อินเดียแซงญี่ปุ่น ขึ้นแท่นประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 4 ของโลกในปี 2568

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) ฉบับเดือนเมษายน 2568 ซึ่งระบุว่า อินเดียจะก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกในปี 2568 แซงหน้าญี่ปุ่นได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) คิดเป็นมูลค่า 4,187 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสูงกว่าญี่ปุ่นที่มีมูลค่าประมาณ 4,186 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ข้อมูลการจัดอันดับประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด 10 อันดับแรกของโลก ปี 2568

ประเทศ มูลค่า GDP (พันล้านเหรียญสหรัฐ)
美国 30,507.217
中国 19,231.705
德语 4,744.804
印度 4,187.017
日本 4,186.431
สหราชอาณาจักร 3,839.18
法国 3,211.292
意大利 2,422.855
加拿大 2,225.341
巴西 2,125.958

 แหล่งข้อมูล: IMF World Economic Outlook April 2025

จากรายงานยังระบุว่าเศรษฐกิจของอินเดียยังคงเติบโตในอัตราที่สูงกว่าประเทศเศรษฐกิจหลักอื่น ๆ โดยคาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดียจะเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 6.2 ในปี 2568 แม้ว่าจะเป็นการปรับลดการคาดการณ์ลงจากเดิมที่ประเมินไว้ร้อยละ 6.5 เมื่อเดือนมกราคม 2568 อันเนื่องมาจากความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจโลกและความตึงเครียดทางการค้า โดย IMF ยังได้คาดการณ์ว่าอินเดียจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ ร้อยละ 6.3 และร้อยละ 6.2 ในปี 2569 และปี 2570 ตามลำดับ

สำหรับกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจของอินเดียเกิดการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การบริโภคภายในประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท สัดส่วนประชากรวัยทำงานที่มีจำนวนมาก และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ IMF ยังคาดว่าเศรษฐกิจของอินเดียจะเติบโตถึง 5,580 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2570 และกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ภายในปี 2571 แซงหน้าเยอรมนี ซึ่งขณะนี้ประสบภาวะชะลอตัวจากผลกระทบของความตึงเครียดทางการค้าในยุโรป

บทสรุปและข้อเสนอแนะ

จากสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกในภาพรวมที่ยังคงมีความไม่แน่นอน IMF ได้คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ดังนี้

美国: แม้ยังเป็นเศรษฐกิจอันดับหนึ่ง แต่คาดการณ์ว่าจะชะลอตัวลง เหลือการเติบโตเพียงร้อยละ 1.8 ในปี 2568 และร้อยละ 1.7 ในปี 2569

中国: อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงเหลือประมาณร้อยละ 4 เนื่องจากประสบความท้าทายจากภาคอสังหาริมทรัพย์และประชากรสูงวัย

日本: มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 0.6 ในปี 2568

ยุโรป: เศรษฐกิจหลายประเทศในยุโรป เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร เติบโตช้า โดยเฉพาะเยอรมนีที่คาดว่าจะไม่มีการขยายตัวเลยในปี 2568

ซึ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในประเทศพัฒนาแล้วหลายแห่ง

ขณะที่อินเดีย IMF ประเมินว่าเศรษฐกิจจะเติบโตถึงร้อยละ 6.2 – 6.3 ในปี 2568 – 2570 ซึ่งนับว่าสูงกว่าประเทศอื่นๆ และการที่อินเดียได้ก้าวขึ้นเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 4 ของโลกในปี 2568 ถือเป็นก้าวสำคัญในเส้นทางสู่การเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจระดับโลกในอนาคต

ข้อเสนอเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้ประกอบการไทย: เตรียมความพร้อมรุกตลาดอินเดีย

เพื่อเตรียมความพร้อมในการเจาะตลาดอินเดียซึ่งกำลังก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในตลาดเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งบนเวทีโลก ผู้ประกอบการไทยอาจพิจารณาวางกลยุทธ์การขยายตลาดโดยใช้แนวทางต่อไปนี้:

  1. จับตากลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่

อินเดียมีกลุ่มชนชั้นกลางและคนรุ่นใหม่ที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีพฤติกรรมบริโภคที่ใกล้เคียงกับผู้บริโภคในเขตเมืองของไทย สินค้าไทยที่มีศักยภาพสูงในตลาดนี้ ได้แก่: สินค้าอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ สินค้าไลฟ์สไตล์ เช่น แฟชั่น ของตกแต่งบ้าน และสินค้าทางวัฒนธรรม

  1. ขยายสู่เมืองรอง ร่วมมือกับพันธมิตรท้องถิ่น

การเข้าถึงตลาดอินเดียไม่ควรจำกัดอยู่เฉพาะในมหานครหลักอย่างนิวเดลี มุมไบ หรือเจนไนเท่านั้น เมืองรองที่กำลังเติบโตเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่ก็มีความน่าสนใจมากเช่นกัน อาทิ เมืองโคอิมบาตอร์ (Coimbatore) เมืองวิศาขปัตนัม (Visakhapatnam) เมืองโคชิ (Kochi) เมืองอาห์เมดาบัด (Ahmedabad) เมืองปูเน่ (Pune) เมืองลักเนาว์ (Lucknow)

การจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในท้องถิ่นจะช่วยลดความเสี่ยงจากความซับซ้อนด้านกฎระเบียบการค้า และเพิ่มโอกาสเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี

อินเดียเป็นคู่ค้าสำคัญของไทยภายใต้กรอบความร่วมมือระดับภูมิภาค ผู้ประกอบการควรใช้ประโยชน์จากความตกลงทางการค้าต่อไปนี้:

– ความตกลงการค้าเสรีไทย–อินเดีย (Thai-India FTA)

– ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน–อินเดีย (ASEAN–India FTA)

– กรอบความร่วมมือ BIMSTEC

  1. ศึกษานโยบายเศรษฐกิจของอินเดีย

อินเดียมีนโยบายเศรษฐกิจใหม่ที่ส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ได้แก่:

โครงการ “Make in India” สนับสนุนการผลิตภายในประเทศ

โครงการ “Digital India” สนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัลและการเข้าถึงเทคโนโลยี

  1. ความเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและสร้างแบรนด์ให้เข้าถึงใจผู้บริโภค

ความสำเร็จในตลาดอินเดียไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงความเข้าใจในบริบททางวัฒนธรรม เช่น ค่านิยม ศาสนา พฤติกรรมการซื้อ และภาพลักษณ์ของแบรนด์ ผู้ประกอบการอาจพิจารณา:

– ลงทุนในการสร้างแบรนด์ที่ผสมผสานอัตลักษณ์ของสินค้าไทยกับความเป็นมิตรต่อวัฒนธรรมอินเดีย

– ใช้ช่องทางออนไลน์และอินฟลูเอนเซอร์ท้องถิ่นเพื่อสร้างการรับรู้และความเชื่อมั่น

แหล่งข้อมูล

  1. Big achievement! India to become 4th largest economy in 2025 overtaking Japan; will be 3rd largest by 2028, Times of India, May 5, 2025
  2. IMF’s April Outlook projects India to become fourth largest in 2025, The Hindu, May 6, 2025
  3. India’s GDP is projected to marginally peak past Japan, which is presently the fourth largest economy, Mint, May 6, 2025
  4. India To Surpass Japan As 4th Largest Economy In 2025, IMF Projects, News18.com, May 6, 2025
  5. World Economic Outlook April 2025, IMF, www.imf.org

 

zh_CNChinese