fb
เคนยาเตรียมออกกฎหมายฉลาก “ป้ายเตือนด้านสุขภาพ (black warning label)” ในสินค้าอาหารแปรรูปภายในปี 2026 ประเทศแรกในทวีปแอฟริกา ความท้าทายที่ผู้ส่งออกอาหารไทยต้องเตรียมการรับมือ

เคนยาเตรียมออกกฎหมายฉลาก “ป้ายเตือนด้านสุขภาพ (black warning label)” ในสินค้าอาหารแปรรูปภายในปี 2026 ประเทศแรกในทวีปแอฟริกา ความท้าทายที่ผู้ส่งออกอาหารไทยต้องเตรียมการรับมือ

ลงเมื่อ 09 กรกฎาคม 2568 02:00
12

รัฐบาลเคนยา โดยหน่วยงานควบคุมมาตรฐานสินค้าเคนยา (KEBS) และกระทรวงสาธารณสุขเคนยา กำลังอยู่ในระหว่างการร่างกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคเตือนให้ทราบถึงอาหารแปรรูป (packaged food) ที่มีส่วนประกอบหรือปริมาณสารอาหารที่เป็นโทษต่อสุขภาพ ได้แก่ มีน้ำตาลมากเกินไป (High in sugar) มีเกลือมากเกินไป (High in salt) และ มีไขมันมากเกินไป (High in saturated fat) โดยคาดการณ์ว่าจะมีการเริ่มประกาศใช้กฎหมายนี้ภายในเดือน มีนาคม 2569 (ค.ศ.2025) โดยมีการเริ่มออกแบบและทดลองใช้งานแล้วในปัจจุบัน โดยให้ชื่อฉลากนี้ว่า “ป้ายเตือนด้านสุขภาพ (black warning label)” ซึ่งเป็นเรื่องที่ ผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าอาหารสำเร็จรูปทั้งในเคนยาและนำเข้าจากต่างประเทศจะต้องปฎิบัติให้มีฉลากดังกล่าวในสินค้าประเภทนี้ต่อไป

 

โดยเรื่องดังกล่าวได้รับการเปิดเผยจากสำนักงานข่าว Reuter และสำนักงานข่าวต่างๆในเคนยา ถึงที่มาที่ไปในเรื่องนี้กล่าวคือ ด้วยแนวคิดของกระทรวงสาธารณสุขเคนยาและ หน่วยงานควบคุมมาตรฐานสินค้าเคนยา (KEBS)  ได้ร่วมกันจัดทำรายงานศึกษา รายงาน ATNI (Access to Nutrition Initiative) เพื่อศึกษาว่า อาหารแปรรูปที่มีจำหน่ายในเคนยามีคุณภาพด้านโภชนาการที่เป็นคุณหรือเป็นโทษอย่างไรกับผู้บริโภค เนื่องจากมีข้อมูลว่า ในช่วงปี 2018–2023 ที่ยอดขายอาหารแปรรูปเพิ่มขึ้น 16% และตั้งแต่ปี 2000 ผู้บริโภคเคนยาป่วยเป็นเบาหวานหรือโรคอ้วนเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า (โดยคิดเป็นร้อยละ45% ของผู้หญิงต่อคนทั้งหมดและ 19% ของผู้ชายต่อคนทั้งหมด) ทำให้ภาครัฐควรหาทางเตือนผู้บริโภคให้เลือกรับประทานอาหารอย่างถูกสุขลักษณะมากขึ้น ซึ่งจากผลการศึกษาของรายงาน ATNI พบข้อมูลที่น่าตกใจดังนี้ พบว่าประมาณ 90% ของผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มบรรจุภัณฑ์ในเคนยา (กลุ่มตัวอย่างจำนวน 746 ผลิตภัณฑ์จาก 30 บริษัทใหญ่ ซึ่งครอบคลุมกว่า 57% ของตลาดอาหารบรรจุภัณฑ์ในประเทศเคนยา) พบสินค้าถึงร้อยละ 90 ของผลิตภัณฑ์ที่สำรวจมีเกณฑ์ระดับน้ำตาลสูง เกลือ หรือไขมันอิ่มตัว มากเกินไป ซึ่งได้ทำการประเมินตามแบบ Kenya Nutrient Profiling Model ที่ยึดเอามาตรฐานอาหารที่ดีต่อสุขภาพตามข้อแนะนำชอง WHO  ทั้งนี้ หลังจากมีการเปิดเผยข้อมูลที่ว่านี้ ทำให้รัฐบาลได้วางเป้าหมาย ที่จะต้องจัดทำฉลากที่เตือนผู้บริโภคให้ทราบถึงอันตรายของการรับประทานอาหารที่มี น้ำตาล เกลือ หรือไขมันสูงเกษณ์ที่ร่างการควรได้รับ โดยเป้าหมายคือฉลากที่จัดทำขึ้นนี้ จะช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าโดยคำนึงถึงสุขภาพ ได้อย่างเหมาะสม  โดยได้มีการทดลองแบบสุ่ม (แบบ RCT) ชี้ว่า สัญลักษณ์ “ไม่ดีต่อสุขภาพ” สีดำในรูปทรงแปดเหลี่ยม เป็นรูปแบบที่ใช้งานได้ดีที่สุดในกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภค โดยช่วยให้ผู้ใช้จดจำสารที่เป็นปัญหา และปรับพฤติกรรมการซื้อได้ดีที่สุด

