สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) มุ่งมั่นสร้างอนาคตทางเศรษฐกิจที่เติบโตควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะภายใต้นโยบายเศรษฐกิจมุนเวียนที่มีเป้าหมายในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สภาเศรษฐกิจหมุนเวียนแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE Circular Economy Council) ได้จัดการประชุมครั้งที่ 2 ประจำปี 2568 ณ โรงงาน Blue Biofuels ใจกลางกรุงอาบูดาบี ซึ่งเป็นผู้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพหมุนเวียนจากทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลและลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
การประชุมครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อติดตามและทบทวนนโยบายชุดที่ 2 ภายใต้ "วาระเศรษฐกิจหมุนเวียนยูเออี 2574" (UAE Circular Economy Agenda 2031) ซึ่งเป็นแผนงานระยะยาวของประเทศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว
การประชุมดังกล่าวนำโดย ฯพณฯ อับดุลลาห์ บิน ทูก อัล มาร์รี (Abdulla bin Touq Al Marri) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ในฐานะประธานสภาฯ ร่วมด้วย H.H. Sheikha Shamma bint Sultan bint Khalifa Al Nahyan ประธานและซีอีโอของ UAE Independent Climate Change Accelerators (UICCA) พร้อมด้วยสมาชิกจากทั้งภาครัฐและเอกชน
นโยบายที่หารือในการประชุมครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่ 3 ภาคส่วนสำคัญ ได้แก่ ระบบขนส่งที่ยั่งยืน โครงสร้างพื้นฐานสีเขียว และอุตสาหกรรมสะอาด ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของยูเออีในการก้าวขึ้นเป็นผู้นำระดับโลกด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการวางรากฐานเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
ฯพณฯ อับดุลลาห์ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเป็นรูปธรรม
หนึ่งในแนวทางหลักที่ยูเออีให้ความสำคัญ คือ การสนับสนุนภาคเอกชนในการพัฒนาและนำเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดมาใช้รวมถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวของประเทศในการก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรมสีเขียวระดับโลก
ท่านรัฐมนตรีกล่าวว่า“เศรษฐกิจหมุนเวียนไม่ใช่เพียงพันธะด้านสิ่งแวดล้อม แต่คือโอกาส เชิงยุทธศาสตร์ในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เราเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศที่จะเปลี่ยนความท้าทาย ให้กลายเป็นความสำเร็จ และมุ่งมั่นในการสนับสนุนผู้ประกอบการให้พัฒนานวัตกรรมที่สามารถเปลี่ยนของเสียให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าได้”
สภาเศรษฐกิจหมุนเวียนแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE Circular Economy Council) เป็นองค์กรระดับชาติที่มีหน้าที่ในการส่งเสริม พัฒนา และกำหนดทิศทางของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศ โดยยึดหลักการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดของเสีย และมุ่งสร้างความยั่งยืนในระยะยาว เป้าหมายสูงสุดคือการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อวางรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับประเทศในทุกมิติ
การพัฒนากรอบกฎหมายและนโยบายเพื่อสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจหมุนเวียนในประเทศ
การส่งเสริมเทคโนโลยีสะอาดและการผลิตในประเทศเพื่อช่วยลดของเสียและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร
การใช้เครื่องมือดิจิทัล เป็นกลไกสนับสนุนและขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
การพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับสตาร์ทอัพและธุรกิจSMEเพื่อสร้างโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืน
การสร้างตลาดออนไลน์สำหรับการซื้อขายและรีไซเคิลพลาสติกอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
ความร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น กรณีศึกษาจาก PepsiCo MENA และปากีสถาน ที่ได้นำพลาสติก รีไซเคิลกลับมาใช้ในห่วงโซ่อุปทาน
สภาฯ เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี่เพื่อสภาพภูมิอากาศ นวัตกรรมนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน การประชุมครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของยูเออีในการก้าวสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนที่สมบูรณ์ภายในทศวรรษหน้าพร้อมเป็นแบบอย่างด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนและนวัตกรรมสีเขียวในระดับโลก
ความเห็นของ สคต.ดูไบ
"วาระเศรษฐกิจหมุนเวียน 2031" ของยูเออีจะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจในหลายด้าน ทั้งการเติบโตภายในประเทศและความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในประเด็นต่อไปนี้
(2) ส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่และงานสมัยใหม่เกิดตลาดใหม่ เช่น อุตสาหกรรมรีไซเคิลเทคโนโลยีสะอาดและพลังงานหมุนเวียนเพิ่มโอกาสการจ้างงาน ในสาขา Green Jobs เช่น วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน
ภาคเอกชนที่ปรับตัวเร็วจะได้เปรียบในการเข้าถึงเงินทุนสีเขียว (Green Financing) และ สิทธิประโยชน์ทางภาษี
สตาร์ทอัพและ SME ที่พัฒนาโซลูชันหมุนเวียนจะได้รับการสนับสนุนผ่าน แพลตฟอร์มดิจิทัล และนโยบายส่งเสริม
ยูเออีนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบจำนวนมาก (เช่น พลาสติก โลหะ อิเล็กทรอนิกส์)
การรีไซเคิลและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ จะลดความจำเป็นในการนำเข้าบางส่วน
ยูเออีมีศักยภาพในการส่งออก เทคโนโลยีพลังงานสะอาด (เช่น โซลาร์เซลล์) และระบบจัดการขยะสมัยใหม่
โมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนของยูเออี อาจถูกนำไปปรับใช้ในประเทศอื่นๆ ในตะวันออกกลาง
ผู้ส่งออกไปยูเออีต้องปรับตัวเนื่องจากอาจมีกฎเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้นเช่นมาตรการลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single-Use Plastics)
ข้อกำหนด Carbon Footprint สำหรับสินค้านำเข้า
โอกาสสำหรับนักลงทุนต่างชาติ ในโครงการ Circular Economy เช่น การลงทุนในโรงงาน
รีไซเคิล การพัฒนาพลังงานทดแทน
ต้นทุนเริ่มต้นสูงสำหรับการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรม
ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ในระยะแรก ก่อนพัฒนาความสามารถภายใน
การแข่งขันกับประเทศอื่น ที่ก้าวหน้าในเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น สหภาพยุโรปและสิงคโปร์
ดังนั้น การที่ยูเออีมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจหมุนเวียนของภูมิภาค จะช่วยลดการพึ่งพาน้ำมัน และกระจายฐานเศรษฐกิจ ดึงดูดการลงทุนสีเขียวจากต่างชาติ และสร้างภาพลักษณ์ผู้นำด้านความยั่งยืน ในตลาดโลกในระยะยาว เศรษฐกิจยูเออีจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมและกระแส ESG (Environmental, Social, Governance) ที่กำลังมาแรงทั่วโลก
----------------------------------------------------------------------------
ที่มา : GCC Business News