fb
รัฐบาลเตือนผู้ค้าข้าวหลังพบการกดราคาข้าวเปลือกกระทบเกษตรกร

รัฐบาลเตือนผู้ค้าข้าวหลังพบการกดราคาข้าวเปลือกกระทบเกษตรกร

โดย
kanthimak@ditp.go.th
ลงเมื่อ 15 กรกฎาคม 2568 02:30
13

               นาง Claire Castro โฆษกประจำทำเนียบประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ (Malacañang) ระบุว่า กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (DA) ได้รับรายงานว่าราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรได้รับในเขต Victoria ในจังหวัด Tarlac ลดลงเหลือ 13 เปโซต่อกิโลกรัม โดยผู้ค้าข้าวอ้างว่า โครงการข้าว 20 เปโซต่อกิโลกรัมของรัฐบาลเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องกดราคาข้าวเปลือก อย่างไรก็ตาม นาง Claire Castro ได้ปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าว โดยชี้แจงว่า โครงการดังกล่าวใช้สำหรับข้าวเปลือกที่จัดซื้อผ่านสำนักงานอาหารแห่งชาติ (National Food Authority: NFA) ไม่ใช่การอ้างอิงราคาซื้อจากเกษตรกรทั่วไป ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (DA) ได้เคยชี้แจงว่า โครงการดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นอุปสงค์สำหรับความมั่นคงทางอาหารท้องถิ่นและทำให้ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรได้รับปรับตัวดีขึ้น โดยเกษตรกรสามารถขายข้าวเปลือกให้ NFA ได้ในช่วงราคา 17 – 30 เปโซต่อกิโลกรัม ซึ่งรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณกว่า 4.5 พันล้านเปโซเพื่อสนับสนุนโครงการดังกล่าว ซึ่งตามข้อมูลล่าสุดของ สำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ (PSA) ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรได้รับเฉลี่ยทั่วประเทศ ณ เดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 17.75 เปโซต่อกิโลกรัม โดยโฆษกประจำทำเนียบประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ (Malacañang) กล่าวเพิ่มเติมว่า เกษตรกรสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนปัญหาการถูกกดราคาโดยพ่อค้าคนกลางต่อกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture) กระทรวงมหาดไทยและการปกครองท้องถิ่น (Department of the Interior and Local Government) และกระทรวงยุติธรรม (Department of Justice) ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติหมายเลข 12022 หรือกฎหมายต่อต้านการบ่อนทำลายภาคเกษตร (Anti-Agricultural Sabotage Act : Republic Act No. 12022การบ่อนทำลายเศรษฐกิจ หมายถึง การกระทำใดๆ ที่ก่อให้เกิดความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ เช่น การสร้างภาวะขาดแคลน การส่งเสริมการนำเข้าเกินความจำเป็น การควบคุมหรือบิดเบือนราคาหรือปริมาณสินค้าในตลาด กฎหมายยังรวมถึงการหลีกเลี่ยงหรือจ่ายอากรนำเข้าและภาษีศุลกากรไม่ครบถ้วน การแสวงหากำไรเกินควรจากสถานการณ์วิกฤติการสร้างความขาดแคลน หรือการสมคบคิดเพื่อทำลายการแข่งขันอย่างเสรี ซึ่งล้วนก่อให้เกิดผลเสียต่อสาธารณะ

