fb
รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าสหรัฐฯ  ประจำเดือนพฤษภาคม 2568

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าสหรัฐฯ ประจำเดือนพฤษภาคม 2568

โดย
suwaparbs@ditp.go.th
ลงเมื่อ 01 กรกฎาคม 2568 21:31
13
  1. อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ (GDP Growth)

สำนักงานวิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐฯ (U.S. Bureau of Economic Analysis) กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ (U.S. Department of Commerce) รายงานมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติแท้จริง (Real GDP) สหรัฐฯ ไตรมาสที่ 1 ปี2568 ลดลงในอัตรารายปีที่ร้อยละ 0.5 ตามการประมาณครั้งที่ 3 และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในไตรมาสที่ 4 ปี 2567 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 (ประมาณการครั้งที่ 3)

การลดลงของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติแท้จริงในไตรมาสที่ 1 ปี 2568 สะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าและการลดลงของการใช้จ่ายภาครัฐ ซึ่งถูกชดเชยบางส่วนด้วยการเพิ่มขึ้นของการลงทุนและการใช้จ่ายของผู้บริโภค

สถาบันวิจัย The Conference Board คาดการณ์มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติแท้จริง (Real GDP) สหรัฐฯ ไตรมาสที่ 2 ปี 2568 อยู่ที่อัตรารายปีที่ร้อยละ 2.3, ไตรมาสที่ 3 ปี 2568 ที่ร้อยละ 0.6 และไตรมาสที่ 4 ปี 2568 ที่ร้อยละ 1.4   

สถิติอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯ* ปี 2564 – 2568                       หน่วย: ร้อยละ

ปี

ไตรมาส 1

ไตรมาส 2

ไตรมาส 3

ไตรมาส 4

2564

5.6

6.4

3.5

7.4

2565

-1.0

0.3

2.7

3.4

2566

2.8

2.4

4.4

3.2

2567

1.6

3.0

3.1

2.4

2568

-0.5

2.3 (คาดการณ์)

0.6 (คาดการณ์)

1.4 (คาดการณ์)

ที่มา: Bureau of Economic Analysis, U.S. Department of Commerce

image.png

ที่มา: The Conference Board

2. อัตราการว่างงาน

สำนักงานสถิติแรงงาน (Bureau of Labor Statistics) กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ (U.S. Department of Labor) รายงานอัตราการว่างงานสหรัฐฯ ประจำเดือนพฤษภาคม 2568 (ข้อมูลล่าสุด) อยู่ที่อัตราร้อยละ 4.2  ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่ผ่านมา โดยอยู่ในช่วงอัตราระหว่างร้อยละ 4.0 - 4.2 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2567 มีผู้ว่างงานในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนทั้งสิ้น 7.2 ล้านคน การจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm Payroll Employment) เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 139,000 ตำแหน่ง

  • กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมบริการด้านสุขภาพ 62,000 ตำแหน่ง อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ 48,000 ตำแหน่ง อุตสาหกรรมสังคมสงเคราะห์ 16,000 ตำแหน่ง

  • กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานลดลง คือ อุตสาหกรรมการจ้างงานภาครัฐ 22,000 ตำแหน่ง และลดลง 59,000 ตำแหน่งนับตั้งแต่เดือนมกราคม

  • ส่วนการจ้างงานในอุตสาหกรรมเหมืองแร่และขุดเจาะพลังงาน อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมค้าส่ง อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมค้าปลีก อุตสาหกรรมการขนส่งและคงคลังสินค้า และอุตสาหกรรมการบริการอื่นๆ ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก

สถิติอัตราการว่างงานสหรัฐฯ ย้อนหลัง 12 เดือน

เดือน

ร้อยละ

เดือน

ร้อยละ

มิ.ย. 67

4.1

ธ.ค. 67

4.1

ก.ค. 67

4.6

ม.ค. 68

4.0

ส.ค. 67 

4.2

ก.พ. 68

4.1

ก.ย. 67

4.1

มี.ค. 68

4.2

ต.ค. 67

4.1

เม.ย. 68

4.2

พ.ย. 67

4.2

พ.ค. 68

4.2

ที่มา: Bureau of Labor Statistics, U.S. Department of Labor

3. ภาวะเงินเฟ้อ (Consumer Price Index: CPI)

