของบริษัทเวียดนามมูลค่า 36,780 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 และการนำเข้าของบริษัทต่างชาติในเวียดนาม มูลค่า 62,900 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 ทั้งนี้ จีนเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มูลค่า 38,100 ล้านเหรียญสหรัฐ
กลุ่มสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ กลุ่มวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตสินค้า มูลค่า 93,510 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 93.8 และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค มูลค่า 6,170 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.2
7.2.2 การนำเข้าบริการ
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2568 คาดว่าการนำเข้าบริการของเวียดนามมีมูลค่า 9,220 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 โดยการนำเข้าบริการขนส่งสินค้ามีมูลค่า 3,730 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 และการนำเข้าบริการท่องเที่ยวมีมูลค่า 3,400 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.8
7.3 การส่งออกสินค้าและบริการ
7.3.1 การส่งออกสินค้า
ในเดือนมีนาคม 2568 เวียดนามส่งออกสินค้ามูลค่า 38,510 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 โดยเป็นการส่งออกจากภาคการผลิตเพื่อส่งออกของเวียดนามมูลค่า 11,080 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 และภาคการผลิตเพื่อส่งออกของบริษัทต่างชาติในเวียดนาม มูลค่า 27,430 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9
ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2568 (มกราคม – มีนาคม) เวียดนามส่งออกสินค้า มูลค่า 102,840 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 โดยเป็นการส่งออกจากภาคการผลิตเพื่อส่งออกของเวียดนามมูลค่า 29,020 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 และภาคการผลิตเพื่อส่งออกของบริษัทต่างชาติในเวียดนาม มูลค่า 73,820 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มูลค่า 31,400 ล้านเหรียญสหรัฐ
กลุ่มสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมแปรรูป มูลค่า 90,920 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 88.4 กลุ่มสินค้าเกษตรและป่าไม้ มูลค่า 8,860 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.6 กลุ่มผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ มูลค่า 2,310 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.3 และกลุ่มสินค้าเชื้อเพลิงและแร่ธาตุ มูลค่า 750 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.7
7.3.2 การส่งออกบริการ
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2568 คาดว่า การส่งออกบริการของเวียดนามมีมูลค่า 7,580 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 โดยการส่งออกบริการท่องเที่ยวมีมูลค่า 4,200 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.2 และการส่งออกบริการขนส่งสินค้ามีมูลค่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2
- ดุลการค้า
ในเดือนมีนาคม 2568 เวียดนามเกินดุลการค้า มูลค่า 1,630 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเกินดุลการค้ากับสหรัฐอเมริกามูลค่า 10,300 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2568 เกินดุลการค้ากับสหภาพยุโรปมูลค่า 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.4 เกินดุลการค้ากับญี่ปุ่นมูลค่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 50.0 ในขณะเดียวกัน เวียดนามขาดดุลการค้ากับจีนมูลค่า 9,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.0 ขาดดุลการค้ากับเกาหลีใต้มูลค่า 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.4 และขาดดุลการค้ากับประเทศในภูมิภาคอาเซียนมูลค่า 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 88.9
ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2568 (มกราคม – มีนาคม) เวียดนามเกินดุลการค้า มูลค่า 3,160 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเกินดุลการค้ากับสหรัฐอเมริกามูลค่า 27,300 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 เกินดุลการค้ากับสหภาพยุโรปมูลค่า 9,900 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 เกินดุลการค้ากับญี่ปุ่นมูลค่า 600 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 5 เท่า ในขณะเดียวกัน เวียดนามขาดดุลการค้ากับจีนมูลค่า 24,900 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.3 ขาดดุลการค้ากับเกาหลีใต้มูลค่า 7,100 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 และขาดดุลการค้ากับประเทศในภูมิภาคอาเซียนมูลค่า 3,800 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 83.2