วันที่ 17 เมษายน 2568 ประธานาธิบดี Donald Trump ได้ออกคำสั่ง Executive Order เรื่อง Restoring American Seafood Competitiveness เป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการเสียเปรียบทางการค้าอาหารทะเลของสหรัฐฯ ประธานาธิบดี Trump มีความเห็นว่า สหรัฐฯ มีความพร้อมที่จะเป็นผู้นำด้านอาหารทะเลของโลก แต่กฎหมายและกฎระเบียบของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ควบคุมการประมงมีความเข้มงวดมากเกินไปและไปขัดขวางความสามารถในการทำประมงเพื่อตอบสนองความต้องการของการบริโภคในประเทศ ทำให้ต้องจำเป็นต้องนำเข้าอาหารทะเลเกือบทั้งหมดที่บริโภคในประเทศ และ ต้องเผชิญหน้ากับการทำการค้าและการแข่งขันอย่างไม่ยุติธรรมจากประเทศคู่ค้าสินค้าอาหารทะเล ส่งผลให้สหรัฐฯ เสียดุลการค้าอาหารทะเลมากกว่า 20 พันล้านเหรียญฯ
นโยบายอาหารทะเลที่ผ่านมาที่รัฐบาลสหรัฐฯ นำมาใช้ คือ ส่งเสริมการประมงในประเทศ ช่วยลดความเข้มงวดที่มากเกินไปของกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ต่อสู้กับการประมงที่ผิดกฎหมาย ที่ไม่มีการรายงาน และไม่เป็นไปตามกฎระเบียบ – IUU (Illegal, unreported, and unregulated fishing) และปกป้องตลาดอาหารทะเลสหรัฐฯ จากปฏิบัติการทางการค้าที่ไม่ยุติธรรมของประเทศคู่ค้า
นโยบายใหม่ที่ประธานาธิบดี Donald Trump วางแผนจัดทำคือ สั่งการให้ภาครัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้อง คือ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงบริการสุขภาพและมนุษยชน ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ และองค์กรในอุตสาหกรรมประมงสหรัฐฯ รวมถึง The Regional Fishery Management Councils เร่งเพิ่มการทำงานที่เป็น
- การระงับ ปรับเปลี่ยน หรือ ยกเลิกกฎระเบียบต่างๆที่เป็นภาระแก่อุตสาหกรรมประมง การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ และการผลิตอาหารทะเล ในทุกระดับ
- การพัฒนาการบริหารจัดการและวิทยาศาสตร์การประมง ตามที่มีระบุไว้ในกฎหมาย The Magnuson-Stevens Fishery Conservation and Management Act กฎหมาย the Endangered Species Act of 1973 กฎหมาย the Marine Mammal Protection Act และ กฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- การพัฒนาและจัดทำ America First Seafood Strategy เพื่อส่งเสริมการผลิต การตลาด การขาย และการส่งออกสินค้าประมง และ สินค้าจากฟาร์มสัตว์น้ำของสหรัฐฯเพิ่มความสามารถในการผลิตอาหารทะเล และส่งเสริมการบริโภคอาหารทะเลในประเทศ
-
การพัฒนาจัดทำกลยุทธการค้าอาหารทะเล ที่จะพัฒนาการเข้าถึงตลาดต่างประเทศ การระบุการค้าที่ไม่ยุติธรรมของประเทศคู่ค้า ที่รวมถึงการประมงผิดกฎหมาย และข้อกีดกันทางการค้าการค้าที่ไม่ใช่ด้านภาษี และสร้างหลักประกันในการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดอาหารทะเลภายในประเทศให้แก่ผู้ผลิตสหรัฐฯ โดยให้ทำให้เสร็จสมบูรณ์ภายใน 60 วันจากวันที่ออกคำสั่ง หรือประมาณวันที่ 15 มิถุนายน 2567
-
ตรวจสอบปฏิบัติการทางการค้าของประเทศคู่ค้าที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลที่สำคัญ ในเรื่อง การประมงผิดกฎหมายและการใช้แรงงานทาสในห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเล จัดทำมาตรการตอบโต้ ทำการเจรจาต่อรองหรือ การบังคับใช้อำนาจที่เป็นกฎหมายด้านการค้า
-