สำนักงานสถิติแรงงาน (Bureau of Labor Statistics) กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ (U.S. Department of Labor) รายงานภาวะเงินเฟ้อสหรัฐฯ ประจำเดือนพฤษภาคม 2568 (ข้อมูลล่าสุด) ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 (ไม่ปรับฤดูกาล หรือ Not Seasonally Adjusted) 

โดยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาราคาสินค้าไม่ปรับฤดูกาล (Not Seasonally Adjusted) กลุ่มสินค้าอื่นๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 กลุ่มสินค้าอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 และกลุ่มสินค้าพลังงานปรับตัวลดลงร้อยละ  3.5 มีรายละเอียด ดังนี้

  • กลุ่มสินค้าอาหาร ได้แก่ เนื้อสัตว์และไข่ (+ร้อยละ 6.1) เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (+ร้อยละ 3.1) ผลิตภัณฑ์จากนม (+ร้อยละ 1.7) ผักและผลไม้สด (-ร้อยละ 0.5) และซีเรียลและเบเกอรี (+ร้อยละ 1.0)

  • กลุ่มสินค้าพลังงาน ได้แก่ ไฟฟ้า (+ร้อยละ 4.5) ก๊าซธรรมชาติ (+ร้อยละ 15.3) และน้ำมันเชื้อเพลิง (-ร้อยละ 8.6)

  • กลุ่มสินค้าและบริการอื่น ได้แก่ บริการขนส่ง (+ร้อยละ 2.8) ที่พักอาศัย (+ร้อยละ 3.9) บัตรโดยสารเครื่องบิน (-ร้อยละ 7.3) เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม (-ร้อยละ 0.9) วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ (+ร้อยละ 0.3) รถยนต์ใหม่ (+ร้อยละ 0.4) และรถยนต์มือสอง (Used Cars) (+ร้อยละ 1.8)

สถิติอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ย้อนหลัง 12 เดือน

เดือน

ร้อยละ

เดือน

ร้อยละ

มิ.ย. 67

3.0

ธ.ค. 67

2.9

ก.ค. 67

2.9

ม.ค. 68

3.0

ส.ค. 67 

2.5

ก.พ. 68

2.8

ก.ย. 67

2.4

มี.ค. 68

2.4

ต.ค. 67

2.6

เม.ย. 68

2.3

พ.ย. 67

2.7

พ.ค. 68

2.4

ที่มา: Bureau of Labor Statistics, U.S. Department of Labor

4. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index: CCI)

The Conference Board (CB) รายงานผู้บริโภคชาวอเมริกันมีความเชื่อมั่นต่อสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2568 โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดิม 86.0 ในเดือนเมษายน 2568 เป็น 98.4 ในเดือนพฤษภาคม 2568 (ปีฐาน: ปี 2528 = 100)

image.png

สถิติดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ย้อนหลัง 12 เดือน

เดือน

ร้อยละ

เดือน

ร้อยละ

มิ.ย. 67

100.4

ธ.ค. 67

104.7

ก.ค. 67

100.3

ม.ค. 68

104.1

ส.ค. 67 

105.6

ก.พ. 68

98.3

ก.ย. 67

99.2

มี.ค. 68

92.9

ต.ค. 67

109.6

เม.ย. 68

86.0

พ.ย. 67

111.7

พ.ค. 68

98.4

ที่มา: The Conference Board

ดัชนีความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบัน (Present Situation Index) ที่วัดแนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจและตลาดแรงงานในปัจจุบันปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดิม 131.1 ในเดือนเมษายน 2568 เป็น 135.9 ในเดือนพฤษภาคม 2568 และดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภค (Expectations Index) ซึ่งวัดจากมุมมองของผู้บริโภคต่อสถานการณ์ทางด้านรายได้ การดำเนินกิจการ และการจ้างงานในตลาดแรงงานในระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น 17.4 จุดจากเดือนเมษายน 2568 สู่ระดับ 72.8 ในเดือนพฤษภาคม 2568 ซึ่งยังคงต่ำกว่าระดับ 80.0 ซึ่งเป็นสัญญาณแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ในอนาคต

