ผลกระทบของการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานในอุตสาหกรรม Fast-Food ของรัฐแคลิฟอร์เนีย

ภายใต้กฎหมาย AB 1228 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 พนักงาน ในเครือร้านอาหารจานด่วน (Fast-Food) ในรัฐแคลิฟอร์เนียที่มีสาขามากกว่า 60 สาขา (ประมาณการณ์ว่ามีจํานวนประมาณ 540,000 ราย) จะได้รับการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำจากชั่วโมงละ 16.00 เหรียญฯ เป็นช่วงโมงละ 20.00 เหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้นประมาณ
ร้อยละ 25 ซึ่งจะส่งผลให้ราคาอาหารสูงขึ้น ยอดขายลดลง และอัตราผลกําไรลดลง

 

แม้ว่าการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวจะมีจุดประสงค์เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ในกับแรงงานในอุตสาหกรรม แต่ก็ เป็นความท้าทายสําหรับธุรกิจที่ต้องแบบรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เครือร้านอาหารจานด่วนรายสําคัญ เช่น McDonald’s, Jack in the Box และ Chipotle ต่างประกาศว่าค่าใช้จ่ายแรงงานที่เพิ่มขึ้นนี้จะผลักต่อไปยังผู้บริโภค โดยผ่านราคาอาหารที่ เพิ่มสูงขึ้น

 

นิตยสาร Business Insider รายงานว่า การขี้นอัตราค่าแรงดังกล่าวจะมีผลต่อการขึ้นราคาสินค้าของร้านแตกต่างกัน ไป ขึ้นอยู่กับขนาดของเครือข่าย สถานที่ตั้ง และ ผู้รับสิทธิในการประกอบธุรกิจ (Franchisee) เช่น เครือข่ายขนาดเล็กหรือ เครือข่ายที่ประกอบธุรกิจในรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นหลัก จะได้รับผลกระทบในการขึ้นราคาสินค้าสูงกว่าเครือข่ายใหญ่ที่มีการ ประกอบธุรกิจกระจายทั่วประเทศสหรัฐฯ เนื่องจากไม่มีสถานประกอบการนอกรัฐแคลิฟอร์เนียเข้ามาช่วยแบ่งเบาผลกระทบ ร้านอาหารจานด่วนในเขตเมืองที่แออัด และมีแนวโน้มว่าจะจ่ายค่าจ้างสูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเดิม (16.00 ดอลล่าร์ต่อ ชั่วโมง) อยู่แล้ว ดังนั้นร้านอาหารในเขตชานเมืองอาจได้รับผลกระทบจากกฎหมายใหม่นี้มากกว่า ผู้รับสิทธิในการประกอบ ธุรกิจอาหารจานด่วนแต่ละรายก็มีแนวทางรับมือผลกระทบการการขึ้นค่าแรงนี้แตกต่างกันไป เช่น ผู้รับสิทธิในการประกอบ ธุรกิจในเขตเมืองลอสแอนเจลิสรายหนึ่ง ให้ความเห็นว่าหากทางร้านผลักภาระค่าจ้างแรงงานท่ีเพิ่มขึ้นทั้งหมดผ่านให้ผู้บริโภค ราคาอาหารของร้านก็จะสูงจนไม่สามารถแข่งขั้นในตลาดได้

 

ผู้รับสิทธิในการประกอบธุรกิจแต่ละรายต่างพยายามหาวิธีอื่น เข้ามาช่วยดูดซับค่าจ้างท่ีสูงขึ้นโดยไม่ส่งผลกระทบต่อ ราคาสินค้ามากเกินไป เช่น

 

1) ยกเลิกการจ้างงาน
เครือ Pizza Hut ในรัฐแคลิฟอร์เนียแจ้งว่ามีแผนการที่จะ ยกเลิกการจ้างพนักงานส่งของภายในบริษัท และเปลี่ยนไป ใช้บริการส่งของภายนอกซึ่งคาดว่าจะสามารถลดการจ้าง งานลง 1,200 ตําแหน่ง ในขณะที่เครือ Round Table Pizza จะเลิกจ้างพนักงานส่งของประมาณ 70 ตําแหน่งในเดือนเมษายน

 

2) ลดชั่วโมงการทํางานและจ้างงานน้อยลง

สถานประกอบการบางแห่งใช้วิธีลดชั่วโมงการทํางานของพนักงานและไม่รับสมัครพนักงานใหม่เพิ่ม

 

3) ลดสวัสดิการพนักงาน
ยกเลิกตารางการทํางานล่วงเวลาของพนักงาน ซึ่งสถานประกอบการต้องจ่ายค่าแรงสูงกว่าอัตราค่าจ่างปกติอยู่แล้ว

 

4) นําเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้เพื่อช่วยลดต้นทุนแรงงาน
การใช้เทคโนโลย่ีและระบบอัตโนมัติ เช่น ระบบสั่งสินค้าบนคีออส หรือระบบ Drive Through ท่ีดําเนินการโดยAI

 

5) ลดค่าใช้จ่ายในการดําเนินการ
การลดค่าใช้จ่ายในการดําเนินการ เช่น การประหยัดไฟฟ้าโดยการปิดไฟที่ไม่จําเป็นและลดการใช้ เครื่องปรับอากาศ เลื่อนเวลาการปรับปรุงตกแต่งสถานประกอบการ การซื้ออุปกรณ์เครื่องครัวใหม่ การยกเลิก การเปิดสาขาใหม่ จนถึงการขายสถานประกอบการในแคลิฟอร์เนีย

 

ที่มา: Here are 5 ways fast-food restaurant in CA are cutting costs to cover the new minimum wage, MSN, April 3, 2024

ผลกระทบของการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานในอุตสาหกรรม Fast-Food ของรัฐแคลิฟอร์เนีย

ข้อมูลเพิ่มเติม และข้อคิดเห็นสคต.ลอสแอนเจลิส

ผลกระทบต่อตลาดแรงงาน
การขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 20 เหรียญฯต่อชั่วโมง สําหรับเครือร้านอาหารจานด่วนที่มีมากกว่า 60 สาขา จะส่งผล กระทบต่อตลาดแรงงานโดยรวม โดยเฉพาะแรงงานในอุตสาหกรรมใกล้เคียง เช่น ร้านอาหารแบบบริการเต็มรูปแบบ (Full Services) ร้านอาหารอิสระ (Independent Restaurants) และอาจรวมถึงร้านขายของชํา (Grocery Stores) อาจ จําเป็นต้องข้ึนอัตราค่าจ้างเพ่ือดึงดูดลกู จ้าง

 

ผลกระทบต่อผู้บริโภค
นักวิเคราะห์ของ Bank of America ให้ข้อมูลว่า ผู้บริโภคสหรัฐฯต้องเผชิญกับการข้ึนราคาอาหารอย่างมากหลังช่วง การระบาดใหญ่ของโควิด-19 โดยทั่วไปแล้วร้านอาหารจะมีการขึ้นราคาประมาณร้อยละ 2 ต่อปี แต่ในปี 2565 ร้านอาหาร บางแห่งมีการขึ้นราคาสูงกว่าร้อยละ 10 อันเป็นผลจากอัตราค่าแรงที่พุ่งสูงขึ้นและอัตราเงินเฟ้อ เมื่ออาหารจานด่วนมีราคา สูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้บริโภครับประทานอาหารนอกบ้านน้อยลง หรือปริมาณสั่งซื้อแต่ละครั้งน้อยลง และเป็นไปได้ที่ผู้บริโภค บางส่วนอาจเลือกที่จะปรุงอาหารทานเองทดแทนการซื้ออาหารจานด่วน

 

สคต.ลอสแอนเจลิสมีความเห็นว่าการขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสําหรับเครือร้านอาหารจานด่วนที่มีมากกว่า 60 สาขาใน รัฐแคลิฟอร์เนีย อาจส่งผลให้ผู้บริโภครับประทานอาหารนอกบ้านน้อยลง และเลือกที่จะเปลี่ยนเป็นปรุงอาหารทานเองใน บ้าน ซึ่งคล้ายกับช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่พฤติกรรมปรุงอาหารทานในบ้านของผู้บริโภคสหรัฐฯมีมากขึ้น ส่งผลให้มูลค่าการค้า ร้านค้าปลีกของชําเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทาน/อาหารพร้อมปรุงที่สามารถเก็บ รักษาในอุณภูมิปกติ (Shelf Stable) เนื่องจากสามารถซื้อครั้งละมากๆ เก็บไว้ได้เป็นเวลานาน และใช้เวลาในการปรุงไม่มาก ซึ่งผลติ ภัณฑ์ดังกล่าว ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตที่มีความเชี่ยวชาญและคุณภาพเป็นที่เชื่อถือของผู้บริโภคสหรัฐฯ

 

สํานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส เมษายน 2567

 

หมายเหตุ: ข่าวข้างบนนี้เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งที่จัดทําและนําเสนอข้อมูลเปิดเผยต่อสาธารณชนทั่วไป และบางส่วนเป็นความเห็นส่วนบุคคล สํานักงานส่งเสริม การค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส นํามารวบรวมเผยแพร่เพื่อแก่ผู้สนใจ เนื่องจากเป็นข้อมูลและความเห็นจากบุคคลที่สาม การนําข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ ไม่ว่าในกรณีใดๆ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณเฉพาะบุคคล สํานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆท่ีอาจเกิดขึ้นจากการนําข้อมูลเหล่านี้ไปใช้

 

zh_CNChinese