(1) สถานการณ์เศรษฐกิจ
– สหรัฐอเมริกาประกาศเรียกภาษีร้อยละ 25 ในสินค้าเหล็กและอะลูมิเนียม โดยไม่มีข้อยกเว้น เริ่ม 12 มีนาคม 2568 ออสเตรเลียไม่ได้รับการยกเว้น เนื่องจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาประเมินว่า ออสเตรเลียส่งออกสินค้าอลูมิเนียมสูงและทำลายอุตสาหกรรมอลูมิเนียมในสหรัฐฯ และในภายหลังนาย โดนัลด์ ทรัมป์ ได้สั่งให้สอบสวนการนำเข้าสินค้าทองแดงทั้งหมดที่เข้าสู่สหรัฐฯ เพื่อพิจารณามาตรการด้านภาษีต่อไป ล่าสุดสหรัฐฯประกาศเก็บภาษีรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในอัตราเริ่มต้นที่ 2.5-25% เริ่ม 2 เมษายน 2568 คาดว่าออสเตรเลียจะได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากมาตรการภาษีใหม่นี้
– เดือนกุมภาพันธ์ 2568 ธนาคารกลางออสเตรเลียปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงที่ 4.1% (ครั้งแรกในรอบ 4 ปี) และในเดือนเมษายนคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.1% แม้ว่าภาวะเงินเฟ้อจะลดลงที่ร้อยละ 2.7 (ตามเป้าที่ได้ตั้งไว้) เนื่องจากมูลค่าราคาบ้านที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และอัตราการจ้างงานที่ลดลง
– ภาครัฐและครัวเรือนรัฐ Queensland และเขตตอนเหนือของรัฐ New South Wales (Grafton) เผชิญกับพายุไซโคลน Alfred (Category 2) ที่ขึ้นฝั่งตอนเหนือของ Sunshine Coast รัฐบาลได้จัดสรรงบประเมาณเยียวยามูลค่ากว่า 1.2 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย
– รัฐบาลประกาศให้วันที่ 3 พฤษภาคม 2568 เป็นวันเลือกตั้งทั่วไป โดยมี 2 พรรคใหญ่ คือ พรรครัฐบาล (Australian Labor Party: ALP) และพรรคฝ่ายค้าน Coalition ซึ่งเป็นพรรคผสม (Liberal Party และ The Nationals) โดยพรรครัฐบาลเน้นการบรรเทาค่าครองชีพและสวัสดิการด้านสุขภาพในขณะที่พรรคฝ่ายเน้นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงานและสวัสดิการประชาชน
(2) สถานการณ์การค้าภาพรวมของออสเตรเลีย [1]
ปี 2567 สถานการณ์การส่งออกสินค้าของออสเตรเลีย มีมูลค่า 341,390 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 8.09) เป็นการส่งออกถ่านหินบิทูมินัส (ร้อยละ 33.10) สินแร่และหัวแร่เหล็ก (ร้อยละ 28.06) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป (ร้อยละ 7.50) เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค (ร้อยละ 4.10) และข้าวสาลีและเมสลิน (ร้อยละ 2.41) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดียและสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 15 (น้ำมันปิโตรเลียมดิบ อะลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ทองแดงบริสุทธิ์ เนื้อสัตว์สำหรับบริโภคและข้าวสาลีและเมสลิน)
ปี 2567 การนำเข้าสินค้าของออสเตรเลีย มีมูลค่า 283,612 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 3.20) โดยเป็นการนำเข้ารถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 15.01) เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (ร้อยละ 14.39) น้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 13.19) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 11.05) ยารักษาหรือป้องกันโรค (ร้อยละ 3.85) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และไทย ปี 2567 เดือนมกราคม–ธันวาคม ออสเตรเลียได้ดุลการค้า 57,778 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 5 มีมูลค่า 13,323 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 4.01) (สินค้านำเข้าหลักจากไทย 5 อันดับแรกได้แก่ รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ ยางรถยนต์ใหม่ และทูน่ากระป๋อง) และ ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 8,726 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (296,684 ล้านบาท)
(3) สถานการณ์การค้าเดือนมกราคม 2568
สถานการณ์การส่งออกสินค้าของออสเตรเลียในเดือนมกราคม 2568 มีมูลค่า 26,599 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 8.66) โดยเป็นผลมาจากการส่งออกถ่านหินบิทูมินัส (ร้อยละ 30.55) สินแร่และหัวแร่เหล็ก (ร้อยละ 26.61) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป (ร้อยละ 12.94) คอรันดัมประดิษฐ์ (ร้อยละ 3.42) และเนื้อสัตว์สำหรับบริโภค (ร้อยละ 3.27) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 12 (ข้าวสาลีและเมสลิน ทองแดงบริสุทธิ์ อะลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป น้ำมันปิโตรเลียมดิบ และผลิตภัณฑ์เนยนม)
การนำเข้าสินค้าของออสเตรเลียในเดือนมกราคม 2568 มีมูลค่า 23,183 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 1.48) โดยเป็นการนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (ร้อยละ 13.93) น้ำมันปิโตรเลียมที่ได้จากแร่ บิทูมินัส (ดีเซล) (ร้อยละ 13.71) รถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 12.50) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือสำหรับเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 11.09) ยารักษาหรือป้องกันโรค (ร้อยละ 3.72) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และมาเลเซีย ซึ่งในเดือนมกราคม 2568 ออสเตรเลียได้ดุลการค้าที่ 3,416 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 9 (รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องจักรสำหรับการรับการเปลี่ยนและการส่ง หรือการสร้างเสียง ภาพหรือข้อมูลอื่นๆ ยางรถยนต์ใหม่และทูน่ากระป๋อง)
(4) สรุปสถานการณ์การค้าไทย-ออสเตรเลีย [2]
เป้าหมายส่งออก | มูลค่าการค้ารวม (ล้าน US$) | มูลค่าการส่งออก (ล้าน US$) | มูลค่าการนำเข้า (ล้าน US$) | |||||||
ปี 2024
(%) |
ปี 2025
(%) |
ปี 2024 | ปี 2025 | ปี 2024 | ปี 2025 | ปี 2024 | ปี 2025 | |||
ม.ค | +/- (%) | ม.ค | +/- (%) | ม.ค | +/- (%) | |||||
1.0
(0.94) |
1.0 | 17,842.64
(-6.36) |
1,231.39 | -24.83 | 12,329.49 (0.94) | 802.31 | -26.98 | 5,513.15
(-19.40) |
429.08 | -20.45 |
[1] Source: Global Trade Atlas
[2] Source: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
(4) สถานการณ์การค้ากับไทย
- การส่งออกสินค้าไทยไปออสเตรเลียเดือนมกราคม ปี 2568 มีมูลค่า 802.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (27,278.5 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 26.98 เป็นการลดลงของสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ เม็ดพลาสติก เหล็กและผลิตภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว แต่การส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร อาหารทะเลกระป๋องและผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น
- การนำเข้าสินค้าของไทยจากออสเตรเลียเดือนมกราคม ปี 2568 มีมูลค่า 429.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (14,588.7 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ45 เป็นการลดลงของการนำเข้าสินค้าก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ และเคมีภัณฑ์ แต่การนำเข้าสินแร่โลหะอื่นๆ ถ่านหิน พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค นมและผลิตภัณฑ์นม เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และผัก ผลไม้เพิ่มขึ้น
……………………………………………………………………………………….
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์