โดยรวมแม้ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวอเมริกันปรับตัวดีขึ้น แต่ดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับต่ำ และความคาดหวังต่อสภาพธุรกิจและตลาดแรงงานยังคงเป็นไปในทิศทางลบ

5. ภาวะการค้าปลีกของสหรัฐฯ

สำนักงานสถิติสหรัฐฯ (U.S. Census Bureau) กระทรวงพาณิชย์ สหรัฐฯ รายงานภาวะการค้าปลีกและ การบริการด้านอาหารประจำเดือนล่วงหน้า (Advance Monthly Sales for Retail and Food Services) สหรัฐฯ ประจำเดือนพฤษภาคม 2568 (ข้อมูลล่าสุด) สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • มูลค่าการค้าปลีกสินค้าและการบริการด้านอาหาร (Retail & Food Services) หดตัวลดลงร้อยละ 0.9 เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 715,417 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สถิติมูลค่าการค้าปลีกสินค้าและการบริการด้านอาหารย้อนหลัง 12 เดือน

                                                                             มูลค่า: ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เดือน

2566

2567

2568

ปป% 

มิ.ย.

688,810

702,862

- 

+2.04

ก.ค.

690,641

710,409

- 

+2.86

ส.ค.

696,238

711,291

- 

+2.16

ก.ย.

702,109

716,026

- 

+1.98

ต.ค.

699,365

719,676

- 

+2.90

พ.ย.

697,167

725,925

- 

+4.12

ธ.ค.

699,821

730,336

- 

+4.36

ม.ค.

- 

694,131

722,944

+4.15

ก.พ.

- 

699,739

724,535

+3.54

มี.ค.

- 

687,641

723,714

+5.25

เม.ย.

- 

688,629

724,131

+5.16

พ.ค.

 

692,635

715,417

+3.29

  • มูลค่าการค้าปลีก (Retail Trade Sales) หดตัวลดลงร้อยละ 0.9 เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 618,055 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สถิติมูลค่าการค้าปลีกย้อนหลัง 12 เดือน

                                                                             มูลค่า: ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เดือน

2566

2567

2568

ปป%

มิ.ย.

598,006

608,460

- 

+1.75

ก.ค.

599,270

615,855

- 

+2.77

ส.ค.

604,187

615,891

- 

+1.94

ก.ย.

609,130

619,411

- 

+1.69

ต.ค.

606,170

622,551

- 

+2.70

พ.ย.

602,896

628,727

- 

+4.28

ธ.ค.

605,203

633,359

- 

+4.65

ม.ค.

- 

600,936

625,480

+4.08

ก.พ.

- 

605,643

616,714

+1.83

มี.ค.

- 

595,969

625,784

+5.00

เม.ย.

- 

596,703

625,038

+4.75

พ.ค.

 

600,147

618,055

+2.98

  • มูลค่าการค้าปลีกไม่ผ่านร้านค้า (Nonstore Retailers) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 125,492 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สถิติมูลค่าการค้าปลีกไม่ผ่านร้านค้า ย้อนหลัง 12 เดือน

                                                                             มูลค่า: ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เดือน

2566

2567

2568

ปป%

มิ.ย.

112,490

122,396

- 

+8.81

ก.ค.

115,342

121,888

- 

+5.68

ส.ค.

114,674

123,998

- 

+8.13

ก.ย.

116,085

124,130

- 

+6.93

ต.ค.

116,692

124,801

- 

+6.95

พ.ย.

115,426

126,726

- 

+9.79

ธ.ค.

118,345

125,746

- 

+6.25

ม.ค.

- 

118,306

122,847

+3.84

ก.พ.

- 

117,125

123,214

+5.20

มี.ค.

- 

116,194

123,321

+6.13

เม.ย.

-

114,924

123,539

+7.50

พ.ค.

