fb
เมืองจางโจวเขตหลงไห่ เมืองหลวงแห่งอาหารว่างของจีน

เมืองจางโจวเขตหลงไห่ เมืองหลวงแห่งอาหารว่างของจีน

โดย
nunnaphas@ditp.go.th
ลงเมื่อ 21 กรกฎาคม 2568 14:55
25

        เขตหลงไห่ตั้งอยู่ในเมืองจางโจว บนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลฝูเจี้ยน บริเวณปากแม่น้ำจิ่วหลง ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ใหญ่เป็นอันดับสองของมณฑล และอยู่ทางฝั่งใต้ของอ่าวเซี่ยเหมิน เขตหลงไห่ได้ดำเนินตามแนวทางของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนและสภาแห่งรัฐในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนอย่างทั่วถึง รวมถึงนโยบายที่สนับสนุนมณฑลฝูเจี้ยนในการสร้าง เขตสาธิตการพัฒนาแบบบูรณาการข้ามช่องแคบ อย่างต่อเนื่อง

 

          ในปี 2024 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของอำเภอหลงไห่สูงถึง 64,379 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 6.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี พื้นที่ทั้งหมดของเขตหลงไห่มีขนาด 976 ตารางกิโลเมตร (ไม่รวมเขตพัฒนาจางโจว เขตลงทุนไต้หวันและเขตเทคโนโลยีชั้นสูงจางโจว) โดยมี 12 ตำบล/เมือง/แขวง/ทุ่ง ภายใต้การปกครอง และมีประชากรอาศัยถาวร 550,000 คน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาหลงไห่ได้รับรางวัลต่างๆ เช่น เขตที่มีความแข็งแกร่งโดยรวม 100 อันดับแรกของประเทศเขตที่มีขีดความสามารถทางการแข่งขันทางอุตสาหกรรม 100 อันดับแรกของจีนเขตสิบเมืองพัฒนายอดเยี่ยมของมณฑลฝูเจี้ยน และ เขต/อำเภอที่มีสภาพแวดล้อมทางธุรกิจอยู่ใน 100 อันดับแรกของประเทศ

 

            ในปีนี้ งานมหกรรมอาหารจีนจางโจว (หลงไห่) ครั้งที่ 6 (ชื่องานภาษาจีน第六届中国漳州(龙海)食品博览会ภายใต้แนวคิด "จางโจวรสเลิศ หลงไห่หอมหวน" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-19 กรกฎาคม ณ China’s Famous Leisure Food City - Longhai Expo Garden งานแสดงสินค้าอาหารครั้งนี้มีขนาดที่ใหญ่กว่าที่ผ่านมา โดยมี 6 โซนจัดแสดง ครอบคลุมพื้นที่ 48,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย 165 บูธที่ตกแต่งพิเศษ และ 297 บูธมาตรฐาน รวบรวมบริษัทอาหารกว่า 400 แห่ง จากทั่วโลกมาจัดแสดง โดยครอบคลุมห่วงโซ่อุตสาหกรรมอาหารทั้งหมด

 

          อุตสาหกรรมอาหารเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของหลงไห่ โดยในปี 2017 หลงไห่ได้รับรางวัล "เมืองหลวงแห่งอาหารว่างเพื่อการพักผ่อนของจีน" และในปี 2024 อุตสาหกรรมอาหารมีมูลค่าเกิน 5 หมื่นล้านหยวน ผลิตภัณฑ์อาหารของหลงไห่ครอบคลุมเกือบทุกประเภทจาก 32 หมวดหมู่ที่กำหนดโดยจีน และมีกลุ่มอุตสาหกรรมหลากหลาย เช่น เบเกอรี่อาหารแช่แข็ง..ผลไม้และผัก..ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ..และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ นอกจากนี้ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเช่น วัตถุดิบและส่วนผสม..เครื่องจักรอาหาร..การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ และ อีคอมเมิร์ซ ก็มีการพัฒนาอย่างแข็งแกร่ง อำเภอหลงไห่ได้สร้างแบรนด์ที่มีชื่อเสียงมากมาย อาทิ DanCo (丹夫), Paoba (泡吧), GreenFresh (绿新),  และ Carlton (卡尔顿โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้ส่งออกไปจำหน่ายกว่า 120 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก

 

75d730eb-60e1-4d25-bc0d-bc37a2b4dbe2.png
c8bc9225-aa91-4b6e-92c6-b0dda88aae75.png

ที่มา : https://www.msn.cn/zh-cn

 

        งานมหกรรมอาหารครั้งนี้ไม่เพียงแต่รวบรวมบริษัทอาหารชื่อดังจากในประเทศจีนเท่านั้น แต่ยังมีกลุ่มการค้าและองค์กรแบรนด์จากหลากหลายประเทศ เช่น รัสเซีย เกาหลีใต้ ไทย มาเลเซีย และยูกันดา มาเยี่ยมชมงาน ทำให้แผนที่อาหารโลกมาบรรจบกัน นอกจากนี้เพื่อแสดงศักยภาพการแข่งขันหลักขององค์กรเจ้าภาพ ก่อนงานจะมีการจัดกิจกรรมทางองค์กรเจ้าภาพเยี่ยมชมโรงงาน คัดเลือกผลิตภัณฑ์ และเชื่อมโยงการผลิตและการขายหลายครั้ง เพื่อให้ผู้ซื้อได้เข้าเยี่ยมชมโรงงานและสายการผลิตโดยตรง ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถพูดคุยและจับคู่กันตัวต่อตัวได้อย่างมั่นใจ

      จากการสอบถามผู้เข้าร่วมจัดแสดงภายในงาน สินค้าแปรรูปประเภทบะหมี่ โมจิสไตล์จีน เป็นสินค้าที่มีความต้องการนำเข้าวัตถุดิบข้าว ข้าวเหนียว รวมถึง แป้ง Modified Strach จากไทยเนื่องจากเป็นวัตถุดิบคุณภาพสูง อีกทั้งยังมีสินค้าประเภทขนมที่มีส่วนผสมของผลไม้ เช่น ทุเรียน ที่ใช้วัตถุดิบทุเรียนไทยเป็นส่วนประกอบ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสายการผลิตวัตถุดิบของไทย และโรงงานผลิต นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงานให้ความสนใจถึงซอสปรุงรส เช่น ซอสสำเร็จรสต้มยำกุ้ง เพื่อที่จะใช้เป็นส่วนผสมแบบแบ่งซองขนาดเล็กในบรรจุภัณฑ์ของบะหมี่สำเร็จรูปรสต้มยำกุ้ง

 

 

ความเห็นสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน: งานมหกรรมอาหารจีนจางโจว (หลงไห่) ครั้งที่ 6 ถือเป็นเวทีสำคัญที่ตอกย้ำศักยภาพของเขตหลงไห่ มณฑลฝูเจี้ยน ในฐานะเมืองหลวงแห่งอาหารว่างเพื่อการพักผ่อนของจีน และแสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมอาหารในภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ งานมหกรรมอาหารนี้เป็นสัญญาณที่ดีที่ชี้ให้เห็นถึงความต้องการที่แข็งแกร่งของตลาดอาหารจีน โดยเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูป ซึ่งเป็นโอกาสทองสำหรับผู้ประกอบการไทยในการส่งออกสินค้าเกษตร วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงไปยังตลาดจีน 

 

 

      เรียบเรียงโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน

 17 กรกฎาคม 2568

Share :
Instagram