fb
รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนมิถุนายน 2568

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนมิถุนายน 2568

โดย
Yinm@ditp.go.th
ลงเมื่อ 09 กรกฎาคม 2568 10:54
33
  1. ภาพรวมเศรษฐกิจ/ สถานการณ์สำคัญ

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 (ณ เดือน พฤษภาคม 2568) มีมูลค่าทั้งสิ้น 75,047.214 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่ยังคงลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ฮ่องกง 4) สหราชอาณาจักร และ 5) ไทย ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 5 มูลค่า 4,483.783ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 6.15 โดยมีโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จำนวน 105 โครงการ

1.1 เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) รายงานล่าสุด (ข้อมูล ต.. 67) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเมียนมา (GDP) ปี 67 ขยายตัวร้อยละ 1 อัตราเงินเฟ้อ ปี 67 อยู่ที่ร้อยละ 22 และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per Capita) ปี 67 อยู่ที่ระดับ 1,179 เหรียญสหรัฐฯ รวมทั้งคาดการณ์ ปี 68 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเมียนมา (GDP) ปี 68 คาดว่าขยายตัวร้อยละ 1.08 อัตราเงินเฟ้อ ปี 68 คาดว่าร้อยละ 14.20 และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per Capita) ปี 68 คาดว่า 1,187 เหรียญสหรัฐฯ ดังตาราง

ตารางที่ 1 – เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจเมียนมา

ตัวชี้วัดทาง

เศรษฐกิจที่สำคัญ

ปี 2561

ปี 2562

ปี 2563

ปี 2564

ปี 2565

ปี 2566

ปี 2567

 

ปี 2568

(คาดการณ์)

GDP Growth (%)

6.3%

6.6%

-9%

-11.99%

4.0%

0.99%

-1.1%

1.9%

GDP (billions of US$)

66.7

68.8

81.26

68.05

61.77

64.51

64.28

65.01

GDP per Capita (US$)

1,270

1,300

1,530

1,271

1,146

1,190

1,179

1,187

Inflation (%)

7.3

9.1

2.2

9.60

28.00

25.48

26.50

30.00

ที่มา: IMF  https://www.imf.org/en/Publications/WEO/weo-database/2025/april

1.2 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ตารางที่ 2 เปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเงินจ๊าตต่อสกุลเงินสำคัญ มิ.ย. 67 และ มิ.ย. 68

ประเทศ/สหภาพ

สกุลเงิน

อัตราทางการ

สิ้นเดือน มิ.ย. 67

อัตราทางการ

สิ้นเดือน มิ.ย. 68

อัตราตลาดออนไลน์

สิ้นเดือน มิ.ย. 68

อัตราตลาด

สิ้นเดือน มิ.ย. 68

USA 

USD

2,100.00 MMK

2,100.0 MMK

3,617.00 MMK

4,500.0 MMK

Euro

EUR

2,250.00 MMK

 2,437.26 MMK

4,197.89 MMK

5,225.0 MMK

Singapore 

SGD

1,551.80 MMK

1,639.54 MMK

2,823.91 MMK

3,470.0 MMK

Thailand

THB

57.27 MMK

64.19 MMK

110.56 MMK

137.9 MMK

                    ข้อมูลจากธนาคารกลางเมียนมา https://forex.cbm.gov.mm/index.php/fxrateMyanmar Market Price Application

1.3 ภาวะการลงทุน

1.3.1 มูลค่าการลงทุนตามรายประเทศนักลงทุนสำคัญ

ภาพรวมด้านการลงทุนทางตรงของต่างประเทศในเมียนมา (FDI) ในเดือนพฤษภาคม 256คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมียนมา (Myanmar Investment Commission : MIC) อนุมัติโครงการไปแล้ว คิดเป็นมูลค่า 690.189 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ดังตาราง

ตารางที่ 3ประเทศที่มีการลงทุนทางตรง FDI ในเมียนมา เดือนพฤษภาคม 2568

อันดับ

ประเทศ

มูลค่าการลงทุน 

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

พ.ค. 68

สัดส่วน (%)

1

สิงคโปร์

460.458

66.72%

2

จีน

94.177

13.64%

3

ไทย

46.155

6.68%

4

ฮ่องกง

30.236

4.38%

5

อินโดนีเซีย

20.892

3.02%

6

เกาหลีใต้

10.885

1.57%

7

ไต้หวัน

8.059

1.16%

8

อินเดีย

7.088

1.02%

9

อังกฤษ

2.916

0.42%

10

ญี่ปุ่น

1.673

0.24%

 

