(ที่มา : สำนักข่าว The Korea Herald ฉบับวันที่ 22 พฤษภาคม 2566)
อ้างอิงจากบริษัทนายหน้าค้าหลักทรัพย์ท้องถิ่นของเกาหลีใต้ E-mart ร้านค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ ซึ่งอยู่ในเครือ Shinsegae Group บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการค้าปลีก กำลังประสบปัญหายอดขายตกต่ำในไตรมาสแรกของปีนี้ และถูกแซงหน้าโดยคู่แข่งที่มีขนาดเล็กกว่าอย่าง Coupang เป็นครั้งแรก พร้อมทั้งเผชิญกับแนวโน้มที่ซบเซาในช่วงที่เหลือของปี
ในช่วงสามเดือนแรกของปี E-mart มีกำไรจากการดำเนินงาน 13.7 พันล้านวอน (10.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ลดลงร้อยละ 60.2 จากปีที่แล้ว ในช่วงเวลาเดียวกัน กำไรสุทธิลดลงมากกว่าร้อยละ 90 คิดเป็นมูลค่า 2.7 พันล้านวอนยอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 คิดเป็นมูลค่า 7.1 ล้านล้านวอน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวต่ำกว่ายอดขายของ Coupang บริษัทด้านยักษ์ใหญ่ที่จดทะเบียนในนิวยอร์ก ซึ่งมีมูลค่าอยู่ที่ 7.4 ล้านล้านวอน นับเป็นครั้งแรกที่ยอดขายจากช่องทางออนไลน์เพียงอย่างเดียวของ Coupang สูงกว่ายอดขายของ Shinsegae ที่จำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย
Shinsegae ชี้แจงว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยอดขายโดยรวมลดลงมาจากสาเหตุค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงร้านค้าปลีก 2 สาขา แต่นักวิเคราะห์ระบุว่าประสิทธิภาพการทำงานที่ไม่น่าสนใจของ Starbucks Korea เป็นสาเหตุของยอดขายที่ซบเซาลง โดย E-mart เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของ Starbucks Korea อยู่ที่ร้อยละ 67.5
นักวิเคราะห์จาก IBK Securities (นัม ซองฮยอน) กล่าวว่า “แม้ว่าบริษัทจะพยายามปรับปรุงกระแสทางการเงิน แต่ก็ยังมองไม่เห็นการที่จะฝ่าอุปสรรคได้ในทันที นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยชั่วคราวบางประการที่ส่งผลกระทบ
อย่างไรก็ตาม ยอดขายที่ซบเซาลง ดูเหมือนจะเป็นผลมาจากการชะลอตัวของโครงสร้างภายในอุตสาหกรรม และการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ของบริษัทเพื่อเพิ่มกำไร” ทั้งนี้ นัม ซองฮยอน ได้ปรับลดเป้าหมายราคาหุ้นของ Emart จาก 98,000 วอนเป็น 80,000 วอน ตลอดจน อีกรายงานหนึ่งของ Kiwoom Securities ก็ได้ปรับลดแนวโน้มราคาหุ้นจาก 87,500 วอนเป็น 80,000 วอนเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ จากการติดตามสถานการณ์ตลาดโดย FnGuide คาดว่า E-mart มีแนวโน้มจะขาดทุน 4.5 พันล้านวอนในไตรมาสที่สอง เนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมค้าปลีก
首尔海外贸易促进办公室 พิจารณาแล้วเห็นว่า ในปัจจุบันผู้บริโภคชาวเกาหลีให้ความสำคัญกับการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปเป็นการใช้ชีวิตในรูปแบบ New Normal ตลอดจนระบบการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ของประเทศเกาหลีมีความสะดวกสบายและการขนส่งที่รวดเร็ว ส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาใช้บริการมากขึ้น ช่องทางการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ของประเทศเกาหลีจึงมีศักยภาพมาก แม้ยอดการจำหน่ายสินค้าของบริษัทแพลตฟอร์มการจำหน่ายสินค้าออนไลน์บางบริษัท อาจมีผลประกอบการที่ไม่ดีนักเมื่อเทียบกับบริษัทอื่น แต่การนำสินค้าไทยเข้ามาจำหน่ายในแพลตฟอร์มออนไลน์ในประเทศเกาหลี นับเป็นการสร้างการรับรู้ถึงสินค้าไทยเป็นวงกว้างและเข้าถึงได้ง่าย ตลอดจนเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ผู้ประกอบการ/ผู้ผลิตไทย ที่มีการส่งออกสินค้ามาจำหน่ายในช่องทางออนไลน์ในประเทศเกาหลีอยู่แล้ว อาจพิจารณาหาลู่ทางในการประชาสัมพันธ์สินค้าของบริษัทฯ ให้ดึงดูดผู้บริโภคมากขึ้น ส่วนผู้ประกอบการ/ผู้ผลิตไทย ที่กำลังหาลู่ทางในการทำตลาดในประเทศเกาหลี อาจพิจารณาหาลู่ทางในการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ควบคู่กับร้านค้าปลีกในประเทศเกาหลีด้วย
********************************************************************
首尔海外贸易促进办公室
จัดทำโดย นางสาวศีดา สมานมิตร
ตรวจทานโดย นางสาวปิยพิชญ์ พัฒนาสุวรรณ
ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโซล