จากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมด้านอาหารจีนและอาหารตะวันตก ส่งผลให้ความต้องการของผู้บริโภคสำหรับเครื่องปรุงรสมีความหลากหลายมากขึ้น แนวคิดเรื่องการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพได้รับความนิยม ทำให้ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับส่วนผสมทางโภชนาการและคุณสมบัติด้านคุณภาพเครื่องปรุงรสมากขึ้นทำให้จีนมีการพัฒนาในอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเครื่องปรุงรสสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนกล่าวคือ จำพวกซอสสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน และอีกส่วนคือ จำพวกเพิ่มรสชาติหรือสีสันในการประกอบอาหารอาหาร อย่าง ซีอิ้ว น้ำมันงา ซอสปรุงรส เป็นต้น ตามรายงานการวิจัยตลาดอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสจีน ปี 2024 โดย iiMedia Research รายงานปัจจัยหลักที่ผู้บริโภค เครื่องปรุงรสของจีนให้ความสนใจเมื่อซื้อผลิตภัณฑ์ในจีน ได้แก่ รสชาติ และความปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ47.4 และ 43.9 ตามลำดับ ปัจจุบันช่องทางการขายหลักสำหรับเครื่องปรุงรสคือซุปเปอร์มาร์เก็ตและแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ อุตสหกรรมเครื่องปรุงรสกำลังเสนอความต้องการของผู้บริโภคใหม่โดยมีโซเดียมต่ำและน้ำตาลต่ำเป็นแนวคิดหลัก
ซึ่งโครงสร้างการใช้อุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสอาหารของจีนส่วนใหญ่ ร้อยละ 49 ใช้ในภาคร้านอาหาร รองลงมาใช้ในภาคครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 34 และใช้ในภาคบริษัทแปรรูป คิดเป็น ร้อยละ 17 ตามลำดับ
ปัจจัยสำคัญส่งผลให้ผู้บริโภคจีนเลือกซื้อเครื่องปรุงรส
iiMedia Research ประเมินตลาดเครื่องปรุงรสของจีนจะสูงถึง 687,100 ล้านหยวนในปี 2567 ผู้บริโภคชื่นชอบการที่เครื่องปรุงรสพกพาสะดวก รสชาติอร่อยอย่างสม่ำเสมอ และมีคุณภาพ ปลอดภัย ส่งผลให้ความต้องการในผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสในหมู่ผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
แนวคิดเรื่องสุขภาพโดยผู้บริโภคใหม่มีความต้องการโซเดียมต่ำและน้ำตาลต่ำเป็นแนวคิดหลักในการบริโภคเครื่องปรุงรส บริษัทอาหารเครื่องปรุงรสสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ดีต่อสุขภาพและมีคุณค่า ทางโภชนาการมากขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภค
วิเคราะห์ช่องทางการจัดจำหน่ายเครื่องปรุงในจีน
อุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสในจีนปี 2024 มีช่องทางการจำหน่าย 3 ช่องทางได้แก่ ภาคร้านอาหาร ภาคครัวเรือน และ ภาคบริษัทแปรรูป การจัดทำหน่ายในปัจจุบันมีทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ การสร้าง แบรนด์สินค้าเป็นหัวใจสำคัญในการเพิ่มการรับรู้ในเรื่องการทำการตลาด ทั้งนี้การตลาดแบบเดิมจีนจัดทำหน่ายผ่านทางใช้ตัวแทนจำหน่ายแต่ในปัจจุบันช่องการทางการจัดจำหน่ายมีการพัฒนาด้วยการเพิ่มช่องทางจัดจำหน่ายหลายชั้น ตั้งแต่จำหน่ายแบบปกติจนถึงพร้อมจัดส่งที่บริการครบครัน ช่องทางออนไลน์จะมุ่งเน้นไปที่การค้าปลีก หรือภาคครัวเรือนเป็นหลัก ทั้งนี้การไลฟ์สดและการมีแพลตฟอร์มจัดส่งถึงบ้าน มีการพัฒนาและปรับปรุงบริการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการสร้างตลาดของจีนในการตอบสนอง ความต้องการของผู้บริโภคอย่างแข็งขัน
ลักษณะตลาดเครื่องปรุงรสจีน
เครื่องปรุงรสจีนมีหลายประเภท ได้แก่ ซอสปรุงรส น้ำมันปรุงรส เครื่องปรุงรสฟาสต์ฟู้ด iiMedia Research แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมากกว่าร้อยละ 60 ชื่นชอบในการเลือกซื้อซอสปรุงรส และน้ำมันปรุงรส ซึ่งเครื่องปรุงรสที่ยอดนิยมของจีนสามารถแบ่งได้หลายประเภทได้แก่ เครื่องปรุงรสสไตล์กวางตุ้ง เครื่องปรุงรสสไตล์เสฉวน เครื่องปรุงรส สไตล์ฮ่องกง เครื่องปรุงรสสไตล์ตะวันตก ทั้งนี้ ผู้บริโภคจีน มีการรับรู้ในด้านรสอาหาร 7 รส ได้แก่ รสเค็ม รสหวาน รสขม รสเผ็ดชา รสเปรี้ยว รสกลมกล่อม รสหอม เนื่องจากประเทศจีนมีพื้นที่ที่กว้างใหญ่ ปัจจัยต่างๆอาทิ สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ประเพณีทางประวัติศาสตร์ ประเพณีทางชาติพันธุ์ วัฒนธรรมอาหารและรสนิยมของภูมิภาคต่างๆจึงมีลักษณะที่หลากหลาย ทั้งนี้ iiMedia Research แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมากกว่าร้อยละ 40 ชื่นชอบอาหารสด มีกลิ่นหอม รสเผ็ดสูง