รวม

690.189

100%

https://www.dica.gov.mm

 

 

ตารางที่ 4 - มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025

image.png
image.png

https://www.dica.gov.mm

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสมจนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 (ณ พฤษภาคม 2568) มีมูลค่าทั้งสิ้น 95,953.863 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่เข้ามาลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ไทย 4) ฮ่องกง และ 5) สหราชอาณาจักร ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 3 มูลค่า 11,695.417 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 12.48 โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว จำนวน 159 โครงการ

ตารางที่ 5 - มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025

image.png

                     https://www.dica.gov.mm 

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 (ณ เดือนพฤษภาคม 2568) มีมูลค่าทั้งสิ้น 75,047.214 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่ยังคงลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ฮ่องกง 4) สหราชอาณาจักร และ 5) ไทย ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 5 มูลค่า 4,483.783 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 6.15 โดยมีโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จำนวน 105 โครงการ

 

1.3.2 มูลค่าการลงทุนตามประเภทสาขาการลงทุนที่สำคัญ

ในส่วนของอุตสาหกรรมที่ต่างชาติลงทุนในเมียนมาของปีงบประมาณ 2024 - 2025 ในเดือน พฤษภาคม 2568 รายละเอียดดังตาราง 

ตารางที่ 6 – อุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในเมียนมา

ปีงบประมาณ 2024-2025 (พ.ค. 68)

อันดับ

ประเภทธุรกิจ

มูลค่า 

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

พ.ค. 68

สัดส่วน (%)

1

Transport& Communication

87.715

26.32%

2

Manufacturing

182.683

54.83%

3

Services

51.068

15.32%

4

Power

8.501

2.55%

5

Livestock&Fisheries

    2.657

0.79%

6

Agriculture

0.525

0.15%

 

รวม

333.149

100%

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

https://www.dica.gov.mm 

 

 

ตารางที่ 7 สาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 

image.png

https://www.dica.gov.mm

2. สถานการณ์การค้า (การนำเข้า-ส่งออก) ของเมียนมา

1) สถิติการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา (ข้อมูล GTA: .. – เม.. 68)

ตารางที่ 8 – มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา (ม.. – เม.. 2568)

                                                                                          หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

Export

Import

Trade Volume

2025

2024

%

2025

2024

%

2025

2024

%

Jan-Apr

Jan-Apr

change

Jan-Apr

Jan-Apr

change

Jan-Apr

Jan-Apr

change

6,022

6,963

-13%

6,705

7,489

-10%

12,727

14,452

-12%

 GTA: Global Trade Atalas

ในเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2568 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของเมียนมามีมูลค่า 12,727 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12%  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในส่วนของการส่งออกมีมูลค่า 6,022 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13% การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศของเมียนมามีมูลค่า 6,705 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10ทั้งนี้ ในเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2568 เมียนมาได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 683 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 

สินค้าที่เมียนมาส่งออก ที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องแต่งกาย ก๊าซธรรมชาติ พืชพันธุ์ ผักต่างๆ  สินแร่ รองเท้า ยางพารา  ปลา สัตว์น้ำ ไม้ เมล็ดน้ำมัน อัญมณี เป็นต้น 

สินค้าที่เมียนมานำเข้า ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรกล ผ้าทอ เส้นด้าย ยานพาหนะ พลาสติก เหล็ก ปุ๋ย เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยา เป็นต้น

2) ข้อมูลล่าสุดของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา (เม.. - มิ.. 67)

* กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เปิดเผยข้อมูลล่าสุดเดือน มิ.. 67 โดยข้อมูลหลังจากนั้นไม่มีการเผยแพร่เพิ่มเติม*

                สินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา

ตารางที่ 9 – มูลค่าการส่งออกสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (เมษายน – มิถุนายน 2567) ที่มา : กระทรวงพาณิชย์เมียนมา

ลำดับ

สินค้า

มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

สัดส่วน  (%)