ทบทวนและพัฒนา Seafood Import Monitoring Program ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และตั้งเป้าไปที่การจัดส่งสินค้าที่มีความเสี่ยงสูงจากประเทศคู่ค้าที่มีปฏิบัติการฝ่าฝืนกฎหมายการประมงระหว่างประเทศอยู่เป็นประจำ
ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็น สคต. ลอสแอนเจลิส
1. เป็นที่สงสัยว่า การทำงานส่งเสริมการประมงของสหรัฐฯและลงแข่งขันกับประเทศคู่ค้า จะประสบผลสำเร็จได้หรือไม่ เนื่องจาก สหรัฐฯ มีความเสียเปรียบหลายประการ เช่น
(1) แม้ว่าแนวคิดของประธานาธิบดี Trump จะไม่เชื่อในสภาวะโลกร้อนและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่คน
อเมริกันส่วนใหญ่ มีแนวคิดเชื่อมั่นในปัญหาโลกร้อนและความจำเป็นต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเห็นด้วยกับการจัดทำกฎหมายและกฎระเบียบเข้มงวดเพื่อควบคุมอุตสาหกรรมต่างๆที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และจะต่อต้านปฏิบัติการใดๆที่เห็นว่าจะส่งกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
(2) ค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจในสหรัฐฯ สูงกว่าประเทศคู่แข่ง ที่เป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายในการทำงานเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบการทำธุรกิจและการจ้างแรงงาน
(3) ลดการนำเข้าและส่งเสริมการบริโภคอาหารทะเลที่ผลิตได้ในสหรัฐฯ หมายถึง ราคาอาหารทะเลในสหรัฐฯ ที่ปกติสูงอยู่แล้ว จะเพิ่มสูงมากยิ่งขึ้น ที่อาจนำไปสู่การบริโภคที่ลดลง
2. หากการปฏิบัติตามคำสั่งนี้เกิดขึ้นจริง จะเพิ่มอุปสรรคในการส่งสินค้าอาหารทะเลเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ที่เพิ่มเติมจากปัญหาการถูกเก็บภาษีนำเข้าเพิ่ม ความเสี่ยงในเรื่องนี้ของประเทศไทย อาจมาจากการที่กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ยังคงระบุว่า ประเทศไทยยังมีปัญหาเรื่องแรงงานในอุตสาหกรรมประมง ที่ส่งผลเป็นความเสี่ยงโดยตรงกับสินค้าอาหารทะเลที่ส่งเข้าสหรัฐฯ คือ กุ้ง อาหารและสินค้าอื่นที่มีความเสี่ยงในทางอ้อมจากปัญหาแรงงานในอุตสาหกรรมประมงไทย คือ อาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์ (animal feed) อาหารสัตว์เลี้ยง (pet food), fishmeal, fish oil และยังเชื่อมโยงไปถึง สินค้าเครื่องสำอาง และ อาหารเสริม ที่อาจใช้ส่วนผสมที่มาจากสัตวทะเล
3. สินค้าอาหารทะเลที่ได้รับความนิยมบริโภค และมีการนำเข้าสหรัฐฯ มากที่สุดในหลายรูปแบบ คือ กุ้ง จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่ อุตสาหกรรมกุ้งสหรัฐฯ ได้ออกมาสนับสนุนคำสั่งและนโยบายการส่งเสริมการประมง และอุตสาหกรรมอาหารทะเลสหรัฐฯ โดยทันที และจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมกุ้งสหรัฐฯ ทำงานอย่างเข้มแข็งในการสนับสนุนการทำงานของภาครัฐและสอดส่องต่อต้านการนำเข้า
4. การนำเข้าอาหารทะเลสหรัฐฯในปี 2023 มีมูลค่า 21.13 พันล้านเหรียญฯ ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ากุ้ง
5. ในปี 2024 มูลค่านำเข้าอาหารทะเลของสหรัฐฯประมาณ 26.6 พันล้านเหรียญฯลดลงจากปี 2023 ประมาณร้อยละ 4
6. แหล่งอุปทานสำคัญ คือ จีน ประเทศไทย แคนาดา อินโดนิเซีย เวียดนาม และ เอควาดอร์ และมีผู้นำเข้ารายใหญ่ เช่น Thai Union Group, Baywatch Seafood, Stavis Seafood และ Pacific Seafood Group เป็นต้น
7. สินค้านำเข้าจากประเทศไทยที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก คือ