 

ความเห็นของ สคต.

 

จากรายงานดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า หน่วยงานควบคุมมาตรฐานสินค้าเคนยา (KEBS) และกระทรวงสาธารณสุขเคนยา ต้องการจะให้สินค้าอาหารแปรรูปที่จะจำหน่ายในเคนยา จัดทำฉลาก “ป้ายเตือนด้านสุขภาพ (black warning label)” โดยอ้างว่า จะทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกสินค้าที่ดีและเป็นประโยชน์กับร่างกายแต่ละคนมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็ถือเป็นความประสงค์ที่ดีและมีความเหมาะสมที่คนหันมาสนใจการรักษาสุขภาพตัวเองมากขึ้นของหลายๆ ประเทศทั่วโลก ซึ่งเคนยาก็จะเป็นประเทศอันดับแรกที่มีร่างกฎหมายในเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ดี เมื่อมีระเบียบดังกล่าวขึ้น จะทำให้การผลิตอาหารแปรรูปของผู้ผลิตในประเทศ และผู้นำเข้าสินค้าอาหารแปรรูปจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนการผลิต หรือต้นทุนการนำเข้าสินค้าที่จะสูงขึ้นเพื่อให้มีฉลากดังกล่าวตามข้อกำหนดต่อไป ซึ่งอาจเป็นนโยบายที่หน่วยงานภาครัฐของเคนยาต้องการหารายได้จากประชาชนมากขึ้นเช่นกัน

 

สำหรับประเทศไทยนั้น การส่งออกสินค้าอาหารแปรรูปนับเป็นสินค้าที่สำคัญชนิดหนึงที่มีการนำเข้าจากไทยมายังประเทศเคนยา มูลค่าประมาณปีละ 250-350 ล้านบาท (ปี 2567) ซึ่งผู้ส่งออกที่เกี่ยวข้องควรเตรียมการในเรื่องดังกล่าวในอนาคตต่อไป โดยกฎหมายนี้น่าจะเริ่มบังคับใช้จากผู้ผลิตรายใหญ่ในเดือนมีนาคม 2569 และบังคับทั้งหมดในปี 2570 ซึ่งหากมองถึงโอกาสของไทยแล้ว อาจเป็นโอกาสของการส่งออกสินค้าอาหารเฉพาะ เช่น อาหารน้ำตาลน้อย หรือ อาหารลดโซเดียม ที่มุ่งหวังเจาะตลาดของคนรักสุขภาพต่อไปเช่นกัน

 

ผู้ส่งออกหรือนักธูรกิจที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมด้านการค้าและการลงทุนต่าง ๆ เกี่ยวประเทศเคนยา และประเทศในแอฟริกาตะวันออก ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ E-mail: ของสำนักงานฯ ที่ info@ocanairobi.co.ke 

 

ที่มา : citizen tv

แปล_วิเคราะห์_2025_ July_ข่าว2.docx-เคนยาเตรียมออกกฎหมายฉลาก ป้ายเตือนด้านสุขภาพ -black warning label.pdf
Share :
Instagram