สถานการณ์เศรษฐกิจ
การเติบโตของ GDP ออสเตรเลียไตรมาสเดือนมีนาคม 2568 ขยายตัวในอัตราชะลอตัวลงร้อยละ 0.2 (GDP ต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 1.3) เป็นผลจากการใช้จ่ายภาครัฐลดลงมากถึง 823 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 2 (ต่ำสุดตั้งแต่ปี 2560) เนื่องจากภาครัฐมุ่งเน้นการใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศเป็นหลัก ประกอบกับสภาพอากาศที่แปรปรวน (น้ำท่วมและพายุไซโคลน) กระทบต่อภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ การท่องเที่ยว การขนส่งและการส่งออกสินค้า ทำให้ภาคการค้าชะลอตัวลง การนำเข้าสินค้าลดลงโดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าทุนเป็นหลัก การใช้จ่ายภาคครัวเรือนยังดำเนินไปอย่างรัดกุม ส่วนใหญ่เป็นการใช้จ่ายไปกับสินค้าหรือบริการที่จำเป็น อาทิ อาหาร ค่าเช่าที่พักอาศัย และค่าพลังงาน การออมเงินภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 การเติบโตของ GDP ต่อหัวลดลงร้อยละ 0.2 (ต่ำสุดตั้งแต่ไตรมาสกันยายน 2564) รายได้ประชาชาติสุทธิเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.6 อัตราเงินเฟ้อไตรมาสเดือนมีนาคม 2568 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 (อัตราเงินเฟ้อต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 2.4) อัตราการว่างงานเดือนเมษายน 2568 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 อัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลงที่ร้อยละ 3.85 ธนาคารกลางออสเตรเลียคาดว่า การเติบโตของ GDP ออสเตรเลียตลอดปี 2568 จะขยายตัวร้อยละ 1.8 อีกทั้ง OECD ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจโลกลงที่ร้อยละ 2.9 และคาดว่า ออสเตรเลียจะได้รับผลกระทบทางอ้อมจากภาวะซบเซาของประเทศคู่ค้าในตลาดโลก
2) สถานการณ์การค้าภาพรวมของออสเตรเลีย [1]
ปี 2568 เดือนมกราคม-เมษายน สถานการณ์การส่งออกสินค้าของออสเตรเลีย มีมูลค่า 106,589 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 5.79) เป็นการส่งออกถ่านหินบิทูมินัส (ร้อยละ 28.45) สินแร่และหัวแร่เหล็ก (ร้อยละ 27.13) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป (ร้อยละ 11.86) เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค (ร้อยละ 4.60) และข้าวสาลีและเมสลิน (ร้อยละ 3.24) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้และอินเดีย สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 14 (ข้าวสาลีและเมสลิน น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ทองแดงบริสุทธิ์ อะลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปและเนื้อสัตว์สำหรับบริโภค)
ปี 2568 เดือนมกราคม-เมษายน การนำเข้าสินค้าของออสเตรเลีย มีมูลค่า 89,363 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 2.26) โดยเป็นการนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (ร้อยละ 13.92) รถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 13.79) น้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 12.45) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 10.93) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป (ร้อยละ 4.53) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และไทย ปี 2568 เดือนมกราคม-เมษายน ออสเตรเลียได้ดุลการค้า 17,226 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 5 มีมูลค่า 3,801 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 19.09) (สินค้านำเข้าหลักจากไทย 5 อันดับแรกได้แก่ รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ ยางรถยนต์ใหม่ และทูน่ากระป๋อง) และ ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 2,098 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (67,136 ล้านบาท)
สถานการณ์การส่งออกสินค้าของออสเตรเลียในเดือนเมษายน 2568 มีมูลค่า 26,867 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 0.58) โดยเป็นผลมาจากการส่งออกสินแร่และหัวแร่เหล็ก (ร้อยละ 28.53) ถ่านหินบิทูมินัส (ร้อยละ 27.06) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป (ร้อยละ 10.71) เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค (ร้อยละ 5.37) และข้าวสาลีและเมสลิน (ร้อยละ 3.74) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกาและฮ่องกง สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 14 (อะลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ทองแดงบริสุทธิ์ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ข้าวสาลีและเมสลินและเนื้อสัตว์สำหรับบริโภค)
สำหรับการนำเข้าสินค้าของออสเตรเลียในเดือนเมษายน 2568 มีมูลค่า 22,826 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 0.71) โดยเป็นการนำเข้ารถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 15.11) เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (ร้อยละ 14.62) น้ำมันปิโตรเลียมที่ได้จากแร่ บิทูมินัส (ดีเซล) (ร้อยละ 12.00) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือสำหรับเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 10.82) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป (ร้อยละ 5.75) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ไทยและเกาหลีใต้ ซึ่งในเดือนเมษายน 2568 ออสเตรเลียได้ดุลการค้าที่ 4,041 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 4 (รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องจักรสำหรับการรับการเปลี่ยนและการส่ง หรือการสร้างเสียง ภาพหรือข้อมูลอื่นๆ ยางรถยนต์ใหม่และทูน่ากระป๋อง)
สรุปสถานการณ์การค้าไทย-ออสเตรเลีย [2]
เป้าหมายส่งออก | มูลค่าการค้ารวม (ล้าน US$) | มูลค่าการส่งออก (ล้าน US$) | มูลค่าการนำเข้า (ล้าน US$) | |||||||
ปี 2024 (%) | ปี 2025 (%) | ปี 2024 | ปี 2025 | ปี 2024 | ปี 2025 | ปี 2024 | ปี 2025 | |||
| ม.ค-เม.ย. | +/- (%) |
| ม.ค-เม.ย. | +/- (%) |
| ม.ค-เม.ย. | +/- (%) | ||
1.0 (0.94) | 0.0 | 17,842.64 (-6.36) | 5,618.25 | -9.95 | 12,329.49 (0.94) | 3,676.90 | -12.11 | 5,513.15 (-19.40) | 1,941.35 | -5.55 |
[1] Source: Global Trade Atlas
[2] Source: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
3) สถานการณ์การค้าไทย-ออสเตรเลียเดือนเมษายน 2568
การส่งออกสินค้าไทยไปออสเตรเลียเดือนเมษายน ปี 2568 มีมูลค่า 883.95 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (28,286.4 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 1.54 เป็นการลดลงของสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว อาหารทะเลกระป๋อง เหล็กและผลิตภัณฑ์ และอัญมณีและเครื่องระดับ แต่การส่งออกเครื่องปรับอากาศ และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น
การนำเข้าสินค้าของไทยจากออสเตรเลียเดือนเมษายน ปี 2568 มีมูลค่า 355.64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (11,380.4 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 20.23 เป็นการลดลงของการนำเข้าสินค้าก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เครื่องเพชรพลอย อัญมณี ผัก ผลไม้ และเคมีภัณฑ์ แต่การนำเข้าสินแร่โลหะอื่นๆ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค นมและผลิตภัณฑ์นม เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบเพิ่มขึ้น