1

MANUFACTURING GOODS

1,896.82

53.06%

2

AGRICULTURAL PRODUCTS

1,405.20

39.31%

3

MARINE PRODUCTS

144.973

4.05%

4

MINERALS

46.838

1.31%

5

FOREST PRODUCTS

15.521

0.43%

6

ANIMAL PRODUCTS

1.851

0.05%

7

OTHER PRODUCTS

63.302

1.77%

 

รวม

3,574.520

100.0%

 

สินค้านำเข้าสำคัญของเมียนมา

     ตารางที่ 10 – มูลค่าการนำเข้าสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (เมษายน – มิถุนายน 2567) ที่มา : กระทรวงพาณิชย์เมียนมา

ลำดับ

สินค้า

มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

สัดส่วน (%)

1

สินค้า  Commercial Raw material

1,985.968

59.60%

2

สินค้า  Investment Goods

519.433

15.58%

3

สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods)

826.467

24.80%

 

รวม

3,331.868

    100%

ในช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน 2567 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของเมียนมามีมูลค่า 6,906.388 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการส่งออกของเมียนมามี 3,574.520 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าของเมียนมามี 3,331.868 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้เมียนมาได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 242.652 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าที่เมียนมาส่งออก ที่สำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การเกษตร ประมง สินแร่ ผลิตภัณฑ์ป่าไม้ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เป็นต้น

สินค้าที่เมียนมานำเข้า ที่สำคัญ ได้แก่ วัตถุดิบ สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น

 

 3) สถานการณ์การค้าระหว่างไทย – เมียนมา (ข้อมูลกรมศุลกากรไทย: .. –.. 68)

ตารางที่ 11 สรุปมูลค่าการค้าระหว่างไทย – เมียนมา

รายการ

มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ

อัตราขยายตัว (%)

สัดส่วน (%) / โลก

2567

ม.ค. – ..

2568

ม.ค. – ..

2567

ม.ค. – ..

2568

ม.ค. – ..

2567

ม.ค. – ..

2568

ม.ค. – ..

มูลค่าการค้า

3,052.51

    3,196.01

-10.26

4.48

1.24

1.15

การส่งออกของไทย

1,777.91

1,933.03

-11.50

8.07

1.47

1.40

การนำเข้าของไทย

1,274.60

1,262.98

-8.54

-1.14

1.01

0.90

ดุลการค้าของไทย

503.31

670.05

-18.21

-24.88

 

 

       ที่มา : Thailand’s Trade Statistic (moc.go.th)

ปี 2568 มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยและเมียนมาระหว่างเดือนมกราคม - พฤษภาคม มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 3,196.01 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.48 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยไทยมีการส่งออกไปยังเมียนมาเป็นมูลค่า 1,933.03 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.07 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้าของประเทศเมียนมาใช้เวลานาน สำหรับการนำเข้าสินค้าจากเมียนมามายังประเทศไทยมีมูลค่า 1,262.98 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.14 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ไทยได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 670.05 ล้านเหรียญสหรัฐ 

สินค้าที่ไทยส่งออกไปเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องดื่ม เคมีภัณฑ์ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ น้ำมันสำเร็จรูป สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรอืนๆ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น

image.png

สินค้าที่ไทยนำเข้าจากเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ กาแฟ ชา เครื่องเทศ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป ไม้ซูง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ ลวดและสายเคเบิล เป็นต้น

image.png

3. สถานการณ์สำคัญ 

3.1 ประเทศไทยและภาคธุรกิจไทยรวมน้ำใจช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในเมียนมา

จากเหตุแผ่นดินไหวเมียนมา เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 68 จุดศูนย์กลางบริเวณพื้นที่เมืองมัณฑะเลย์ (ห่างจากกรุงย่างกุ้งประมาณ 600 กิโลเมตร) โดยแผ่นดินไหวขนาด 7.7 นับว่าเป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงกว่าทุกครั้ง ความเสียหายส่วนใหญ่ในพื้นที่ใกล้เคียงจุดเกิดแผ่นดินไหว เช่น เมืองมัณฑะเลย์ เมืองสะกาย เป็นต้น โดยมีสิ่งปลูกสร้าง อาคาร บ้านเรือน กำแพง ถนน บางส่วนได้รับความเสียหาย หลังจากนั้นเกิดแผ่นดินไหว Aftershock ตามมาอีกหลายครั้ง แต่ไม่มีความรุนแรงเหมือนครั้งแรก จนถึงปัจจุบันยังไม่มีแผ่นดินไหวครั้งใหม่ที่มีความรุนแรงเหมือนครั้งแรก 