-

115,886

125,492

+8.29

 

กลุ่มสินค้าและบริการที่มียอดค้าปลีกขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้ารถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ (+ร้อยละ 5.1) สินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน (+ร้อยละ 6.8) สินค้าอาหารและเครื่องดื่ม (+ร้อยละ 2.8) สินค้าเพื่อสุขภาพและสุขอนามัยส่วนบุคคล (+ร้อยละ 6.5) สินค้าเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม (+ร้อยละ 3.9) การบริการร้านอาหารและเครื่องดื่ม (+ร้อยละ 4.7) กลุ่มสินค้าและบริการที่มียอดค้าปลีกหดตัวลง ได้แก่ สินค้าน้ำมันเชื้อเพลิง(-ร้อยละ 4.2 )  สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ (-ร้อยละ 1.9)

ส่วนสินค้าอุปกรณ์กีฬา สินค้าวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก

image.png

ที่มา: U.S. Census Bureau, U.S. Department of Commerce

6. ภาวะการค้าระหว่างประเทศ

สำนักงานสถิติสหรัฐฯ (U.S. Census Bureau) กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานสถิติดุลการค้า (ส่งออก – นำเข้า) สหรัฐฯ ประจำเดือนเมษายน 2568 (ข้อมูลล่าสุด) สรุปได้ ดังนี้

สหรัฐฯ ขาดดุลการค้า ในเดือนเมษายน 2568 สุทธิทั้งสิ้น 61,617 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 76,699 ล้านดอลลาร์จาก 138,316 ล้านดอลลาร์ในเดือนมีนาคม 2568 หรือลดลงร้อยละ 55.5 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา

สหรัฐฯ มีมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการในเดือนเมษายน 2568 เป็นมูลค่า 289,370 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 8,296 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา แบ่งเป็น

  • การส่งออกสินค้าเป็นมูลค่า 190,490 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 6,224 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา

  • การส่งออกบริการเป็นมูลค่า 98,880 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,071 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา

โดยกลุ่มสินค้าที่สหรัฐฯ มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้าวัสดุและอุปกรณ์อุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565

สหรัฐฯ มีมูลค่าการนำเข้าสินค้าและบริการในเดือนเมษายน 2568 เป็นมูลค่า 350,987 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 68,404 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือลดลงร้อยละ 16.3 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา แบ่งเป็น

  • การนำเข้าสินค้าเป็นมูลค่า 277,904 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 68,933 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือลดลงร้อยละ 19.9 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา

  • การนำเข้าบริการเป็นมูลค่า 73,083 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 529 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา

image.png

ที่มา: U.S. Census Bureau, U.S. Department of Commerce

7. ภาวะการค้าระหว่าง สหรัฐฯ – ไทย

ในเดือนเมษายน2568 (ข้อมูลล่าสุด) สหรัฐฯ และไทยมีมูลค่าการค้าสุทธิทั้งสิ้น 31,400.28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 16) เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.62 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของสหรัฐฯ โดยสหรัฐฯ มีดุลการค้า ขาดดุล ไทยเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 17,495.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.82 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา

  • สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 24,447.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 13) เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยสินค้าหลักนำเข้าจากไทย ได้แก่ อุปกรณ์โทรศัพท์ (HS Code 8517) เพิ่มขึ้นร้อยละ 91.75 เครื่องประมวลผลข้อมูล (HS Code 8471) เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.70 ยางนอกชนิดอัดลม (HS Code 4011) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.49 เครื่องปรับอากาศ (HS Code 8415)  เพิ่มขึ้นร้อยละ 100.12 และหม้อแปลงไฟฟ้า (HS Code 8504) เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.68 

  • สหรัฐฯ ส่งออกไปไทย เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 6,952.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 22) เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยสินค้าหลักส่งออกไปไทย ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียม (HS Code 2709) เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.61 แผงวงจร (HS Code 8542) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.82 เครื่องประมวลผลข้อมูล (HS Code 8471) เพิ่มขึ้นร้อยละ 172.87 เศษอะลูมิเนียม (HS Code 7602) เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.16 และรัตนชาติและกึ่งรัตนชาติ (HS Code 7103) เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.75 

Share :
Instagram