fb
ตลาดยางพาราไทยในจีน สคต.คุนหมิง
โดย
natv@ditp.go.th
ลงเมื่อ 11 กรกฎาคม 2568 15:00
13

ปัจจุบันสถานการณ์การผลิตยางของจีนโดยรวมถือว่าดีขึ้น เมื่อเทียบกับปีก่อน ๆ จะเห็นว่า      การผลิตมีความผันผวนเพิ่มขึ้น และในช่วงฤดูผลผลิตสูงสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตได้อย่างชัดเจน      ส่วนปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชในยางมีผลกระทบน้อยลง 

1. มูลค่าตลาดสินค้ายางพาราในจีน

          ในปี 2567 ขนาดตลาดสินค้ายางพาราของจีนมีมูลค่าสูงถึง 1,200,000 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น      ร้อยละ 9.8 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานใหม่ (NEV) และอุตสาหกรรมอากาศยานและอวกาศ ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มมูลค่าตลาดถึงร้อยละ 42 ของการเติบโตทั้งหมด คาดว่าในปี 2568 ขนาดตลาดของ      อุตสากรรมสินค้ายางพาราของจะสูงถึง 1,350,000 ล้านหยวน โดยคงอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 10.5 ทั้งนี้ การเติบโตของอุตสาหกรรมดังกล่าวมีปัจจัยสำคัญมาจากความต้องการจากอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว การพัฒนาเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงที่มุ่งเน้นความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

微信图片_20250716112440.png

2.พื้นที่การเพาะปลูกยางพาราในจีน

          เนื่องจากจีนได้รับผลกระทบจากความเสียหายจากไต้ฝุ่นโมลาเบ ทำให้พื้นที่สวนยางพาราของจีนลดลง ตามข้อมูลการติดตามผลการผลิต ในปี 2567 พื้นที่ปลูกยางพาราทั่วจีนอยู่ที่ 16,800,000 หมู่ หรือประมาณ 7,000,350 ไร่ ลดลงร้อยละ 0.8 ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ปลูกยางพาราในมณฑลยูนนาน  8,480,000 หมู่ หรือประมาณ 3,533,635 ไร่  ในมณฑลไห่หนาน 7,620,000 หรือประมาณ 3,175,534 ไร่ และในมณฑลกวางตุ้ง 700,000 หมู่ หรือประมาณ 291,680 ไร่ นอกจากนี้ พื้นที่เปิดกรีดยางทั่วจีนมีทั้งสิ้น 12,210,000 หมู่ หรือประมาณ 5,087,000 ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ตามข้อมูลจากสมาพันธ์ประเทศผู้ผลิตยาง ในปี 2567 พื้นที่ปลูกยางพาราของจีนจัดอยู่ในอันดับ 4 ของโลก ส่วนพื้นที่ที่เปิดกรีดยางจัดอยู่ในอันดับที่ 3 ของโลก รองจากไทยและอินโดนีเซีย 

 

3.ปริมาณการผลิตยางพาราของจีน

          ในปี 2567 ปริมาณการผลิตยางพาราของจีนอยู่ที่ 870,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 หากเปรียบเทียบปริมาณการผลิตยางพาราของประเทศอื่น ๆ พบว่า จีนอยู่อันดับที่ 4 ของโลก โดยอันดับ 1 คือไทย ซึ่งในปี 2567 ไทยมีปริมาณการผลิตยางพาราอยู่ที่ 4,682,000 ตัน รองลงมาได้แก่ อินโดนีเซีย 2,516,000 ตัน และเวียดนาม 1,244,000 ตัน 

微信图片_20250716112521.png

ในปี 2567 ภายใต้นโยบายสนับสนุนอุตสากรรมที่ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และราคายางที่กลับมามีเสถียรภาพและปรับตัวสูงขึ้น ทำให้แรงจูงใจในการผลิตของเกษตรกรเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด     ตามข้อมูลการติดตามผลการผลิต ในปี 2567 จีนมีผลผลิตยางแห้งมากถึง 922,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.75

          หากแยกตามพื้นที่การผลิต พบว่า

  • มณฑลยูนนาน ในปี 2567 สถานการณ์การผลิตโดยรวมเป็นปกติ ผลผลิตใกล้เคียงกับปี 2566    อยู่ที่ 531,000 ตัน

  • มณฑลไห่หนาน เช่น เขตไป่ซา และฉงจง ได้รับผลกระทบจากไต้ฝุ่น ทำให้มีข้อจำกัด ขณะเดียวกันราคายางที่สูงขึ้นช่วยกระตุ้นการกรีดยาง ทำให้ผลผลิตโดยรวมในปี 2567 ใกล้เคียงกับปี 2566 หรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย มีปริมาณอยู่ที่ 377,000 ตัน