ผลกระทบ/โอกาส ภาคธุรกิจและประชาชนในพื้นที่เมืองมัณฑะเลย์ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว มีอาคารบ้านเรือนหรือทรัพย์สินบางส่วนได้รับความเสียหาย อยู่ระหว่างการประเมินความเสียหาย เคลมประกัน (ถ้ามีประกันภัย) และฟื้นฟูความเสียหายต่อไป สำหรับธุรกิจที่ไม่ได้รับความเสียหายหรือมีความเสียหายไม่มาก ได้เปิดดำเนินการตามปกติ สำหรับการขนส่งสินค้าไปเมืองมัณฑะเลย์ ได้ข้อมูลจากสมาคมโลจิสติกส์เมียนมาแจ้งว่าสามารถขนส่งได้ แม้มีถนนหรือเส้นทางบางส่วนได้รับผลกระทบ แต่สามารถใช้ถนนท้องถิ่นเป็นเส้นทางเลี่ยงใช้ทดแทนขนส่งสินค้าได้

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ประเทศไทยและภาคธุรกิจไทยรวมน้ำใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวเมียนมา โดยมีชุดเฉพาะกิจจากไทยมาเมียนมา รวมทั้ง เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงย่างกุ้ง เป็นผู้แทนรับมอบสิ่งของพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่านกระทรวงสวัสดิการสังคม การบรรเทาทุกข์ และการตั้งถิ่นฐานของเมียนมา รวมถึงได้รับของบริจาคจากสมาคมนักธุรกิจไทยในเมียนมา (TBAM : Thai Business Association in Myanmar) และธุรกิจไทยในเมียนมา เช่น Makro เมียนมาปตท.สผ. เมียนมา เป็นต้น นอกจากนี้ สคต.ย่างกุ้ง ได้ประสานเครือข่ายธุรกิจไทยในเมียนมา ได้แก่ ร้านมหาชัย ร้านอาหาร Thai Select และบริษัท ดัชมิลล์ เมียนมา โดยร้านมหาชัยยินดีสนับสนุนร่วมเป็นจุดรับของบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวเมืองมัณฑะเลย์ ตลอดจนทราบจากสภาธุรกิจไทย-เมียนมา (TMBC : Thai-Myanmar Business Council) ที่จะร่วมกับเครือข่ายในไทย ประสงค์บริจาควัคซีน เช่น บาดทะยัก อหิวาห์ ตับอักเสบ ไทฟอยด์ ซึ่งเป็นโรคระบาดหลังเกิดภัยพิบัติ โดยสภาธุรกิจไทย-เมียนมาจะร่วมกับเครือข่ายในเมียนมา ลงพื้นที่เพื่อช่วยเหลือผู้ประภัยแผ่นดินไหวในเมียนมาต่อไป สะท้อนพลังน้ำใจของคนไทยและภาคธุรกิจไทยร่วมกันช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในเมียนมา

3.2 เมียนมาลดภาษีนำเข้าให้ 9 ประเทศสมาชิก RCEP 

เมียนมาลดภาษีนำเข้าให้ 9 ประเทศสมาชิก RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) ได้แก่ ไทย กัมพูชา เวียดนาม ลาว บรูไน สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และจีน โดยจะมีผลตั้งแต่ 14 พ.ค. 68 โดย 9 ประเทศดังกล่าว ต้องยื่นแบบฟอร์ม RCEP เพื่อใช้สิทธิลดภาษีนำเข้าดังกล่าว สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่กรมศุลกากรเมียนมา เบอร์ +95 01-379429 

ผลกระทบ/โอกาส การลดภาษีในกรอบต่างๆ เป็น “โอกาส” ทางธุรกิจ เพราะช่วยลดภาษีนำเข้าประเทศปลายทาง ส่งเสริมการส่งออกของประเทศต้นทาง รวมทั้งช่วยเชื่อมโยงฐานการผลิตและฐานตลาดภายในภูมิภาค โดย RCEP มีสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน 10 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ขอให้ผู้ประกอบการไทยศึกษาข้อมูลและพิจารณาใช้ประโยชน์ เช่น การส่งออกจากไทยมาเมียนมาหรือประเทศ RCEP หรือการพิจารณาเมียนมาเป็นฐานผลิต นำเข้า และส่งออกไปยังประเทศ RCEP เป็นต้น

