สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์ในเดือนมีนาคม 2568

เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2568 หน่วยงาน Enterprise Singapore (ESG) ได้ประกาศข้อมูลสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์เดือนมีนาคม 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

การค้าระหว่างประเทศโดยรวมของสิงคโปร[1],[2]

ในเดือนมีนาคม 2568 การค้าระหว่างประเทศโดยรวมของสิงคโปร์เพิ่มขึ้น +3.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (หลังจากเพิ่มขึ้น +4.6% ในเดือนก่อนหน้า) โดยเป็นผลมาจากการส่งออกโดยรวมเพิ่มขึ้นที่ +2.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (หลังจากเพิ่มขึ้น +5.4% ในเดือนก่อนหน้า) และการนำเข้าโดยรวมเพิ่มขึ้นที่ +4.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (หลังจากเพิ่มขึ้นที่ +3.7% ในเดือนก่อนหน้า)

การส่งออก Non-oil Domestic Export (NODX)

ในเดือนมีนาคม 2568 NODX เพิ่มขึ้นที่ +5.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หลังจากเพิ่มขึ้นที่ +7.6% ในเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้า Electronic NODX และสินค้า Non-Electronic NODX โดยภายในสามเดือนแรกนี้ NODX ได้ขยายตัวขึ้นที่ 3.3%

การส่งออกสินค้า Electronic NODX

ในเดือนมีนาคม 2568 การส่งออกสินค้า Electronic NODX ขยายตัวที่ +11.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (หลังจากเพิ่มขึ้นที่ +6.9% ในเดือนก่อนหน้า) โดยสินค้าที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ PCs, Disk Media Products  และ ICs ขยายตัวที่ +121.4% +35.7% และ +6.5% ตามลำดับ

การส่งออกสินค้า Non-Electronic NODX

ในเดือนมีนาคม 2568 การส่งออกสินค้า Non-Electronic NODX เพิ่มขึ้น +3.8% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า (หลังจากเพิ่มขึ้น +7.7% ในเดือนก่อนหน้า) โดยสินค้าที่มีการส่งออกขยายตัวมากที่สุด ได้แก่ Structures of Ships & Boat,Non-Monetary Gold และ Pharmaceuticals เพิ่มขึ้นที่ – , +64.7% และ +24.9% ตามลำดับ

สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์ในเดือนมีนาคม 2568

ตลาดการส่งออก NODX

ในเดือนมีนาคม 2568 ตลาดส่งออก NODX ภาพรวมทั้งหมดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไต้หวัน อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ แต่จีน ลดลง โดยตลาดที่มีการเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ ไต้หวัน (+45.7%) อินโดนีเซีย(+63%) เกาหลีใต้ (+21.6%)

สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์ในเดือนมีนาคม 2568

การส่งออกสินค้า Electronic NORX

ในเดือนมีนาคม 2568 การส่งออกสินค้า Electronic NORX เพิ่มขึ้นที่ +9.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (หลังจากเพิ่มขึ้นที่ +16.2% ในเดือนก่อนหน้า) โดยสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ Parts of PCs (+250%) ICs (+9%) และ Telecommunication Equipment (+35.4%)

การส่งออกสินค้า Non-Electronic NORX

ในเดือนมีนาคม 2568 การส่งออกสินค้า Non-Electronic NORX เพิ่มขึ้นที่ +1.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (หลังจากเพิ่มขึ้นที่ +9.1% ในเดือนก่อนหน้า) โดยสินค้าที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ Copper (+763%) Non-Electric Engines&Motors (+20.1%) และ Works of Art (+303.6%)

ตลาดการส่งออก NORX

ในเดือนมีนาคม 2568 ตลาดส่งออก NORX ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐฯ  (+99.2%) ไต้หวัน (+77.8%) และฮ่องกง (+13.8%)

ข้อมูลเพิ่มเติม/ความคิดเห็นของ สคต.

การค้าระหว่างประเทศโดยรวมของสิงคโปร์ในเดือนมีนาคม 2568 ขยายตัวที่ +3.4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า (yoy) โดยเป็นผลมาจากการส่งออกเพิ่มขึ้น +2.3% และการนำเข้าเพิ่มขึ้นที่ +4.6% (yoy)  ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมัน (Non-oil Domestic Export: NODX) ของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นที่ +5.4% (yoy) จากเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นที่ +7.6%(yoy) ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้า Electronic NODX และสินค้า Non-Electronic NODX นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากธนาคาร DBS[1] ตั้งข้อสังเกตว่า องค์การการค้าโลก (WTO) ได้ปรับลดคาดการณ์การค้าสินค้าโลกในปี 2568 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 2.7% หดตัวเหลือ 0.2% ซึ่งสะท้อนถึงแรงกดดันจากการเพิ่มขึ้นของภาษีศุลกากรทั่วโลก ที่นำไปสู่การตอบโต้ทางการค้าและเพิ่มความไม่แน่นอนในระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2568 กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ทั้งปี 2568 จากเดิมที่ 1-3% เหลือเพียง 0-2%

สำหรับภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนมีนาคม 2568 ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า[2] ระบุว่า การส่งออกของไทยในเดือนมีนาคม 2568 มีมูลค่า 29,548.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (988,362ล้านบาท) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ที่ร้อยละ 17.8 การส่งออกของไทยได้รับแรงหนุนหลักจากสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกา จีน และสหภาพยุโรป ประเทศคู่ค้าเหล่านี้มีการเร่งตัวด้านการผลิต สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่ปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางความพยายามในการรับมือกับความเสี่ยงจากการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ ส่งผลให้มีการเร่งนำเข้าสินค้าเพื่อรักษาเสถียรภาพของห่วงโซ่อุปทานในภาคการผลิต และบรรเทาผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนและราคาสินค้าที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

———————————————————–

ที่มา/ข้อมูลภาพ (Credit Photo) :

Enterprise Singaporehttps://www.enterprisesg.gov.sg/-/media/esg/files/media-centre/media-releases/2025/april/mr01825_monthly-trade-report—mar-2025.pdf

StraitsTimes  –  https://www.straitstimes.com/business/economy/singapore-may-revise-2025-key-exports-forecast-due-to-us-tariffs-as-shipment-growth-slows-in-march

[1] นาย Chua Han Teng นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของธนาคาร DBS

[2] https://uploads.tpso.go.th/1.1%20Press%20Release%20%E0%B8%A1%E0%B8%B5.%E0%B8%84.%2068%20%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%20rev5.pdf

 

[1] ตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 ข้อมูลการค้าที่เกี่ยวข้องกับสหภาพยุโรป (European Union: EU) จะรายงานเป็น EU27 แทนที่ EU28 เนื่องจากการถอนตัวออกจาก EU ของสหราชอาณาจักร (United Kingdom: UK) หรือ Brexit (Britain Exit)

[2] การจำแนกสินค้าทั้งหมดที่ซื้อขายในและนอกอาเซียนในรายงานการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของสิงคโปร์ ใช้รหัสภาษีชุดใหม่ ASEAN Harmonised Tariff Nomenclature (AHTN) 2017 version

Enterprise Singapore (ESG) ระบุว่า ข้อมูลสารสนเทศที่ปรากฏในช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเบื้องต้นเท่านั้น และไม่รับประกันผลใดๆ และไม่รับผิดชอบในความสูญหายหรือความเสียหายใดๆ ที่เกิดจากใช้ข้อมูลจากสารสนเทศนี้ในทุกกรณี

thThai