  • มณฑลกวางตุ้ง เนื่องจากในปี 2567 มีฝนตกมาก และได้รับผลกระทบจากไต้ฝุ่งโมลาเบที่รุนแรง ทำให้จำนวนครั้งของการกรีดยางลดลงร้อยละ 21.6 ส่งผลให้ผลผลิคยางลดลงอยู่ที่ 14,000 ตัน

 

4.ปริมาณความต้องการยางพาราในจีน

          ในปี 2567 จีนมีปริมาณความต้องการยางพาราอยู่ที่ 6,800,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ตั้งแต่ปี 2563 – 2567 ความต้องการยางพาราในจีนค่อนข้างมีความเสถียรภาพอยู่ในระดับ 6,600,000 – 6,800,000 ตัน แนวโน้มโดยรวมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สอดคล้องกับการเติบโตของอุตสาหกรรมยาง รถยนต์ไฟฟ้าและการส่งออก

微信图片_20250716112559.png

5.สถานการณ์การนำเข้ายางพาราของจีน

          ในปี 2567 จีนมีปริมาณการนำเข้ายางพาราอยู่ที่ 5,658,900 ตัน มูลค่าการนำเข้า 9,687 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนปริมาณการส่งออกอยู่ที่ 83,900 ตัน มูลค่าการส่งออก 219 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ขาดดุลการค้าสูงถึง 9,468 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

          ในปี 2567 ประเทศผู้ส่งออกยางพารามายังจีนมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ไทย เวียดนาม มาเลเซีย เมียนมา และโกตติวัวร์ โดยปริมาณนำเข้า 5 ประเทศนี้รวมกันคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 89.1 ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด

          ทั้งนี้ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ยางจากแอฟริกาเริ่มได้รับความนิยมในตลาดจีนมากขึ้นจากโรงงานจีน ส่งผลให้ปริมาณการนำเข้ายางพาราจากโกตติวัวร์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในปี 2567 เนื่องจาก นโยบาย EUDR (European Union Deforestation Regulation) ยางพาราที่ผลิตในโกตติวัวร์จำนวนมากถูกส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป ทำให้ปริมาณการนำเข้าจากเมียนมาของจีนสูงกว่าโกตติวัวร์

 

6.ราคายางพาราในตลาด : 14,796 หยวน/ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 (ณ วันที่ 11 กรกฎาคม 2568)

 

ความคิดเห็น สคต.

          ยางพาราของไทยมีโอกาสมากในตลาดจีน ด้วยความที่ไทยในฐานะที่เป็นกำลังสำคัญในอุตสาหกรรมยางพารา มีบทบาทสำคัญทั้งในด้านการผลิตและการส่งออกยางพารา โดยปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังการผลิตยางพาราประมาณ 4.4 ล้านตันต่อปี ครองสัดส่วนแบ่งตลาดโลกถึงร้อยละ 38.2 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมน้ำยางต้นของไทย ถือเป็นผู้นำระดับโลก ซึ่งน้ำยาข้นร้อยละ 75.9 ถูกส่งออกไปยังทั่วโลก

สำหรับในมณฑลยูนนานแม้ว่าจะมีความได้เปรียบด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ใกล้ประเทศไทย แต่การนำเข้ายางจากต่างประเทศมายังมณฑลยูนนานยังคงมีสัดส่วนน้อย เนื่องจากยูนนานไม่ใช่ตลาดหลักในการบริโภคผลิตภัณฑ์ยางพารา ปัจจุบันจีนจะนำเข้ายางพาราสู่ตลาดเซี่ยงไฮ้และชิงต่าวผ่านช่องทางเรือเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากด่านในมณฑลยูนนานมีการพัฒนาสิ่งอำนวย        ความสะดวกด้านการขนส่งสินค้าทั้งทางบก ทางรางและทางแม่น้ำ มณฑลยูนนานจึงมีโอกาสกลายเป็นศูนย์กลางด้านการผลิต จำหน่ายและนำเข้ายางพาราอีกแห่งหนึ่งของจีนได้ในอนาคต ทั้งนี้ สคต.        คุนหมิงและกรมพาณิชย์มณฑลยูนนานเร่งผลักดันการนำเข้ายางพาราผ่านด่านสำคัญต่าง ๆ ของมณฑลยูนนาน โดยเฉพาะทางท่าเรือกวนเหล่ย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมยางพาราและเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างไทย-ยูนนานให้มากขึ้น

 

*****************************************

แหล่งที่มา 

https://news.sohu.com/a/909723181_121124407    

https://www.chinairn.com/scfx/20250519/101408319.shtml

https://baijiahao.baidu.com/s?id=1824104410354402488&wfr=spider&for=pc

https://mp.weixin.qq.com/s?__biz=MzU3MTQ4MzYxNg==&mid=2247491406&idx=1&sn=496dada4602aef18dbe45fd82760523f&chksm=fdfceeae13129f31cf108c252e9e2f8493c345ceda7e0b1198d622bcde17d42e81b2485789ba&scene=27

สคต. คุนหมิง

ตลาดยางพาราไทยในจีน.pdf
Share :
Instagram