ปัจจุบัน คู่แข่งในตลาดเครื่องปรุงรสในจีนมีมากมาย อาทิ Haitian , Lee Kum Kee และ Zhongjing Foods ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่ที่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสในจีน และมีความได้เปรียบในตลาดสูงในจีน
วิเคราะห์การบริโภคในอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสในจีน
iiMedia Research รายงานว่า การบริโภคเครื่องปรุงรสของจีนโดยทั่วไปอยู่ที่ 31-100 หยวน คิดเป็นร้อยละ 78.1 ผู้บริโภคมากกว่าครึ่งหนึ่งร้อยละ 56.6 จะตุนเครื่องปรุงรสในปริมาณเล็กน้อย ความถี่ในการบริโภคของผู้บริโภคส่วนใหญ่ ไตรมาสละครั้งคิดเป็นร้อยละ 26.9 หรือ 1 ครั้งต่อเดือนคิดเป็นร้อยละ 35.7 ผู้บริโภคชาวจีนส่วนใหญ่รับรู้ถึงข้อมูลการบริโภคผ่านทางร้านสะดวกซื้อออฟไลน์ ร้อยละ 52.2 และ ผ่านทางช่องทางอีคอมเมิร์ซ ร้อยละ 40.4 ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อเครื่องปรุงรสผ่านทางซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อออฟไลน์ ร้อยละ 55 และซื้อผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ ร้อยละ 43.7 ทั้งนี้ผู้บริโภคมากกว่าร้อยละ90 ให้ความสนใจกับส่วนผสมหรือ ฉลากโภชนาการ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกบริโภคมากที่สุดได้แก่ การมีหรือไม่มีสารกันบูด รสชาติและสารให้ความหวาน พลังงาน และปริมาณโซเดียม โปรตีน คาร์โบไฮเดต ไขมันล้วนทั้งเป็นปัยจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการบริโภคของผู้บริโภคจีน เป็นต้น จากการวิเคราะห์ iiMedia Research แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคมากกว่าครึ่งคาดหวังให้เครื่องปรุงรสในอนาคตจะพัฒนาไปในการส่งเสริมเพื่อสุขภาพและไม่มีสารปรุงแต่ง คิดเป็นร้อยละ 51.4 และร้อยละ 51.1 ตามลำดับ
ความเห็นสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน : อุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสในจีนมีหลากหลายและแข็งแกร่ง แต่ทั้งนี้ความนิยมของผู้บริโภคชาวจีนจำนวนไม่น้อยนิยมอาหารไทย เครื่องปรุงรสอาหารไทยมีวางจัดจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อจีน ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ หรือ ช่องทางการจัดจำหน่ายแพลตฟอร์มออนไลน์ อาทิ เถาเป่า พินตัวตัว เทียนเมา เป็นที่นิยมในตลาดเครื่องปรุงรสไทยเป็นอย่างสูง รวมถึงร้านอาหารไทยในจีนจำนวนไม่น้อยเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคชาวจีน ความต้องการใน ตลาดเครื่องปรุงรสอาหารไทยยังเป็นที่ต้องการสูงในหมู่ผู้บริโภคชาวจีน นอกจากนี้สามารถสังเกตได้จาก ร้านอาหารจีนแบบบุฟเฟต์ชาบูเลือกน้ำซุปรสต้มยำกุ้งเป็นตัวเลือกในเมนู อาทิ ร้าน Yi Xu Shouxishao หรือผู้ประกอบการจีนที่ดำเนินธุรกิจร้านอาหารไทยจำนวนไม่น้อยล้วนยังมีความต้องการ ใช้เครื่องปรุงรสไทยเป็นจำนวนมาก เครื่องปรุงรสไทยมีศักยภาพที่จะได้รับความนิยมในตลาดจีนเนื่องจากมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ใช้วัตถุดิบธรรมชาติ และมีภาพลักษณ์ที่ดีต่อสุขภาพ ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ประกอบการไทย (1) เน้นรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งแตกต่างจากเครื่องปรุงรสจีนทั่วไป (2) ใช้วัตถุดิบธรรมชาติ ผู้บริโภคจีนให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น ผู้ประกอบการไทยควรใช้วัตถุดิบธรรมชาติในการผลิตเครื่องปรุงรส และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี (3) สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสุขภาพ เครื่องปรุงรสไทยหลายชนิดมีสมุนไพรและเครื่องเทศที่มีคุณสมบัติทางการดูแลสุขภาพ ผู้ประกอบการไทยควรสื่อสารข้อมูลนี้ให้ผู้บริโภคจีนทราบ (3) ทำการตลาดออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
ที่มา
https://www.iimedia.cn/c400/100205.html
เรียบเรียงโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน
22 พฤษภาคม 2567