รัฐบาลอาร์เจนตินาส่งเสริมการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ

ฝ่ายบริหารของนาย Javier Milei ประธานาธิบดีแห่ง อาร์เจนตินา ตัดสินใจที่จะโจมตีผู้ผลิตอาหารในท้องถิ่น เพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ โดยการที่รัฐบาลประกาศจะเปิด ให้มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์สินค้าอาหารสำหรับบริโภคขั้น พื้นฐานจากต่างประเทศ ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อต่อสู้กับราคา สินค้าอาหาร ที่เพิ่มสูงขึ้นจากบริษัทผู้ผลิตในท้องถิ่น อาร์เจนตินา

โดยเฉพาะการที่ธนาคารกลางประกาศลดระยะเวลาการชำระเงินสำหรับการนำเข้าอาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาด และผลิตภัณฑ์อาบน้ำและดูแลผิวกาย ก่อนหน้านี้รูปแบบการชำระเงินแบ่งเป็น 4 งวด คือ 30 วัน 60 วัน 90 วันและ 120 วัน หลังจากสินค้าที่นำเข้าผ่านด่านพิธีการศุลกากร แต่ตอนนี้รูปแบบการชำระเงินสำหรับ การนำเข้าสินค้าดังกล่าวจะเป็นการชำระเงินแบบครั้งเดียวภายใน 30 วัน หลังจากสินค้าผ่านด่านพิธีการศุลกากร

วัตถุประสงค์ของรัฐบาลคือเพื่อส่งเสริมการนำเข้าผลิตภัณฑ์สินค้าสำหรับบริโภคขั้นพื้นฐาน เนื่องจากราคาที่ ซื้อขายภายในตลาดท้องถิ่นในปัจจุบันมีราคาสูงกว่าในตลาดต่างประเทศ โดยคาดว่าการนำเข้าจะส่งผลให้ ตลาดภายในท้องถิ่นเกิดการแข่งขันที่สูงขึ้น และอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อ รวมถึงระดับราคาของผลิตภัณฑ์ สำหรับบริโภคขั้นพื้นฐานลดลง ผลิตภัณฑ์หลักที่ได้รับประโยชน์ได้แก่ กาแฟ ทูน่ากระป๋อง ผลิตภัณฑ์โกโก้ ยาฆ่าแมลง แชมพู ผ้าอ้อม และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมากมาย

นายหลุยส์ กาปูโต (Luis Caputo) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจของอาร์เจนตินา กล่าวว่าเมื่อเดือน ธันวาคม 2566 จนถึงมกราคม 2567 ที่ผ่านมา ราคาสินค้าบางรายการในปัจจุบันมีราคาแพงกว่าค่าเงิน เหรียญสหรัฐฯ ในอาร์เจนตินา และราคาสินค้าแพงกว่าในสหรัฐฯ หรือยุโรป ด้วยเหตุนี้รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเศรษฐกิจ ของอาร์เจนตินา จึงจัดการประชุมกับกลุ่มผู้บริหารของเครือซูเปอร์มาร์เก็ตหลัก 6 แห่ง ได้แก่ (1) Carrefour (2) Coto (3) Cencosud (Jumbo และ Disco) (4) Changomás (5) La Anónima และ (6) Dia โดยฝ่ายบริหารของนาย Javier Milei ประธานาธิบดีแห่งอาร์เจนตินากำลังมองหาวิธีที่จะให้เกิดการแข่งขัน ทางการค้าเพื่อปกป้องผู้บริโภคจากราคาสินค้าที่สูงขึ้น

บทวิเคราะห์ผลกระทบต่อประเทศไทย

ในปี 2566 อาร์เจนตินานำเข้าสินค้าจากประเทศไทยรวมมูลค่ากว่า 1,540 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เดือนมกราคม-ธันวาคม) ซึ่งเป็นสัดส่วนของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป โดยทูน่ากระป๋องมีความต้องการมากที่สุด ดังนี้
1) ทูน่ากระป๋อง ร้อยละ +74.5 รวมมูลค่า 26.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภาษีนำเข้า ร้อยละ 16

2) ผลไม้กระป๋อง ร้อยละ -38 รวมมูลค่า 2.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  ภาษีนำเข้า ร้อยละ 14

3) ผักกระป๋อง ร้อยละ -46.5 รวมมูลค่า 200,000 เหรียญสหรัฐฯ ภาษีนำเข้า ร้อยละ 14
4) เครื่องปรุงรส ร้อยละ -14.8 รวมมูลค่า 90,000 เหรียญสหรัฐฯ ภาษีนำเข้า ร้อยละ 16-18
5) ข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าว ร้อยละ -14.5 รวมมูลค่า 70,000 เหรียญสหรัฐฯ ภาษีนำเข้า ร้อยละ 9-16

 

ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

รัฐบาลของนาย Javier Milei ประธานาธิบดีแห่งอาร์เจนตินา ได้ดำเนินมาตรการหลายอย่างเพื่อต่อสู้กับภาวะ เงินเฟ้อที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การบริหารของรัฐบาลชุดก่อนของนาย Alberto Fernández อดีต ประธานาธิบดีแห่งอาร์เจนตินา โดยมีความคาดหวังว่าจะทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ ลดลงแต่กลับทำให้ ค่าครองชีพของผู้บริโภคในอาร์เจนตินาเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เนื่องจากผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และซูเปอร์มาร์เก็ต มีการปรับขึ้นของราคาสินค้า ดังนั้นรัฐบาลของนาย Javier Milei จึงตัดสินใจทำให้เงื่อนไขการชำระเงินมีความ ยืดหยุ่นมากขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์สินค้าอาหารเพื่อการบริโภคขั้น พื้นฐาน เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้าอาหารและ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัย แม้ว่าผลิตภัณฑ์สินค้าอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจะยังไม่ได้รับการยืนยันเกี่ยวกับเงื่อนไข การชำระเงิน แต่สินค้าอาหารที่อาร์เจนตินาได้มีการนำเข้ามาแล้วก่อนหน้านี้จากต่างประเทศ เช่น อาหารกระป๋อง กาแฟ และอื่นๆ จะมีความสะดวกในการชำระเงินมากขึ้น โดยสามารถชำระเงินได้ภายใน 30 วันหลังจาก สินค้าผ่านพิธีการศุลกากร ส่วนสินค้าอื่นๆ ที่นำเข้าจนถึงเดือนธันวาคม 2566 หรือยังคงอยู่ภายใต้ช่วงการ บริหารเดิมของนายAlberto Fernández อดีตประธานาธิบดีแห่งอาร์เจนตินา ผู้นำเข้าต้องรอ 180 วันจึงจะสามารถ ชำระเงินได้ ด้วยวิธีการยืดหยุ่นในการชำระเงินของรัฐบาลของนาย Javier Milei ประธานาธิบดีแห่งอาร์เจนตินา อาจจะส่งผลให้ราคาสินค้าในตลาดท้องถิ่นลดลง เนื่องจากปัจจุบันผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์เพื่อ สุขอนามัย หลายชนิดในอาร์เจนตินามีราคาที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ รัฐบาลของนาย Javier Milei จึงพยายามที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ของการแข่งขันทางการค้า โดยมองว่าหากมีทางเลือกสำหรับ ผลิตภัณฑ์สินค้าจากต่างประเทศมากขึ้น ผู้บริโภคจะได้รับผลประโยชน์โดยเฉพาะการซื้อสินค้าที่มีราคาถูกลง

ปี 2567 จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะได้รับส่วนแบ่งทางการตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋อง เนื่องจากในปี 2566 ไม่ใช่ปีแห่งการเติบโตของสินค้าอาหารกระป๋องเพราะมีอุปสรรคและข้อจำกัดในการนำเข้า มากมาย แต่อย่างไรก็ตามทูน่ากระป๋องก็ยังสามารถเติบโตต่อไปได้ เนื่องจากเป็นสินค้าที่อาร์เจนตินาต้องนำเข้า อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนผลิตภัณฑ์สินค้าอื่นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์จากข้าวและเครื่องปรุงรส ส่วนใหญ่จะใช้ในร้าน

 

อาหารเอเชียในอาร์เจนตินา ส่วนอาหารไทยมีร้านอาหารที่ชื่อว่า Khao San Thai Restaurant ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 2 สาขาในจังหวัด Cordoba และจังหวัดMendoza แต่วางแผนที่จะเปิดสาขาอื่นๆ ทั่วประเทศอาร์เจนตินา นอกจากนี้สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงบัวโนสไอเรส ยังได้มีการร่วมงานกับ Influencer ชื่อดังชาวอาร์เจนตินาอย่าง Cocineros Argentinos ในการโปรโมทสินค้าอาหารไทยเพื่อให้ลูกค้าในพื้นที่ ได้รู้จักอาหารไทยมากขึ้น เช่น ผัดไทย ข้าวผัด และข้าวเหนียวมะม่วง ผู้ส่งออกไทยจึงควรตระหนักถึงแนวโน้ม ความต้องการของผลิตภัณฑ์สินค้าต่างๆ และติดต่อผู้นำเข้าอาร์เจนตินาที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถ นำเสนอสินค้าไทยในตลาดอาร์เจนตินาได้มากขึ้น และเพื่อสนองความต้องการในตลาดท้องถิ่นของอาร์เจนตินา ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

 

 

 

 

ที่มา: https://www.lanacion.com.ar/economia/negocios/importacion-de-alimentos-el-gobierno-lanza-una-ofensiva-contra-la-industria-nacional-nid12032024/ – “Government promotes food products imports”, by La Nación, March 18th 2024

————————————————————————————————————————————

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงบัวโนสไอเรส สาธารณรัฐอาร์เจนตินา

zh_CNChinese