สถานการณ์ในภูมิภาคอื่น

              นาย Jayson H. Cainglet กรรมการบริหารสมาคมอุตสาหกรรมเกษตรกรรมฟิลิปปินส์ (Samahang Industriya ng Agrikultura: SINAG) เผยว่า มีรายงานราคาข้าวเปลือกเกษตรกรได้รับลดลงในจังหวัด Aklan จังหวัด Iloilo และบางพื้นที่ของภูมิภาค Mindanao แม้ฤดูเก็บเกี่ยวสูงสุดสิ้นสุดไปแล้ว โดยเสริมว่าเกษตรกรจำนวนมากยังคาดหวังให้รัฐบาลเร่งจัดสรรเงินอุดหนุนสำหรับปัจจัยการผลิตและเงินช่วยเหลือโดยตรง เพื่อให้เกษตรกรสามารถตัดสินใจได้ว่าจะเพาะปลูกข้าวในรอบฤดูกาลหน้าต่อไปหรือยุติการเพาะปลูกภายใต้ต้นทุนปัจจัยการผลิตที่สูงและราคาที่เกษตรกรได้รับที่ลดลงทำให้มีเกษตรกรจำนวนมากลังเลที่จะเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ดังกล่าว สมาคม SINAG ได้เสนอหลายมาตรการเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกข้าวต่อไป โดยข้อเสนอสำคัญ เช่น รัฐบาลควรกำหนดราคาขั้นต่ำของข้าวเปลือกให้ชัดเจน เช่น ข้าวเปลือกใหม่ (Fresh palay) ไม่ต่ำกว่า 17 เปโซต่อกิโลกรัม และข้าวเปลือกแห้ง (Dry palay) ไม่ต่ำกว่า 23 เปโซต่อกิโลกรัม และเรียกร้องให้รัฐบาลเพิ่มงบประมาณจัดซื้อข้าวเปลือกของ NFA เป็น หมื่นล้านเปโซ จากเดิมที่กฎหมายงบประมาณปี 2568 (General Appropriations Act) จัดสรรไว้เพียง พันล้านเปโซ นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังเสนอให้มีการปรับอัตราภาษีนำเข้าข้าวกลับมาอยู่ที่ร้อยละ 35 สำหรับกลุ่มประเทศในอาเซียนและร้อยละ 50 สำหรับกลุ่มนอกประเทศอาเซียน อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (DA) ได้เสนอให้ทยอยปรับอัตราภาษี ในไตรมาสที่ 4 ก่อนกลับไปใช้อัตราร้อยละ 35 เพื่อป้องกันราคาข้าวในประเทศปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงยังเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งจ่ายเงินอุดหนุนจากส่วนเกินรายได้จากภาษีนำเข้าข้าวในปีที่ผ่านมาให้แก่เกษตรกร โดยกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (DA) ซึ่งได้ทำการยื่นเรื่องต่อกรมงบประมาณและการจัดการ (DBM) เพื่อขออนุมัติการเบิกจ่ายยอดคงเหลือดังกล่าว นาย Arnel de Mesa รองปลัดกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (DA) ระบุว่า เงินอุดหนุนส่วนดังกล่าวควรถูกจัดสรรตั้งแต่ไตรมาสที่ เพื่อสอดคล้องกับช่วงเพาะปลูกฤดูแล้ง นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (DA) กำลังสรุปร่างกฎหมายเพื่อฟื้นฟูหน้าที่หลักของ NFA ให้สามารถกำหนดราคารับซื้อข้าวเปลือกขั้นต่ำได้ข้อมูลจากกรมศุลกากร (BOC) ระบุว่า การจัดเก็บภาษีนำเข้าข้าวในปีที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 34,230 ล้านเปโซ ขณะที่ปริมาณการนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ในปี 2567 อยู่ที่ 4.8 ล้านตัน 
ซึ่งนับว่าสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์  

บทวิเคราะห์และข้อคิดเห็น

  • แม้ว่าฟิลิปปินส์จะมีการเพาะปลูกข้าวเพื่อการบริโภคภายในประเทศ แต่การผลิตข้าวในประเทศไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่สูงขึ้นทุกปีได้ โดยผลิตข้าวได้ประมาณ 12 ล้านตันต่อปี ซึ่งยังคงไม่เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นกว่า 16 ล้านตันต่อปี ทำให้ฟิลิปปินส์ต้องพึ่งพาการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากเวียดนามและไทย นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเสี่ยงสูงสุดในเอเชียเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะในภาคข้าวที่มีบทบาทสำคัญในการเลี้ยงชีพของประชากรปัญหาดังกล่าวยิ่งทวีความซับซ้อนด้วยภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และพายุไต้ฝุ่น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเกษตรและการผลิตข้าวอย่างต่อเนื่องทุกปี ส่งผลให้ปัจจุบันฟิลิปปินส์เป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลกจึงถือเป็นโอกาสของการขยายการส่งออกข้าวของไทยมาตลาดฟิลิปปินส์เพื่อรองรับกับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าว โดยในปี 256ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวรวม 4.77 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.10 จากปีก่อน โดยนำเข้าจากเวียดนามเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 3.55 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 74.42 ของการนำเข้าข้าวทั้งหมด รองลงมาได้แก่ ไทย ปริมาณ 6.42 แสนตัน (ร้อยละ 13.46) และปากีสถาน ปริมาณ 3.09 แสนตัน (ร้อยละ 6.49สำหรับปี 2568 (เดือนมกราคม - มีนาคมฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวรวม 1.03 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 10.14 จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนที่มีปริมาณการนำเข้า 1.15 ล้านตัน โดยนำเข้าจากเวียดนามเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 8.29 แสนตัน คิดเป็นร้อยละ 80.18 ของการนำเข้าข้าวทั้งหมด รองลงมาได้แก่ ปากีสถาน ปริมาณ 9.44 หมื่นตัน (ร้อยละ 9.14และไทย ปริมาณ 7.79 หมื่นตัน (ร้อยละ 7.54อย่างไรก็ตาม ข้าวไทยยังคงมีคุณภาพมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในตลาดฟิลิปปินส์ แต่ยังคงต้องแข่งขันกับประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ เวียดนามที่มีพันธุ์ข้าวขาวพื้นนุ่มตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งไทยจำเป็นต้องเร่งพัฒนาและผลิตพันธุ์ข้าวให้มีความหลากหลาย โดยเฉพาะข้าวขาวพื้นนุ่มเพื่อตอบโจทย์ให้ตรงกับความต้องการของตลาดฟิลิปปินส์จึงจะมีโอกาสในการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดข้าวในฟิลิปปินส์ได้มากขึ้นต่อไป 

 

รัฐบาลเตือนผู้ค้าข้าวหลังพบการกดราคาข้าว RV.pdf
Share :
Instagram