1.จากสถานการณ์ความขัดแย้งที่อาจบานปลาย หากอิหร่านปิดช่องแคบฮอร์มุซ จะส่งผลอย่างไรต่อราคาน้ำมันโลก และการค้าระหว่างไทย - GCC (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ?
1.1 ช่องแคบ Hormuz เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญระดับโลก เนื่องจาก
มีน้ำมันกว่า 20% ของปริมาณน้ำมันโลก ผ่านออกทางนี้ทุกวัน
หากอิหร่านปิดช่องแคบนี้ จะเป็นการตัดเส้นทางส่งออกน้ำมันจากซาอุดีอาระเบีย คูเวต บาห์เรน กาตาร์ และยูเออี
ตลาดพลังงานจะผันผวนหนัก นักลงทุนอาจเทขายสินทรัพย์เสี่ยง
1.3 ผลกระทบต่อการค้าไทย - GCC :
ค่าขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันและเบี้ยประกันภัย
สินค้านำเข้าจากไทย เช่น อาหาร ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง อาจเจอปัญหาค่าขนส่งสูง และความล่าช้า
ไทยอาจเผชิญความเสี่ยงด้านต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นและการชะลอตัวของคำสั่งซื้อจากประเทศในกลุ่ม GCC
แต่ยังมีทางเลือกอื่น เช่น การใช้ท่าเรือในประเทศโอมาน และขนส่งทางบกเข้ายูเออี
2.สินค้าไทยจะสามารถส่งออกไปยังตะวันออกกลางได้อย่างไรภายใต้สถานการณ์นี้ ?
2.1 เปลี่ยนเส้นทางขนส่ง : ใช้ท่าเรือนอกช่องแคบฮอร์มุซ เช่น ท่าเรือดูคม (โอมาน)
2.2 ขนส่งทางอากาศ : สำหรับสินค้ามูลค่าสูง เช่น อิเล็กทรอนิกส์ หรือสินค้าที่เน่าเสียง่าย แต่ต้องรับความเสี่ยงด้านราคาและต้นทุนที่จะสูงขึ้น
2.3 ร่วมมือกับผู้จัดจำหน่ายในกลุ่ม GCC : สร้างคลังสินค้าในภูมิภาคล่วงหน้าเพื่อลดความเสี่ยง
3.การโจมตีฐานทัพสหรัฐฯ ที่ตั้งอยู่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลางจะส่งผลกระทบอย่างไร ?
3.1 ประเทศที่ได้รับผลกระทบ (เช่น อิรัก คูเวต) : เสี่ยงต่อความเสียหายของโครงสร้างพื้นฐาน ความไม่มั่นคงทางการเมือง และความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับสหรัฐฯ การค้าและการลงทุนจากต่างชาติอาจลดลง หากสถานการณ์ความปลอดภัยแย่ลง
3.2 ผลกระทบต่อ GCC : ความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้น อาจทำให้การลงทุนในภาคส่วนที่มิใช่น้ำมัน (เช่น การท่องเที่ยว โลจิสติกส์) ลดลง และกระทบห่วงโซ่อุปทาน
3.3 ความเสี่ยงด้านความมั่นคงและความเชื่อมั่นนักลงทุน : จะเพิ่มความตึงเครียดในภูมิภาค ทำให้ตลาดการเงินในประเทศ GCC (โดยเฉพาะตลาดหุ้นและราคาน้ำมัน) ผันผวน
3.4 นักลงทุนต่างชาติอาจระมัดระวังมากขึ้น : ส่งผลต่อการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ
4. แนวทางแก้ไขหรือคำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการไทย
4.1 ลดความเสี่ยง ซื้อประกันการค้า ป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำมันและอัตราแลกเปลี่ยน
4.2 กระจายตลาด/หาตลาดอื่นนอกกลุ่ม GCC ในระยะนี้ เช่น ประเทศในอาเซียน เพื่อลดการพึ่งพาตะวันออกกลาง
4.3 เจรจาสัญญาเงื่อนไขใหม่กับคู่ค้า (FOB แทน CIF) เพื่อเลี่ยงความเสี่ยงด้านค่าขนส่ง
4.4 ด้านโลจิสติกส์
จัดทำแผนสำรอง (Contingency Plan) กรณีท่าเรือหลักไม่สามารถใช้งานได้
หารือกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ระดับสากลเช่น DHL Maersk ที่มีเครือข่ายในภูมิภาค
5. แนวทางแก้ไขปัญหาของกลุ่มประเทศ GCC
5.1 การเจรจาทางการทูต :
ใช้กลไกของสภา Cooperation Council for the Arab States of the Gulf (GCC) เพื่อหารือกับอิหร่านและสหรัฐฯ
โอมาน อาจเป็นตัวกลางเจรจา เนื่องจากมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งสองฝ่าย
5.2 การกระจายความเสี่ยงด้านพลังงาน :
เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนส่งทางเลือก เช่น ท่อส่งน้ำมันใหม่ หรือท่าเรือนอกอ่าวอาหรับ อาทิ
ซาอุดีอาระเบียและยูเออีได้ลงทุนสร้างท่อส่งน้ำมันที่เลี่ยงจุดคอขวด แต่มีข้อจำกัดด้านกำลังการผลิตและภัยคุกคามทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่เพียงพอที่จะบรรเทาผลกระทบทั้งหมดจากการปิดช่องแคบ
ท่อส่งน้ำมันจากกรุงอาบูดาบี (ยูเออี) ไปยังรัฐฟูไจราห์ (ยูเออี) ที่มีความยาว 250 ไมล์ ช่วยให้ ยูเออีสามารถเลี่ยงช่องแคบเพื่อขนส่งน้ำมันไปยังทะเลอาหรับโดยตรง
ยูเออีได้สร้างคลังน้ำมันขนาดใหญ่ในรัฐฟูไจราห์ ซึ่งสามารถบรรจุน้ำมันได้มากกว่า 70 ล้านบาร์เรล โดยท่อส่งน้ำมันมีกำลังการผลิตประมาณ 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน
เพิ่มการใช้เส้นทางรถไฟในกลุ่ม GCC (เช่น รถไฟเชื่อมซาอุดีอาระเบีย - โอมาน) ขนส่งข้ามพรมแดนทางบกที่ Ramlet Khelah ทำให้การขนส่งตู้คอนเทนเนอร์สามารถเลี่ยงช่องแคบได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานและข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ เส้นทางเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้สำหรับการขนส่งสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมัน
5.3ความร่วมมือด้านความมั่นคง:เพิ่มความร่วมมือทางทหารระหว่างประเทศใน GCC (เช่น การซื้อระบบป้องกันทางอากาศร่วมกัน)
-------------------------------------------------------------------------