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

 

 

3.3 เมียนมาส่งออกถั่ว มูลค่าปีละ 1.5 พันล้านเหรียญฯ 

สคต.ย่างกุ้ง จัดงาน In-เมียนมาส่งออกถั่วชนิดต่างๆ มูลค่าปีละ 1.5 พันล้านเหรียญฯ เป็นสัดส่วนร้อยละ 38 ของการส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมา ร้อยละ 33 ของการเพาะปลูกสินค้าเกษตรเมียนมา และร้อยละ 30 ของมูลค่า GDP เมียนมา โดยเมียนมาเป็นผู้ปลูกถั่วรายใหญ่ของโลก มีพื้นที่ปลูกถั่วรวม 10 ล้านเอเคอร์ (25 ล้านไร่) ปีงบประมาณ 2566-67 (เม.ย. 66 - มี.ค. 67) เมียนมาส่งออกถั่วชนิดต่างๆ ปริมาณ 1.76 ล้านตัน มูลค่า 1.48 พันล้านเหรียญฯ

ผลกระทบ/โอกาส ถั่วและสินค้าเกษตรต่างๆ เป็นสินค้าศักยภาพของเมียนมา สอดรับนโยบายเมียนมาในการส่งเสริมการเกษตรและความมั่นคงทางอาหารของเมียนมา ส่งผลดีต่อความมั่นคงและการบริโภคภายในเมียนมา รวมทั้งเป็นโอกาสในการส่งออกข้าวและสินค้าเกษตรต่างๆ จากเมียนมา 

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ขอให้ผู้ประกอบการไทยพิจารณาโอกาสธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น การส่งออกถั่วหรือสินค้าเกษตรต่างๆ จากเมียนมา หรือการจับคู่รายได้การส่งออกจากเมียนมา (Export Earning) จับคู่กับการขอใบอนุญาตนำเข้า (Import License) เพื่อนำเข้าสินค้าไทยมายังตลาดเมียนมา ตามแนวทางของเมียนมาที่จะพิจารณาอนุญาตให้นำเข้าสินค้าต่างๆ หากมีรายได้ส่งออก (Export Earning) ประกอบการขอ Import License 

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

3.4 เมียนมาลดภาษีนำเข้า “ชิ้นส่วนรถยนต์” น้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อส่งเสริมการประกอบรถยนต์ในเมียนมา

กระทรวงการวางแผนและการคลังเมียนมา ได้ประกาศลดภาษีศุลกากรการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ เพื่อส่งเสริมการประกอบรถยนต์ในประเทศเมียนมา ช่วงวันที่ 1 มิ.ย. 68 ถึง 31 พ.ค. 69 (ประกาศ 39/2025) โดย CBU (Completely Built Unit) หรือ

รถยนต์สำเร็จรูปจากต่างประเทศยังคงภาษีนำเข้าเดิมไม่ได้ลดภาษี ส่วน SKD (Semi Knocked Down) หรือชิ้นส่วนรถยนต์จากต่างประเทศทั้งหมด และ CKD (Completely Knocked Down) หรือชิ้นส่วนรถยนต์จากต่างประเทศบางส่วน ซึ่งนำเข้าเพื่อประกอบรถภายในประเทศ และใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศอย่างน้อย 40% มีการลดภาษีนำเข้า ดังนี้

 

ประเภทของรถยนต์

เดิม

ใหม่

 

CBU

SKD

CKD

CBU

 

CKD

รถยนต์ส่วนบุคคล ≤ 2000 CC

30%

7.5% 

5%

30%

5%

3%

รถยนต์ส่วนบุคคล ≥ 2001 CC

40%

7.5%

5%

40%

5%

3%

รถสามล้อส่วนบุคคล

20%

7.5%

5%

20%

3%

1.5%

รถบรรทุกรถบัสรถสามล้อขนสินค้า

10%

7.5%

5%

10%

3%

3%

รถจักรยานยนต์ 

5%

3%

3%

5%

1.5%  

1.5%  

        

