เวียดนามมีแนวโน้มที่จะรักษาอัตราเงินเฟ้อให้ต่ำกว่าร้อยละ 4.5 ในปี 2566

เป้าหมายในการรักษาอัตราเงินเฟ้อให้ต่ำกว่าร้อยละ 4.5 ในปี 2566 เป็นไปได้ด้วยดี เนื่องจากอัตราดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะอยู่ระหว่างร้อยละ 2.5 ถึงร้อยละ 3.5

นาย Nguyễn Đức Độ รองผู้อำนวยการ Institute of Economics and Finance ภายใต้ Academy of Finance ระบุว่า ปัจจัยต่างๆ เช่น อัตราดอกเบี้ย และ อุปสงค์โดยรวม ไม่เพียงแต่ทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างรวดเร็วในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 แต่ยังยับยั้งการเพิ่มขึ้นของ CPI ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา โดยในปีที่ผ่านมา CPI เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 0.17 ต่อเดือน คาดการณ์ว่า หากยังคงอัตราดังกล่าวต่อไปในช่วงที่เหลือของปี อัตราเงินเฟ้อในปี 2566 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ซึ่งหมายความว่าจะบรรลุเป้าหมายที่ต่ำกว่าร้อยละ 4.5 ​​สำหรับปี 2566

นาย Vũ Vinh Phú นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า CPI ในปี 2566 จะไม่เกินร้อยละ 3.8 ถึงร้อยละ 4 ซึ่งจะช่วยให้ประเทศรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาคและควบคุมอัตราเงินเฟ้อ สถานการณ์เศรษฐกิจโลกในช่วงที่เหลือของปี 2566 ยังไม่มีสัญญาณเชิงบวก เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน เวียดนามยังประสบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและการส่งออกที่ลดลง เนื่องจากความต้องการที่ลดลงของผู้นำเข้า

ปัจจัยหลายประการที่สร้างแรงกดดันต่อราคา เช่น การขึ้นเงินเดือนขั้นพื้นฐานร้อยละ 20 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 และการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันจะยังคงลดลง ในขณะที่อุปทานอาหารและสินค้าในตลาดมีมากและอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกอาจลดลง ซึ่งช่วยบรรเทาแรงกดดันต่อเวียดนาม

นาย Phạm Văn Bình รองผู้อำนวยการฝ่ายจัดการรระบุว่า ด้วยอัตราการเติบโตของดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 มีความหวังสูงที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อในปี 2566 ทำให้สามารถปรับราคาสินค้าบางรายการที่ทางรัฐฯ จัดการ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของการปรับราคาของสินค้าที่รัฐจัดการต่อ CPI ในปี 2566 ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการออกเอกสารทางกฎหมายเกี่ยวกับการปรับราคาของสินค้าโภคภัณฑ์โดยกระทรวงฯและภาคส่วน นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมาก แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อที่สูงในระยะยาว

ในช่วงเดือนสุดท้ายของปี กรมฯ จะยังคงประสานงานกับกระทรวงและหน่วยงานภาคท้องถิ่นในการดำเนินมาตรการเกี่ยวกับการจัดการราคาในลักษณะที่รอบคอบและคล่องตัว ในการจัดการขับเคลื่อนราคา CPI ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.29 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.74 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2557-2566

                                         (จาก https://vietnamnews.vn/)

ข้อคิดเห็น สคต

เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างมากในเอเชีย โดยได้รับแรงหนุนจากภาคการผลิตและการส่งออกที่แข็งแกร่ง รวมถึงการเติบโตของสินเชื่อ ในช่วงที่ผ่านมาได้ขยายเพดานการเติบโตด้านสินเชื่อของระบบธนาคาร จากเดิมที่กำหนดไว้ในปี 2566 ที่ร้อยละ 14 เป็นร้อยละ 1.5-2.0 ภายหลังเกิดวิกฤติสินเชื่อในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะต่ำกว่ากรอบเป้าหมายที่ทางการเวียดนามกำหนดไว้ที่ร้อยละ 4.5 สถานการณ์ในประเทศจะดีขึ้นเนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรคาดว่าจะเป็นไปตามอุปสงค์ในประเทศ เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรมีผลต่อดัชนีราคาผู้บริโภค ความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อมีเสถียรภาพมากขึ้น จากการพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ คาดว่า เป้าหมายเงินเฟ้อต่ำกว่าร้อยละ 4.5 อาจเป็นไปได้ โดยการเติบโตของ CPI ต่อปีอยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 3.3 ถึงร้อยละ 3.9 ในท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจากต่างประเทศ จำเป็นใช้นโยบายการเงินเชิงรุกและยืดหยุ่น เพื่อรักษาอัตราเงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปี 2566

 

zh_CNChinese