รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้านิวซีแลนด์เดือนมกราคม ปี 2568

(1) สถานการณ์เศรษฐกิจ

– นิวซีแลนด์กำหนดให้รถยนต์ขนาดเล็ก (Light vehicles) ใหม่ทุกรุ่นต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการปล่อยมลพิษ Euro 6 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนเป็นต้นไป เพื่อทยอยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ให้เหลือ 105g/km ในปี 2568 มาตรฐานมลพิษใหม่ที่นิวซีแลนด์นำมาใช้มีความเข้มงวดกว่าออสเตรเลีย เนื่องจากมาตรฐานของออสเตรเลียจะใกล้เคียงกับมาตรฐานของสหรัฐฯ แต่ยังตามหลังมาตรฐานของสหภาพยุโรป ซึ่งจะเข้มงวดขึ้นโดยการลดเพดานการปล่อย CO2 เฉลี่ยสำหรับรถยนต์ลงเหลือ 93.6g/km และสำหรับรถตู้ให้เหลือ 153.9g/km

– ปี 2568 เศรษฐกิจนิวซีแลนด์จะเติบโตขึ้นเล็กน้อย แต่การขยายตัวยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวจนถึงปี 2569 ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (Reserve Bank of New Zealand: RBNZ) เริ่มผ่อนคลายนโยบายทางการเงินในช่วงครึ่งหลังปี 2567 และในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 RBNZ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงที่ร้อยละ 3.75 และคาดว่า จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 0.25 ในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 2.2 และอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 5.1 เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจนิวซีแลนด์ที่กำลังถดถอยในปัจจุบัน แต่ธนาคารกลางจะเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นเกี่ยวกับความผันผวนของภาวะเงินเฟ้อ และความไม่นอนจากสงครามภาษีโลก จากนโยบายการบริหารงานของสหรัฐอเมริกาที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของนิวซีแลนด์ไปยังสหรัฐฯ

(2) สถานการณ์การค้าภาพรวมของนิวซีแลนด์ [1]

ปี 2567 เดือนมกราคมธันวาคม สถานการณ์การส่งออกสินค้าของนิวซีแลนด์ มีมูลค่า 42,407 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 2.42) เป็นการส่งออกนมและผลิตภัณฑ์นม เนย ไขมัน (ร้อยละ 29.28) เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค (ร้อยละ 12.26) กีวี (ร้อยละ 6.80) ไม้ที่ยังไม่แปรรูป (ร้อยละ 6.80) อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก (ร้อยละ 3.88) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้  สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 11 (นมและครีมที่ทำให้เข้มข้น แอปเปิ้ล เยื่อไม้เคมีที่เป็นเยื่อไม้โซดาหรือเยื่อไม้ซัลเฟต เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภคและอาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก)

ปี 2567 เดือนมกราคมธันวาคม การนำเข้าสินค้าของนิวซีแลนด์ มีมูลค่า 46,863 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 6.21) โดยเป็นการนำเข้าเครื่องกังหันไอพ่น (ร้อยละ 14.00) น้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 13.51) รถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 11.14) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 9.19) อุปกรณ์และเครื่องใช้ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ร้อยละ 3.57) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้และญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ขาดดุลการค้า 4,456 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 8 มีมูลค่า 1,754 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 4.25) (รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ โพลิเมอร์ของเอทิลีนในลักษณะขั้นปฐม เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ แชมพูและสิ่งปรุงแต่งที่ใช้กับเส้นผม) โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 989.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (33,632 ล้านบาท)

(3) สถานการณ์การค้านิวซีแลนด์เดือนมกราคม 2568 [2]

สถานการณ์การส่งออกสินค้าของนิวซีแลนด์ในเดือนมกราคม 2568 มีมูลค่า 3,381 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 16.55)  เป็นการส่งออกนมและผลิตภัณฑ์นม เนย ไขมัน (ร้อยละ 41.50) เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค (ร้อยละ 13.34) ไม้ที่ยังไม่แปรรูป (ร้อยละ 5.40) อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก (ร้อยละ 3.44) และเคซีอิน (ร้อยละ 3.13) โดยประเทศส่งออกหลัก คือ จีน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย  สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 7  (นมและครีมที่ทำให้เข้มข้น เครื่องกังหันไอพ่น เยื่อไม้เคมีที่เป็นเยื่อไม้โซดาหรือซัลเฟต เชอรรี่ และเคซีอิน)

การนำเข้าสินค้าของนิวซีแลนด์ในเดือนมกราคม 2568 มีมูลค่า 3,664 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 2.35) โดยเป็นการนำเข้าเครื่องกังหันไอพ่น (ร้อยละ 15.44) ปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 13.34) รถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 9.26) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 9.11) ยารักษาหรือป้องกันโรค (ร้อยละ 3.67) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ซึ่งในเดือนมกราคม 2567 นิวซีแลนด์ขาดดุลการค้า 283 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  ไทย เป็นคู่ค้าอันดับ 9 (รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ โพลิเมอร์ของเอทิลีนในลักษณะขั้นปฐม อลูมิเนียมยังไม่ได้ขึ้นรูปและเครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ)

(4) สรุปสถานการณ์การค้าไทย-นิวซีแลนด์ [2]

เป้าหมายส่งออก มูลค่าการค้ารวม (ล้าน US$) มูลค่าการส่งออก (ล้าน US$) มูลค่าการนำเข้า (ล้าน US$)
ปี 2023

(%)

ปี 2024

(%)

ปี 2024 ปี 2025 ปี 2024 ปี 2025 ปี 2024 ปี 2025
ม.ค.– ธ.ค. ม.ค. +/- (%) ม.ค. – ธ.ค. ม.ค. +/- (%) ม.ค. – ธ.ค. ม.ค. +/- (%)
1.0

(13.10)

1.0 2,478.47

(10.39)

199.22 -5.38 1,591.23

13.10

96.42 -26.75 887.23

(5.85)

102.80 30.28

[1] Source: Global Trade Atlas

[2] Source: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

(5) สถานการณ์การค้าไทย-นิวซีแลนด์เดือนมกราคม ปี 2568

  • การส่งออกสินค้าไทยไปนิวซีแลนด์เดือนมกราคม ปี 2568 มีมูลค่า 96.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (3,278.2 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 26.75 เป็นการลดลงของสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ เม็ดพลาสติก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ อาหารทะเลกระป๋อง ผลิตภัณฑ์พลาสติก อาหารสัตว์เลี้ยง และเครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว แต่การส่งออกผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์ยางเพิ่มขึ้น
  • การนำเข้าสินค้าของไทยจากนิวซีแลนด์เดือนมกราคม ปี 2568 มีมูลค่า 102.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (3,495.2 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.28 เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้านมและผลิตภัณฑ์นม เยื่อกระดาษ ผัก ผลไม้ เคมีภัณฑ์ เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค ไม้ซุงและไม้แปรรูป อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แต่การนำเข้าสินแร่โลหะอื่นๆลดลง

……………………………………………………………………………………………

สำนักงานส่งเสริมการค้า ณ นครซิดนีย์

en_USEnglish