ผลกระทบ/โอกาส การลดภาษีนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์น้ำมันเชื้อเพลิง เป็น “โอกาส” ทางธุรกิจ ช่วยส่งเสริมการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์น้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อการประกอบเป็นรถยนต์ในเมียนมา 

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ขอให้ผู้ประกอบการไทยพิจารณาใช้ประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์จากไทย การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์สู่เมียนมา เป็นต้น ทั้งนี้ การนำเข้าสินค้าสู่เมียนมาต้องขอใบอนุญาตนำเข้า (Import License) ซึ่งผู้นำเข้าต้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

3.5   เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหัก 2.48 ล้านตัน มูลค่า 1.12 พันล้านเหรียญฯ ในปี 67-68 (เม.ย. 67 - มี.ค. 68)

เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหักรวม 2.48 ล้านตัน มูลค่า 1.12 พันล้านเหรียญฯ ในปีงบประมาณ 2567-68 (เม.ย. 67 - มี.ค. 68) ตามรายงานของสมาพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF : Myanmar Rice Federation) ซึ่งบรรลุเป้าหมายการส่งออกข้าวของเมียนมา 2.5 ล้านตันต่อปี 

ผลกระทบ/โอกาส ข้าวและสินค้าเกษตรต่างๆ เป็นสินค้าศักยภาพของเมียนมา สอดรับนโยบายเมียนมาในการส่งเสริมการเกษตรและความมั่นคงทางอาหารของเมียนมา ส่งผลดีต่อความมั่นคงและการบริโภคภายในเมียนมา รวมทั้งเป็นโอกาสในการส่งออกข้าวและสินค้าเกษตรต่างๆ จากเมียนมา 

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ขอให้ผู้ประกอบการไทยพิจารณาโอกาสธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น การส่งออกข้าวหรือสินค้าเกษตรต่างๆ จากเมียนมา หรือการจับคู่รายได้การส่งออกจากเมียนมา (Export Earning) จับคู่กับการขอใบอนุญาตนำเข้า (Import License) เพื่อนำเข้าสินค้าไทยมายังตลาดเมียนมา ตามแนวทางของเมียนมาที่จะพิจารณาอนุญาตให้นำเข้าสินค้าต่างๆ หากมีรายได้ส่งออก (Export Earning) ประกอบการขอ Import License 

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

3.6 เมียนมาอำนวยความสะดวกการส่งออก ด้วยระบบ Auto-License สินค้าเกษตร 97 รายการ เช่น ข้าวข้าวโพด ถั่วพืชผัก เป็นต้น

HS code

รายการสินค้า

สินค้าที่สามารถใช้ระบบอัตโนมัติ

07

58

ถั่ว หัวหอม

10

25

ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

12

14

พืชน้ำมันต่างๆ

Total

97

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สินค้าเกษตร 97 รายการ ที่สามารถใช้ระบบ Auto-License ดังนี้

https://www.myanmartradeportal.gov.mm/legal/522#:~:text=Department%20of%20Trade%2C%20Ministry%20of,starting%20from%2015%20June%202025

 

ผลกระทบ/โอกาส สินค้าเกษตรเป็นสินค้าศักยภาพของเมียนมา สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการเกษตรและความมั่นคงทางอาหารของเมียนมา การใช้ระบบใบอนุญาตอัตโนมัติ (Auto-license System) จะช่วยลดขั้นตอนและอำนวยความสะดวกการส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมาดังกล่าว ทั้งนี้ หวังว่าการใช้ชั่วคราว (ถึงเดือน สค. 68) จะขยายให้สามารถใช้ระบบ Auto-License ได้อย่างต่อเนื่องต่อไป

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ขอให้ผู้ประกอบการไทยพิจารณาโอกาสธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น การส่งออกสินค้าเกษตรต่างๆ จากเมียนมา หรือการจับคู่รายได้การส่งออกจากเมียนมา (Export Earning) จับคู่กับการขอใบอนุญาตนำเข้า (Import License) เพื่อนำเข้าสินค้าไทยมายังตลาดเมียนมา ตามแนวทางของเมียนมาที่จะพิจารณาอนุญาตให้นำเข้าสินค้าต่างๆ หากสามารถจับคู่กับรายได้ส่งออกจากเมียนมา (Export Earning)

                                                                              สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง

                                                                  กรกฎาคม 2568

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา เดือน มิถุนายน 68.pdf
Share :
Instagram